From this page you can:
Home |
Search results
2 result(s) search for keyword(s) 'ลักษณะองค์กรที่เป็นเลิศ, ผลการดำเนินงาน, ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, ภาคเหนือของประเทศไทย'
Add the result to your basket Refine your search Apply to external sources Make a suggestion
SIU THE-T. ลักษณะองค์การที่เป็นเลิศที่มีต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมในเขตภาคเหนือของประเทศไทย / รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร / กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร - 2018
Collection Title: SIU THE-T Title : ลักษณะองค์การที่เป็นเลิศที่มีต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมในเขตภาคเหนือของประเทศไทย Original title : Characteristics of Excellence Performance Organization that Influencing the Performance of Small and Medium Enterprise in Northern Region of Thailand Material Type: printed text Authors: รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร, Author ; ชาญชัย บัญชาพัฒนศักดา, Associated Name ; วิไลพร เลาหโกศล, Associated Name Publisher: กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร Publication Date: 2018 Pagination: xii, 266 น. Layout: ตาราง, ภาพประกอบ Size: 30 ซม. Price: 500.00 บาท General note: SIU THE-T: SOM-DBA-2018-03
Thesis. [DฺBA [บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต บธ.ด.]] -- มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2561Languages : Thai (tha) Descriptors: [LCSH]ธุรกิจขนาดกลาง
[LCSH]ธุรกิจขนาดย่อมKeywords: ลักษณะองค์กรที่เป็นเลิศ,
ผลการดำเนินงาน,
ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม,
ภาคเหนือของประเทศไทยAbstract: งานวิจัยครั้งนี้เพื่อทราบถึงลักษณะองค์การที่เป็นเลิศที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคเหนือของประเทศไทย จากประชากรและกลุ่มตัวอย่างของผู้ประกอบการธุรกิจในเขตพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยทั้งหมด 17 จังหวัด ซึ่งกลุ่มตัวที่ทำการคัดเลือกโดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น (Nonprobability Sampling) การสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เนื่องจากข้อมูลในการประกอบธุรกิจมีความสำคัญและต้องให้ผู้ประกอบการสมัครใจ จำนวน 400 ราย โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิตเชิงพรรณา ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ยร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Arithmetic Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบสมมติฐาน (Hypothesis Testing) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปซึ่งทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปร สำหรับกำหนดการวัดการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว One-Way ANOVA และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient)
ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะองค์การที่เป็นเลิศของธุรกิจธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคเหนือของประเทศไทย ในภาพรวมสอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริงในระดับมาก (x̄ = 3.910) เมื่อพิจารณารายด้านทั้ง 6 ด้าน มีความสอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริงในระดับมากทุกด้านได้แก่ 1.) การนำองค์การ (การกำกับดูแลองค์การ) (x̄ = 3.865) 2.) การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ) (x̄ = 4.062) 3.) การมุ่งเน้นลูกค้า (x̄ = 3.723) 4.) การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ (x̄ = 3.967) 5.) การมุ่งเน้นบุคลากร (x̄ = 4.130) และ 6.) การมุ่งเน้นการปฏิบัติการ (x̄ = 3.715) ผลการดำเนินงานด้านผลลัพธ์ด้านการเงินของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคเหนือของประเทศไทย ในภาพรวมอยู่ในระดับที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเป้าหมาย (x̄ = 3.752) เมื่อพิจารณารายข้ออยู่ในระดับที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเป้าหมายทุกข้อ ได้แก่ อัตราการขยายตัวปีล่าสุดของความสามารถในการชำระหนี้ (Leverage Ratio) (x̄ = 4.305) อัตราการขยายตัวปีล่าสุดของผลตอบแทนต่อนักลงทุน (ROI) (x̄ = 4.245) และอัตราการขยายตัวปีล่าสุดของผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) (x̄ = 3.925)
การทดสอบสมมติฐานของการวิจัยพบว่า ลักษะทางประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันทางด้าน อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และกลุ่มประเภทของธุรกิจ มีค่าเฉลี่ยระดับความสอดคล้องต่อลักษณะขององค์การที่เป็นเลิศที่ไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามจะมีความแตกกันของลักษณะขององค์การที่เป็นเลิศจำแนกตามตำแหน่งงาน ส่วนลักษณะองค์การที่เป็นเลิศของธุรกิจธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคเหนือของประเทศไทยนั้น พบว่า การนำองค์การ (r= 0.610, Sig.= 0.000) การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ (r= -0.160, Sig. = 0.001) การมุ่งเน้นบุคลากร (r= -0.156, Sig. = 0.002) มีความสัมพันธ์ต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (r= -0.001, Sig. = 0.997) การมุ่งเน้นลูกค้า (r= -0.090, Sig. = 0.071) และการมุ่งเน้นการปฏิบัติการ (r= 0.077, Sig. = 0.124) ไม่มีความสัมพันธ์ต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคเหนือของประเทศไทย
นอกจากนี้การนำงานวิจัยไปพัฒนาลักษณะองค์การที่เป็นเลิศที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคเหนือของประเทศไทย ควรมุ่งเน้น การนำองค์กร ซึ่งผู้นำขององค์การได้ชี้นำ ในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับเป้าหมายและสามารถสื่อสารภายในองค์การได้ทั้งองค์การ โดยมีระบบการกำกับดูแลองค์การ ด้านกฎหมาย จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งการตั้งเป้าหมายของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการควบคุม ติดตาม ประเมินผล เพื่อให้เป็นองค์กรแห่งความเป็นเลิศนั้น ควรต้องลดความสัมพันธ์เชิงลบหรือเป็นผลทางลบที่จะทำให้องค์การไม่เป็นองค์การแห่งความเป็นเลิศ โดยต้องมีการทบทวนเป้าหมาย การปรับเปลี่ยนแผนงานให้มีความหยืดหยุ่นหรือทันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจหรือเน้นการวางแผนงาน แผนคน แผนปฏิบัติ ให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์การ ซึ่งต้องมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ในตำแหน่งหน้าที่ของบุคลากร เพื่อให้การสร้างความหยืดหยุ่นในตำแหน่งงานCurricular : BBA/MBA/PhDM Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27838 SIU THE-T. ลักษณะองค์การที่เป็นเลิศที่มีต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมในเขตภาคเหนือของประเทศไทย = Characteristics of Excellence Performance Organization that Influencing the Performance of Small and Medium Enterprise in Northern Region of Thailand [printed text] / รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร, Author ; ชาญชัย บัญชาพัฒนศักดา, Associated Name ; วิไลพร เลาหโกศล, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2018 . - xii, 266 น. : ตาราง, ภาพประกอบ ; 30 ซม.
500.00 บาท
SIU THE-T: SOM-DBA-2018-03
Thesis. [DฺBA [บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต บธ.ด.]] -- มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2561
Languages : Thai (tha)
Descriptors: [LCSH]ธุรกิจขนาดกลาง
[LCSH]ธุรกิจขนาดย่อมKeywords: ลักษณะองค์กรที่เป็นเลิศ,
ผลการดำเนินงาน,
ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม,
ภาคเหนือของประเทศไทยAbstract: งานวิจัยครั้งนี้เพื่อทราบถึงลักษณะองค์การที่เป็นเลิศที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคเหนือของประเทศไทย จากประชากรและกลุ่มตัวอย่างของผู้ประกอบการธุรกิจในเขตพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยทั้งหมด 17 จังหวัด ซึ่งกลุ่มตัวที่ทำการคัดเลือกโดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น (Nonprobability Sampling) การสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เนื่องจากข้อมูลในการประกอบธุรกิจมีความสำคัญและต้องให้ผู้ประกอบการสมัครใจ จำนวน 400 ราย โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิตเชิงพรรณา ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ยร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Arithmetic Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบสมมติฐาน (Hypothesis Testing) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปซึ่งทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปร สำหรับกำหนดการวัดการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว One-Way ANOVA และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient)
ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะองค์การที่เป็นเลิศของธุรกิจธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคเหนือของประเทศไทย ในภาพรวมสอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริงในระดับมาก (x̄ = 3.910) เมื่อพิจารณารายด้านทั้ง 6 ด้าน มีความสอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริงในระดับมากทุกด้านได้แก่ 1.) การนำองค์การ (การกำกับดูแลองค์การ) (x̄ = 3.865) 2.) การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ) (x̄ = 4.062) 3.) การมุ่งเน้นลูกค้า (x̄ = 3.723) 4.) การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ (x̄ = 3.967) 5.) การมุ่งเน้นบุคลากร (x̄ = 4.130) และ 6.) การมุ่งเน้นการปฏิบัติการ (x̄ = 3.715) ผลการดำเนินงานด้านผลลัพธ์ด้านการเงินของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคเหนือของประเทศไทย ในภาพรวมอยู่ในระดับที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเป้าหมาย (x̄ = 3.752) เมื่อพิจารณารายข้ออยู่ในระดับที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเป้าหมายทุกข้อ ได้แก่ อัตราการขยายตัวปีล่าสุดของความสามารถในการชำระหนี้ (Leverage Ratio) (x̄ = 4.305) อัตราการขยายตัวปีล่าสุดของผลตอบแทนต่อนักลงทุน (ROI) (x̄ = 4.245) และอัตราการขยายตัวปีล่าสุดของผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) (x̄ = 3.925)
การทดสอบสมมติฐานของการวิจัยพบว่า ลักษะทางประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันทางด้าน อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และกลุ่มประเภทของธุรกิจ มีค่าเฉลี่ยระดับความสอดคล้องต่อลักษณะขององค์การที่เป็นเลิศที่ไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามจะมีความแตกกันของลักษณะขององค์การที่เป็นเลิศจำแนกตามตำแหน่งงาน ส่วนลักษณะองค์การที่เป็นเลิศของธุรกิจธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคเหนือของประเทศไทยนั้น พบว่า การนำองค์การ (r= 0.610, Sig.= 0.000) การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ (r= -0.160, Sig. = 0.001) การมุ่งเน้นบุคลากร (r= -0.156, Sig. = 0.002) มีความสัมพันธ์ต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (r= -0.001, Sig. = 0.997) การมุ่งเน้นลูกค้า (r= -0.090, Sig. = 0.071) และการมุ่งเน้นการปฏิบัติการ (r= 0.077, Sig. = 0.124) ไม่มีความสัมพันธ์ต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคเหนือของประเทศไทย
นอกจากนี้การนำงานวิจัยไปพัฒนาลักษณะองค์การที่เป็นเลิศที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคเหนือของประเทศไทย ควรมุ่งเน้น การนำองค์กร ซึ่งผู้นำขององค์การได้ชี้นำ ในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับเป้าหมายและสามารถสื่อสารภายในองค์การได้ทั้งองค์การ โดยมีระบบการกำกับดูแลองค์การ ด้านกฎหมาย จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งการตั้งเป้าหมายของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการควบคุม ติดตาม ประเมินผล เพื่อให้เป็นองค์กรแห่งความเป็นเลิศนั้น ควรต้องลดความสัมพันธ์เชิงลบหรือเป็นผลทางลบที่จะทำให้องค์การไม่เป็นองค์การแห่งความเป็นเลิศ โดยต้องมีการทบทวนเป้าหมาย การปรับเปลี่ยนแผนงานให้มีความหยืดหยุ่นหรือทันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจหรือเน้นการวางแผนงาน แผนคน แผนปฏิบัติ ให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์การ ซึ่งต้องมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ในตำแหน่งหน้าที่ของบุคลากร เพื่อให้การสร้างความหยืดหยุ่นในตำแหน่งงานCurricular : BBA/MBA/PhDM Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27838 Hold
Place a hold on this item
Copies
Barcode Call number Media type Location Section Status 32002000598191 SIU THE-T: SOM-DBA-2018-03 c.1 SIU Thesis and Dissertation Graduate Library Thesis Corner Available 32002000598225 SIU THE-T: SOM-DBA-2018-03 c.2 SIU Thesis and Dissertation Graduate Library Thesis Corner Available SIU THE-T. การกำกับดูแลกิจการที่มีต่อผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย / เบญจพร โมกขะเวส
Collection Title: SIU THE-T Title : การกำกับดูแลกิจการที่มีต่อผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย Original title : Corporate Governance Affects on Financial Performance of the Listed Companies on the Stock Exchange of Thailand Material Type: printed text Authors: เบญจพร โมกขะเวส, Author ; ชาญชัย บัญชาพัฒนศักดา, Associated Name ; อุษณีย์ เสวกวัชรี, Associated Name Pagination: x, 271 น. Layout: ตาราง, ภาพประกอบ Size: 30 ซม. Price: 500.00 บาท General note: SIU THE-T: SOM-DBA-2018-09
Thesis. [DฺBA [บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต บธ.ด.]] -- มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2561Languages : Thai (tha) Descriptors: [LCSH]การกำกับดูแลกิจการ
[LCSH]ตลาดหลักทรัพย์ -- ไทยKeywords: การกำกับดูแลกิจการ,
ขนาดคณะกรรมการบริษัท,
ความเป็นอิสระของประธานกรรมการ,
ผลการดำเนินงานทางการเงิน,
ผู้บริหารระดับสูงไม่มีการควบรวมตำแหน่ง,
มูลค่าของกิจการ,
ระดับคะแนนการกำกับดูแลกิจการAbstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงผลของการกำกับดูแลกิจการที่มีต่อผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยวัดผลการดำเนินงาน 2 ด้าน คือ 1) ผลการดำเนินงานทางการเงินวัดค่าโดยใช้อัตราส่วนกำไรสุทธิ อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมและอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น และ2) ผลการดำเนินงานทางการตลาดวัดค่าโดยใช้มูลค่าของกิจการ (Tobin’s Q) กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 188 บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีระดับคะแนนการกำกับดูแลกิจการในระดับดีเลิศ ระดับดีมาก ระดับดีและระดับที่ต่ำกว่าระดับดี ติดต่อกันระหว่างปี 2551-2560 ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสม (mixed methods research) นั่นคือ เป็นทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุเพื่อทดสอบสมมติฐาน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และ 0.05 และขั้นต่อไปคือการวิจัยเชิงคุณภาพ (quality research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหาร (in-depth interview)
ผลการศึกษาพบว่าระดับคะแนนการกำกับดูแลกิจการ ความเป็นอิสระของประธานกรรมการ ขนาดคณะกรรมการบริษัทและผู้บริหารระดับสูงไม่มีการควบรวมตำแหน่งมีผลต่อผลการดำเนินงานของบริษัทซึ่งวัดค่าจากผลการดำเนินงานทางการเงินโดยใช้อัตราส่วนกำไรสุทธิ อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมและอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ขณะที่สัดส่วนกรรมการอิสระไม่มีผลต่ออัตราส่วนกำไรสุทธิ อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมและอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น นอกจากนี้ยังพบว่าระดับคะแนนการกำกับดูแลกิจการ ความเป็นอิสระของประธานกรรมการ สัดส่วนกรรมการอิสระและผู้บริหารระดับสูงไม่มีการควบรวมตำแหน่งมีผลต่อผลการดำเนินงานของบริษัทซึ่งวัดค่าจากผลการดำเนินงานทางการตลาดโดยใช้มูลค่าของกิจการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ขณะที่ขนาดคณะกรรมการบริษัทไม่มีผลต่อมูลค่าของกิจการ ทั้งนี้ แนวทางการพัฒนาผลของการกำกับดูแลกิจการที่มีต่อผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ควรมุ่งเน้น คือ 1) ควรพัฒนาการกำกับดูแลกิจการที่ดีควรให้สอดคล้องกับสถานการณ์และสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลง 2) ควรมีการส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนไทยมีนโยบายเกี่ยวกับโครงสร้างคณะกรรมการอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม 3) คณะกรรมการควรมีภาวะผู้นำ วิสัยทัศน์ที่กว้างไกลและหลากหลายมิติ คุณลักษณะ คุณสมบัติที่หลากหลาย การปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นอิสระจากฝ่ายบริหารจัดการ 4) ต้องมีความรับผิดชอบในการให้บริการลูกค้าในการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องไว้อย่างครบถ้วน 5) คณะกรรมการควรมีการกำหนดนโยบายให้ความสำคัญกับการต่อต้านการคอรัปชั่นภายในองค์กรในทุกระดับชั้นของการดำเนินการ 6) คณะกรรมการควรกำหนดนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างชัดเจนและใช้เป็นแนวทางยึดถือปฏิบัติเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้บริษัทสามารถบรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ สร้างความมั่งคั่งและการเติบโตอย่างยั่งยืนให้แก่บริษัทCurricular : BBA/MBA/PhDM Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27962 SIU THE-T. การกำกับดูแลกิจการที่มีต่อผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย = Corporate Governance Affects on Financial Performance of the Listed Companies on the Stock Exchange of Thailand [printed text] / เบญจพร โมกขะเวส, Author ; ชาญชัย บัญชาพัฒนศักดา, Associated Name ; อุษณีย์ เสวกวัชรี, Associated Name . - [s.d.] . - x, 271 น. : ตาราง, ภาพประกอบ ; 30 ซม.
500.00 บาท
SIU THE-T: SOM-DBA-2018-09
Thesis. [DฺBA [บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต บธ.ด.]] -- มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2561
Languages : Thai (tha)
Descriptors: [LCSH]การกำกับดูแลกิจการ
[LCSH]ตลาดหลักทรัพย์ -- ไทยKeywords: การกำกับดูแลกิจการ,
ขนาดคณะกรรมการบริษัท,
ความเป็นอิสระของประธานกรรมการ,
ผลการดำเนินงานทางการเงิน,
ผู้บริหารระดับสูงไม่มีการควบรวมตำแหน่ง,
มูลค่าของกิจการ,
ระดับคะแนนการกำกับดูแลกิจการAbstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงผลของการกำกับดูแลกิจการที่มีต่อผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยวัดผลการดำเนินงาน 2 ด้าน คือ 1) ผลการดำเนินงานทางการเงินวัดค่าโดยใช้อัตราส่วนกำไรสุทธิ อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมและอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น และ2) ผลการดำเนินงานทางการตลาดวัดค่าโดยใช้มูลค่าของกิจการ (Tobin’s Q) กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 188 บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีระดับคะแนนการกำกับดูแลกิจการในระดับดีเลิศ ระดับดีมาก ระดับดีและระดับที่ต่ำกว่าระดับดี ติดต่อกันระหว่างปี 2551-2560 ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสม (mixed methods research) นั่นคือ เป็นทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุเพื่อทดสอบสมมติฐาน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และ 0.05 และขั้นต่อไปคือการวิจัยเชิงคุณภาพ (quality research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหาร (in-depth interview)
ผลการศึกษาพบว่าระดับคะแนนการกำกับดูแลกิจการ ความเป็นอิสระของประธานกรรมการ ขนาดคณะกรรมการบริษัทและผู้บริหารระดับสูงไม่มีการควบรวมตำแหน่งมีผลต่อผลการดำเนินงานของบริษัทซึ่งวัดค่าจากผลการดำเนินงานทางการเงินโดยใช้อัตราส่วนกำไรสุทธิ อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมและอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ขณะที่สัดส่วนกรรมการอิสระไม่มีผลต่ออัตราส่วนกำไรสุทธิ อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมและอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น นอกจากนี้ยังพบว่าระดับคะแนนการกำกับดูแลกิจการ ความเป็นอิสระของประธานกรรมการ สัดส่วนกรรมการอิสระและผู้บริหารระดับสูงไม่มีการควบรวมตำแหน่งมีผลต่อผลการดำเนินงานของบริษัทซึ่งวัดค่าจากผลการดำเนินงานทางการตลาดโดยใช้มูลค่าของกิจการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ขณะที่ขนาดคณะกรรมการบริษัทไม่มีผลต่อมูลค่าของกิจการ ทั้งนี้ แนวทางการพัฒนาผลของการกำกับดูแลกิจการที่มีต่อผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ควรมุ่งเน้น คือ 1) ควรพัฒนาการกำกับดูแลกิจการที่ดีควรให้สอดคล้องกับสถานการณ์และสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลง 2) ควรมีการส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนไทยมีนโยบายเกี่ยวกับโครงสร้างคณะกรรมการอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม 3) คณะกรรมการควรมีภาวะผู้นำ วิสัยทัศน์ที่กว้างไกลและหลากหลายมิติ คุณลักษณะ คุณสมบัติที่หลากหลาย การปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นอิสระจากฝ่ายบริหารจัดการ 4) ต้องมีความรับผิดชอบในการให้บริการลูกค้าในการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องไว้อย่างครบถ้วน 5) คณะกรรมการควรมีการกำหนดนโยบายให้ความสำคัญกับการต่อต้านการคอรัปชั่นภายในองค์กรในทุกระดับชั้นของการดำเนินการ 6) คณะกรรมการควรกำหนดนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างชัดเจนและใช้เป็นแนวทางยึดถือปฏิบัติเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้บริษัทสามารถบรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ สร้างความมั่งคั่งและการเติบโตอย่างยั่งยืนให้แก่บริษัทCurricular : BBA/MBA/PhDM Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27962 Hold
Place a hold on this item
Copies
Barcode Call number Media type Location Section Status 32002000607986 SIU THE-T: SOM-DBA-2018-09 c.1 SIU Thesis and Dissertation Graduate Library Thesis Corner Available 32002000607983 SIU THE-T: SOM-DBA-2018-09 c.2 SIU Thesis and Dissertation Graduate Library Thesis Corner Available