From this page you can:
Home |
วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก / สมาคมพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอกแห่งประเทศไทย . Vol.27 No.2 (ก.ค-ธ.ค) 2559/2016Published date : 11/16/2017 |
Available articles
Add the result to your basketปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ / ชนิดา รำขวัญ in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, Vol.27 No.2 (ก.ค-ธ.ค) 2559/2016 ([11/16/2017])
[article]
Title : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ : ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ Original title : Factors related to smoking cessation behavior among patients after coronary artery bypass graft Material Type: printed text Authors: ชนิดา รำขวัญ, Author ; กุสุมา คุววัฒนสัมฤทธิ์, Author ; อรสา พันธ์ภักดี, Author Publication Date: 2017 Article on page: p.2-16 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.27 No.2 (ก.ค-ธ.ค) 2559/2016 [11/16/2017] . - p.2-16Keywords: พฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่.ผู้ป่วยหลังผ่าตัด.CAGB.การรับรู้ประโยชน์.การรับรู็อุปสรรคการรับรู้สมรรถนะแห่งตน Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Bypass Graft: CABG) ภายใต้กรอบแนวคิดทฤษฎีส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป เป็นผู้ป่วยหลังผ่าตัด CABG อย่างน้อย 6 เดือน มีประวัติการสูบบุหรี่ หรือเลิกสูบบุหรี่ จำนวน 146 คน เก็บข้อมูลผู้ป่วยที่มาตรวจตามนัดที่หน่วยตรวจผู้ป่วยนอกแผนกศัลยกรรมโรงพยาบาลรามาธิบดี โดยใช้แบบสอบถาม 2 ชุดคือ ชุดที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ชุดที่ 2 แบบสอบถามความคิดและอารมณ์ที่มีต่อพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบสถิติไคสแควร์และสหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน
ผลการศึกษา พบว่า CABG (\dpi{200} ^{x}2 = 5.36, p <.05) แลยังพบว่า ระดับการติดนิโคติน การรับรู้ประโยชน์ของการเลิกสูบบุหรี่ การรับรู้อุปสรรคของการเลิกสูบบุหรี่ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการเลิกสูบบุหรี่มีความสัมพันธ์ กับพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่หลังผ่าตัด CABG (r = -.921, r = .316, r = -.443 และ r = .563, p <.01) ตามลำดับ
ผลการวิจัยครั้งนี้เสนอแนะว่า พยาบาลควรคำนึงถึงปัจจัย เพศ ระดับการติดนิโคติน การรับรู้ประโยชน์ของการเลิกสูบบุหรี่ การรับรู้อุปสรรคของการเลิกสูบบุหรี่และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการเลิกสูบบุหรี่ เพื่อใช้ในการประเมินและการพิจารณาการแก้ไขปัญหาการสูบบุหรี่ในผู้ป่วยหลังผ่าตัด และส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถเลิกบุหรี่ได้มากขึ้น ส่งผลให้ลดปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับการเกิดโรคหัวใจ และลดการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดหัวใจได้เพิ่มขึ้นRecord link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27485 [article] ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ = Factors related to smoking cessation behavior among patients after coronary artery bypass graft : ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ [printed text] / ชนิดา รำขวัญ, Author ; กุสุมา คุววัฒนสัมฤทธิ์, Author ; อรสา พันธ์ภักดี, Author . - 2017 . - p.2-16.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.27 No.2 (ก.ค-ธ.ค) 2559/2016 [11/16/2017] . - p.2-16Keywords: พฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่.ผู้ป่วยหลังผ่าตัด.CAGB.การรับรู้ประโยชน์.การรับรู็อุปสรรคการรับรู้สมรรถนะแห่งตน Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Bypass Graft: CABG) ภายใต้กรอบแนวคิดทฤษฎีส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป เป็นผู้ป่วยหลังผ่าตัด CABG อย่างน้อย 6 เดือน มีประวัติการสูบบุหรี่ หรือเลิกสูบบุหรี่ จำนวน 146 คน เก็บข้อมูลผู้ป่วยที่มาตรวจตามนัดที่หน่วยตรวจผู้ป่วยนอกแผนกศัลยกรรมโรงพยาบาลรามาธิบดี โดยใช้แบบสอบถาม 2 ชุดคือ ชุดที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ชุดที่ 2 แบบสอบถามความคิดและอารมณ์ที่มีต่อพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบสถิติไคสแควร์และสหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน
ผลการศึกษา พบว่า CABG (\dpi{200} ^{x}2 = 5.36, p <.05) แลยังพบว่า ระดับการติดนิโคติน การรับรู้ประโยชน์ของการเลิกสูบบุหรี่ การรับรู้อุปสรรคของการเลิกสูบบุหรี่ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการเลิกสูบบุหรี่มีความสัมพันธ์ กับพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่หลังผ่าตัด CABG (r = -.921, r = .316, r = -.443 และ r = .563, p <.01) ตามลำดับ
ผลการวิจัยครั้งนี้เสนอแนะว่า พยาบาลควรคำนึงถึงปัจจัย เพศ ระดับการติดนิโคติน การรับรู้ประโยชน์ของการเลิกสูบบุหรี่ การรับรู้อุปสรรคของการเลิกสูบบุหรี่และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการเลิกสูบบุหรี่ เพื่อใช้ในการประเมินและการพิจารณาการแก้ไขปัญหาการสูบบุหรี่ในผู้ป่วยหลังผ่าตัด และส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถเลิกบุหรี่ได้มากขึ้น ส่งผลให้ลดปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับการเกิดโรคหัวใจ และลดการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดหัวใจได้เพิ่มขึ้นRecord link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27485 ความเหนื่อยล้าและวิธีการจัดการกับความเหนื่อยล้าของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุ / ลัดดาวัลย์ ไกรรักษ์ in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, Vol.27 No.2 (ก.ค-ธ.ค) 2559/2016 ([11/16/2017])
[article]
Title : ความเหนื่อยล้าและวิธีการจัดการกับความเหนื่อยล้าของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุ : ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวภายหลังออกจากโรงพยาบาล Original title : Fatigue and fatigue management of family caregivers caring for older adults with heart failure post discharge Material Type: printed text Authors: ลัดดาวัลย์ ไกรรักษ์, Author ; วรรณภา ประไพพานิช, Author ; สุปรีดา มั่นคง, Author Publication Date: 2017 Article on page: p.17-30 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.27 No.2 (ก.ค-ธ.ค) 2559/2016 [11/16/2017] . - p.17-30Keywords: ญาติผู้ดูแล.ความเหน่อยล้า.การจัดการกับความเหนื่อยล้า.ภาวะหัวใจล้มเหลว. Abstract: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย เพื่อศึกษาความเหนื่อยล้าและการจัดการกับความเหนื่อยล้าของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว โดยใช้ทฤษฎี The Theory of Unpleasant Symptoms และ Model for symptom management เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา
กลุ่มตัวอย่างเป็นญาติผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวที่จำหน่ายออกจากโรงพยาบาลไปแล้วอย่างน้อย1เดือน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 100 คน เครื่องมือเก็บข้อมูล 4 ส่วน ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย 2) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของญาติ 3) แบบสอบถามความเหนื่อยล้า และ 4) แบบสอบถามการจัดการกับอาการเหนื่อยล้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย
ผลการวิจัยพบว่าญาติผู้ดูแลทั้งหมดมีความเหนื่อยล้าหลายระดับ โดยส่วนใหญ่มีความเหนื่อยล้าระดับปานกลาง มีการจัดการกับความเหนื่อยล้าโดยการไม่ใช้ยา และการใช้ยาร่วมกับการไม่ใช้ยา สำหรับการจัดการความเหนื่อยล้าโดยการไม่ใช้ยามีหลายกิจกรรมร่วมกัน ซึ่ง 5 กิจกรรมที่ใช้มาก ได้แก่ การพูดคุยกับคนรู้ใจ การนอนหลับ/พักผ่อน การทำสมาธิ การฟังดนตรีและการออกกำลังกาย กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีต่างๆในการจัดการกับความเหนื่อยล้าให้เหมาะสมตามสถานการณ์และอาการที่เกิดขึ้น แหล่งข้อมูลของการจัดการโดยไม่ใช้ยาขึ้นอยู่กับวิธีจัดการด้วยตนเองตามอาการและวิธีการของตนเอง โดยได้ความรู้จากแผ่นพับหรือหนังสือ ญาติผู้ดูแลจัดการกับความเหนื่อยล้าโดยการใช้ยาร่วมด้วยนั้นใช้แหล่งข้อมูลส่วนใหญ่มาจากแพทย์และพยาบาลโดยคำนึงถึงการใช้ยาในขนาดที่เหมาะสม กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดคิดว่าการจัดการกับตนเองช่วยให้ความเหนื่อยล้าลดลงและช่วยให้รู้สึกสบายใจมากขึ้น กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดปฏิบัติกิจกรรมการจัดการกับความเหนื่อยล้าที่บ้าน
ผลการศึกษาแสดงว่าญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมีความเหนื่อยล้า พยาบาลควรวางแผนการพยาบาลเพื่อป้องกัน ช่วยเหลือและแก้ไขการเกิดความเหนื่อยล้าของญาติผู้ดูแลLink for e-copy: http://www.thaicvtnurse.org/index.php?option=com Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27486 [article] ความเหนื่อยล้าและวิธีการจัดการกับความเหนื่อยล้าของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุ = Fatigue and fatigue management of family caregivers caring for older adults with heart failure post discharge : ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวภายหลังออกจากโรงพยาบาล [printed text] / ลัดดาวัลย์ ไกรรักษ์, Author ; วรรณภา ประไพพานิช, Author ; สุปรีดา มั่นคง, Author . - 2017 . - p.17-30.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.27 No.2 (ก.ค-ธ.ค) 2559/2016 [11/16/2017] . - p.17-30Keywords: ญาติผู้ดูแล.ความเหน่อยล้า.การจัดการกับความเหนื่อยล้า.ภาวะหัวใจล้มเหลว. Abstract: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย เพื่อศึกษาความเหนื่อยล้าและการจัดการกับความเหนื่อยล้าของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว โดยใช้ทฤษฎี The Theory of Unpleasant Symptoms และ Model for symptom management เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา
กลุ่มตัวอย่างเป็นญาติผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวที่จำหน่ายออกจากโรงพยาบาลไปแล้วอย่างน้อย1เดือน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 100 คน เครื่องมือเก็บข้อมูล 4 ส่วน ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย 2) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของญาติ 3) แบบสอบถามความเหนื่อยล้า และ 4) แบบสอบถามการจัดการกับอาการเหนื่อยล้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย
ผลการวิจัยพบว่าญาติผู้ดูแลทั้งหมดมีความเหนื่อยล้าหลายระดับ โดยส่วนใหญ่มีความเหนื่อยล้าระดับปานกลาง มีการจัดการกับความเหนื่อยล้าโดยการไม่ใช้ยา และการใช้ยาร่วมกับการไม่ใช้ยา สำหรับการจัดการความเหนื่อยล้าโดยการไม่ใช้ยามีหลายกิจกรรมร่วมกัน ซึ่ง 5 กิจกรรมที่ใช้มาก ได้แก่ การพูดคุยกับคนรู้ใจ การนอนหลับ/พักผ่อน การทำสมาธิ การฟังดนตรีและการออกกำลังกาย กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีต่างๆในการจัดการกับความเหนื่อยล้าให้เหมาะสมตามสถานการณ์และอาการที่เกิดขึ้น แหล่งข้อมูลของการจัดการโดยไม่ใช้ยาขึ้นอยู่กับวิธีจัดการด้วยตนเองตามอาการและวิธีการของตนเอง โดยได้ความรู้จากแผ่นพับหรือหนังสือ ญาติผู้ดูแลจัดการกับความเหนื่อยล้าโดยการใช้ยาร่วมด้วยนั้นใช้แหล่งข้อมูลส่วนใหญ่มาจากแพทย์และพยาบาลโดยคำนึงถึงการใช้ยาในขนาดที่เหมาะสม กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดคิดว่าการจัดการกับตนเองช่วยให้ความเหนื่อยล้าลดลงและช่วยให้รู้สึกสบายใจมากขึ้น กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดปฏิบัติกิจกรรมการจัดการกับความเหนื่อยล้าที่บ้าน
ผลการศึกษาแสดงว่าญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมีความเหนื่อยล้า พยาบาลควรวางแผนการพยาบาลเพื่อป้องกัน ช่วยเหลือและแก้ไขการเกิดความเหนื่อยล้าของญาติผู้ดูแลLink for e-copy: http://www.thaicvtnurse.org/index.php?option=com Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27486 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนัก / ปรีชารีฟ ยีหรีม in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, Vol.27 No.2 (ก.ค-ธ.ค) 2559/2016 ([11/16/2017])
[article]
Title : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนัก : ของสตรีมุสลิมที่มีภาวะอ้วนในภาคใต้ตอนล่าง Original title : Factors related to body weight control behaviors among obese muslim women in lower southern region, Thailand Material Type: printed text Authors: ปรีชารีฟ ยีหรีม, Author ; รุ้งระวี นาวีเจริญ, Author Publication Date: 2017 Article on page: p.31-42 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.27 No.2 (ก.ค-ธ.ค) 2559/2016 [11/16/2017] . - p.31-42Keywords: ภาวะอ้วน.พฤติกรรมการควบคุมน้ำหนัก.สตรีมุสลิม. Abstract: การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ (descriptive correlational research) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของสตรีมุสลิมในภาคใต้ตอนล่างและหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้สมรรถนะแห่งตน อิทธิพลระหว่างบุคคล อิทธิพลด้านสถานการณ์ และความมุ่งมั่นในการวางแผนการปฏิบัติกับพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของสตรีมุสลิมที่มีภาวะอ้วนในภาคใต้ตอนล่าง กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีมุสลิมที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง มีอายุระหว่าง 20-59 ปี มีค่าดัชนีมวลกายเท่ากับหรือมากกว่า 25 กิโลกรัม/ตารางเมตร จำนวน 384 ราย ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของสตรีมุสลิมที่มีภาวะอ้วนในภาคใต้ตอนล่างอยู่ในระดับปานกลาง (mean= 3.43, S.D. = 0.43) ปัจจัยการรับรู้ประโยชน์ ปัจจัยการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ความมุ่งมั่นในการวางแผนปฏิบัติ อิทธิพลด้านสถานการณ์ และอิทธิพลระหว่างบุคคลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของสตรีมุสลิมที่มีภาวะอ้วนในภาคใต้ตอนล่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = 0.30, 0.50, 0.70, 0.54 และ 0.35 ตามลำดับ) ปัจจัยการรับรู้อุปสรรคไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของสตรีมุสลิมที่มีภาวะอ้วนในภาคใต้ตอนล่าง (r = -.03)
ผลการวิจัยสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของสตรีมุสลิมที่มีภาวะอ้วนที่เกี่ยวกับการบริโภคและการออกกำลังกาย เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค โดยเฉพาะโรคเรื้อรังต่างๆLink for e-copy: http://www.thaicvtnurse.org/index.php?option=com Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27487 [article] ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนัก = Factors related to body weight control behaviors among obese muslim women in lower southern region, Thailand : ของสตรีมุสลิมที่มีภาวะอ้วนในภาคใต้ตอนล่าง [printed text] / ปรีชารีฟ ยีหรีม, Author ; รุ้งระวี นาวีเจริญ, Author . - 2017 . - p.31-42.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.27 No.2 (ก.ค-ธ.ค) 2559/2016 [11/16/2017] . - p.31-42Keywords: ภาวะอ้วน.พฤติกรรมการควบคุมน้ำหนัก.สตรีมุสลิม. Abstract: การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ (descriptive correlational research) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของสตรีมุสลิมในภาคใต้ตอนล่างและหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้สมรรถนะแห่งตน อิทธิพลระหว่างบุคคล อิทธิพลด้านสถานการณ์ และความมุ่งมั่นในการวางแผนการปฏิบัติกับพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของสตรีมุสลิมที่มีภาวะอ้วนในภาคใต้ตอนล่าง กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีมุสลิมที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง มีอายุระหว่าง 20-59 ปี มีค่าดัชนีมวลกายเท่ากับหรือมากกว่า 25 กิโลกรัม/ตารางเมตร จำนวน 384 ราย ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของสตรีมุสลิมที่มีภาวะอ้วนในภาคใต้ตอนล่างอยู่ในระดับปานกลาง (mean= 3.43, S.D. = 0.43) ปัจจัยการรับรู้ประโยชน์ ปัจจัยการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ความมุ่งมั่นในการวางแผนปฏิบัติ อิทธิพลด้านสถานการณ์ และอิทธิพลระหว่างบุคคลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของสตรีมุสลิมที่มีภาวะอ้วนในภาคใต้ตอนล่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = 0.30, 0.50, 0.70, 0.54 และ 0.35 ตามลำดับ) ปัจจัยการรับรู้อุปสรรคไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของสตรีมุสลิมที่มีภาวะอ้วนในภาคใต้ตอนล่าง (r = -.03)
ผลการวิจัยสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของสตรีมุสลิมที่มีภาวะอ้วนที่เกี่ยวกับการบริโภคและการออกกำลังกาย เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค โดยเฉพาะโรคเรื้อรังต่างๆLink for e-copy: http://www.thaicvtnurse.org/index.php?option=com Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27487 การจัดการอาการในผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลาม / สุชาวดี รุ่งแจ้ง in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, Vol.27 No.2 (ก.ค-ธ.ค) 2559/2016 ([11/16/2017])
[article]
Title : การจัดการอาการในผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลาม Original title : สุชาวดี รุ่งแจ้ง, รัชนี นามจันทรา Material Type: printed text Authors: สุชาวดี รุ่งแจ้ง, Author ; รัชนี นามจันทรา, Author Publication Date: 2017 Article on page: p.43-57 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.27 No.2 (ก.ค-ธ.ค) 2559/2016 [11/16/2017] . - p.43-57Keywords: ผู้ป่วยมะเร็งปอด.มะเร็งปอดระยะลุกลาม.อาการ.วิธีการจัดการอาการ. Abstract: การวิจัยเชิงบรรยายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) อาการ และความรุนแรงของอาการในผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลาม และ 2) วิธีการจัดการอาการ และผลลัพธ์ของการจัดการอาการในผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลาม
กลุ่มตัวอย่างเลือกอย่างเฉพาะเจาะจงจากผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลามที่มารับบริการ ณ หน่วยผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ จำนวน 83 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับความเจ็บป่วย และแบบสัมภาษณ์อาการ ความรุนแรงของอาการ วิธีการจัดการอาการ และผลลัพธ์ของการจัดการอาการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า อาการที่พบบ่อย 5 อันดับแรก ได้แก่ ปวด ไอ เหนื่อยล้า หายใจลำบาก และเบื่ออาหาร เรียงลำดับตามความรุนแรงในอาการที่พบบ่อยได้เป็น เบื่ออาหาร ปวด เหนื่อยล้า หายใจลำบาก และไอ ตามลำดับ โดยอาการปวดเป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด ในขณะที่อาการเบื่ออาหารมีค่าเฉลี่ยความรุนแรงสูงที่สุด ผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลามใช้วิธีการหลายๆ วิธีในการจัดการอาการแต่ละอาการ วิธีการจัดการอาการที่พบบ่อย 5 อันดับแรก มีดังนี้ 1) อาการปวด ใช้วิธีการรับประทานยาแก้ปวดทุกครั้งที่มีอาการ 2) อาการไอ ใช้วิธีจิบน้ำอุ่น/ดื่มน้ำ และรับประทานยาละลายเสมหะ 3) อาการเหนื่อยล้า ใช้วิธีการนั่งพัก/นอนพักช่วงกลางวัน 4) อาการหายใจลำบาก ใช้วิธีการนั่งพัก/นอนพัก และ 5) อาการเบื่ออาหาร ใช้วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่น รับประทานอาหารหรือผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว หรือดื่มเครื่องดื่มอาหารเสริมระหว่างมื้ออาหาร ผลลัพธ์ของการจัดการอาการของผู้ป่วยโดยรวมเป็นไปในทางที่ดี คือ มีอาการทุเลา
ผลการศึกษานี้เป็นข้อมูลในการวางแผนการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลาม เพื่อลดความรุนแรงและบรรเทาอาการจากโรค ในการให้ข้อมูล ให้คำปรึกษา รวมทั้งสนับสนุนให้ผู้ป่วยและญาติมีการจัดการอาการด้วยตนเองให้สอดคล้องกับความต้องการในการดำเนินชีวิตประจำวัน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลาม
Link for e-copy: http://www.thaicvtnurse.org/index.php?option=com Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27488 [article] การจัดการอาการในผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลาม = สุชาวดี รุ่งแจ้ง, รัชนี นามจันทรา [printed text] / สุชาวดี รุ่งแจ้ง, Author ; รัชนี นามจันทรา, Author . - 2017 . - p.43-57.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.27 No.2 (ก.ค-ธ.ค) 2559/2016 [11/16/2017] . - p.43-57Keywords: ผู้ป่วยมะเร็งปอด.มะเร็งปอดระยะลุกลาม.อาการ.วิธีการจัดการอาการ. Abstract: การวิจัยเชิงบรรยายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) อาการ และความรุนแรงของอาการในผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลาม และ 2) วิธีการจัดการอาการ และผลลัพธ์ของการจัดการอาการในผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลาม
กลุ่มตัวอย่างเลือกอย่างเฉพาะเจาะจงจากผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลามที่มารับบริการ ณ หน่วยผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ จำนวน 83 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับความเจ็บป่วย และแบบสัมภาษณ์อาการ ความรุนแรงของอาการ วิธีการจัดการอาการ และผลลัพธ์ของการจัดการอาการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า อาการที่พบบ่อย 5 อันดับแรก ได้แก่ ปวด ไอ เหนื่อยล้า หายใจลำบาก และเบื่ออาหาร เรียงลำดับตามความรุนแรงในอาการที่พบบ่อยได้เป็น เบื่ออาหาร ปวด เหนื่อยล้า หายใจลำบาก และไอ ตามลำดับ โดยอาการปวดเป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด ในขณะที่อาการเบื่ออาหารมีค่าเฉลี่ยความรุนแรงสูงที่สุด ผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลามใช้วิธีการหลายๆ วิธีในการจัดการอาการแต่ละอาการ วิธีการจัดการอาการที่พบบ่อย 5 อันดับแรก มีดังนี้ 1) อาการปวด ใช้วิธีการรับประทานยาแก้ปวดทุกครั้งที่มีอาการ 2) อาการไอ ใช้วิธีจิบน้ำอุ่น/ดื่มน้ำ และรับประทานยาละลายเสมหะ 3) อาการเหนื่อยล้า ใช้วิธีการนั่งพัก/นอนพักช่วงกลางวัน 4) อาการหายใจลำบาก ใช้วิธีการนั่งพัก/นอนพัก และ 5) อาการเบื่ออาหาร ใช้วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่น รับประทานอาหารหรือผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว หรือดื่มเครื่องดื่มอาหารเสริมระหว่างมื้ออาหาร ผลลัพธ์ของการจัดการอาการของผู้ป่วยโดยรวมเป็นไปในทางที่ดี คือ มีอาการทุเลา
ผลการศึกษานี้เป็นข้อมูลในการวางแผนการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลาม เพื่อลดความรุนแรงและบรรเทาอาการจากโรค ในการให้ข้อมูล ให้คำปรึกษา รวมทั้งสนับสนุนให้ผู้ป่วยและญาติมีการจัดการอาการด้วยตนเองให้สอดคล้องกับความต้องการในการดำเนินชีวิตประจำวัน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลาม
Link for e-copy: http://www.thaicvtnurse.org/index.php?option=com Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27488 ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว / อณัศยา ซื่อตรง in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, Vol.27 No.2 (ก.ค-ธ.ค) 2559/2016 ([11/16/2017])
[article]
Title : ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว Material Type: printed text Authors: อณัศยา ซื่อตรง, Author ; ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์, Author Publication Date: 2017 Article on page: p.58-80 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.27 No.2 (ก.ค-ธ.ค) 2559/2016 [11/16/2017] . - p.58-80Keywords: ผู้สูงอายุ.หัวใจล้มเหลว.คุณภาพชีวิต. Abstract: การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว และปัจจัยด้าน เพศ อายุ ความรุนแรงของโรค ภาวะโรคร่วม ภาวะซึมเศร้า การสนับสนุนทางสังคม ในการทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว
กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีภาวะหัวใจล้มเหลว มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกอายุรกรรมหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และโรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดระดับความรุนแรงของโรค แบบประเมินภาวะซึมเศร้า แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม และแบบประเมินคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเชิงชั้น
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 57.50 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 74.28 ปี กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 73.34 มีโรคร่วมตั้งแต่ 3 โรคขึ้นไป ร้อยละ 54.17 มีความรุนแรงของภาวะหัวใจล้มเหลวในระดับน้อย ร้อยละ 60.80 ของผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวมีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง เพศ ภาวะโรคร่วม ความรุนแรงของโรค ภาวะซึมเศร้า และการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต (p < .05) และภาวะซึมเศร้าสามารถทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวได้มากที่สุดโดยมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน เท่ากับ 0.66 รองลงมาได้แก่ ความรุนแรงของโรค การสนับสนุนทางสังคมและภาวะโรคร่วม โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน เท่ากับ 0.26, 0.17 และ 0.15 ตามลำดับ และสามารถร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตได้ร้อยละ 53 (R2 = .53)
สรุปผลการศึกษา บุคลากรทางด้านสุขภาพควรให้ความสำคัญในการประเมินและป้องกันภาวะซึมเศร้ารวมทั้งส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวอย่างจริงจังLink for e-copy: http://www.thaicvtnurse.org/index.php?option=com Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27489 [article] ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว [printed text] / อณัศยา ซื่อตรง, Author ; ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์, Author . - 2017 . - p.58-80.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.27 No.2 (ก.ค-ธ.ค) 2559/2016 [11/16/2017] . - p.58-80Keywords: ผู้สูงอายุ.หัวใจล้มเหลว.คุณภาพชีวิต. Abstract: การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว และปัจจัยด้าน เพศ อายุ ความรุนแรงของโรค ภาวะโรคร่วม ภาวะซึมเศร้า การสนับสนุนทางสังคม ในการทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว
กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีภาวะหัวใจล้มเหลว มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกอายุรกรรมหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และโรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดระดับความรุนแรงของโรค แบบประเมินภาวะซึมเศร้า แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม และแบบประเมินคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเชิงชั้น
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 57.50 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 74.28 ปี กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 73.34 มีโรคร่วมตั้งแต่ 3 โรคขึ้นไป ร้อยละ 54.17 มีความรุนแรงของภาวะหัวใจล้มเหลวในระดับน้อย ร้อยละ 60.80 ของผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวมีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง เพศ ภาวะโรคร่วม ความรุนแรงของโรค ภาวะซึมเศร้า และการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต (p < .05) และภาวะซึมเศร้าสามารถทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวได้มากที่สุดโดยมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน เท่ากับ 0.66 รองลงมาได้แก่ ความรุนแรงของโรค การสนับสนุนทางสังคมและภาวะโรคร่วม โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน เท่ากับ 0.26, 0.17 และ 0.15 ตามลำดับ และสามารถร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตได้ร้อยละ 53 (R2 = .53)
สรุปผลการศึกษา บุคลากรทางด้านสุขภาพควรให้ความสำคัญในการประเมินและป้องกันภาวะซึมเศร้ารวมทั้งส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวอย่างจริงจังLink for e-copy: http://www.thaicvtnurse.org/index.php?option=com Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27489 ปัจจัยทำนายสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพหน่วยผู้ป่วยวิกฤตหัวใจและหลอดเลือด / อังคณา หิรัณย์ภิญโญภาศ in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, Vol.27 No.2 (ก.ค-ธ.ค) 2559/2016 ([11/16/2017])
[article]
Title : ปัจจัยทำนายสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพหน่วยผู้ป่วยวิกฤตหัวใจและหลอดเลือด Original title : Predicting factors of competency of professional nurses in coronary care unit Material Type: printed text Authors: อังคณา หิรัณย์ภิญโญภาศ, Author ; กัญญดา ประจุศิลป, Author Publication Date: 2017 Article on page: p.71-84 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.27 No.2 (ก.ค-ธ.ค) 2559/2016 [11/16/2017] . - p.71-84Keywords: สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ.หน่วยผู้ป่วยวิกฤตหัวใจและหลอดเลือด.ึความเป็นองค์กรแห่งการเรีียนรู้.การเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ปฏิบัติงาน Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาปัจจัยที่สามารถทำนายสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพหน่วยผู้ป่วยวิกฤตหัวใจและหลอดเลือด กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพหน่วยผู้ป่วยวิกฤตหัวใจและหลอดเลือดจำนวน 144 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพหน่วยผู้ป่วยวิกฤตหัวใจและหลอดเลือด ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ และการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ปฏิบัติงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ค่าความสัมพันธ์อีต้า และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นตอน
ผลการศึกษา พบว่า สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพหน่วยผู้ป่วยวิกฤตหัวใจและหลอดเลือดอยู่ในระดับสูง (mean = 3.87) ประสบการณ์การปฏิบัติงานในหน่วยผู้ป่วยวิกฤตหัวใจและหลอดเลือด ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ และการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพหน่วยผู้ป่วยวิกฤตหัวใจและหลอดเลือด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .59, .49 และ .36 ตามลำดับ) ปัจจัยที่สามารถทำนายสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพหน่วยผู้ป่วยวิกฤตหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ประสบการณ์การปฏิบัติงานในหน่วยผู้ป่วยวิกฤตหัวใจและหลอดเลือด และความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ โดยร่วมกันพยากรณ์ได้ ร้อยละ 55
การศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการประเมินและนำไปพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพหน่วยผู้ป่วยวิกฤตหัวใจและหลอดเลือดและควรมีการศึกษาปัจจัยอื่นที่จะมีผลต่อสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพหน่วยผู้ป่วยวิกฤตหัวใจและหลอดเลือดLink for e-copy: http://www.thaicvtnurse.org/index.php?option=com Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27490 [article] ปัจจัยทำนายสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพหน่วยผู้ป่วยวิกฤตหัวใจและหลอดเลือด = Predicting factors of competency of professional nurses in coronary care unit [printed text] / อังคณา หิรัณย์ภิญโญภาศ, Author ; กัญญดา ประจุศิลป, Author . - 2017 . - p.71-84.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.27 No.2 (ก.ค-ธ.ค) 2559/2016 [11/16/2017] . - p.71-84Keywords: สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ.หน่วยผู้ป่วยวิกฤตหัวใจและหลอดเลือด.ึความเป็นองค์กรแห่งการเรีียนรู้.การเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ปฏิบัติงาน Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาปัจจัยที่สามารถทำนายสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพหน่วยผู้ป่วยวิกฤตหัวใจและหลอดเลือด กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพหน่วยผู้ป่วยวิกฤตหัวใจและหลอดเลือดจำนวน 144 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพหน่วยผู้ป่วยวิกฤตหัวใจและหลอดเลือด ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ และการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ปฏิบัติงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ค่าความสัมพันธ์อีต้า และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นตอน
ผลการศึกษา พบว่า สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพหน่วยผู้ป่วยวิกฤตหัวใจและหลอดเลือดอยู่ในระดับสูง (mean = 3.87) ประสบการณ์การปฏิบัติงานในหน่วยผู้ป่วยวิกฤตหัวใจและหลอดเลือด ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ และการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพหน่วยผู้ป่วยวิกฤตหัวใจและหลอดเลือด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .59, .49 และ .36 ตามลำดับ) ปัจจัยที่สามารถทำนายสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพหน่วยผู้ป่วยวิกฤตหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ประสบการณ์การปฏิบัติงานในหน่วยผู้ป่วยวิกฤตหัวใจและหลอดเลือด และความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ โดยร่วมกันพยากรณ์ได้ ร้อยละ 55
การศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการประเมินและนำไปพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพหน่วยผู้ป่วยวิกฤตหัวใจและหลอดเลือดและควรมีการศึกษาปัจจัยอื่นที่จะมีผลต่อสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพหน่วยผู้ป่วยวิกฤตหัวใจและหลอดเลือดLink for e-copy: http://www.thaicvtnurse.org/index.php?option=com Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27490 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการความรู้ / ดวงกมล วัตราดุลย์ in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, Vol.27 No.2 (ก.ค-ธ.ค) 2559/2016 ([11/16/2017])
[article]
Title : ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการความรู้ : ทางการพยาบาลโรคหัวใจและหลอดเลือดในพยาบาลวิชาชีพ Original title : Factors influencing to knowledge management of cardiovascular nursing in registered nurses Material Type: printed text Authors: ดวงกมล วัตราดุลย์, Author ; กนกพร แจ่มสมบูรณ์, Author ; เพ็ญจันทร์ แสนประสาน, Author ; นงนุช เตชะวีรากร, Author ; มาเรียม เพราะสุนทร, Author Publication Date: 2017 Article on page: p.85-99 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.27 No.2 (ก.ค-ธ.ค) 2559/2016 [11/16/2017] . - p.85-99Keywords: พยาบาลวิชาชีพ.การจัดการความรู้.การพยาบาลโรคหัวใจและหลอดเลือด. Abstract: การศึกษาเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลกับการจัดการความรู้การพยาบาลโรคหัวใจและหลอดเลือดของพยาบาลวิชาชีพ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดในโรงพยาบาลทุกระดับที่เข้าร่วมประชุมวิชาการประจำปีจัดโดยสมาคมพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอกแห่งประเทศไทยปี 2558 จำนวน 191 คน
เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลมี 3ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) การรับรู้เรื่องโครงสร้างและปัจจัยในองค์กร และ 3)กระบวนการจัดการความรู้ในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัย พบว่า พยาบาลมีการรับรู้กระบวนการจัดการความรู้ในการพยาบาลโรคหัวใจและหลอดเลือดในภาพรวมในระดับมาก ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เรื่องโครงสร้างและปัจจัยในองค์กร ประกอบด้วย การบริหารองค์กร ผู้บริหาร การบริหารเทคโนโลยี วัฒนธรรมองค์กร การเสริมสร้างพลังอำนาจ และการมีส่วนร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ กับกระบวนการจัดการความรู้การพยาบาลโรคหัวใจและหลอดเลือด พบว่ามีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) และพบว่าตัวแปรที่สามารถร่วมกันทำนายกระบวนการจัดการความรู้การพยาบาลโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ดีที่สุดถึงร้อยละ 80.3 ได้แก่ วัฒนธรรมองค์กร ความร่วมมือกับสหสาขา การจัดการเทคโนโลยี และการบริหารองค์กร
งานวิจัยนี้เสนอแนะ ให้มีการพัฒนาการจัดการความรู้อย่างต่อเนื่องในสถานบริการสุขภาพทุกระดับในด้านวัฒนธรรมองค์กร ความร่วมมือกับสหสาขาวิชาชีพ การจัดการเทคโนโลยี และการบริหารองค์กรเพื่อให้มีการพัฒนาการจัดการความรู้ในการพยาบาลโรคหัวใจและหลอดเลือดให้มีประสิทธิภาพLink for e-copy: http://www.thaicvtnurse.org/index.php?option=com Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27491 [article] ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการความรู้ = Factors influencing to knowledge management of cardiovascular nursing in registered nurses : ทางการพยาบาลโรคหัวใจและหลอดเลือดในพยาบาลวิชาชีพ [printed text] / ดวงกมล วัตราดุลย์, Author ; กนกพร แจ่มสมบูรณ์, Author ; เพ็ญจันทร์ แสนประสาน, Author ; นงนุช เตชะวีรากร, Author ; มาเรียม เพราะสุนทร, Author . - 2017 . - p.85-99.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.27 No.2 (ก.ค-ธ.ค) 2559/2016 [11/16/2017] . - p.85-99Keywords: พยาบาลวิชาชีพ.การจัดการความรู้.การพยาบาลโรคหัวใจและหลอดเลือด. Abstract: การศึกษาเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลกับการจัดการความรู้การพยาบาลโรคหัวใจและหลอดเลือดของพยาบาลวิชาชีพ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดในโรงพยาบาลทุกระดับที่เข้าร่วมประชุมวิชาการประจำปีจัดโดยสมาคมพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอกแห่งประเทศไทยปี 2558 จำนวน 191 คน
เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลมี 3ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) การรับรู้เรื่องโครงสร้างและปัจจัยในองค์กร และ 3)กระบวนการจัดการความรู้ในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัย พบว่า พยาบาลมีการรับรู้กระบวนการจัดการความรู้ในการพยาบาลโรคหัวใจและหลอดเลือดในภาพรวมในระดับมาก ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เรื่องโครงสร้างและปัจจัยในองค์กร ประกอบด้วย การบริหารองค์กร ผู้บริหาร การบริหารเทคโนโลยี วัฒนธรรมองค์กร การเสริมสร้างพลังอำนาจ และการมีส่วนร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ กับกระบวนการจัดการความรู้การพยาบาลโรคหัวใจและหลอดเลือด พบว่ามีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) และพบว่าตัวแปรที่สามารถร่วมกันทำนายกระบวนการจัดการความรู้การพยาบาลโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ดีที่สุดถึงร้อยละ 80.3 ได้แก่ วัฒนธรรมองค์กร ความร่วมมือกับสหสาขา การจัดการเทคโนโลยี และการบริหารองค์กร
งานวิจัยนี้เสนอแนะ ให้มีการพัฒนาการจัดการความรู้อย่างต่อเนื่องในสถานบริการสุขภาพทุกระดับในด้านวัฒนธรรมองค์กร ความร่วมมือกับสหสาขาวิชาชีพ การจัดการเทคโนโลยี และการบริหารองค์กรเพื่อให้มีการพัฒนาการจัดการความรู้ในการพยาบาลโรคหัวใจและหลอดเลือดให้มีประสิทธิภาพLink for e-copy: http://www.thaicvtnurse.org/index.php?option=com Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27491 การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาล / มนสภรณ์ วิทูรเมธา in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, Vol.27 No.2 (ก.ค-ธ.ค) 2559/2016 ([11/16/2017])
[article]
Title : การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาล : ของนักศึกษาพยาบาล Material Type: printed text Authors: มนสภรณ์ วิทูรเมธา, Author ; มาลี เอี่ยมสำอาง, Author ; ลัดดาวัลย์ เตชางกูร, Author Publication Date: 2017 Article on page: p.100-113 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.27 No.2 (ก.ค-ธ.ค) 2559/2016 [11/16/2017] . - p.100-113Keywords: ความสามารถในการเรียนรู้.กระบวนการพยาบาล.นักศึกษาพยาบาล. Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการส่งเสริมความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 จำนวน 84 คน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ที่เรียนวิชาปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐาน ปีการศึกษา 2557 และอาจารย์พยาบาล 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย1) แบบประเมินการวางแผนการพยาบาล 2) แบบประเมินความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาล 3)แบบสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาลในการนำกระบวนการพยาบาลไปใช้ และ 4)แนวคำถามการสนทนากลุ่มนักศึกษาพยาบาล เก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่มในนักศึกษาพยาบาล และอาจารย์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลในวิชาปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐานอยู่ในระดับดี (mean = 4.11, S.D. = .291) ปัญหาการใช้กระบวนการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลพบมากที่สุดคือ ขาดทักษะในการประเมินภาวะสุขภาพ ส่วนกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาล คือ 1)การตั้งเป้าหมายในการเรียนของนักศึกษา 2) ฝึกการวางแผนการพยาบาลนำไปใช้ปฏิบัติกับผู้ป่วย 3) มีอาจารย์ให้คำแนะนำ 4) มีการประชุมปรึกษาก่อนและหลังการปฏิบัติงาน 5) มีการเรียนรู้กระบวนการพยาบาลแบบองค์รวม 6) พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ 7) มีทัศนคติที่ดีต่อตนเอง และต่อบุคลากรทางสุขภาพอื่นๆ ส่วนแนวทางการส่งเสริมความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลมี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) เตรียมความรู้ ฝึกทักษะการใช้กระบวนการพยาบาลในนักศึกษา 2) อาจารย์ควรปรับวิธีการสอน การมอบหมายงาน ประเมินผลการใช้กระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติงาน 3) สถาบันหรือคณะพยาบาลควรมีการจัดการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการใช้กระบวนการพยาบาลโดยเพิ่มชั่วโมงการฝึกการเขียนวางแผนการพยาบาล
ผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางการเรียนรู้ในการพัฒนาศักยภาพการใช้กะบวนการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลในวิชาการพยาบาลสาขาอื่นๆ ในสถาบันการศึกษาพยาบาลLink for e-copy: http://www.thaicvtnurse.org/index.php?option=com Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27492 [article] การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาล : ของนักศึกษาพยาบาล [printed text] / มนสภรณ์ วิทูรเมธา, Author ; มาลี เอี่ยมสำอาง, Author ; ลัดดาวัลย์ เตชางกูร, Author . - 2017 . - p.100-113.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.27 No.2 (ก.ค-ธ.ค) 2559/2016 [11/16/2017] . - p.100-113Keywords: ความสามารถในการเรียนรู้.กระบวนการพยาบาล.นักศึกษาพยาบาล. Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการส่งเสริมความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 จำนวน 84 คน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ที่เรียนวิชาปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐาน ปีการศึกษา 2557 และอาจารย์พยาบาล 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย1) แบบประเมินการวางแผนการพยาบาล 2) แบบประเมินความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาล 3)แบบสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาลในการนำกระบวนการพยาบาลไปใช้ และ 4)แนวคำถามการสนทนากลุ่มนักศึกษาพยาบาล เก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่มในนักศึกษาพยาบาล และอาจารย์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลในวิชาปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐานอยู่ในระดับดี (mean = 4.11, S.D. = .291) ปัญหาการใช้กระบวนการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลพบมากที่สุดคือ ขาดทักษะในการประเมินภาวะสุขภาพ ส่วนกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาล คือ 1)การตั้งเป้าหมายในการเรียนของนักศึกษา 2) ฝึกการวางแผนการพยาบาลนำไปใช้ปฏิบัติกับผู้ป่วย 3) มีอาจารย์ให้คำแนะนำ 4) มีการประชุมปรึกษาก่อนและหลังการปฏิบัติงาน 5) มีการเรียนรู้กระบวนการพยาบาลแบบองค์รวม 6) พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ 7) มีทัศนคติที่ดีต่อตนเอง และต่อบุคลากรทางสุขภาพอื่นๆ ส่วนแนวทางการส่งเสริมความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลมี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) เตรียมความรู้ ฝึกทักษะการใช้กระบวนการพยาบาลในนักศึกษา 2) อาจารย์ควรปรับวิธีการสอน การมอบหมายงาน ประเมินผลการใช้กระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติงาน 3) สถาบันหรือคณะพยาบาลควรมีการจัดการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการใช้กระบวนการพยาบาลโดยเพิ่มชั่วโมงการฝึกการเขียนวางแผนการพยาบาล
ผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางการเรียนรู้ในการพัฒนาศักยภาพการใช้กะบวนการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลในวิชาการพยาบาลสาขาอื่นๆ ในสถาบันการศึกษาพยาบาลLink for e-copy: http://www.thaicvtnurse.org/index.php?option=com Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27492 ปัจจัยทำนายการเกิดภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพลิ้ว / พรทิพา ทองมา in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, Vol.27 No.2 (ก.ค-ธ.ค) 2559/2016 ([11/16/2017])
[article]
Title : ปัจจัยทำนายการเกิดภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพลิ้ว : ในผู้ป่วยหลังทำผ่าตัดหัวใจแบบเปิด Material Type: printed text Authors: พรทิพา ทองมา, Author ; อรพรรณ โตสิงห์, Author ; ศิริอร สินธุ, Author ; วรวงศ์ ศลิษฏ์อรรถกร, Author Publication Date: 2017 Article on page: p.114-126 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.27 No.2 (ก.ค-ธ.ค) 2559/2016 [11/16/2017] . - p.114-126Keywords: หัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพลิ้ว.การผ่าตัดหัวใจแบบเปิด.ผู้ป่วยที่ได้รับการทำหัวใจแบบเปิด. Abstract: การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการเกิดภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพลิ้วหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด
กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการทำผ่าตัดหัวใจแบบเปิดจำนวน 150 ราย ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ในกรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วย และการรักษา แบบบันทึกอัตราการกรองของเสียที่ไต แบบประเมินกลุ่มอาการการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย และแบบประเมินการเกิดภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพลิ้ว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติค
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และสามารถทำนายการเกิดภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพลิ้วได้แก่ คะแนนของกลุ่มอาการการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายมากกว่าหรือเท่ากับ 2 คะแนนขึ้นไป (odds ratio, 4.869; 95% CI, 2.277-10.408; p < 0.001) อายุ 50- 60 ปี (odds ratio, 3.542; 95% CI, 0.987-12.703; p=0.041) และระยะเวลาการใช้เครื่องหัวใจ และปอดเทียม >150 นาที (odds, ratio,3.123; 95% CI, 1.276-7.644; p=0.010)
ผลการวิจัยเสนอแนะว่าพยาบาลควรนำปัจจัยที่สามารถทำนายการเกิดภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพลิ้วหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิดมาพัฒนาเป็นแนวปฏิบัติทางการพยาบาลไปใช้เป็นแนวทางการประเมินผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิดLink for e-copy: http://www.thaicvtnurse.org/index.php?option=com Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27493 [article] ปัจจัยทำนายการเกิดภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพลิ้ว : ในผู้ป่วยหลังทำผ่าตัดหัวใจแบบเปิด [printed text] / พรทิพา ทองมา, Author ; อรพรรณ โตสิงห์, Author ; ศิริอร สินธุ, Author ; วรวงศ์ ศลิษฏ์อรรถกร, Author . - 2017 . - p.114-126.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.27 No.2 (ก.ค-ธ.ค) 2559/2016 [11/16/2017] . - p.114-126Keywords: หัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพลิ้ว.การผ่าตัดหัวใจแบบเปิด.ผู้ป่วยที่ได้รับการทำหัวใจแบบเปิด. Abstract: การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการเกิดภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพลิ้วหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด
กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการทำผ่าตัดหัวใจแบบเปิดจำนวน 150 ราย ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ในกรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วย และการรักษา แบบบันทึกอัตราการกรองของเสียที่ไต แบบประเมินกลุ่มอาการการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย และแบบประเมินการเกิดภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพลิ้ว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติค
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และสามารถทำนายการเกิดภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพลิ้วได้แก่ คะแนนของกลุ่มอาการการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายมากกว่าหรือเท่ากับ 2 คะแนนขึ้นไป (odds ratio, 4.869; 95% CI, 2.277-10.408; p < 0.001) อายุ 50- 60 ปี (odds ratio, 3.542; 95% CI, 0.987-12.703; p=0.041) และระยะเวลาการใช้เครื่องหัวใจ และปอดเทียม >150 นาที (odds, ratio,3.123; 95% CI, 1.276-7.644; p=0.010)
ผลการวิจัยเสนอแนะว่าพยาบาลควรนำปัจจัยที่สามารถทำนายการเกิดภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพลิ้วหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิดมาพัฒนาเป็นแนวปฏิบัติทางการพยาบาลไปใช้เป็นแนวทางการประเมินผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิดLink for e-copy: http://www.thaicvtnurse.org/index.php?option=com Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27493