From this page you can:
Home |
วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก / สมาคมพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอกแห่งประเทศไทย . Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017Published date : 11/16/2017 |
Available articles
Add the result to your basketการจัดการความปวดในผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด / กนกวรรณ สว่างศรี in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 ([11/16/2017])
[article]
Title : การจัดการความปวดในผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด Original title : Pain management in patients undergoing open heart surgery Material Type: printed text Authors: กนกวรรณ สว่างศรี, Author Publication Date: 2017 Article on page: p.2-15 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 [11/16/2017] . - p.2-15Keywords: การจัดการความปวด.การประเมินความปวด.ผ่าตัดหัวใจแบบเปิด. Abstract: การผ่าตัดหัวใจแบบเปิด เป็นการผ่าตัดที่มีการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อมาก ร่วมกับภายหลังผ่าตัด ผู้ป่วยต้องคาท่อช่วยหายใจ สายระบายทรวงอก และสายสวนต่างๆ ซึ่งล้วนก่อให้เกิดความปวดมากขึ้น การจัดการความปวดควรครอบคลุมระยะก่อน ระหว่าง และหลังผ่าตัด ภายหลังการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดในระยะวิกฤต ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีข้อจำกัดในการสื่อสารจากการคาท่อช่วยหายใจและการได้รับยาระงับประสาท จึงมีความเสี่ยงที่อาจจะไม่ได้รับการจัดการความปวดที่เพียงพอ การประเมินความปวดเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดการความปวด เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินความปวด ได้แก่ เครื่องมือที่ใช้ประเมินความปวดในผู้ป่วยที่สื่อสารได้ดี และเครื่องมือที่ใช้ประเมินความปวดในผู้ป่วยที่สื่อสารได้จำกัด พยาบาลผู้ดูแลในหน่วยวิกฤตจึงควรเลือกใช้เครื่องมือในการประเมินความปวดที่เหมาะสมกับสภาพของผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อนำไปสู่การจัดการความปวดด้วยวิธีการใช้ยาและไม่ใช้ยาอย่างเหมาะสม และเกิดผลลัพธ์ของการจัดการความปวดที่มีประสิทธิภาพ Link for e-copy: http://www.thaicvtnurse.org/index.php?option=com Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27484 [article] การจัดการความปวดในผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด = Pain management in patients undergoing open heart surgery [printed text] / กนกวรรณ สว่างศรี, Author . - 2017 . - p.2-15.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 [11/16/2017] . - p.2-15Keywords: การจัดการความปวด.การประเมินความปวด.ผ่าตัดหัวใจแบบเปิด. Abstract: การผ่าตัดหัวใจแบบเปิด เป็นการผ่าตัดที่มีการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อมาก ร่วมกับภายหลังผ่าตัด ผู้ป่วยต้องคาท่อช่วยหายใจ สายระบายทรวงอก และสายสวนต่างๆ ซึ่งล้วนก่อให้เกิดความปวดมากขึ้น การจัดการความปวดควรครอบคลุมระยะก่อน ระหว่าง และหลังผ่าตัด ภายหลังการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดในระยะวิกฤต ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีข้อจำกัดในการสื่อสารจากการคาท่อช่วยหายใจและการได้รับยาระงับประสาท จึงมีความเสี่ยงที่อาจจะไม่ได้รับการจัดการความปวดที่เพียงพอ การประเมินความปวดเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดการความปวด เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินความปวด ได้แก่ เครื่องมือที่ใช้ประเมินความปวดในผู้ป่วยที่สื่อสารได้ดี และเครื่องมือที่ใช้ประเมินความปวดในผู้ป่วยที่สื่อสารได้จำกัด พยาบาลผู้ดูแลในหน่วยวิกฤตจึงควรเลือกใช้เครื่องมือในการประเมินความปวดที่เหมาะสมกับสภาพของผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อนำไปสู่การจัดการความปวดด้วยวิธีการใช้ยาและไม่ใช้ยาอย่างเหมาะสม และเกิดผลลัพธ์ของการจัดการความปวดที่มีประสิทธิภาพ Link for e-copy: http://www.thaicvtnurse.org/index.php?option=com Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27484 หลอดเลือดดำอักเสบในผู้ป่วยเด็ก / วิมลวัลย์ วโรฬาร in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 ([11/16/2017])
[article]
Title : หลอดเลือดดำอักเสบในผู้ป่วยเด็ก : การป้องกัน Original title : Phlebitis in pediatric patients: prevention and care Material Type: printed text Authors: วิมลวัลย์ วโรฬาร, Author Publication Date: 2017 Article on page: p.16-28 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 [11/16/2017] . - p.16-28Keywords: หลอดเลือดดำอักเสบ.ผู้ป่วยเด็ก.การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ. Abstract: หลอดเลือดดำอักเสบเป็นภาวะแทรกซ้อนของการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำที่พบบ่อยในผู้ป่วยเด็ก ความรุนแรงมีตั้งแต่ระดับน้อยถึงมากที่สุด ซึ่งอาจนำไปสู่การติดเชื้อในกระแสเลือด พยาบาลเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการป้องกัน ประเมิน ดูแลผู้ป่วยเด็กให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลายอย่างปลอดภัย พยาบาลจึงต้องมีความรู้เกี่ยวกับการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบและแนวปฏิบัติทางคลินิกเพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบที่เกิดจากปัจจัยสาเหตุต่าง ๆ บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนความรู้ที่ทันสมัยเกี่ยวกับปัจจัยสาเหตุของหลอดเลือดดำอักเสบ การประเมินการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบ และการดูแลผู้ป่วยเด็กที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำให้ปลอดภัยจากการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบ Link for e-copy: http://www.thaicvtnurse.org/index.php?option=com Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27494 [article] หลอดเลือดดำอักเสบในผู้ป่วยเด็ก = Phlebitis in pediatric patients: prevention and care : การป้องกัน [printed text] / วิมลวัลย์ วโรฬาร, Author . - 2017 . - p.16-28.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 [11/16/2017] . - p.16-28Keywords: หลอดเลือดดำอักเสบ.ผู้ป่วยเด็ก.การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ. Abstract: หลอดเลือดดำอักเสบเป็นภาวะแทรกซ้อนของการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำที่พบบ่อยในผู้ป่วยเด็ก ความรุนแรงมีตั้งแต่ระดับน้อยถึงมากที่สุด ซึ่งอาจนำไปสู่การติดเชื้อในกระแสเลือด พยาบาลเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการป้องกัน ประเมิน ดูแลผู้ป่วยเด็กให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลายอย่างปลอดภัย พยาบาลจึงต้องมีความรู้เกี่ยวกับการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบและแนวปฏิบัติทางคลินิกเพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบที่เกิดจากปัจจัยสาเหตุต่าง ๆ บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนความรู้ที่ทันสมัยเกี่ยวกับปัจจัยสาเหตุของหลอดเลือดดำอักเสบ การประเมินการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบ และการดูแลผู้ป่วยเด็กที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำให้ปลอดภัยจากการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบ Link for e-copy: http://www.thaicvtnurse.org/index.php?option=com Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27494 ประสิทธิผลของโปรแกรมการเพิ่มความสามารถ / ประกาย จิโรจน์กุล in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 ([11/16/2017])
[article]
Title : ประสิทธิผลของโปรแกรมการเพิ่มความสามารถ : ในการจัดการตนเอง ของบุคคลที่มีความดันโลหิตสูง Material Type: printed text Authors: ประกาย จิโรจน์กุล, Author ; สมจิต นิปัทธหัตถพงศ์, Author ; นิภา ลีสุคนธ์, Author ; เพลินตา พิพัฒน์สมบัติ, Author ; ณัฐนาฎ เร้าเสถียร, Author ; เรณู ขวัญยืน, Author Publication Date: 2017 Article on page: p.29-43 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 [11/16/2017] . - p.29-43Keywords: โปรแกรมการเพิ่มความสามารถในการจัดการตนเอง.โรคความดันโลหิตสุูง.การสร้างเสริมสุขภาพ. Abstract: การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาและประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมการเพิ่มความสามารถในการจัดการตนเองของบุคคลที่มีความดันโลหิตสูง โดยประยุกต์ใช้โปรแกรมการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงของแคนาดา และแบบจำลองการสร้างเสริมสุขภาพของเพ็นเดอร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์จำนวน 62 คนจากผู้สมัครเข้าร่วมโครงการจำนวน 70 คน
การจัดกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีจับคู่จาก ระดับความดันโลหิต อายุ ระดับการศึกษา และลักษณะงานที่ทำ ได้จำนวน 31 คู่ แล้วสุ่มให้เข้ากลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม
โปรแกรมการเพิ่มความสามารถในการจัดการตนเองใช้เวลา 8 สัปดาห์ ประกอบไปด้วยกิจกรรมหลัก ดังนี้ 1) ในสัปดาห์ที่ 1 กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมได้รับความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง พร้อมกัน 2) ในสัปดาห์ที่ 2, 4, 6 และ 8 เป็นกิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาทักษะในการจัดการตนเองทั้ง 7 ด้านสำหรับกลุ่มทดลอง คือ ด้านการลดโซเดียม การลดแอลกอฮอลล์ การลดไขมันแต่เพิ่มผักผลไม้; ด้านการออกกำลังกายแบบแอโรบิค ด้านการรักษาน้ำหนักของร่างกาย; ด้านการบริหารจัดการความเครียด; และด้านการปฏิบัติตามแผนการรักษาด้วยยาตามลำดับ มีการประเมินก่อนและหลังการทดลองในสัปดาห์ที่ 1 และ 10 ในระหว่างสัปดาห์ที่ 2-10 กลุ่มควบคุมดำเนินชีวิตตามปกติ ทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมในกลุ่มทดลอง ระหว่างก่อนและหลังการทดลองวัดจากค่าความดันโลหิตซิสโตลิค และไดแอสโตลิค น้ำหนัก ดัชนีมวลกาย เส้นรอบวงเอว และค่าระดับ HDL-C, LDL-C, Triglycerideในเลือด, การรับรู้ประโยชน์ของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, การรับรู้อุปสรรคของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, และ การรับรู้ความสามารถของตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Paired t-test และ independent-t-test
ผลการวิจัยพบว่า ค่าความดันโลหิตซิสโตลิค, เส้นรอบวงเอว, และการรับรู้อุปสรรค ก่อนและหลังการทดลอง ของกลุ่มทดลอง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
การศึกษานี้มีข้อเสนอแนะว่าโปรแกรมเพิ่มความสามารถในการจัดการตนเองสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการจัดการตนเองเพื่อสร้างเสริมสุขภาพในสถานที่ทำงานอื่นๆLink for e-copy: http://www.thaicvtnurse.org/index.php?option=com Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27495 [article] ประสิทธิผลของโปรแกรมการเพิ่มความสามารถ : ในการจัดการตนเอง ของบุคคลที่มีความดันโลหิตสูง [printed text] / ประกาย จิโรจน์กุล, Author ; สมจิต นิปัทธหัตถพงศ์, Author ; นิภา ลีสุคนธ์, Author ; เพลินตา พิพัฒน์สมบัติ, Author ; ณัฐนาฎ เร้าเสถียร, Author ; เรณู ขวัญยืน, Author . - 2017 . - p.29-43.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 [11/16/2017] . - p.29-43Keywords: โปรแกรมการเพิ่มความสามารถในการจัดการตนเอง.โรคความดันโลหิตสุูง.การสร้างเสริมสุขภาพ. Abstract: การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาและประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมการเพิ่มความสามารถในการจัดการตนเองของบุคคลที่มีความดันโลหิตสูง โดยประยุกต์ใช้โปรแกรมการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงของแคนาดา และแบบจำลองการสร้างเสริมสุขภาพของเพ็นเดอร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์จำนวน 62 คนจากผู้สมัครเข้าร่วมโครงการจำนวน 70 คน
การจัดกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีจับคู่จาก ระดับความดันโลหิต อายุ ระดับการศึกษา และลักษณะงานที่ทำ ได้จำนวน 31 คู่ แล้วสุ่มให้เข้ากลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม
โปรแกรมการเพิ่มความสามารถในการจัดการตนเองใช้เวลา 8 สัปดาห์ ประกอบไปด้วยกิจกรรมหลัก ดังนี้ 1) ในสัปดาห์ที่ 1 กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมได้รับความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง พร้อมกัน 2) ในสัปดาห์ที่ 2, 4, 6 และ 8 เป็นกิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาทักษะในการจัดการตนเองทั้ง 7 ด้านสำหรับกลุ่มทดลอง คือ ด้านการลดโซเดียม การลดแอลกอฮอลล์ การลดไขมันแต่เพิ่มผักผลไม้; ด้านการออกกำลังกายแบบแอโรบิค ด้านการรักษาน้ำหนักของร่างกาย; ด้านการบริหารจัดการความเครียด; และด้านการปฏิบัติตามแผนการรักษาด้วยยาตามลำดับ มีการประเมินก่อนและหลังการทดลองในสัปดาห์ที่ 1 และ 10 ในระหว่างสัปดาห์ที่ 2-10 กลุ่มควบคุมดำเนินชีวิตตามปกติ ทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมในกลุ่มทดลอง ระหว่างก่อนและหลังการทดลองวัดจากค่าความดันโลหิตซิสโตลิค และไดแอสโตลิค น้ำหนัก ดัชนีมวลกาย เส้นรอบวงเอว และค่าระดับ HDL-C, LDL-C, Triglycerideในเลือด, การรับรู้ประโยชน์ของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, การรับรู้อุปสรรคของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, และ การรับรู้ความสามารถของตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Paired t-test และ independent-t-test
ผลการวิจัยพบว่า ค่าความดันโลหิตซิสโตลิค, เส้นรอบวงเอว, และการรับรู้อุปสรรค ก่อนและหลังการทดลอง ของกลุ่มทดลอง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
การศึกษานี้มีข้อเสนอแนะว่าโปรแกรมเพิ่มความสามารถในการจัดการตนเองสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการจัดการตนเองเพื่อสร้างเสริมสุขภาพในสถานที่ทำงานอื่นๆLink for e-copy: http://www.thaicvtnurse.org/index.php?option=com Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27495 ผลของรูปแบบบริการผู้ป่วยนอกโรคเบาหวาน / ไซนับ ศุภศิริ in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 ([11/16/2017])
[article]
Title : ผลของรูปแบบบริการผู้ป่วยนอกโรคเบาหวาน : ต่อระยะเวลารอคอย และความพึงพอใจในบริการ Original title : The effects of a service model for the diabetic out-patient department on waiting time and patients’ satisfaction Material Type: printed text Authors: ไซนับ ศุภศิริ, Author ; สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, Author ; ดวงใจ เปลี่ยนบำรุง, Author Publication Date: 2017 Article on page: p.44-56 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 [11/16/2017] . - p.44-56Keywords: รูปแบบบริการผู้ป่วยนอก.โรคเบาหวาน.ระยะเวลารอคอย.ความพึงพอใจของผู้ป่วย. Abstract: การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของรูปแบบบริการผู้ป่วยนอกโรคเบาหวาน ต่อระยะเวลารอคอยและความพึงพอใจในบริการ
กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่มารับบริการ ณ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมายอ จังหวัดปัตตานี จำนวน 462 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 254 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 208 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบบริการผู้ป่วยโรคเบาหวาน แผนกผู้ป่วยนอก ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากทฤษฎีแถวคอยและการมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพ แบบบันทึกระยะเวลารอคอย นาฬิกาจับเวลา และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติแมนวิทนีย์ยู
ผลการวิจัยพบว่า ระยะเวลารอคอยของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในกลุ่มทดลองน้อยกว่าผู้ป่วยในกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความพึงพอใจในบริการของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในกลุ่มทดลองสูงกว่าผู้ป่วยในกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
การวิจัยครั้งนี้เสนอแนะให้นำรูปแบบบริการที่ประยุกต์จากทฤษฎีแถวคอยไปใช้ในแผนกผู้ป่วยนอกในสถานบริการสุขภาพอื่นๆ เพื่อลดระยะเวลารอคอยและเพิ่มความพึงพอใจLink for e-copy: http://www.thaicvtnurse.org/index.php?option=com Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27496 [article] ผลของรูปแบบบริการผู้ป่วยนอกโรคเบาหวาน = The effects of a service model for the diabetic out-patient department on waiting time and patients’ satisfaction : ต่อระยะเวลารอคอย และความพึงพอใจในบริการ [printed text] / ไซนับ ศุภศิริ, Author ; สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, Author ; ดวงใจ เปลี่ยนบำรุง, Author . - 2017 . - p.44-56.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 [11/16/2017] . - p.44-56Keywords: รูปแบบบริการผู้ป่วยนอก.โรคเบาหวาน.ระยะเวลารอคอย.ความพึงพอใจของผู้ป่วย. Abstract: การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของรูปแบบบริการผู้ป่วยนอกโรคเบาหวาน ต่อระยะเวลารอคอยและความพึงพอใจในบริการ
กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่มารับบริการ ณ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมายอ จังหวัดปัตตานี จำนวน 462 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 254 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 208 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบบริการผู้ป่วยโรคเบาหวาน แผนกผู้ป่วยนอก ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากทฤษฎีแถวคอยและการมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพ แบบบันทึกระยะเวลารอคอย นาฬิกาจับเวลา และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติแมนวิทนีย์ยู
ผลการวิจัยพบว่า ระยะเวลารอคอยของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในกลุ่มทดลองน้อยกว่าผู้ป่วยในกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความพึงพอใจในบริการของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในกลุ่มทดลองสูงกว่าผู้ป่วยในกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
การวิจัยครั้งนี้เสนอแนะให้นำรูปแบบบริการที่ประยุกต์จากทฤษฎีแถวคอยไปใช้ในแผนกผู้ป่วยนอกในสถานบริการสุขภาพอื่นๆ เพื่อลดระยะเวลารอคอยและเพิ่มความพึงพอใจLink for e-copy: http://www.thaicvtnurse.org/index.php?option=com Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27496 การประเมินผลการพัฒนารูปแบบการจัดบริการผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ST ยก ในสถานบริการสาธารณสุข จังหวัดสระบุรี / นพมาศ พงษ์ประจักษ์ in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 ([11/16/2017])
[article]
Title : การประเมินผลการพัฒนารูปแบบการจัดบริการผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ST ยก ในสถานบริการสาธารณสุข จังหวัดสระบุรี : ในสถานบริการสาธารณสุข จังหวัดสระบุรี Material Type: printed text Authors: นพมาศ พงษ์ประจักษ์, Author ; พิธา พรหมลิขิตชัย, Author ; ทิตยา ด้วงเงิน, Author Publication Date: 2017 Article on page: p.69-80 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 [11/16/2017] . - p.69-80Keywords: กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน.ีระยะเวลากล้มเนื้อหัวใจขาดเลือด.ระยเวลาการให้ยาละลายลิ่มเลือด.รูปแบบการจัดบริการ.อัตราการเสียชีวิต. Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบการศึกษาย้อนหลังมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการพัฒนารูปแบบการจัดบริการการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ST ยก ในสถานบริการสาธารณสุข จังหวัดสระบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือเวชระเบียนของผู้ป่วยกลุ่มโรคนี้ที่มารับบริการ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มก่อนการพัฒนารูปแบบ ระหว่าง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ถึง 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558 จำนวน 146 ราย และกลุ่มหลังการพัฒนารูปแบบฯ ระหว่าง 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2559 จำนวน 176 ราย เก็บข้อมูลก่อนและหลังการพัฒนารูปแบบการจัดบริการได้แก่ ระยะเวลากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Total Ischemic Time) ระยะเวลาการให้ยาละลายลิ่มเลือด (Door to Needle Time) และอัตราการเสียชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าสถิติ t–test และ Chi- Square Test
ผลการศึกษา พบว่า การพัฒนารูปแบบจากการให้ยาละลายลิ่มเลือด นอกจากจะรักษาได้เฉพาะในรพ.ศูนย์ (รพศ.) และรพ.ทั่วไป (รพท.) แล้ว ยังให้ยาละลายลิ่มเลือดได้ทั้ง รพศ. รพท. และรพ.ชุมชน (รพช.) ได้ผลลัพธ์ดังนี้ 1) ระยะเวลากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Total Ischemic Time) เฉลี่ย ลดลงจาก 225.11 นาที (SD = 143.65) เป็น 182.36 นาที (SD = 125.97) ซึ่งไม่แตกต่างจากระยะเวลาที่มีประสิทธิภาพการรักษาสูงสุดของการให้ยาละลายลิ่มเลือด(180 นาที) 2) ระยะเวลาการให้ยาละลายลิ่มเลือด (Door to Needle Time) เฉลี่ยของรพท.เพิ่มขึ้นจาก 37.36 นาที (SD = 19.66) เป็น 57.03 นาที (SD = 45.06) รพศ.เพิ่มขึ้นจาก 45.71 (SD = 31.69) นาที เป็น 60.41 นาที (SD = 41.10) และรพช.มีค่า 54.80 นาที (SD = 28.49) ซึ่งระยะหลังการพัฒนาในรพ.ทุกระดับมีค่าสูงกว่าค่ามาตรฐาน (30นาที) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) อัตราการเสียชีวิตเฉลี่ยระยะก่อนการพัฒนา ร้อยละ 23.97 ระยะหลังการพัฒนา ร้อยละ 15.91 ลดลง ร้อยละ 8.06 แต่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ST ยก กับระยะเวลาตามรูปแบบการพัฒนาการให้ยาละลายลิ่มเลือด
ผลการศึกษานี้เสนอแนะว่าควรมีการพัฒนารูปแบบเชิงรุกและขยายรูปแบบในการดูแลจัดบริการการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ST ยกในสถาบยริการอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง
Link for e-copy: http://www.thaicvtnurse.org/index.php?option=com Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27497 [article] การประเมินผลการพัฒนารูปแบบการจัดบริการผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ST ยก ในสถานบริการสาธารณสุข จังหวัดสระบุรี : ในสถานบริการสาธารณสุข จังหวัดสระบุรี [printed text] / นพมาศ พงษ์ประจักษ์, Author ; พิธา พรหมลิขิตชัย, Author ; ทิตยา ด้วงเงิน, Author . - 2017 . - p.69-80.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 [11/16/2017] . - p.69-80Keywords: กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน.ีระยะเวลากล้มเนื้อหัวใจขาดเลือด.ระยเวลาการให้ยาละลายลิ่มเลือด.รูปแบบการจัดบริการ.อัตราการเสียชีวิต. Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบการศึกษาย้อนหลังมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการพัฒนารูปแบบการจัดบริการการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ST ยก ในสถานบริการสาธารณสุข จังหวัดสระบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือเวชระเบียนของผู้ป่วยกลุ่มโรคนี้ที่มารับบริการ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มก่อนการพัฒนารูปแบบ ระหว่าง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ถึง 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558 จำนวน 146 ราย และกลุ่มหลังการพัฒนารูปแบบฯ ระหว่าง 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2559 จำนวน 176 ราย เก็บข้อมูลก่อนและหลังการพัฒนารูปแบบการจัดบริการได้แก่ ระยะเวลากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Total Ischemic Time) ระยะเวลาการให้ยาละลายลิ่มเลือด (Door to Needle Time) และอัตราการเสียชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าสถิติ t–test และ Chi- Square Test
ผลการศึกษา พบว่า การพัฒนารูปแบบจากการให้ยาละลายลิ่มเลือด นอกจากจะรักษาได้เฉพาะในรพ.ศูนย์ (รพศ.) และรพ.ทั่วไป (รพท.) แล้ว ยังให้ยาละลายลิ่มเลือดได้ทั้ง รพศ. รพท. และรพ.ชุมชน (รพช.) ได้ผลลัพธ์ดังนี้ 1) ระยะเวลากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Total Ischemic Time) เฉลี่ย ลดลงจาก 225.11 นาที (SD = 143.65) เป็น 182.36 นาที (SD = 125.97) ซึ่งไม่แตกต่างจากระยะเวลาที่มีประสิทธิภาพการรักษาสูงสุดของการให้ยาละลายลิ่มเลือด(180 นาที) 2) ระยะเวลาการให้ยาละลายลิ่มเลือด (Door to Needle Time) เฉลี่ยของรพท.เพิ่มขึ้นจาก 37.36 นาที (SD = 19.66) เป็น 57.03 นาที (SD = 45.06) รพศ.เพิ่มขึ้นจาก 45.71 (SD = 31.69) นาที เป็น 60.41 นาที (SD = 41.10) และรพช.มีค่า 54.80 นาที (SD = 28.49) ซึ่งระยะหลังการพัฒนาในรพ.ทุกระดับมีค่าสูงกว่าค่ามาตรฐาน (30นาที) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) อัตราการเสียชีวิตเฉลี่ยระยะก่อนการพัฒนา ร้อยละ 23.97 ระยะหลังการพัฒนา ร้อยละ 15.91 ลดลง ร้อยละ 8.06 แต่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ST ยก กับระยะเวลาตามรูปแบบการพัฒนาการให้ยาละลายลิ่มเลือด
ผลการศึกษานี้เสนอแนะว่าควรมีการพัฒนารูปแบบเชิงรุกและขยายรูปแบบในการดูแลจัดบริการการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ST ยกในสถาบยริการอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง
Link for e-copy: http://www.thaicvtnurse.org/index.php?option=com Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27497 ผลของรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในชุมชน / เพ็ญศิริ สิริกุล in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 ([11/16/2017])
[article]
Title : ผลของรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในชุมชน : หลังจำหน่ายจาก โรงพยาบาลสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส Original title : The effect of caring model for patients with chronic obstructive pulmonary disease in the community after discharge from Sungaipadi hospital, Narathiwas province Material Type: printed text Authors: เพ็ญศิริ สิริกุล, Author ; สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, Author ; รสสุคนธ์ แสงมณี, Author Publication Date: 2017 Article on page: p.57-68 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 [11/16/2017] . - p.57-68Keywords: ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง.การเยี่ยมบ้าน.การกำเริบของโรคเฉียบพลัน.การเข้ารับการรักษาซ้ำก่อน 28 วัน. Abstract: การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในชุมชน หลังจำหน่ายจากโรงพยาบาลสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ต่ออัตราการได้รับการเยี่ยมบ้าน อัตราการกำเริบของโรคเฉียบพลัน และอัตราการเข้ารักษาซ้ำก่อน 28 วัน
กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในอำเภอสุไหงปาดี จำนวน 50 คน และผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยในและจำหน่ายจากโรงพยาบาลสุไหงปาดี ในช่วงเวลาที่ทำการศึกษาวิจัย จำนวน 41 คน เป็นกลุ่มทดลอง 17 คนได้รับการดูแลตามปกติ และกลุ่มควบคุม 24 คนได้รับการดูแลโดยใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คู่มือการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และสมุดบันทึกประจำตัวผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัดส่วน และ Z-test
ผลการวิจัยพบว่าอัตราการได้รับการเยี่ยมบ้าน ของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในกลุ่มทดลอง สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) แต่อัตราการกำเริบของโรคเฉียบพลัน ของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) และอัตราการเข้ารักษาซ้ำก่อน 28 วัน ของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในกลุ่มทดลอง ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05)
การวิจัยครั้งนี้เสนอแนะให้มีการนำรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่ออัตราการเข้ารักษาซ้ำก่อน 28 วันในผู้ป่วยโรคเรื้อรังRecord link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27498 [article] ผลของรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในชุมชน = The effect of caring model for patients with chronic obstructive pulmonary disease in the community after discharge from Sungaipadi hospital, Narathiwas province : หลังจำหน่ายจาก โรงพยาบาลสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส [printed text] / เพ็ญศิริ สิริกุล, Author ; สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, Author ; รสสุคนธ์ แสงมณี, Author . - 2017 . - p.57-68.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 [11/16/2017] . - p.57-68Keywords: ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง.การเยี่ยมบ้าน.การกำเริบของโรคเฉียบพลัน.การเข้ารับการรักษาซ้ำก่อน 28 วัน. Abstract: การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในชุมชน หลังจำหน่ายจากโรงพยาบาลสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ต่ออัตราการได้รับการเยี่ยมบ้าน อัตราการกำเริบของโรคเฉียบพลัน และอัตราการเข้ารักษาซ้ำก่อน 28 วัน
กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในอำเภอสุไหงปาดี จำนวน 50 คน และผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยในและจำหน่ายจากโรงพยาบาลสุไหงปาดี ในช่วงเวลาที่ทำการศึกษาวิจัย จำนวน 41 คน เป็นกลุ่มทดลอง 17 คนได้รับการดูแลตามปกติ และกลุ่มควบคุม 24 คนได้รับการดูแลโดยใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คู่มือการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และสมุดบันทึกประจำตัวผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัดส่วน และ Z-test
ผลการวิจัยพบว่าอัตราการได้รับการเยี่ยมบ้าน ของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในกลุ่มทดลอง สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) แต่อัตราการกำเริบของโรคเฉียบพลัน ของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) และอัตราการเข้ารักษาซ้ำก่อน 28 วัน ของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในกลุ่มทดลอง ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05)
การวิจัยครั้งนี้เสนอแนะให้มีการนำรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่ออัตราการเข้ารักษาซ้ำก่อน 28 วันในผู้ป่วยโรคเรื้อรังRecord link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27498 ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับระยะเวลาการมารับการรักษาในโรงพยาบาล / ปราณี คำโสภา in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 ([11/16/2017])
[article]
Title : ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับระยะเวลาการมารับการรักษาในโรงพยาบาล : ของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบเฉียบพลัน Original title : Selected factors related to pre-hospital time in chronic obstructive pulmonary disease patients with acute exacebation Material Type: printed text Authors: ปราณี คำโสภา, Author ; นรลักขณ์ เอื้อกิจ, Author Publication Date: 2017 Article on page: p. Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 [11/16/2017] . - p.Keywords: โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง.ระยะเวลาการมารับการรักษา.ปัจจัยคัดสรร. Abstract: การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระยะเวลาการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบเฉียบพลัน และปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์ ได้แก่ อาการหายใจลำบาก การรับรู้ความรุนแรงของโรค ความเหนื่อยล้า ความวิตกกังวลและการสนับสนุนทางสังคม กับระยะเวลาการมารับการรักษา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบเฉียบพลัน จำนวน 123 คน ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตากสินและโรงพยาบาลกลาง เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามระยะเวลาการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง แบบประเมินอาการหายใจลำบาก แบบประเมินการรับรู้ความรุนแรงของโรค แบบวัดความเหนื่อยล้า แบบประเมินความวิตกกังวล และแบบสอบถามความรู้สึกหลากหลายมิติเกี่ยวกับความช่วยเหลือทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 50 - 59 ปี คิดเป็นร้อยละ 84.6 (mean = 52.9, S.D. = 5.42) มีค่าเฉลี่ยของระยะเวลาการมารับการรักษา 60 นาที (S.D. = 38.70) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรพบว่า อาการหายใจลำบาก การรับรู้ความรุนแรงของโรค ความเหนื่อยล้า ความวิตกกังวลและการสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางลบกับระยะเวลาการมารับการรักษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) (r= -.730, -.699, -.217, -.333 และ -.429 ตามลำดับ)
ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความรุนแรงของอาการหายใจลำบาก ความรุนแรงของโรค และเพิ่มการสนับสนุนทางสังคมให้ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เพื่อให้ผู้ป่วยมีระยะเวลาการมารับการรักษาอย่างเหมาะสมเมื่อเกิดอาการกำเริบเฉียบพลันRecord link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27500 [article] ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับระยะเวลาการมารับการรักษาในโรงพยาบาล = Selected factors related to pre-hospital time in chronic obstructive pulmonary disease patients with acute exacebation : ของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบเฉียบพลัน [printed text] / ปราณี คำโสภา, Author ; นรลักขณ์ เอื้อกิจ, Author . - 2017 . - p.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 [11/16/2017] . - p.Keywords: โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง.ระยะเวลาการมารับการรักษา.ปัจจัยคัดสรร. Abstract: การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระยะเวลาการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบเฉียบพลัน และปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์ ได้แก่ อาการหายใจลำบาก การรับรู้ความรุนแรงของโรค ความเหนื่อยล้า ความวิตกกังวลและการสนับสนุนทางสังคม กับระยะเวลาการมารับการรักษา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบเฉียบพลัน จำนวน 123 คน ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตากสินและโรงพยาบาลกลาง เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามระยะเวลาการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง แบบประเมินอาการหายใจลำบาก แบบประเมินการรับรู้ความรุนแรงของโรค แบบวัดความเหนื่อยล้า แบบประเมินความวิตกกังวล และแบบสอบถามความรู้สึกหลากหลายมิติเกี่ยวกับความช่วยเหลือทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 50 - 59 ปี คิดเป็นร้อยละ 84.6 (mean = 52.9, S.D. = 5.42) มีค่าเฉลี่ยของระยะเวลาการมารับการรักษา 60 นาที (S.D. = 38.70) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรพบว่า อาการหายใจลำบาก การรับรู้ความรุนแรงของโรค ความเหนื่อยล้า ความวิตกกังวลและการสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางลบกับระยะเวลาการมารับการรักษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) (r= -.730, -.699, -.217, -.333 และ -.429 ตามลำดับ)
ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความรุนแรงของอาการหายใจลำบาก ความรุนแรงของโรค และเพิ่มการสนับสนุนทางสังคมให้ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เพื่อให้ผู้ป่วยมีระยะเวลาการมารับการรักษาอย่างเหมาะสมเมื่อเกิดอาการกำเริบเฉียบพลันRecord link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27500 ปัจจัยทำนายภาวะสุขภาพของผู้ป่วยภายหลังได้รับการผ่าตัดเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ / ทีปทัศน์ ชินตาปัญญากุล in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 ([11/16/2017])
[article]
Title : ปัจจัยทำนายภาวะสุขภาพของผู้ป่วยภายหลังได้รับการผ่าตัดเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ Original title : Predicting factors of health status among patients after coronary artery bypass graft surgery Material Type: printed text Authors: ทีปทัศน์ ชินตาปัญญากุล, Author ; นรลักขณ์ เอื้อกิจ, Author ; สุชาต ไชยโรจน์, Author Publication Date: 2017 Article on page: p.96-110 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 [11/16/2017] . - p.96-110Keywords: ผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ.ภาวะสุขภาพ.ปัจจัยทำนาย. Abstract: การวิจัยเชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพ ความสัมพันธ์และอำนาจการทำนายของปัจจัยทำนายได้แก่ อายุ ระดับสมรรถภาพของหัวใจก่อนผ่าตัด ค่าการบีบตัวของหัวใจ โรคร่วม ความรู้เรื่องโรคและการผ่าตัด และพฤติกรรมการดูแลตนเองที่มีต่อภาวะสุขภาพของผู้ป่วยผ่าตัดเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ
กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจทั้งเพศชายและหญิงที่มีอายุ 18-59 ปี จำนวน 123 คน ที่มารับบริการ ณ แผนกผู้ป่วยนอกศัลยกรรม โรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกโรคร่วม แบบสอบถามความรู้เรื่องโรคและการผ่าตัด แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง และแบบสอบถามภาวะสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีภาวะสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี (Mean = 58.03, S.D. = 3.90) พฤติกรรมการดูแลตนเอง ค่าการบีบตัวของหัวใจและความรู้เรื่องโรคและการผ่าตัดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะสุขภาพของกลุ่มตัวอย่าง (r = .678, r = .583 และ r = .549 ตามลำดับ) โรคร่วม อายุและระดับสมรรถภาพของหัวใจก่อนผ่าตัดมีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะสุขภาพของกลุ่มตัวอย่าง (r = -.565, r = -.554 และ r = -.537 ตามลำดับ) พฤติกรรมการดูแลตนเอง โรคร่วม ระดับสมรรถภาพของหัวใจก่อนผ่าตัด อายุ ค่าการบีบตัวของหัวใจและความรู้เรื่องโรคและการผ่าตัดสามารถร่วมทำนายภาวะสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างได้ร้อยละ 74
ผลการศึกษานี้ทำให้เกิดความเข้าใจในการพัฒนาโปรแกรมเพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องโรค พฤติกรรมการดูแลตนเองให้กับผู้ป่วยผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจRecord link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27501 [article] ปัจจัยทำนายภาวะสุขภาพของผู้ป่วยภายหลังได้รับการผ่าตัดเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ = Predicting factors of health status among patients after coronary artery bypass graft surgery [printed text] / ทีปทัศน์ ชินตาปัญญากุล, Author ; นรลักขณ์ เอื้อกิจ, Author ; สุชาต ไชยโรจน์, Author . - 2017 . - p.96-110.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 [11/16/2017] . - p.96-110Keywords: ผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ.ภาวะสุขภาพ.ปัจจัยทำนาย. Abstract: การวิจัยเชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพ ความสัมพันธ์และอำนาจการทำนายของปัจจัยทำนายได้แก่ อายุ ระดับสมรรถภาพของหัวใจก่อนผ่าตัด ค่าการบีบตัวของหัวใจ โรคร่วม ความรู้เรื่องโรคและการผ่าตัด และพฤติกรรมการดูแลตนเองที่มีต่อภาวะสุขภาพของผู้ป่วยผ่าตัดเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ
กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจทั้งเพศชายและหญิงที่มีอายุ 18-59 ปี จำนวน 123 คน ที่มารับบริการ ณ แผนกผู้ป่วยนอกศัลยกรรม โรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกโรคร่วม แบบสอบถามความรู้เรื่องโรคและการผ่าตัด แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง และแบบสอบถามภาวะสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีภาวะสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี (Mean = 58.03, S.D. = 3.90) พฤติกรรมการดูแลตนเอง ค่าการบีบตัวของหัวใจและความรู้เรื่องโรคและการผ่าตัดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะสุขภาพของกลุ่มตัวอย่าง (r = .678, r = .583 และ r = .549 ตามลำดับ) โรคร่วม อายุและระดับสมรรถภาพของหัวใจก่อนผ่าตัดมีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะสุขภาพของกลุ่มตัวอย่าง (r = -.565, r = -.554 และ r = -.537 ตามลำดับ) พฤติกรรมการดูแลตนเอง โรคร่วม ระดับสมรรถภาพของหัวใจก่อนผ่าตัด อายุ ค่าการบีบตัวของหัวใจและความรู้เรื่องโรคและการผ่าตัดสามารถร่วมทำนายภาวะสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างได้ร้อยละ 74
ผลการศึกษานี้ทำให้เกิดความเข้าใจในการพัฒนาโปรแกรมเพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องโรค พฤติกรรมการดูแลตนเองให้กับผู้ป่วยผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจRecord link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27501 ปัจจัยทำนายการกำเริบฉับพลันรุนแรงในผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง / จเร บุญเรือง in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 ([11/16/2017])
[article]
Title : ปัจจัยทำนายการกำเริบฉับพลันรุนแรงในผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง Original title : Predictors of chronic obstructive pulmonary disease severe acute exacerbation Material Type: printed text Authors: จเร บุญเรือง, Author ; จอม สุวรรณโณ, Author ; เจนเนตร พลเพชร, Author ; เรวดี เพชรศิราสัณห์, Author ; ลัดดา เถียมวงศ์, Author Publication Date: 2017 Article on page: p.111-126 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 [11/16/2017] . - p.111-126Keywords: ปอดอุดกั้นเรื้อรัง.การกำเริบฉับพลันรุนแรง.รูปแบบทำนายปัจจัยเสี่ยง. Abstract: การวิจัยแบบติดตามไปข้างหน้า 3 เดือนนี้ ศึกษาโมเดลอิทธิพลของปัจจัย 3 กลุ่ม ด้านบุคคล โรคและความเจ็บป่วย และสุขภาวะในการทำนายการกำเริบฉับพลันรุนแรงในผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)
กลุ่มตัวอย่าง 110 ราย จากคลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโรงพยาบาลชุมชน 3 แห่ง ตัวแปรทำนายมี 13 ปัจจัย ตามกรอบแนวคิดอาการและการจัดการอาการ กลุ่มปัจจัยลักษณะส่วนบุคคลมี 5 ตัวแปร ได้แก่ อายุ เพศ การศึกษา รายได้ การสูบบุหรี่ กลุ่มปัจจัยโรคและความเจ็บป่วย มี 6 ตัวแปร ได้แก่ ดัชนีมวลกาย ระดับความรุนแรงของโรคตาม GOLD Stage ระดับอาการหายใจลำบากประเมินจาก mMRC-DS ประวัติการกำเริบฉับพลันรุนแรงในระยะ 1 ปี ความเหมาะสมของการรักษาพยาบาลในระยะสงบ และปอดอักเสบติดเชื้อ และกลุ่มปัจจัยสุขภาวะมี 2 ตัวแปร ได้แก่ คุณภาพชีวิต ประเมินจาก COPD Assessment Test (CAT) และภาวะซึมเศร้า ประเมินจากแบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเมินผลลัพธ์การเกิดกำเริบฉับพลันรุนแรง จากทะเบียนประวัติการเข้ารับการรักษาที่แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินและหรือการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยอาการกำเริบฉับพลันรุนแรง วิเคราะห์ข้อมูลโมเดลปัจจัยเดี่ยวใช้ค่า odds ratio (OR), 95% confidential interval (95%CI), Chi-square และ Fisher exact tests และในโมเดลพหุปัจจัยใช้การถดถอยโลจิสติก
ผลการวิจัย พบว่า โมเดลปัจจัยเดี่ยวมี 6 ตัวแปรที่สัมพันธ์กับการกำเริบฉับพลันรุนแรง เป็นปัจจัยด้านโรคและความเจ็บป่วย 4 ตัวแปร ได้แก่ ระดับความรุนแรงของโรค (p=0.002) ระดับความรุนแรงของอาการหายใจลำบาก (p=0.041) ประวัติการกำเริบฉับพลับรุนแรงในระยะ 1 ปี (OR 40, 95%CI 12.89-124.09, p=0.000) และภาวะปอดอักเสบติดเชื้อ (OR 411.78, 95%CI 23.58-7190.23, p=0.000) ปัจจัยสุขภาวะมี 2 ตัวแปรที่มีทำนาย คือ คุณภาพชีวิตต่ำ (OR 6.42, 95%CI 2.58-15.99, p=0.000) และคะแนนภาวะซึมเศร้าที่เพิ่มขึ้นทุกหนึ่งคะแนน (OR 1.37, 95CI 1.16-1.63, p=0.000) สำหรับปัจจัยด้านบุคคลไม่มีตัวแปรใดทำนาย การวิเคราะห์ในโมเดลพหุปัจจัยพบว่ามีเพียง 2 ตัวแปรคือ ภาวะปอดอักเสบติดเชื้อ และประวัติการกำเริบฉับพลันรุนแรงในระยะ 1 ปี ที่มีค่านัยสำคัญทางสถิติในการทำนายการกำเริบฉับพลันรุนแรง โดยร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 74.8 ทั้งนี้ปอดอักเสบติดเชื้อมีค่าสัดส่วนอัตราเสี่ยงในการทำนายสูงสุด (OR 65.26, 95%CI 7.43-527.94, Wald 14.21, p=0.000) และรองลงมาคือประวัติการกำเริบฉับพลันรุนแรงในระยะ1 ปี (OR 8.09, 95%CI 2.09-31.34, Wald 9.14, p=0.003)
การศึกษานี้ให้ข้อมูลเชิงประจักษ์ในการสร้างแนวทางปฏิบัติในการลดการกำเริบฉับพลันรุนแรงในผู้ป่วย COPD โดยป้องกันภาวะปอดอักเสบติดเชื้อ คัดกรองภาวะซึมเศร้า ฟื้นฟูสมรรถภาพปอด และการส่งเสริมคุณภาพชีวิตLink for e-copy: http://www.thaicvtnurse.org/index.php?option=com Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27502 [article] ปัจจัยทำนายการกำเริบฉับพลันรุนแรงในผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง = Predictors of chronic obstructive pulmonary disease severe acute exacerbation [printed text] / จเร บุญเรือง, Author ; จอม สุวรรณโณ, Author ; เจนเนตร พลเพชร, Author ; เรวดี เพชรศิราสัณห์, Author ; ลัดดา เถียมวงศ์, Author . - 2017 . - p.111-126.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 [11/16/2017] . - p.111-126Keywords: ปอดอุดกั้นเรื้อรัง.การกำเริบฉับพลันรุนแรง.รูปแบบทำนายปัจจัยเสี่ยง. Abstract: การวิจัยแบบติดตามไปข้างหน้า 3 เดือนนี้ ศึกษาโมเดลอิทธิพลของปัจจัย 3 กลุ่ม ด้านบุคคล โรคและความเจ็บป่วย และสุขภาวะในการทำนายการกำเริบฉับพลันรุนแรงในผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)
กลุ่มตัวอย่าง 110 ราย จากคลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโรงพยาบาลชุมชน 3 แห่ง ตัวแปรทำนายมี 13 ปัจจัย ตามกรอบแนวคิดอาการและการจัดการอาการ กลุ่มปัจจัยลักษณะส่วนบุคคลมี 5 ตัวแปร ได้แก่ อายุ เพศ การศึกษา รายได้ การสูบบุหรี่ กลุ่มปัจจัยโรคและความเจ็บป่วย มี 6 ตัวแปร ได้แก่ ดัชนีมวลกาย ระดับความรุนแรงของโรคตาม GOLD Stage ระดับอาการหายใจลำบากประเมินจาก mMRC-DS ประวัติการกำเริบฉับพลันรุนแรงในระยะ 1 ปี ความเหมาะสมของการรักษาพยาบาลในระยะสงบ และปอดอักเสบติดเชื้อ และกลุ่มปัจจัยสุขภาวะมี 2 ตัวแปร ได้แก่ คุณภาพชีวิต ประเมินจาก COPD Assessment Test (CAT) และภาวะซึมเศร้า ประเมินจากแบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเมินผลลัพธ์การเกิดกำเริบฉับพลันรุนแรง จากทะเบียนประวัติการเข้ารับการรักษาที่แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินและหรือการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยอาการกำเริบฉับพลันรุนแรง วิเคราะห์ข้อมูลโมเดลปัจจัยเดี่ยวใช้ค่า odds ratio (OR), 95% confidential interval (95%CI), Chi-square และ Fisher exact tests และในโมเดลพหุปัจจัยใช้การถดถอยโลจิสติก
ผลการวิจัย พบว่า โมเดลปัจจัยเดี่ยวมี 6 ตัวแปรที่สัมพันธ์กับการกำเริบฉับพลันรุนแรง เป็นปัจจัยด้านโรคและความเจ็บป่วย 4 ตัวแปร ได้แก่ ระดับความรุนแรงของโรค (p=0.002) ระดับความรุนแรงของอาการหายใจลำบาก (p=0.041) ประวัติการกำเริบฉับพลับรุนแรงในระยะ 1 ปี (OR 40, 95%CI 12.89-124.09, p=0.000) และภาวะปอดอักเสบติดเชื้อ (OR 411.78, 95%CI 23.58-7190.23, p=0.000) ปัจจัยสุขภาวะมี 2 ตัวแปรที่มีทำนาย คือ คุณภาพชีวิตต่ำ (OR 6.42, 95%CI 2.58-15.99, p=0.000) และคะแนนภาวะซึมเศร้าที่เพิ่มขึ้นทุกหนึ่งคะแนน (OR 1.37, 95CI 1.16-1.63, p=0.000) สำหรับปัจจัยด้านบุคคลไม่มีตัวแปรใดทำนาย การวิเคราะห์ในโมเดลพหุปัจจัยพบว่ามีเพียง 2 ตัวแปรคือ ภาวะปอดอักเสบติดเชื้อ และประวัติการกำเริบฉับพลันรุนแรงในระยะ 1 ปี ที่มีค่านัยสำคัญทางสถิติในการทำนายการกำเริบฉับพลันรุนแรง โดยร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 74.8 ทั้งนี้ปอดอักเสบติดเชื้อมีค่าสัดส่วนอัตราเสี่ยงในการทำนายสูงสุด (OR 65.26, 95%CI 7.43-527.94, Wald 14.21, p=0.000) และรองลงมาคือประวัติการกำเริบฉับพลันรุนแรงในระยะ1 ปี (OR 8.09, 95%CI 2.09-31.34, Wald 9.14, p=0.003)
การศึกษานี้ให้ข้อมูลเชิงประจักษ์ในการสร้างแนวทางปฏิบัติในการลดการกำเริบฉับพลันรุนแรงในผู้ป่วย COPD โดยป้องกันภาวะปอดอักเสบติดเชื้อ คัดกรองภาวะซึมเศร้า ฟื้นฟูสมรรถภาพปอด และการส่งเสริมคุณภาพชีวิตLink for e-copy: http://www.thaicvtnurse.org/index.php?option=com Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27502 ปัจจัยทำนายพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยที่ได้รับการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบถาวร / ทิพนันท์ ปันคำ in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 ([11/16/2017])
[article]
Title : ปัจจัยทำนายพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยที่ได้รับการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบถาวร Original title : Predicting factors of health behaviors in patients with cardiac permanent pacemaker Material Type: printed text Authors: ทิพนันท์ ปันคำ, Author Publication Date: 2017 Article on page: p.129-141 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 [11/16/2017] . - p.129-141Keywords: พฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วย.พฤติกรรมสุขภาพ.เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบถาวร.ปัจจัยทำนาย. Abstract: การวิจัยเชิงพยากรณ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาอำนาจการทำนายของปัจจัยนำ (ความรู้ อัตมโนทัศน์ และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง) ปัจจัยเสริม (การสนับสนุนทางสังคม) และปัจจัยเอื้อ (การเข้าถึงบริการของสถานบริการสุขภาพ) ต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยที่ได้รับการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบถาวร กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยจำนวน 128 คน ที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก คลินิกเครื่องกระตุ้นหัวใจ โรงพยาบาลตติยภูมิสามแห่งในเขตกรุงเทพมหานคร คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความรู้ แบบวัดอัตมโนทัศน์ แบบวัดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง แบบวัดการสนับสนุนทางสังคม แบบวัดการเข้าถึงบริการของสถานบริการสุขภาพ และแบบวัดพฤติกรรมสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติถดถอยพหุคูณแบบเข้าทีละตัว
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี (mean = 33.3, SD = 3.9) การสนับสนุนทางสังคมความรู้ และอัตมโนทัศน์ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มตัวอย่าง (r =.523, .508 และ .369 ตามลำดับ) แต่ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการเข้าถึงบริการของสถานบริการสุขภาพไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับพฤติกรรมสุขภาพ ความรู้ อัตมโนทัศน์ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การสนับสนุนทางสังคม และการเข้าถึงบริการของสถานบริการสุขภาพ สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมสุขภาพ ได้ร้อยละ 44
ผลการศึกษาครั้งนี้ พยาบาลสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยที่ได้รับการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบถาวร โดยเน้นการให้ความรู้ การส่งเสริมอัตมโนทัศน์ และการส่งเสริมการสนับสนุนทางสังคม เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างเหมาะสมRecord link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27503 [article] ปัจจัยทำนายพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยที่ได้รับการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบถาวร = Predicting factors of health behaviors in patients with cardiac permanent pacemaker [printed text] / ทิพนันท์ ปันคำ, Author . - 2017 . - p.129-141.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 [11/16/2017] . - p.129-141Keywords: พฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วย.พฤติกรรมสุขภาพ.เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบถาวร.ปัจจัยทำนาย. Abstract: การวิจัยเชิงพยากรณ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาอำนาจการทำนายของปัจจัยนำ (ความรู้ อัตมโนทัศน์ และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง) ปัจจัยเสริม (การสนับสนุนทางสังคม) และปัจจัยเอื้อ (การเข้าถึงบริการของสถานบริการสุขภาพ) ต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยที่ได้รับการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบถาวร กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยจำนวน 128 คน ที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก คลินิกเครื่องกระตุ้นหัวใจ โรงพยาบาลตติยภูมิสามแห่งในเขตกรุงเทพมหานคร คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความรู้ แบบวัดอัตมโนทัศน์ แบบวัดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง แบบวัดการสนับสนุนทางสังคม แบบวัดการเข้าถึงบริการของสถานบริการสุขภาพ และแบบวัดพฤติกรรมสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติถดถอยพหุคูณแบบเข้าทีละตัว
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี (mean = 33.3, SD = 3.9) การสนับสนุนทางสังคมความรู้ และอัตมโนทัศน์ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มตัวอย่าง (r =.523, .508 และ .369 ตามลำดับ) แต่ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการเข้าถึงบริการของสถานบริการสุขภาพไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับพฤติกรรมสุขภาพ ความรู้ อัตมโนทัศน์ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การสนับสนุนทางสังคม และการเข้าถึงบริการของสถานบริการสุขภาพ สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมสุขภาพ ได้ร้อยละ 44
ผลการศึกษาครั้งนี้ พยาบาลสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยที่ได้รับการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบถาวร โดยเน้นการให้ความรู้ การส่งเสริมอัตมโนทัศน์ และการส่งเสริมการสนับสนุนทางสังคม เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างเหมาะสมRecord link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27503 การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยที่ได้รับการรักษา / เพ็ญจันทร์ แสนประสาน in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 ([11/16/2017])
[article]
Title : การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยที่ได้รับการรักษา : โรคหลอดเลือดโคโรน่ารีย์ผ่านสายสวน มุมมองของผู้ป่วยผู้สูงอายุโรคหัวใจขาดเลือดและญาตผู้ดูแล Material Type: printed text Authors: เพ็ญจันทร์ แสนประสาน, Author ; ดวงกมล วัตราดุลย์, Author ; นวรัตน์ สุทธิพงศ์, Author Publication Date: 2017 Article on page: p.142-153 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 [11/16/2017] . - p.142-153Keywords: โรคหัวใจขาดเลือด.ผู้สูงอายุโรคหัวใจขาดเลือด.การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย.โรคหลอดเลือดโคโรนารีย์. Abstract: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโรคหลอดเลือดโคโรนารีย์ผ่านสายสวน (PCI) ในมุมมองของผู้ป่วยสูงอายุโรคหัวใจขาดเลือดและญาติผู้ดูแล
เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) และบันทึกเทป ในผู้ป่วยสูงอายุโรคหัวใจขาดเลือดที่ได้รับการรักษาโรคหลอดเลือดโคโรนารีย์ผ่านสายสวนจำนวน 10 รายหลังการจำหน่ายจากโรงพยาบาล 2-3 เดือน และญาติผู้ดูแล จำนวน 5 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดและญาติผู้ดูแลมีความพึงพอใจในการรักษาในโรงพยาบาล และมีประสบการณ์ในการวางแผนจำหน่ายหลังได้รับการรักษาโรคหลอดเลือดโคโรนารีย์ผ่านสายสวน (PCI) 5 ประเด็น ได้แก่ 1) ขาดการมีส่วนร่วมในการประเมินความต้องการวางแผนจำหน่ายของผู้ป่วยและญาติ 2) มีความรู้และความเข้าใจไม่เพียงพอในการดูแลตนเองที่บ้าน 3) รูปแบบการให้ข้อมูลไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยและญาติแต่ละราย 4) ขาดการประเมินผลการให้ความรู้และทักษะในผู้ป่วยและญาติ 5) ขาดการรับฟังความกังวลและขาดการติดตามดูแลที่บ้าน
ผลการวิจัยที่ได้นำไปเป็นแนวทางให้พยาบาลจัดกลยุทธ์การวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโรคหลอดเลือดโคโรนารีย์ผ่านสายสวน โดยเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยและญาติให้มีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผนการจำหน่ายและตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วยและญาติผู้ดูแล
Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27504 [article] การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยที่ได้รับการรักษา : โรคหลอดเลือดโคโรน่ารีย์ผ่านสายสวน มุมมองของผู้ป่วยผู้สูงอายุโรคหัวใจขาดเลือดและญาตผู้ดูแล [printed text] / เพ็ญจันทร์ แสนประสาน, Author ; ดวงกมล วัตราดุลย์, Author ; นวรัตน์ สุทธิพงศ์, Author . - 2017 . - p.142-153.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 [11/16/2017] . - p.142-153Keywords: โรคหัวใจขาดเลือด.ผู้สูงอายุโรคหัวใจขาดเลือด.การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย.โรคหลอดเลือดโคโรนารีย์. Abstract: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโรคหลอดเลือดโคโรนารีย์ผ่านสายสวน (PCI) ในมุมมองของผู้ป่วยสูงอายุโรคหัวใจขาดเลือดและญาติผู้ดูแล
เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) และบันทึกเทป ในผู้ป่วยสูงอายุโรคหัวใจขาดเลือดที่ได้รับการรักษาโรคหลอดเลือดโคโรนารีย์ผ่านสายสวนจำนวน 10 รายหลังการจำหน่ายจากโรงพยาบาล 2-3 เดือน และญาติผู้ดูแล จำนวน 5 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดและญาติผู้ดูแลมีความพึงพอใจในการรักษาในโรงพยาบาล และมีประสบการณ์ในการวางแผนจำหน่ายหลังได้รับการรักษาโรคหลอดเลือดโคโรนารีย์ผ่านสายสวน (PCI) 5 ประเด็น ได้แก่ 1) ขาดการมีส่วนร่วมในการประเมินความต้องการวางแผนจำหน่ายของผู้ป่วยและญาติ 2) มีความรู้และความเข้าใจไม่เพียงพอในการดูแลตนเองที่บ้าน 3) รูปแบบการให้ข้อมูลไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยและญาติแต่ละราย 4) ขาดการประเมินผลการให้ความรู้และทักษะในผู้ป่วยและญาติ 5) ขาดการรับฟังความกังวลและขาดการติดตามดูแลที่บ้าน
ผลการวิจัยที่ได้นำไปเป็นแนวทางให้พยาบาลจัดกลยุทธ์การวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโรคหลอดเลือดโคโรนารีย์ผ่านสายสวน โดยเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยและญาติให้มีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผนการจำหน่ายและตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วยและญาติผู้ดูแล
Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27504 ปัจจัยทำนายการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ของผู้ป่วย ภายหลังได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก / มุขรินทร์ สิงห์ปัญญา in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 ([11/16/2017])
[article]
Title : ปัจจัยทำนายการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ของผู้ป่วย ภายหลังได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก Original title : Factor predicting functional recovery of patients undergoing hip arthroplasty Material Type: printed text Authors: มุขรินทร์ สิงห์ปัญญา, Author ; สุพร ดนัยดุษฎีกุล, Author ; ก้องเขต เหรียญสุวรรณ, Author Publication Date: 2017 Article on page: p.154-167 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 [11/16/2017] . - p.154-167Keywords: การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก.ระดับฮีโมโกลบินในกระแสเลือด.ภาวะซึมเศร้า.การฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่.ภาวะโรคร่วม. Abstract: การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายเพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของระดับฮีโมโกลบินในกระแสเลือด ภาวะโรคร่วม และภาวะซึมเศร้าต่อการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ของผู้ป่วยภายหลังได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก
กลุ่มตัวอย่างได้รับการคัดเลือกตามเกณฑ์การคัดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 80 ราย มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเป็นครั้งแรกในโรงพยาบาลตติยภูมิ 3 แห่ง เก็บข้อมูลในระยะก่อนผ่าตัดดังนี้ ระดับฮีโมโกลบินในกระแสเลือดล่าสุดก่อนผ่าตัด ภาวะโรคร่วม ASA classification ประเมินภาวะซึมเศร้าโดยใช้แบบสอบถามภาวะซึมเศร้า เก็บข้อมูลการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ภายหลังผ่าตัดในวันที่ผู้ป่วยมาตรวจตามนัดครั้งแรก ด้วยแบบประเมิน Harris Hip Score วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับฮีโมโกลบินในกระแสเลือดเฉลี่ย 12.09 กรัมต่อเดซิลิตร ( SD ± 1.80) มี ASA physical status Class 2 มากที่สุด (ร้อยละ 58.8) คะแนนภาวะซึมเศร้าเฉลี่ย 10.56 ( SD ± 7.50 ) คะแนนการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่เฉลี่ย 58.39 (SD ± 8.60) ส่วนใหญ่การฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่อยู่ในระดับต่ำ (ร้อยละ 90) ภาวะโรคร่วมสามารถทำนายการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ของผู้ป่วยภายหลังได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกได้ร้อยละ 6.8 (R2 = 0.068, p < 0.05) โดยภาวะโรคร่วมกับภาวะซึมเศร้าสามารถร่วมทำนายการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ของผู้ป่วยภายหลังได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกได้ร้อยละ 13.1 (R2 = 0.131, p < 0.05) สำหรับระดับฮีโมโกลบินในกระแสเลือด การศึกษาครั้งนี้พบว่า ไม่สามารถทำนายการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ของผู้ป่วยภายหลังได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกได้
ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถช่วยให้ผู้ป่วยมีการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ภายหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกได้ หากผู้ป่วยได้รับการประเมินความรุนแรงของภาวะโรคร่วม คัดกรองภาวะซึมเศร้าและมีการดำเนินการแก้ไขหรือควบคุมภาวะโรคร่วม ภาวะซึมเศร้า ไม่ให้รุนแรงขึ้นก่อนได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกRecord link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27505 [article] ปัจจัยทำนายการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ของผู้ป่วย ภายหลังได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก = Factor predicting functional recovery of patients undergoing hip arthroplasty [printed text] / มุขรินทร์ สิงห์ปัญญา, Author ; สุพร ดนัยดุษฎีกุล, Author ; ก้องเขต เหรียญสุวรรณ, Author . - 2017 . - p.154-167.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 [11/16/2017] . - p.154-167Keywords: การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก.ระดับฮีโมโกลบินในกระแสเลือด.ภาวะซึมเศร้า.การฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่.ภาวะโรคร่วม. Abstract: การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายเพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของระดับฮีโมโกลบินในกระแสเลือด ภาวะโรคร่วม และภาวะซึมเศร้าต่อการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ของผู้ป่วยภายหลังได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก
กลุ่มตัวอย่างได้รับการคัดเลือกตามเกณฑ์การคัดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 80 ราย มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเป็นครั้งแรกในโรงพยาบาลตติยภูมิ 3 แห่ง เก็บข้อมูลในระยะก่อนผ่าตัดดังนี้ ระดับฮีโมโกลบินในกระแสเลือดล่าสุดก่อนผ่าตัด ภาวะโรคร่วม ASA classification ประเมินภาวะซึมเศร้าโดยใช้แบบสอบถามภาวะซึมเศร้า เก็บข้อมูลการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ภายหลังผ่าตัดในวันที่ผู้ป่วยมาตรวจตามนัดครั้งแรก ด้วยแบบประเมิน Harris Hip Score วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับฮีโมโกลบินในกระแสเลือดเฉลี่ย 12.09 กรัมต่อเดซิลิตร ( SD ± 1.80) มี ASA physical status Class 2 มากที่สุด (ร้อยละ 58.8) คะแนนภาวะซึมเศร้าเฉลี่ย 10.56 ( SD ± 7.50 ) คะแนนการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่เฉลี่ย 58.39 (SD ± 8.60) ส่วนใหญ่การฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่อยู่ในระดับต่ำ (ร้อยละ 90) ภาวะโรคร่วมสามารถทำนายการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ของผู้ป่วยภายหลังได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกได้ร้อยละ 6.8 (R2 = 0.068, p < 0.05) โดยภาวะโรคร่วมกับภาวะซึมเศร้าสามารถร่วมทำนายการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ของผู้ป่วยภายหลังได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกได้ร้อยละ 13.1 (R2 = 0.131, p < 0.05) สำหรับระดับฮีโมโกลบินในกระแสเลือด การศึกษาครั้งนี้พบว่า ไม่สามารถทำนายการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ของผู้ป่วยภายหลังได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกได้
ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถช่วยให้ผู้ป่วยมีการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ภายหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกได้ หากผู้ป่วยได้รับการประเมินความรุนแรงของภาวะโรคร่วม คัดกรองภาวะซึมเศร้าและมีการดำเนินการแก้ไขหรือควบคุมภาวะโรคร่วม ภาวะซึมเศร้า ไม่ให้รุนแรงขึ้นก่อนได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกRecord link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27505