From this page you can:
Home |
Author details
Author ไชยวัฒน์ ค้ำชู
Available item(s) by this author
Add the result to your basket Make a suggestion Refine your search Apply to external sourcesSIU THE-T. การนำนโยบายด้านความมั่นคงของกองบัญชาการตำรวจสันติบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติไปปฏิบัติ / ดารัณ จุนสมุทร / กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร - 2021
Collection Title: SIU THE-T Title : การนำนโยบายด้านความมั่นคงของกองบัญชาการตำรวจสันติบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติไปปฏิบัติ Original title : Implementation of Security Policies of Special Branch Bureau, Royal Thai Police Material Type: printed text Authors: ดารัณ จุนสมุทร, Author ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name ; ไชยวัฒน์ ค้ำชู, Associated Name Publisher: กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร Publication Date: 2021 Pagination: ix, 183 น. Layout: ตาราง, ภาพประกอบ Size: 30 ซม. Price: 500.00 บาท General note: SIU THE-T: IPAG-DPA-2021-02
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2021Languages : Thai (tha) Descriptors: [LCSH]การบริหารงาน
[LCSH]ข้าราชการตำรวจ -- -- การปฏิบัติงาน
[LCSH]ความมั่นคง -- ไทยKeywords: ความมั่นคง, การนำนโยบายไปปฏิบัติ, การบริหารงาน, ตำรวจสันติบาล Abstract: งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการนำนโยบายด้านความมั่นคง ของกองบัญชาการตำรวจสันติบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติไปปฏิบัติ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จต่อการนำนโยบายด้านความมั่นคง ของกองบัญชาการตำรวจสันติบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติไปปฏิบัติ 3) เพื่อเสนอแนวทางในการนำนโยบายด้านความมั่นคง ของกองบัญชาการตำรวจสันติบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติไปปฏิบัติ ผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) คือ (1) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จากผู้บริหารกองบัญชาการตำรวจสันติบาล จำนวน 11 คน โดยใช้การวิเคราะห์แบบการจำแนกชนิดของข้อมูล (2) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) การใช้ข้อมูลแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างจากกองบัญชาการตำรวจสันติบาล จำนวน 400 คน โดยใช้สมการถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า สภาพการนำนโยบายไปปฏิบัติ ด้านการบริหารงานมี 3 ด้าน บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายคือ ประสิทธิผลตามแผนปฏิบัติราชการ ประสิทธิภาพตามแผนปฏิบัติราชการและการพัฒนาองค์กร ส่วนคุณภาพการให้บริการไม่บรรลุผลสำเร็จ และแนวทางในการนำนโยบายไปปฏิบัติ ผู้นำยุคใหม่ต้องปรับตัวให้เท่าทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป อาศัยความร่วมมือของผู้ตามที่สอดคล้องกับแรงจูงใจ ด้วยการเปิดโอกาสการมีส่วนร่วมในการคิด วางแผนและการตัดสินใจ ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ ปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ พบว่า ปัจจัยเชิงนโยบาย ด้านภาวะผู้นำ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.46, S.D. = 0.72) และการบริหารงานที่ส่งผลสำเร็จต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ ด้านการพัฒนาองค์กร มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.24, S.D. = 0.73)
ข้อเสนอแนะ ควรมีงบประมาณที่เพียงพอด้านคุณภาพการให้บริการ ที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใสCurricular : GE/MPA/DPA Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=28403 SIU THE-T. การนำนโยบายด้านความมั่นคงของกองบัญชาการตำรวจสันติบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติไปปฏิบัติ = Implementation of Security Policies of Special Branch Bureau, Royal Thai Police [printed text] / ดารัณ จุนสมุทร, Author ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name ; ไชยวัฒน์ ค้ำชู, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2021 . - ix, 183 น. : ตาราง, ภาพประกอบ ; 30 ซม.
500.00 บาท
SIU THE-T: IPAG-DPA-2021-02
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2021
Languages : Thai (tha)
Descriptors: [LCSH]การบริหารงาน
[LCSH]ข้าราชการตำรวจ -- -- การปฏิบัติงาน
[LCSH]ความมั่นคง -- ไทยKeywords: ความมั่นคง, การนำนโยบายไปปฏิบัติ, การบริหารงาน, ตำรวจสันติบาล Abstract: งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการนำนโยบายด้านความมั่นคง ของกองบัญชาการตำรวจสันติบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติไปปฏิบัติ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จต่อการนำนโยบายด้านความมั่นคง ของกองบัญชาการตำรวจสันติบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติไปปฏิบัติ 3) เพื่อเสนอแนวทางในการนำนโยบายด้านความมั่นคง ของกองบัญชาการตำรวจสันติบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติไปปฏิบัติ ผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) คือ (1) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จากผู้บริหารกองบัญชาการตำรวจสันติบาล จำนวน 11 คน โดยใช้การวิเคราะห์แบบการจำแนกชนิดของข้อมูล (2) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) การใช้ข้อมูลแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างจากกองบัญชาการตำรวจสันติบาล จำนวน 400 คน โดยใช้สมการถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า สภาพการนำนโยบายไปปฏิบัติ ด้านการบริหารงานมี 3 ด้าน บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายคือ ประสิทธิผลตามแผนปฏิบัติราชการ ประสิทธิภาพตามแผนปฏิบัติราชการและการพัฒนาองค์กร ส่วนคุณภาพการให้บริการไม่บรรลุผลสำเร็จ และแนวทางในการนำนโยบายไปปฏิบัติ ผู้นำยุคใหม่ต้องปรับตัวให้เท่าทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป อาศัยความร่วมมือของผู้ตามที่สอดคล้องกับแรงจูงใจ ด้วยการเปิดโอกาสการมีส่วนร่วมในการคิด วางแผนและการตัดสินใจ ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ ปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ พบว่า ปัจจัยเชิงนโยบาย ด้านภาวะผู้นำ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.46, S.D. = 0.72) และการบริหารงานที่ส่งผลสำเร็จต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ ด้านการพัฒนาองค์กร มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.24, S.D. = 0.73)
ข้อเสนอแนะ ควรมีงบประมาณที่เพียงพอด้านคุณภาพการให้บริการ ที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใสCurricular : GE/MPA/DPA Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=28403 Hold
Place a hold on this item
Copies
Barcode Call number Media type Location Section Status 32002000607834 SIU THE-T: IPAG-DPA-2021-02 c.1 Thesis Main Library Thesis Corner Available 32002000607886 SIU THE-T: IPAG-DPA-2021-02 c.2 Thesis Main Library Thesis Corner Available SIU THE-T. การบริหารงานคุณภาพของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลำปาง / ณัฐชัย อินทราย / กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร - 2019
Collection Title: SIU THE-T Title : การบริหารงานคุณภาพของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลำปาง Original title : Quality Management of Local Government Administrators in Lampang Province Material Type: printed text Authors: ณัฐชัย อินทราย, Author ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name ; ไชยวัฒน์ ค้ำชู, Associated Name Publisher: กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร Publication Date: 2019 Pagination: vii, 122 น. Layout: ตาราง, ภาพประกอบ Size: 30 ซม. Price: 500.00 บาท General note: SIU THE-T: IPAG-DPA-2019-11
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2019Languages : Thai (tha) Descriptors: [LCSH]องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น -- การบริหาร -- ลำปาง Keywords: การบริหารงานคุณภาพ,
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นAbstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) คุณลักษณะของผู้บริการ พฤติกรรมการบริหารงานคุณภาพของผู้บริหาร และประสิทธิผลการบริหารงานของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลำปาง (2) อิทธิพลของคุณลักษณะผู้บริหารและพฤติกรรมการบริหารงานคุณภาพของผู้บริหารต่อประสิทธิผลการบริหารงานของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลำปาง และ (3) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงานของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลำปาง
การศึกษาครั้งนี้ ใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี ประชากร ประกอบด้วย (1) การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรในการศึกษาวิจัย คือ บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลำปาง ที่ปฏิบัติงานอยู่ในปี พ.ศ. 2561 สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลำปาง จำนวน 103 แห่ง รวมทั้งสิ้น 6,668 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ความคลาดเคลื่อน 5% ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 416 คน (2) การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้เลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง เพื่อทำการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 12 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะของผู้บริหาร พฤติกรรมการบริหารงานคุณภาพของผู้บริหาร และประสิทธผลการบริหารงานของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลำปาง
อยู่ในระดับมาก ระดับปานกลาง และระดับปานกลาง ตามลำดับ 2) คุณลักษณะของผู้บริหารและพฤติกรรมการบริหารงานคุณภาพของผู้บริหารมีอิทธิพลทางบวกต่อประสิทธิผลการบริหารงานของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 3) ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลำปาง คือ ด้านทิศทางและการกำหนดนโยบาย ด้านการจัดการ
ด้านการเงินและงบประมาณ ด้านการจัดการเรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง ด้านการติดตามและควบคุมงาน และด้านการประเมินและการจัดทำรายงานCurricular : GE Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27948 SIU THE-T. การบริหารงานคุณภาพของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลำปาง = Quality Management of Local Government Administrators in Lampang Province [printed text] / ณัฐชัย อินทราย, Author ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name ; ไชยวัฒน์ ค้ำชู, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2019 . - vii, 122 น. : ตาราง, ภาพประกอบ ; 30 ซม.
500.00 บาท
SIU THE-T: IPAG-DPA-2019-11
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2019
Languages : Thai (tha)
Descriptors: [LCSH]องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น -- การบริหาร -- ลำปาง Keywords: การบริหารงานคุณภาพ,
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นAbstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) คุณลักษณะของผู้บริการ พฤติกรรมการบริหารงานคุณภาพของผู้บริหาร และประสิทธิผลการบริหารงานของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลำปาง (2) อิทธิพลของคุณลักษณะผู้บริหารและพฤติกรรมการบริหารงานคุณภาพของผู้บริหารต่อประสิทธิผลการบริหารงานของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลำปาง และ (3) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงานของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลำปาง
การศึกษาครั้งนี้ ใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี ประชากร ประกอบด้วย (1) การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรในการศึกษาวิจัย คือ บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลำปาง ที่ปฏิบัติงานอยู่ในปี พ.ศ. 2561 สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลำปาง จำนวน 103 แห่ง รวมทั้งสิ้น 6,668 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ความคลาดเคลื่อน 5% ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 416 คน (2) การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้เลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง เพื่อทำการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 12 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะของผู้บริหาร พฤติกรรมการบริหารงานคุณภาพของผู้บริหาร และประสิทธผลการบริหารงานของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลำปาง
อยู่ในระดับมาก ระดับปานกลาง และระดับปานกลาง ตามลำดับ 2) คุณลักษณะของผู้บริหารและพฤติกรรมการบริหารงานคุณภาพของผู้บริหารมีอิทธิพลทางบวกต่อประสิทธิผลการบริหารงานของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 3) ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลำปาง คือ ด้านทิศทางและการกำหนดนโยบาย ด้านการจัดการ
ด้านการเงินและงบประมาณ ด้านการจัดการเรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง ด้านการติดตามและควบคุมงาน และด้านการประเมินและการจัดทำรายงานCurricular : GE Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27948 Hold
Place a hold on this item
Copies
Barcode Call number Media type Location Section Status 32002000607970 SIU THE-T: IPAG-DPA-2019-11 c.1 SIU Thesis and Dissertation Main Library Thesis Corner Available 32002000607968 SIU THE-T: IPAG-DPA-2019-11 c.2 SIU Thesis and Dissertation Main Library Thesis Corner Available SIU THE-T. การประเมินความสำเร็จตามโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดฉะเชิงเทรา / ศิรพงศ์ โภคินวงศ์หิรัญ / กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร - 2019
Collection Title: SIU THE-T Title : การประเมินความสำเร็จตามโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดฉะเชิงเทรา Original title : Assessing the Success of the Newborn Child care subsidy Program of the Local Government Organization in Chachoengsao Province Material Type: printed text Authors: ศิรพงศ์ โภคินวงศ์หิรัญ, Author ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name ; ไชยวัฒน์ ค้ำชู, Associated Name Publisher: กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร Publication Date: 2019 Pagination: xii, 193 น. Layout: ตาราง, ภาพประกอบ Size: 30 ซม. Price: 500.00 บาท General note: SIU THE-T: IPAG-DPA-2019-09
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2019Languages : Thai (tha) Descriptors: [LCSH]ความสำเร็จ
[LCSH]องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น -- ฉะเชิงเทรา
[LCSH]เงินอุดหนุนKeywords: การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ, เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น Abstract: การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติโครงการและปัจจัยเชิงนโยบายโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด 2) เพื่อศึกษาความสำเร็จของสภาพการปฏิบัติโครงการและปัจจัยเชิงนโยบายโครงการ ที่ส่งผลต่อโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดฉะเชิงเทรา การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้แบบผสานวิธี (Mixed-methods Research) โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม โดยการสุ่มจากผู้ปฏิบัติงาน คือพนักงานท้องถิ่น และอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ได้กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 400 คน สถิติใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการปฏิบัติโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้ง 4 ด้าน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยเชิงนโยบายโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 6 ด้าน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และ ระดับความสำเร็จในการนำนโยบายโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้ง 2 ด้าน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก จากการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ด้านนโยบายของรัฐ (x1), ด้านการบริหาร(x4), ด้านกฎหมาย(x2), ด้านวิถีชีวิต(x3),สามารถอธิบายความผันแปรของความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติ ได้ร้อยละ 78 (R = 0.78) และด้านการนำระเบียบไปปฏิบัติ(x8) ด้านการบูรณาการการทำงาน(x10) ด้านการให้ความรู้ความเข้าใจ(x7) ด้านการตรวจสอบโครงการ(x9) และด้านการนำนโยบายไปปฏิบัติ (x6) สามารถอธิบายความผันแปรของความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติ ได้ร้อยละ 52 (R = 0.52) ส่งผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดฉะเชิงเทรา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สมมติฐาน ยอมรับได้
ความสำเร็จในการนำนโยบายโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1) ด้านความพึงพอใจของประชาชน คือขั้นตอนเป็นไปตามที่ระเบียบกำหนด ความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการแต่ละขั้นตอน ความเป็นธรรมของการบริการ เช่น เรียงตามลำดับก่อนหลัง มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน แบบฟอร์มมีความชัดเจน และมีตัวอย่างการกรอกแบบฟอร์มหรือคำร้อง เจ้าหน้าที่มีความรู้ ความสามารถในการให้บริการ ช่วยแก้ปัญหาได้ และเอาใจใส่ กระตือรือร้น และความพร้อมในการให้บริการ มีช่องทางการรับฟังความคิดเห็นต่อการให้บริการ เช่น ตู้รับฟังความคิดเห็น เว็บไซต์มีการประชาสัมพันธ์การให้บริการ เช่น แผ่นพับ ป้ายประชาสัมพันธ์ มีสื่อประชาสัมพันธ์/คู่มือและเอกสารให้ความรู้ โดยจัดให้มีสายด่วน ในการสอบถามข้อมูล มีการการแจ้งแผนผังขั้นตอนและผู้ให้บริการ การจัดทำป้ายข้อความ ป้ายประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการให้บริการมีความชัดเจน เข้าใจง่าย มีการใช้วัสดุ อุปกรณ์สำหรับการให้บริการมีความทันสมัย การให้บริการเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ เจ้าหน้าที่ให้บริการต่อผู้รับบริการเหมือนกันทุกราย โดยไม่เลือกปฏิบัติ 2) ด้านการสร้างทุนมนุษย์ที่ยั่งยืน นั้นเป็นการลงทุนในทุนมนุษย์ที่จะช่วยบำรุงรักษาคุณค่าและเพิ่มค่าทุนมนุษย์ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดสรรทรัพยากร และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และความเป็นธรรมในการกระจายรายได้ นโยบายนี้เป็นการสร้างทุนมนุษย์และมีความสำคัญต่อกำลังคนมาก โครงการเกิดผลดีต่อสังคมในด้านการช่วยเพิ่มคุณภาพให้กับทุนมนุษย์ และสามารถประเมินค่าทางเศรษฐกิจด้านต้นทุนได้ในอนาคต ทำให้โครงการนี้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณชนอย่างมากโดยวัดค่าเป็นตัวเงินไม่ได้เพราะเกิดประโยชน์กับระบบเศรษฐกิจ สังคม ที่มีคุณภาพCurricular : GE Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27957 SIU THE-T. การประเมินความสำเร็จตามโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดฉะเชิงเทรา = Assessing the Success of the Newborn Child care subsidy Program of the Local Government Organization in Chachoengsao Province [printed text] / ศิรพงศ์ โภคินวงศ์หิรัญ, Author ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name ; ไชยวัฒน์ ค้ำชู, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2019 . - xii, 193 น. : ตาราง, ภาพประกอบ ; 30 ซม.
500.00 บาท
SIU THE-T: IPAG-DPA-2019-09
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2019
Languages : Thai (tha)
Descriptors: [LCSH]ความสำเร็จ
[LCSH]องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น -- ฉะเชิงเทรา
[LCSH]เงินอุดหนุนKeywords: การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ, เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น Abstract: การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติโครงการและปัจจัยเชิงนโยบายโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด 2) เพื่อศึกษาความสำเร็จของสภาพการปฏิบัติโครงการและปัจจัยเชิงนโยบายโครงการ ที่ส่งผลต่อโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดฉะเชิงเทรา การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้แบบผสานวิธี (Mixed-methods Research) โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม โดยการสุ่มจากผู้ปฏิบัติงาน คือพนักงานท้องถิ่น และอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ได้กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 400 คน สถิติใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการปฏิบัติโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้ง 4 ด้าน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยเชิงนโยบายโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 6 ด้าน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และ ระดับความสำเร็จในการนำนโยบายโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้ง 2 ด้าน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก จากการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ด้านนโยบายของรัฐ (x1), ด้านการบริหาร(x4), ด้านกฎหมาย(x2), ด้านวิถีชีวิต(x3),สามารถอธิบายความผันแปรของความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติ ได้ร้อยละ 78 (R = 0.78) และด้านการนำระเบียบไปปฏิบัติ(x8) ด้านการบูรณาการการทำงาน(x10) ด้านการให้ความรู้ความเข้าใจ(x7) ด้านการตรวจสอบโครงการ(x9) และด้านการนำนโยบายไปปฏิบัติ (x6) สามารถอธิบายความผันแปรของความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติ ได้ร้อยละ 52 (R = 0.52) ส่งผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดฉะเชิงเทรา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สมมติฐาน ยอมรับได้
ความสำเร็จในการนำนโยบายโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1) ด้านความพึงพอใจของประชาชน คือขั้นตอนเป็นไปตามที่ระเบียบกำหนด ความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการแต่ละขั้นตอน ความเป็นธรรมของการบริการ เช่น เรียงตามลำดับก่อนหลัง มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน แบบฟอร์มมีความชัดเจน และมีตัวอย่างการกรอกแบบฟอร์มหรือคำร้อง เจ้าหน้าที่มีความรู้ ความสามารถในการให้บริการ ช่วยแก้ปัญหาได้ และเอาใจใส่ กระตือรือร้น และความพร้อมในการให้บริการ มีช่องทางการรับฟังความคิดเห็นต่อการให้บริการ เช่น ตู้รับฟังความคิดเห็น เว็บไซต์มีการประชาสัมพันธ์การให้บริการ เช่น แผ่นพับ ป้ายประชาสัมพันธ์ มีสื่อประชาสัมพันธ์/คู่มือและเอกสารให้ความรู้ โดยจัดให้มีสายด่วน ในการสอบถามข้อมูล มีการการแจ้งแผนผังขั้นตอนและผู้ให้บริการ การจัดทำป้ายข้อความ ป้ายประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการให้บริการมีความชัดเจน เข้าใจง่าย มีการใช้วัสดุ อุปกรณ์สำหรับการให้บริการมีความทันสมัย การให้บริการเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ เจ้าหน้าที่ให้บริการต่อผู้รับบริการเหมือนกันทุกราย โดยไม่เลือกปฏิบัติ 2) ด้านการสร้างทุนมนุษย์ที่ยั่งยืน นั้นเป็นการลงทุนในทุนมนุษย์ที่จะช่วยบำรุงรักษาคุณค่าและเพิ่มค่าทุนมนุษย์ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดสรรทรัพยากร และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และความเป็นธรรมในการกระจายรายได้ นโยบายนี้เป็นการสร้างทุนมนุษย์และมีความสำคัญต่อกำลังคนมาก โครงการเกิดผลดีต่อสังคมในด้านการช่วยเพิ่มคุณภาพให้กับทุนมนุษย์ และสามารถประเมินค่าทางเศรษฐกิจด้านต้นทุนได้ในอนาคต ทำให้โครงการนี้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณชนอย่างมากโดยวัดค่าเป็นตัวเงินไม่ได้เพราะเกิดประโยชน์กับระบบเศรษฐกิจ สังคม ที่มีคุณภาพCurricular : GE Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27957 Hold
Place a hold on this item
Copies
Barcode Call number Media type Location Section Status 32002000607967 SIU THE-T: IPAG-DPA-2019-09 c.1 SIU Thesis and Dissertation Main Library Thesis Corner Available 32002000607965 SIU THE-T: IPAG-DPA-2019-09 c.2 SIU Thesis and Dissertation Main Library Thesis Corner Available SIU THE-T. การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ในโครงการงานสังคมสงเคราะห์เครือข่ายพระมหาไถ่ (บาทหลวงเรย์มอนด์ เอ เบรนนัน) / เกศสุดา อินทร์สาหร่าย / กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร - 2020
Collection Title: SIU THE-T Title : การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ในโครงการงานสังคมสงเคราะห์เครือข่ายพระมหาไถ่ (บาทหลวงเรย์มอนด์ เอ เบรนนัน) Original title : The Development of the Quality of Life of the Disabled in the Social Network Project of the Redemptorist Foundation for People with Disabilities (Father Raymond A. Brennan) Material Type: printed text Authors: เกศสุดา อินทร์สาหร่าย, Author ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name ; ไชยวัฒน์ ค้ำชู, Associated Name Publisher: กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร Publication Date: 2020 Pagination: xi, 216 น. Layout: ตาราง, ภาพประกอบ Size: 30 ซม. Price: 500.00 บาท General note: SIU THE-T: IPAG-DPA-2020-01
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2020Languages : Thai (tha) Descriptors: [LCSH]คุณภาพชีวิต -- คนพิการ
[LCSH]บริการสังคมKeywords: การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ,
เครือข่ายพระมหาไถ่ (บาทหลวงเรย์มอนด์ เอ เบรนนัน)Abstract: การวิจัยเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในโครงการงานสังคมสงเคราะห์เครือข่าย พระมหาไถ่ (บาทหลวงเรย์มอนด์ เอ เบรนนัน) เป็นงานวิจัยที่มุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาคนพิการให้สามารถพึ่งพาตนเอง และเป็นแนวทางในการช่วยให้คนพิการที่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างอิสระ เสมอภาค เท่าเทียมกับบุคคลทั่ว ๆ เพื่อเป็นแนวทางสามารถในการนำชุดความรู้นี้ไปใช้กับหน่วยงานอื่นต่อไป
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) และการวิชัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาปัญหาของการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในงานสังคมสงเคราะห์เครือข่ายพระมหาไถ่ (บาทหลวงเรย์มอนด์ เอ เบรนนัน) 2. เพื่อศึกษาสาเหตุของปัญหาของการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในงานสังคมสงเคราะห์เครือข่ายพระมหาไถ่ (บาทหลวงเรย์มอนด์ เอ เบรนนัน) 3. เพื่อศึกษาและเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาและข้อเสนอแนะการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในงานสังคมสงเคราะห์เครือข่ายพระมหาไถ่ (บาทหลวงเรย์มอนด์ เอ เบรนนัน) 4. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในงานสังคมสงเคราะห์เครือข่ายพระมหาไถ่ (บาทหลวง เรย์มอนด์ เอ เบรนนัน)
ผลการวิจัย ปัจจัยด้านพฤติกรรมของครอบครัว พบว่าครอบครัวต้องเข้าใจความรู้สึกทางด้านสภาพจิตใจของคนพิการ ยอมรับสภาพความพิการ และสร้างความเข็มแข็งโดยการให้คนพิการเห็นคุณค่าในตนเองพร้อมที่จะเรียนรู้การอยู่ด้วยตนเอง ปัจจัยด้านความร่วมมือขององค์กรในเครือข่าย พบว่าการสนับสนุนของภาครัฐไม่เพียงพอและไม่ตรงตามเป้าหมายความต้องการของคนพิการ ดังนั้นสิ่งที่สำคัญต่อการสนับสนุนให้องค์กรคนพิการหรือตัวคนพิการต้องยึดหลักการส่งเสริมโดยเน้นความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของคนพิการเป็นสำคัญ ปัจจัยด้านการจัดการศึกษา การอบรม พบว่าหลักสูตรการเรียนการสอนไม่ตรงกับความต้องการตลาดแรงงาน ส่งผลให้การนำความรู้ในห้องเรียนมาปฏิบัติจริงยังไม่สามารถตอบโจทย์องค์กรที่จ้างแรงงานคนพิการในตลาดแรงงานในสังคมปัจจุบัน รวมทั้งการพัฒนาคนพิการสู่นักกีฬาอาชีพยังไม่มีหลักประกัน มาตรฐานค่าตอบแทนและขาดนักวิเคราะห์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาเข้ามาช่วยเหลือคนพิการ ดังนั้นควรกระตุ้นระบบการศึกษาไทยจะก่อให้เกิดการพัฒนาคนพิการให้เป็นคนที่มีศักยภาพทางการศึกษาพร้อมต่อการออกสู่สังคมในวัยทำงาน สุดท้ายปัจจัยด้านพัฒนาทักษะชีวิตในการอยู่ร่วมกับสังคม พบว่าคนพิการมีความรู้สึกว่ามีความเลื่อมล้ำ ขาดความเสมอภาค การให้บริการระหว่างคนพิการกับคนปกติ ดังนั้นการสนับสนุนทางสังคมที่ทำให้คนพิการรู้สึกมีคุณค่าต้องตระหนักตั้งแต่ระดับชุมชนเพราะเป็นกลุ่มที่อยู่ใกล้ชิดกับคนพิการลำดับแรกเพื่อส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคมระหว่างคนปกติและคนพิการCurricular : MPA/DPA Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=28108 SIU THE-T. การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ในโครงการงานสังคมสงเคราะห์เครือข่ายพระมหาไถ่ (บาทหลวงเรย์มอนด์ เอ เบรนนัน) = The Development of the Quality of Life of the Disabled in the Social Network Project of the Redemptorist Foundation for People with Disabilities (Father Raymond A. Brennan) [printed text] / เกศสุดา อินทร์สาหร่าย, Author ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name ; ไชยวัฒน์ ค้ำชู, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2020 . - xi, 216 น. : ตาราง, ภาพประกอบ ; 30 ซม.
500.00 บาท
SIU THE-T: IPAG-DPA-2020-01
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2020
Languages : Thai (tha)
Descriptors: [LCSH]คุณภาพชีวิต -- คนพิการ
[LCSH]บริการสังคมKeywords: การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ,
เครือข่ายพระมหาไถ่ (บาทหลวงเรย์มอนด์ เอ เบรนนัน)Abstract: การวิจัยเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในโครงการงานสังคมสงเคราะห์เครือข่าย พระมหาไถ่ (บาทหลวงเรย์มอนด์ เอ เบรนนัน) เป็นงานวิจัยที่มุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาคนพิการให้สามารถพึ่งพาตนเอง และเป็นแนวทางในการช่วยให้คนพิการที่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างอิสระ เสมอภาค เท่าเทียมกับบุคคลทั่ว ๆ เพื่อเป็นแนวทางสามารถในการนำชุดความรู้นี้ไปใช้กับหน่วยงานอื่นต่อไป
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) และการวิชัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาปัญหาของการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในงานสังคมสงเคราะห์เครือข่ายพระมหาไถ่ (บาทหลวงเรย์มอนด์ เอ เบรนนัน) 2. เพื่อศึกษาสาเหตุของปัญหาของการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในงานสังคมสงเคราะห์เครือข่ายพระมหาไถ่ (บาทหลวงเรย์มอนด์ เอ เบรนนัน) 3. เพื่อศึกษาและเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาและข้อเสนอแนะการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในงานสังคมสงเคราะห์เครือข่ายพระมหาไถ่ (บาทหลวงเรย์มอนด์ เอ เบรนนัน) 4. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในงานสังคมสงเคราะห์เครือข่ายพระมหาไถ่ (บาทหลวง เรย์มอนด์ เอ เบรนนัน)
ผลการวิจัย ปัจจัยด้านพฤติกรรมของครอบครัว พบว่าครอบครัวต้องเข้าใจความรู้สึกทางด้านสภาพจิตใจของคนพิการ ยอมรับสภาพความพิการ และสร้างความเข็มแข็งโดยการให้คนพิการเห็นคุณค่าในตนเองพร้อมที่จะเรียนรู้การอยู่ด้วยตนเอง ปัจจัยด้านความร่วมมือขององค์กรในเครือข่าย พบว่าการสนับสนุนของภาครัฐไม่เพียงพอและไม่ตรงตามเป้าหมายความต้องการของคนพิการ ดังนั้นสิ่งที่สำคัญต่อการสนับสนุนให้องค์กรคนพิการหรือตัวคนพิการต้องยึดหลักการส่งเสริมโดยเน้นความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของคนพิการเป็นสำคัญ ปัจจัยด้านการจัดการศึกษา การอบรม พบว่าหลักสูตรการเรียนการสอนไม่ตรงกับความต้องการตลาดแรงงาน ส่งผลให้การนำความรู้ในห้องเรียนมาปฏิบัติจริงยังไม่สามารถตอบโจทย์องค์กรที่จ้างแรงงานคนพิการในตลาดแรงงานในสังคมปัจจุบัน รวมทั้งการพัฒนาคนพิการสู่นักกีฬาอาชีพยังไม่มีหลักประกัน มาตรฐานค่าตอบแทนและขาดนักวิเคราะห์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาเข้ามาช่วยเหลือคนพิการ ดังนั้นควรกระตุ้นระบบการศึกษาไทยจะก่อให้เกิดการพัฒนาคนพิการให้เป็นคนที่มีศักยภาพทางการศึกษาพร้อมต่อการออกสู่สังคมในวัยทำงาน สุดท้ายปัจจัยด้านพัฒนาทักษะชีวิตในการอยู่ร่วมกับสังคม พบว่าคนพิการมีความรู้สึกว่ามีความเลื่อมล้ำ ขาดความเสมอภาค การให้บริการระหว่างคนพิการกับคนปกติ ดังนั้นการสนับสนุนทางสังคมที่ทำให้คนพิการรู้สึกมีคุณค่าต้องตระหนักตั้งแต่ระดับชุมชนเพราะเป็นกลุ่มที่อยู่ใกล้ชิดกับคนพิการลำดับแรกเพื่อส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคมระหว่างคนปกติและคนพิการCurricular : MPA/DPA Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=28108 Hold
Place a hold on this item
Copies
Barcode Call number Media type Location Section Status 32002000607328 SIU THE-T: IPAG-DPA-2020-01 c.1 SIU Thesis and Dissertation Main Library Thesis Corner Available 32002000607326 SIU THE-T: IPAG-DPA-2020-01 c.2 SIU Thesis and Dissertation Main Library Thesis Corner Available SIU THE-T. การพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค 10 / พระมหาสมคิด มะลัยทอง / กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร - 2020
Collection Title: SIU THE-T Title : การพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค 10 Original title : Leadership Development towards Sappurisadhamma 7 Principles of Administrative Monks Under Sangha Region 10 Material Type: printed text Authors: พระมหาสมคิด มะลัยทอง, Author ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name ; ไชยวัฒน์ ค้ำชู, Associated Name Publisher: กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร Publication Date: 2020 Pagination: xi, 147 น. Layout: ตาราง, ภาพประกอบ Size: 30 ซม. Price: 500.00 บาท General note: SIU THE-T: IPAG-DPA-2020-21
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2020Languages : Thai (tha) Descriptors: [LCSH]พระสังฆาธิการ
[LCSH]ภาวะผู้นำ -- แง่ศาสนา -- พุทธศาสนา
[LCSH]สัปปุริสธรรม -- วิจัยKeywords: ภาวะผู้นำ, สัปปุริสธรรม 7, คณะสงฆ์ภาค 10 Abstract: งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของพระสังฆาธิการ ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค10 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของพระสังฆาธิการ ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค10 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค10 ผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) คือ 1) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการสัมภาษณ์จำนวน 16 คน โดยการวิเคราะห์เนื้อหา 2) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง ของพระสงฆ์ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค10 จำนวน 6 จังหวัด จำนวน 400 คน โดยการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า การพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 คือผู้นำที่มีความรู้ ความสามารถ จูงใจให้ผู้อื่นปฏิบัติตามได้ดั่งใจประสงค์และเกิดความพึงพอใจ เป็นไปตามหลักพระพุทธศาสนาได้กล่าวถึง และงานวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ปัจจัยหลักสัปปุริสธรรม 7 ที่ส่งผลต่อการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของพระสังฆาธิการ ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค10 ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านกาลัญญุตา มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.48, S.D. = 0.63) โดยตัวแปรอิสระทั้ง 5 ตัวแปรสามารถร่วมกันทำนายการพัฒนาภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค10 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.542 อำนาจทำนายประมาณร้อยละ 29.40 (R Square = 0.294) ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการทำนายมีค่า 1.914 ปัจจัยภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการที่ส่งผลต่อการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของพระสังฆาธิการ ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค10 ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ แบบกระจายความรับผิดชอบ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.35, S.D. = 0.69) โดยตัวแปรอิสระ 2 ตัวแปรสามารถร่วมกันทำนายการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของพระสังฆาธิการ ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค10 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.507 อำนาจทำนายประมาณร้อยละ 25.70 (R Square = 0.257) ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการทำนายมีค่า 1.893
ข้อเสนอแนะ การพัฒนาภาวะผู้นำให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละวัด เพื่อให้การพัฒนาเป็นไปตามหลักปริสัญญุตา การเข้าใจความแตกต่างของบุคลากรและวัฒนธรรมของชุมชนCurricular : MPA/DPA Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=28105 SIU THE-T. การพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค 10 = Leadership Development towards Sappurisadhamma 7 Principles of Administrative Monks Under Sangha Region 10 [printed text] / พระมหาสมคิด มะลัยทอง, Author ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name ; ไชยวัฒน์ ค้ำชู, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2020 . - xi, 147 น. : ตาราง, ภาพประกอบ ; 30 ซม.
500.00 บาท
SIU THE-T: IPAG-DPA-2020-21
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2020
Languages : Thai (tha)
Descriptors: [LCSH]พระสังฆาธิการ
[LCSH]ภาวะผู้นำ -- แง่ศาสนา -- พุทธศาสนา
[LCSH]สัปปุริสธรรม -- วิจัยKeywords: ภาวะผู้นำ, สัปปุริสธรรม 7, คณะสงฆ์ภาค 10 Abstract: งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของพระสังฆาธิการ ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค10 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของพระสังฆาธิการ ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค10 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค10 ผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) คือ 1) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการสัมภาษณ์จำนวน 16 คน โดยการวิเคราะห์เนื้อหา 2) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง ของพระสงฆ์ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค10 จำนวน 6 จังหวัด จำนวน 400 คน โดยการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า การพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 คือผู้นำที่มีความรู้ ความสามารถ จูงใจให้ผู้อื่นปฏิบัติตามได้ดั่งใจประสงค์และเกิดความพึงพอใจ เป็นไปตามหลักพระพุทธศาสนาได้กล่าวถึง และงานวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ปัจจัยหลักสัปปุริสธรรม 7 ที่ส่งผลต่อการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของพระสังฆาธิการ ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค10 ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านกาลัญญุตา มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.48, S.D. = 0.63) โดยตัวแปรอิสระทั้ง 5 ตัวแปรสามารถร่วมกันทำนายการพัฒนาภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค10 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.542 อำนาจทำนายประมาณร้อยละ 29.40 (R Square = 0.294) ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการทำนายมีค่า 1.914 ปัจจัยภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการที่ส่งผลต่อการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของพระสังฆาธิการ ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค10 ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ แบบกระจายความรับผิดชอบ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.35, S.D. = 0.69) โดยตัวแปรอิสระ 2 ตัวแปรสามารถร่วมกันทำนายการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของพระสังฆาธิการ ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค10 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.507 อำนาจทำนายประมาณร้อยละ 25.70 (R Square = 0.257) ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการทำนายมีค่า 1.893
ข้อเสนอแนะ การพัฒนาภาวะผู้นำให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละวัด เพื่อให้การพัฒนาเป็นไปตามหลักปริสัญญุตา การเข้าใจความแตกต่างของบุคลากรและวัฒนธรรมของชุมชนCurricular : MPA/DPA Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=28105 Hold
Place a hold on this item
Copies
Barcode Call number Media type Location Section Status 32002000607332 SIU THE-T: IPAG-DPA-2020-21 c.1 SIU Thesis and Dissertation Main Library Thesis Corner Available 32002000607334 SIU THE-T: IPAG-DPA-2020-21 c.2 SIU Thesis and Dissertation Main Library Thesis Corner Available SIU THE-T. คุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี / ธนกรณ์ พูนภิญโญศักดิ์ / กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร - 2020
Collection Title: SIU THE-T Title : คุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี Original title : Quality of the Public Administration of the Town Municipality of Prathum Thani Province Material Type: printed text Authors: ธนกรณ์ พูนภิญโญศักดิ์, Author ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name ; ไชยวัฒน์ ค้ำชู, Associated Name Publisher: กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร Publication Date: 2020 Pagination: xi, 141 น. Layout: ตาราง, ภาพประกอบ Size: 30 ซม. Price: 500.00 บาท General note: SIU THE-T: IPAG-DPA-2020-07
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2020Languages : Thai (tha) Descriptors: [LCSH]ระบบราชการ -- การบริหาร -- การควบคุมคุณภาพ -- ไทย -- ปทุมธานี Keywords: คุณภาพการบริหารราชการ,
เทศบาลเมืองในจังหวัดปทุมธานีAbstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารราชการภาครัฐแนวใหม่กับคุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี 2) ศึกษาหน้าที่ของเทศบาลมีความสัมพันธ์กับการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี 3) ศึกษาการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี และ 4) เพื่อศึกษาคุณภาพการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี (Mix methods research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ คือ ประชาชนทั่วไปที่พักอาศัยในเขตบริการของเทศบาลทั้ง 9 แห่งจำนวน 428,290 คน คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีของ Yamane (1997) ได้กลุ่มตัวอย่าง 400 คน ประชากรที่ใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 คน ซึ่งเป็นผู้บริหารเทศบาลทั้ง 9 แห่ง
ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า 1) ด้านการบริหารราชการภาครัฐแนวใหม่ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เท่ากับ 4.55 เมื่อแยกรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านการยกระดับความโปร่งใส และสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาในการบริหารจัดการมีค่าเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 4.70 จากการทดสอบสมมติฐาน การบริหารราชการภาครัฐแนวใหม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.269 (r=0.269) เป็นไปตามสมมติฐาน 2) ด้านหน้าที่ของเทศบาล พบว่า หน้าที่ของเทศบาลโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เท่ากับ 4.45 เมื่อแยกรายด้าน พบว่า ด้านการบริการสาธารณะ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 4.50 จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า หน้าที่ของเทศบาลของตัวแปรทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านการบริการสาธาณะ และด้านอำนาจ หน้าที่ตามกฎหมายของเทศบาล ไม่มีตัวแปรใดที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (R=0.087 R2=0.0077) ไม่เป็นไปตามสมมติฐาน 3) ด้านการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การบริหารราชการภาครัฐแนวใหม่ของตัวแปรทั้ง 6 ด้าน มีตัวแปร 4 ด้าน ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี ดังนี้ (1) ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสินทรัพย์ของเทศบาลให้เกิดประโยชน์สูงสุด(2) ด้านการวางระบบการบริหารงานเทศบาลแบบบูรณาการ (3) ด้านการส่งเสริมระบบการบริหารกิจการของเทศบาลแบบร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน และ (4) ด้านการยกระดับความโปร่งใส และสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาในการบริหารจัดการ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (R =0.665 R2 = 0.443) เป็นไปตามสมมติฐาน 4) ด้านคุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง พบว่า คุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เท่ากับ 4.64 เมื่อแยกรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านตอบสนองต่อผู้รับบริการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.69 จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า คุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลมีตัวแปร 2 ด้าน ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี ดังนี้ (1) ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน และ (2) ด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้ถึงร้อยละ 99.50 เป็นไปตามสมมติฐาน
ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ด้านหน้าที่ของเทศบาล มีการดำเนินการตามแผนที่ได้วางและกำหนดไว้ ในเรื่องของการบริการสาธารณะ ด้านอำนาจ หน้าที่ตามกฎหมายกำหนด เทศบาลพบปัญหาในเรื่องของการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับข้อกฎหมาย ที่ขาดความยืดหยุ่น มีข้อจำกัด และยังขาดการใช้อำนาจที่เพียงพอตาม พ.ร.บ. เทศบาล พ.ศ. 2496 และ พ.ร.บ. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 เช่น การนำมาตรการการบังคับใช้กฎหมายอาชญากรรมในชุมชนมาใช้ในเรื่องปัญหาการแอบลักลอบการค้ายาเสพติด หรือการรักษาความสงบเรียบร้อยของชุมชน เป็นต้น ซึ่งปัญหาดังกล่าวควรได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง โดยการนำเข้าประชุม หารือร่วมกัน และควรนำบรรจุอยู่ในวาระการประชุมในแผนประจำปี เพื่อร่วมกันหาฉันทามติจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อันนำไปสู่การยกระดับการให้บริการที่เหมาะสมและเป็นประโยขน์ต่อไป ด้านการยกระดับความโปร่งใส และสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาในการบริหารราชการเทศบาล พบว่า เทศบาลมีการจัดทำแผนป้องกันการทุจริต โดยความร่วมมือที่เกิดจากภาคประชาชน และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่มีการให้ประชาชนสามารถตรวจสอบการบริหารงานของเทศบาลได้ ซึ่งถือเป็นข้อที่ดี ส่วนเทศบาลที่ไม่ได้ระบุควรต้องให้ความสำคัญและร่วมกันดำเนินการอย่างจริงจังตามหน้าที่ของเทศบาลที่จะต้องพึงปฏิบัติ อันจะเป็นการยกระดับการสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาในการบริหารราชการของเทศบาลเมืองที่มีต่อประชาชนในเขตพื้นที่ของเทศบาลตนเองได้Curricular : GE Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=28106 SIU THE-T. คุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี = Quality of the Public Administration of the Town Municipality of Prathum Thani Province [printed text] / ธนกรณ์ พูนภิญโญศักดิ์, Author ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name ; ไชยวัฒน์ ค้ำชู, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2020 . - xi, 141 น. : ตาราง, ภาพประกอบ ; 30 ซม.
500.00 บาท
SIU THE-T: IPAG-DPA-2020-07
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2020
Languages : Thai (tha)
Descriptors: [LCSH]ระบบราชการ -- การบริหาร -- การควบคุมคุณภาพ -- ไทย -- ปทุมธานี Keywords: คุณภาพการบริหารราชการ,
เทศบาลเมืองในจังหวัดปทุมธานีAbstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารราชการภาครัฐแนวใหม่กับคุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี 2) ศึกษาหน้าที่ของเทศบาลมีความสัมพันธ์กับการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี 3) ศึกษาการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี และ 4) เพื่อศึกษาคุณภาพการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี (Mix methods research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ คือ ประชาชนทั่วไปที่พักอาศัยในเขตบริการของเทศบาลทั้ง 9 แห่งจำนวน 428,290 คน คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีของ Yamane (1997) ได้กลุ่มตัวอย่าง 400 คน ประชากรที่ใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 คน ซึ่งเป็นผู้บริหารเทศบาลทั้ง 9 แห่ง
ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า 1) ด้านการบริหารราชการภาครัฐแนวใหม่ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เท่ากับ 4.55 เมื่อแยกรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านการยกระดับความโปร่งใส และสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาในการบริหารจัดการมีค่าเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 4.70 จากการทดสอบสมมติฐาน การบริหารราชการภาครัฐแนวใหม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.269 (r=0.269) เป็นไปตามสมมติฐาน 2) ด้านหน้าที่ของเทศบาล พบว่า หน้าที่ของเทศบาลโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เท่ากับ 4.45 เมื่อแยกรายด้าน พบว่า ด้านการบริการสาธารณะ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 4.50 จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า หน้าที่ของเทศบาลของตัวแปรทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านการบริการสาธาณะ และด้านอำนาจ หน้าที่ตามกฎหมายของเทศบาล ไม่มีตัวแปรใดที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (R=0.087 R2=0.0077) ไม่เป็นไปตามสมมติฐาน 3) ด้านการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การบริหารราชการภาครัฐแนวใหม่ของตัวแปรทั้ง 6 ด้าน มีตัวแปร 4 ด้าน ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี ดังนี้ (1) ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสินทรัพย์ของเทศบาลให้เกิดประโยชน์สูงสุด(2) ด้านการวางระบบการบริหารงานเทศบาลแบบบูรณาการ (3) ด้านการส่งเสริมระบบการบริหารกิจการของเทศบาลแบบร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน และ (4) ด้านการยกระดับความโปร่งใส และสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาในการบริหารจัดการ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (R =0.665 R2 = 0.443) เป็นไปตามสมมติฐาน 4) ด้านคุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง พบว่า คุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เท่ากับ 4.64 เมื่อแยกรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านตอบสนองต่อผู้รับบริการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.69 จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า คุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลมีตัวแปร 2 ด้าน ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี ดังนี้ (1) ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน และ (2) ด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้ถึงร้อยละ 99.50 เป็นไปตามสมมติฐาน
ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ด้านหน้าที่ของเทศบาล มีการดำเนินการตามแผนที่ได้วางและกำหนดไว้ ในเรื่องของการบริการสาธารณะ ด้านอำนาจ หน้าที่ตามกฎหมายกำหนด เทศบาลพบปัญหาในเรื่องของการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับข้อกฎหมาย ที่ขาดความยืดหยุ่น มีข้อจำกัด และยังขาดการใช้อำนาจที่เพียงพอตาม พ.ร.บ. เทศบาล พ.ศ. 2496 และ พ.ร.บ. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 เช่น การนำมาตรการการบังคับใช้กฎหมายอาชญากรรมในชุมชนมาใช้ในเรื่องปัญหาการแอบลักลอบการค้ายาเสพติด หรือการรักษาความสงบเรียบร้อยของชุมชน เป็นต้น ซึ่งปัญหาดังกล่าวควรได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง โดยการนำเข้าประชุม หารือร่วมกัน และควรนำบรรจุอยู่ในวาระการประชุมในแผนประจำปี เพื่อร่วมกันหาฉันทามติจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อันนำไปสู่การยกระดับการให้บริการที่เหมาะสมและเป็นประโยขน์ต่อไป ด้านการยกระดับความโปร่งใส และสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาในการบริหารราชการเทศบาล พบว่า เทศบาลมีการจัดทำแผนป้องกันการทุจริต โดยความร่วมมือที่เกิดจากภาคประชาชน และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่มีการให้ประชาชนสามารถตรวจสอบการบริหารงานของเทศบาลได้ ซึ่งถือเป็นข้อที่ดี ส่วนเทศบาลที่ไม่ได้ระบุควรต้องให้ความสำคัญและร่วมกันดำเนินการอย่างจริงจังตามหน้าที่ของเทศบาลที่จะต้องพึงปฏิบัติ อันจะเป็นการยกระดับการสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาในการบริหารราชการของเทศบาลเมืองที่มีต่อประชาชนในเขตพื้นที่ของเทศบาลตนเองได้Curricular : GE Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=28106 Hold
Place a hold on this item
Copies
Barcode Call number Media type Location Section Status 32002000607329 SIU THE-T: IPAG-DPA-2020-07 c.1 SIU Thesis and Dissertation Main Library Thesis Corner Available 32002000607331 SIU THE-T: IPAG-DPA-2020-07 c.2 SIU Thesis and Dissertation Main Library Thesis Corner Available SIU THE-T. บทบาทของเจ้าอาวาสในการบริหารจัดการวัดตามหลักธรรมาภิบาลของวัดในสังกัดคณะสงฆ์ภาค 10 / พระมหาคะนอง จันทร์คำลอย / ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยชินวัตร - 2020
Collection Title: SIU THE-T Title : บทบาทของเจ้าอาวาสในการบริหารจัดการวัดตามหลักธรรมาภิบาลของวัดในสังกัดคณะสงฆ์ภาค 10 Original title : The Abbot’s Roles in Monasteries Management towards Good Governance Principles under the Sangha Region 10 Material Type: printed text Authors: พระมหาคะนอง จันทร์คำลอย, Author ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name ; ไชยวัฒน์ ค้ำชู, Associated Name Publisher: ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยชินวัตร Publication Date: 2020 Pagination: xi, 140 น. Layout: ตาราง, ภาพประกอบ Size: 30 ซม. Price: 500.00 บาท General note: SIU THE-T: IPAG-DPA-2020-20
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2020Languages : Thai (tha) Descriptors: [LCSH]ธรรมาภิบาล
[LCSH]เจ้าอาวาสKeywords: เจ้าอาวาส, คณะสงฆ์ภาค 10, ธรรมาภิบาล Abstract: งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาการบริหารกิจการคณะสงฆ์ว่าด้วยกฎ ระเบียบ ข้อบังคับและหลักธรรมาภิบาล ต่อบทบาทของเจ้าอาวาสในการบริหารจัดการวัด ตามหลักธรรมาภิบาลของวัดในสังกัดคณะภาค 10 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อบทบาทของเจ้าอาวาสในการบริหารจัดการวัด ตามหลักธรรมาภิบาลของวัดในสังกัดคณะภาค 10 3) เพื่อศึกษาบทบาทของเจ้าอาวาสในการบริหารจัดการวัด ตามหลักธรรมาภิบาลของวัดในสังกัดคณะภาค 10 ผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) คือ 1) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการสัมภาษณ์จำนวน 24 คน โดยการวิเคราะห์เนื้อหา 2) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง ของประชาชนในสังกัดคณะสงฆ์ภาค10 จำนวน 6 จังหวัด จำนวน 400 คน โดยการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า ปัญหามิติการบริหารกิจการคณะสงฆ์และหลักธรรมาภิบาล ต่อบทบาทของเจ้าอาวาสในการบริหารจัดการวัด ตามหลักธรรมาภิบาลของวัดในสังกัดคณะภาค 10
1) การเผยแผ่ศาสนา ขาดการวางแผนเชิงรุก 2) การศาสนศึกษา ขาดแคลนงบประมาณอุดหนุน 3) การศึกษาสงเคราะห์ ขาดการมีส่วนร่วม 4) การสาธารณะสงเคราะห์ ขาดการวางแผน 5) การสาธารณูปการ การขัดแย้งกับชุมชน 6) การปกครอง ขาดโครงสร้างที่เหมาะสม และงานวิจัยเชิงปริมาณพบว่า ปัจจัยมิติการบริหารกิจการคณะสงฆ์ที่ส่งผลต่อบทบาทของเจ้าอาวาสในการบริหารจัดการวัด ตามหลักธรรมาภิบาลของวัดในสังกัดคณะภาค 10 ภาพรวมอยู่ในระดับมากคือ ด้านการศาสนศึกษา (x̄ = 4.52, S.D. = 0.69) โดยตัวแปรทำนายทั้ง 4 ตัวได้แก่ ด้านศาสนศึกษา ด้านสาธารณสงเคราะห์ ด้านสาธารณูปการ และด้านการปกครอง สามารถร่วมกันทำนายบทบาทของเจ้าอาวาสในการบริหารจัดการวัด ตามหลักธรรมาภิบาลของวัดในสังกัดคณะภาค 10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.513 มีอำนาจทำนายร้อยละ 25.20 ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการทำนายมีค่า 1.990 และปัจจัยธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อบทบาทของเจ้าอาวาสในการบริหารจัดการวัด ตามหลักธรรมาภิบาลของวัดในสังกัดคณะภาค10 ภาพรวมอยู่ในระดับมากคือหลักความโปร่งใสและหลักการมีส่วนร่วม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.55, S.D. = 0.57, 0.66) โดยตัวแปรทำนายทั้ง 4 ตัวได้แก่ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านความคุ้มค่า และด้านหลักการตอบสนอง สามารถร่วมกันทำนายบทบาทของเจ้าอาวาสในการบริหารจัดการวัด ตามหลักธรรมาภิบาลของวัดในสังกัดคณะภาค 10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.691 มีอำนาจทำนายร้อยละ 47.80 ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการทำนายมีค่า 1.863
ข้อเสนอแนะ ศึกษาทัศนคติของชุมชนที่มีภูมิลำเนาฐานรอบศาสนสถาน นำงานวิจัยมาปรับปรุงและยกระดับการบริหารกิจการคณะสงฆ์และนำสู่ภาคปฏิบัติร่วมกันเพื่อสร้างสันติสุขให้กับชุมชนCurricular : MPA/DPA Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=28273 SIU THE-T. บทบาทของเจ้าอาวาสในการบริหารจัดการวัดตามหลักธรรมาภิบาลของวัดในสังกัดคณะสงฆ์ภาค 10 = The Abbot’s Roles in Monasteries Management towards Good Governance Principles under the Sangha Region 10 [printed text] / พระมหาคะนอง จันทร์คำลอย, Author ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name ; ไชยวัฒน์ ค้ำชู, Associated Name . - ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2020 . - xi, 140 น. : ตาราง, ภาพประกอบ ; 30 ซม.
500.00 บาท
SIU THE-T: IPAG-DPA-2020-20
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2020
Languages : Thai (tha)
Descriptors: [LCSH]ธรรมาภิบาล
[LCSH]เจ้าอาวาสKeywords: เจ้าอาวาส, คณะสงฆ์ภาค 10, ธรรมาภิบาล Abstract: งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาการบริหารกิจการคณะสงฆ์ว่าด้วยกฎ ระเบียบ ข้อบังคับและหลักธรรมาภิบาล ต่อบทบาทของเจ้าอาวาสในการบริหารจัดการวัด ตามหลักธรรมาภิบาลของวัดในสังกัดคณะภาค 10 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อบทบาทของเจ้าอาวาสในการบริหารจัดการวัด ตามหลักธรรมาภิบาลของวัดในสังกัดคณะภาค 10 3) เพื่อศึกษาบทบาทของเจ้าอาวาสในการบริหารจัดการวัด ตามหลักธรรมาภิบาลของวัดในสังกัดคณะภาค 10 ผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) คือ 1) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการสัมภาษณ์จำนวน 24 คน โดยการวิเคราะห์เนื้อหา 2) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง ของประชาชนในสังกัดคณะสงฆ์ภาค10 จำนวน 6 จังหวัด จำนวน 400 คน โดยการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า ปัญหามิติการบริหารกิจการคณะสงฆ์และหลักธรรมาภิบาล ต่อบทบาทของเจ้าอาวาสในการบริหารจัดการวัด ตามหลักธรรมาภิบาลของวัดในสังกัดคณะภาค 10
1) การเผยแผ่ศาสนา ขาดการวางแผนเชิงรุก 2) การศาสนศึกษา ขาดแคลนงบประมาณอุดหนุน 3) การศึกษาสงเคราะห์ ขาดการมีส่วนร่วม 4) การสาธารณะสงเคราะห์ ขาดการวางแผน 5) การสาธารณูปการ การขัดแย้งกับชุมชน 6) การปกครอง ขาดโครงสร้างที่เหมาะสม และงานวิจัยเชิงปริมาณพบว่า ปัจจัยมิติการบริหารกิจการคณะสงฆ์ที่ส่งผลต่อบทบาทของเจ้าอาวาสในการบริหารจัดการวัด ตามหลักธรรมาภิบาลของวัดในสังกัดคณะภาค 10 ภาพรวมอยู่ในระดับมากคือ ด้านการศาสนศึกษา (x̄ = 4.52, S.D. = 0.69) โดยตัวแปรทำนายทั้ง 4 ตัวได้แก่ ด้านศาสนศึกษา ด้านสาธารณสงเคราะห์ ด้านสาธารณูปการ และด้านการปกครอง สามารถร่วมกันทำนายบทบาทของเจ้าอาวาสในการบริหารจัดการวัด ตามหลักธรรมาภิบาลของวัดในสังกัดคณะภาค 10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.513 มีอำนาจทำนายร้อยละ 25.20 ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการทำนายมีค่า 1.990 และปัจจัยธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อบทบาทของเจ้าอาวาสในการบริหารจัดการวัด ตามหลักธรรมาภิบาลของวัดในสังกัดคณะภาค10 ภาพรวมอยู่ในระดับมากคือหลักความโปร่งใสและหลักการมีส่วนร่วม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.55, S.D. = 0.57, 0.66) โดยตัวแปรทำนายทั้ง 4 ตัวได้แก่ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านความคุ้มค่า และด้านหลักการตอบสนอง สามารถร่วมกันทำนายบทบาทของเจ้าอาวาสในการบริหารจัดการวัด ตามหลักธรรมาภิบาลของวัดในสังกัดคณะภาค 10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.691 มีอำนาจทำนายร้อยละ 47.80 ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการทำนายมีค่า 1.863
ข้อเสนอแนะ ศึกษาทัศนคติของชุมชนที่มีภูมิลำเนาฐานรอบศาสนสถาน นำงานวิจัยมาปรับปรุงและยกระดับการบริหารกิจการคณะสงฆ์และนำสู่ภาคปฏิบัติร่วมกันเพื่อสร้างสันติสุขให้กับชุมชนCurricular : MPA/DPA Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=28273 Hold
Place a hold on this item
Copies
Barcode Call number Media type Location Section Status 32002000607503 SIU THE-T: IPAG-DPA-2020-20 c.1 SIU Thesis and Dissertation Main Library Thesis Corner Available 32002000607514 SIU THE-T: IPAG-DPA-2020-20 c.2 SIU Thesis and Dissertation Main Library Thesis Corner Available SIU THE-T. ประสิทธิผลการดำเนินงานเพื่อเป็นองค์การสมรรถนะสูงของกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาล / ปกิต มูลเพ็ญ / กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร - 2020
Collection Title: SIU THE-T Title : ประสิทธิผลการดำเนินงานเพื่อเป็นองค์การสมรรถนะสูงของกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาล Original title : Effectiveness of Operational for Enhancing High Performance Organization of Patrol and Special Operation, Metropolitan Police Bureau Material Type: printed text Authors: ปกิต มูลเพ็ญ, Author ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name ; ไชยวัฒน์ ค้ำชู, Associated Name Publisher: กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร Publication Date: 2020 Pagination: x, 259 น. Layout: ตาราง, ภาพประกอบ Size: 30 ซม. Price: 500.00 บาท General note: SIU THE-T: IPAG-DPA-2020-22
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2020Languages : Thai (tha) Descriptors: [LCSH]กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ
[LCSH]การจัดองค์การ
[LCSH]ประสิทธิผลองค์การKeywords: ประสิทธิผลการดำเนินงาน, องค์การสมรรถนะสูง, กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการบริหารองค์การสมัยใหม่ ลักษณะเฉพาะองค์การสมรรถนะสูง และภาวะผู้นำองค์การสมัยใหม่ของกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาลกับคุณภาพการบริหารจัดการองค์การ ตามหลักเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) 2) ศึกษาปัจจัยการบริหารจัดการองค์สมัยใหม่ ภาวะผู้นำ และลักษณะเฉพาะองค์การสมรรถนะสูง ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานเพื่อเป็นองค์การสมรรถนะสูงของกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาล และ 3) ศึกษาแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์การดำเนินงานเพื่อเป็นองค์การสมรรถนะสูงของกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาล การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี ด้วยเทคนิควิธีการเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่างจำนวน 310 ตัวอย่าง และเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 ท่าน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม เลือกใช้สถิติแบบอธิบาย และแบบอ้างอิงในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล กล่าวคือ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติแบบอ้างอิง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การทดสอบค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหูคูณ
ผลการศึกษา พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการบริหารองค์การสมัยใหม่ ลักษณะเฉพาะองค์การสมรรถนะสูง และภาวะผู้นำองค์การสมัยใหม่ของกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาลกับคุณภาพการบริหารจัดการองค์การ ตามหลักเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) โดยผลการศึกษานี้สอดคล้องกับผลงานวิจัยที่พบว่า การเป็นองค์การสมรรถนะสูงนั้นจะประกอบด้วยปัจจัยด้านกลยุทธ์ขององค์การ ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ และปัจจัยด้านบุคลากรที่มีคุณภาพ การพัฒนาบุคลากรทุกระดับให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ การมีโครงสร้างองค์การที่ยืดหยุ่น รวมถึงมีนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการปฏิบัติงาน และปัจจัยด้านการบริหารอื่น ๆ และการศึกษาปัจจัยการบริหารจัดการองค์สมัยใหม่ ภาวะผู้นำ และลักษณะเฉพาะองค์การสมรรถนะสูง ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานเพื่อเป็นองค์การสมรรถนะสูงของกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาล โดยผลการศึกษานี้สอดคล้องกับผลงานวิจัยที่พบว่า การอำนวยการ กลยุทธ์ โครงสร้างองค์การ รูปแบบบริหารหรือการควบคุม การประสานงานหรือการสร้างทีม ทักษะบุคลากร ระบบปฏิบัติการ ค่านิยมร่วม ภาวะผู้นำ รวมถึงปัจจัยด้านการบริหารอื่น ๆ ส่งผลต่อการดำเนินงานเพื่อเป็นองค์การสมรรถนะสูง และการศึกษาสามารถบรรลุวัตถุประสงค์แนวทางในการกำหนดกลยุทธ์การดำเนินงานเพื่อเป็นองค์การสมรรถนะสูงของกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาลCurricular : GE Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=28104 SIU THE-T. ประสิทธิผลการดำเนินงานเพื่อเป็นองค์การสมรรถนะสูงของกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาล = Effectiveness of Operational for Enhancing High Performance Organization of Patrol and Special Operation, Metropolitan Police Bureau [printed text] / ปกิต มูลเพ็ญ, Author ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name ; ไชยวัฒน์ ค้ำชู, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2020 . - x, 259 น. : ตาราง, ภาพประกอบ ; 30 ซม.
500.00 บาท
SIU THE-T: IPAG-DPA-2020-22
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2020
Languages : Thai (tha)
Descriptors: [LCSH]กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ
[LCSH]การจัดองค์การ
[LCSH]ประสิทธิผลองค์การKeywords: ประสิทธิผลการดำเนินงาน, องค์การสมรรถนะสูง, กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการบริหารองค์การสมัยใหม่ ลักษณะเฉพาะองค์การสมรรถนะสูง และภาวะผู้นำองค์การสมัยใหม่ของกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาลกับคุณภาพการบริหารจัดการองค์การ ตามหลักเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) 2) ศึกษาปัจจัยการบริหารจัดการองค์สมัยใหม่ ภาวะผู้นำ และลักษณะเฉพาะองค์การสมรรถนะสูง ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานเพื่อเป็นองค์การสมรรถนะสูงของกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาล และ 3) ศึกษาแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์การดำเนินงานเพื่อเป็นองค์การสมรรถนะสูงของกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาล การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี ด้วยเทคนิควิธีการเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่างจำนวน 310 ตัวอย่าง และเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 ท่าน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม เลือกใช้สถิติแบบอธิบาย และแบบอ้างอิงในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล กล่าวคือ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติแบบอ้างอิง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การทดสอบค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหูคูณ
ผลการศึกษา พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการบริหารองค์การสมัยใหม่ ลักษณะเฉพาะองค์การสมรรถนะสูง และภาวะผู้นำองค์การสมัยใหม่ของกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาลกับคุณภาพการบริหารจัดการองค์การ ตามหลักเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) โดยผลการศึกษานี้สอดคล้องกับผลงานวิจัยที่พบว่า การเป็นองค์การสมรรถนะสูงนั้นจะประกอบด้วยปัจจัยด้านกลยุทธ์ขององค์การ ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ และปัจจัยด้านบุคลากรที่มีคุณภาพ การพัฒนาบุคลากรทุกระดับให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ การมีโครงสร้างองค์การที่ยืดหยุ่น รวมถึงมีนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการปฏิบัติงาน และปัจจัยด้านการบริหารอื่น ๆ และการศึกษาปัจจัยการบริหารจัดการองค์สมัยใหม่ ภาวะผู้นำ และลักษณะเฉพาะองค์การสมรรถนะสูง ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานเพื่อเป็นองค์การสมรรถนะสูงของกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาล โดยผลการศึกษานี้สอดคล้องกับผลงานวิจัยที่พบว่า การอำนวยการ กลยุทธ์ โครงสร้างองค์การ รูปแบบบริหารหรือการควบคุม การประสานงานหรือการสร้างทีม ทักษะบุคลากร ระบบปฏิบัติการ ค่านิยมร่วม ภาวะผู้นำ รวมถึงปัจจัยด้านการบริหารอื่น ๆ ส่งผลต่อการดำเนินงานเพื่อเป็นองค์การสมรรถนะสูง และการศึกษาสามารถบรรลุวัตถุประสงค์แนวทางในการกำหนดกลยุทธ์การดำเนินงานเพื่อเป็นองค์การสมรรถนะสูงของกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาลCurricular : GE Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=28104 Hold
Place a hold on this item
Copies
Barcode Call number Media type Location Section Status 32002000607335 SIU THE-T: IPAG-DPA-2020-22 c.1 SIU Thesis and Dissertation Main Library Thesis Corner Available 32002000607333 SIU THE-T: IPAG-DPA-2020-22 c.2 SIU Thesis and Dissertation Main Library Thesis Corner Available SIU THE-T. ปัจจัยการบริหารงานที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการของกองบัญชาการตำรวจนครบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ / เชาวลิต บริบูรณ์รัตน์ / กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร - 2020
Collection Title: SIU THE-T Title : ปัจจัยการบริหารงานที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการของกองบัญชาการตำรวจนครบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ Original title : Administrative Factors Affecting Performance Achievement of the Royal Thai Police Metropolitan Police Bureau Material Type: printed text Authors: เชาวลิต บริบูรณ์รัตน์, Author ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name ; ไชยวัฒน์ ค้ำชู, Associated Name Publisher: กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร Publication Date: 2020 Pagination: x, 236 น. Layout: ตาราง, ภาพประกอบ Size: 30 ซม. Price: 500.00 บาท General note: SIU THE-T: IPAG-DPA-2020-17
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2020Languages : Thai (tha) Descriptors: [LCSH]กองบัญชาการตำรวจนครบาล -- ข้าราชการ
[LCSH]ข้าราชการ -- การทำงาน
[LCSH]สำนักงานตำรวจแห่งชาติ -- การบริหารKeywords: ปัจจัยการบริหารงาน,
ผลสัมฤทธิ์,
ตำรวจนครบาลAbstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของปัจจัยการบริหารงาน และระดับผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารงานที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการ และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางที่เหมาะสมในการบริหารงานเพื่อนำไปสู่การผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการของกองบัญชาการตำรวจนครบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการตำรวจในสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล จำนวน 400 ราย และผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บังคับบัญชาระดับกองบัญชาการ จำนวน 5 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เนื้อหา สังเคราะห์เป็นประเด็นร่วมหรือประเด็นหลัก และอธิบายเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1) ปัจจัยการบริหารงานของกองบัญชาการตำรวจนครบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติใน
ภาพรวมมีความสำคัญอยู่ระดับมาก โดยพบว่า ปัจจัยการบริหารงานที่มีระดับความสำคัญมากที่สุด ได้แก่ ด้านวัฒนธรรมองค์การ รองลงมา ได้แก่ ด้านหลักธรรมาภิบาล ด้านลักษณะขององค์การ ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และด้านทรัพยากรการบริหาร ตามลำดับ และผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการในภาพรวมมีระดับผลสัมฤทธิ์อยู่ระดับมาก โดยพบว่า ผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการที่มีระดับผลสัมฤทธิ์มากที่สุด ได้แก่ ด้านประสิทธิผลตามพันธกิจ รองลงมา ได้แก่ ด้านการพัฒนาองค์การ ด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ และด้านคุณภาพการให้บริการ ตามลำดับ
2) ปัจจัยการบริหารงานด้านหลักธรรมาภิบาล ด้านทรัพยากรการบริหาร และด้านวัฒนธรรมองค์การส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการของกองบัญชาการตำรวจนครบาลในภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ
3) แนวทางที่เหมาะสมในปัจจัยการบริหารงานภารกิจ ได้แก่ การเพิ่มกำลังพลให้เหมาะสม เพียงพอแก่การปฏิบัติหน้าที่ การให้ผลตอบแทนที่เหมาะสม การจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ อย่างเพียงพอ รวมถึงการจัดกิจกรรมร่วมกับชุมชนเพื่อสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับตำรวจและประชาชนยิ่งขึ้น จะทำให้ประชาชนให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ส่งผลให้การทำงานให้บรรลุผลง่ายขึ้นCurricular : GE Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=28049 SIU THE-T. ปัจจัยการบริหารงานที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการของกองบัญชาการตำรวจนครบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ = Administrative Factors Affecting Performance Achievement of the Royal Thai Police Metropolitan Police Bureau [printed text] / เชาวลิต บริบูรณ์รัตน์, Author ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name ; ไชยวัฒน์ ค้ำชู, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2020 . - x, 236 น. : ตาราง, ภาพประกอบ ; 30 ซม.
500.00 บาท
SIU THE-T: IPAG-DPA-2020-17
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2020
Languages : Thai (tha)
Descriptors: [LCSH]กองบัญชาการตำรวจนครบาล -- ข้าราชการ
[LCSH]ข้าราชการ -- การทำงาน
[LCSH]สำนักงานตำรวจแห่งชาติ -- การบริหารKeywords: ปัจจัยการบริหารงาน,
ผลสัมฤทธิ์,
ตำรวจนครบาลAbstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของปัจจัยการบริหารงาน และระดับผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารงานที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการ และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางที่เหมาะสมในการบริหารงานเพื่อนำไปสู่การผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการของกองบัญชาการตำรวจนครบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการตำรวจในสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล จำนวน 400 ราย และผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บังคับบัญชาระดับกองบัญชาการ จำนวน 5 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เนื้อหา สังเคราะห์เป็นประเด็นร่วมหรือประเด็นหลัก และอธิบายเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1) ปัจจัยการบริหารงานของกองบัญชาการตำรวจนครบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติใน
ภาพรวมมีความสำคัญอยู่ระดับมาก โดยพบว่า ปัจจัยการบริหารงานที่มีระดับความสำคัญมากที่สุด ได้แก่ ด้านวัฒนธรรมองค์การ รองลงมา ได้แก่ ด้านหลักธรรมาภิบาล ด้านลักษณะขององค์การ ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และด้านทรัพยากรการบริหาร ตามลำดับ และผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการในภาพรวมมีระดับผลสัมฤทธิ์อยู่ระดับมาก โดยพบว่า ผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการที่มีระดับผลสัมฤทธิ์มากที่สุด ได้แก่ ด้านประสิทธิผลตามพันธกิจ รองลงมา ได้แก่ ด้านการพัฒนาองค์การ ด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ และด้านคุณภาพการให้บริการ ตามลำดับ
2) ปัจจัยการบริหารงานด้านหลักธรรมาภิบาล ด้านทรัพยากรการบริหาร และด้านวัฒนธรรมองค์การส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการของกองบัญชาการตำรวจนครบาลในภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ
3) แนวทางที่เหมาะสมในปัจจัยการบริหารงานภารกิจ ได้แก่ การเพิ่มกำลังพลให้เหมาะสม เพียงพอแก่การปฏิบัติหน้าที่ การให้ผลตอบแทนที่เหมาะสม การจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ อย่างเพียงพอ รวมถึงการจัดกิจกรรมร่วมกับชุมชนเพื่อสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับตำรวจและประชาชนยิ่งขึ้น จะทำให้ประชาชนให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ส่งผลให้การทำงานให้บรรลุผลง่ายขึ้นCurricular : GE Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=28049 Hold
Place a hold on this item
Copies
Barcode Call number Media type Location Section Status 32002000607376 SIU THE-T: IPAG-DPA-2020-17 c.1 SIU Thesis and Dissertation Main Library Thesis Corner Available 32002000607378 SIU THE-T: IPAG-DPA-2020-17 c.2 SIU Thesis and Dissertation Main Library Thesis Corner Available SIU THE-T. ปัจจัยการป้องกันการโจรกรรมรถยนต์ พื้นที่รับผิดชอบกองบัญชาการตำรวจนครบาล / สัมฤทธิ์ กระสังข์ / กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร - 2020
Collection Title: SIU THE-T Title : ปัจจัยการป้องกันการโจรกรรมรถยนต์ พื้นที่รับผิดชอบกองบัญชาการตำรวจนครบาล Original title : Vehicle Theft Prevention Factors Responsible Area Metropolitan Police Bureau Material Type: printed text Authors: สัมฤทธิ์ กระสังข์, Author ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name ; ไชยวัฒน์ ค้ำชู, Associated Name Publisher: กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร Publication Date: 2020 Pagination: xi, 139 น. Layout: ตาราง, ภาพประกอบ Size: 30 ซม. Price: 500.00 บาท General note: SIU THE-T: IPAG-DPA-2020-09
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2020Languages : Thai (tha) Descriptors: [LCSH]โจรกรรมรถยนต์ -- การป้องกัน Keywords: การป้องกัน,
การโจรกรรมรถยนต์,
การปฏิบัติตามยุทธศาสตร์,
ปัจจัยการป้องกันAbstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยแวดล้อมปัจเจกบุคคล ปัจจัยภายในองค์การ และปัจจัยเชิงนโยบายของการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์การป้องกันการโจรกรรมรถยนต์ พื้นที่รับผิดชอบกองบัญชาการตำรวจนครบาล 2) ศึกษาความสัมระหว่างปัจจัยแวดล้อมของปัจเจกบุคคล ปัจจัยภายในองค์การ และปัจจัยเชิงนโยบายในการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์การป้องกันการโจรกรรมรถยนต์ พื้นที่รับผิดชอบกองบัญชาการตำรวจนครบาล 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์การป้องกันการโจรกรรมรถยนต์ พื้นที่รับผิดชอบกองบัญชาการตำรวจนครบาล ใช้ระเบียบวิจัยแบบผสานวิธี คือการวิจัยเชิงปริมาณ และวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากร ได้แก่ เจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองบังคับการตำรวจนครบาล 1-9 รวมทั้งหมด 26,750 คน คำนวนกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีของ Yamane (1997) ได้กลุ่มตัวอย่าง 400 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 คน ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และทำการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติเชิงพรรณาที่ใช้คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณ การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน
ผลการวิจัย พบว่า
1) ระดับปัจจัยโดยภาพรวมมีค่าในระดับมากทั้ง 3 ปัจจัย คือ ปัจจัยเชิงนโยบาย มีค่าความสำคัญเท่ากับ 3.67 รองลงมาคือ ปัจจัยแวดล้อมของปัจเจกบุคคล มีค่าความสำคัญเท่ากับ 3.55 และปัจจัยภายในองค์การ มีค่าความสำคัญเท่ากับ 3.46
2) ปัจจัยแวดล้อมของปัจเจกบุคคล ตัวแปรมีค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์สูงสุด คือ ด้านครอบครัว และสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านเศรษฐกิจ มีค่า (r=0.67, r=0.52 และ r=0.40) ตามลำดับ ปัจจัยภายในองค์การ ตัวแปรมีค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์สูงสุด คือ ด้านการให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน (r=0.90) และตัวแปรค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ต่ำสุด คือ ด้านวัฒนธรรมองค์การ (r=0.019) ปัจจัยเชิงนโยบาย ตัวแปรมีค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์สูงสุด คือ ด้านการวางแผนและการควบคุม (r=0.80) และตัวแปรมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ต่ำสุด คือ ด้านระบบการวัดผล (r=0.80)
3) ปัจจัยแวดล้อมของปัจเจกบุคคลตัวแปรที่ส่งผล คือ ด้านครอบครัว และสังคม ปัจจัยภายในองค์การตัวแปรที่ส่งผลคือ ด้านการประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ข้อมูล และปัจจัยเชิงนโยบายมีตัว 5 ตัวแปรที่ส่งผล ได้แก่ ด้านการวางแผนและการควบคุม ด้านการกำหนดภารกิจ และมอบหมายงาน ด้านวัตถุประสงค์ของนโยบาย ด้านมาตรฐานการให้คุณ-โทษ และด้านมาตรฐานการปฏิบัติงานCurricular : MPA/DPA Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=28107 SIU THE-T. ปัจจัยการป้องกันการโจรกรรมรถยนต์ พื้นที่รับผิดชอบกองบัญชาการตำรวจนครบาล = Vehicle Theft Prevention Factors Responsible Area Metropolitan Police Bureau [printed text] / สัมฤทธิ์ กระสังข์, Author ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name ; ไชยวัฒน์ ค้ำชู, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2020 . - xi, 139 น. : ตาราง, ภาพประกอบ ; 30 ซม.
500.00 บาท
SIU THE-T: IPAG-DPA-2020-09
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2020
Languages : Thai (tha)
Descriptors: [LCSH]โจรกรรมรถยนต์ -- การป้องกัน Keywords: การป้องกัน,
การโจรกรรมรถยนต์,
การปฏิบัติตามยุทธศาสตร์,
ปัจจัยการป้องกันAbstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยแวดล้อมปัจเจกบุคคล ปัจจัยภายในองค์การ และปัจจัยเชิงนโยบายของการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์การป้องกันการโจรกรรมรถยนต์ พื้นที่รับผิดชอบกองบัญชาการตำรวจนครบาล 2) ศึกษาความสัมระหว่างปัจจัยแวดล้อมของปัจเจกบุคคล ปัจจัยภายในองค์การ และปัจจัยเชิงนโยบายในการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์การป้องกันการโจรกรรมรถยนต์ พื้นที่รับผิดชอบกองบัญชาการตำรวจนครบาล 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์การป้องกันการโจรกรรมรถยนต์ พื้นที่รับผิดชอบกองบัญชาการตำรวจนครบาล ใช้ระเบียบวิจัยแบบผสานวิธี คือการวิจัยเชิงปริมาณ และวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากร ได้แก่ เจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองบังคับการตำรวจนครบาล 1-9 รวมทั้งหมด 26,750 คน คำนวนกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีของ Yamane (1997) ได้กลุ่มตัวอย่าง 400 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 คน ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และทำการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติเชิงพรรณาที่ใช้คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณ การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน
ผลการวิจัย พบว่า
1) ระดับปัจจัยโดยภาพรวมมีค่าในระดับมากทั้ง 3 ปัจจัย คือ ปัจจัยเชิงนโยบาย มีค่าความสำคัญเท่ากับ 3.67 รองลงมาคือ ปัจจัยแวดล้อมของปัจเจกบุคคล มีค่าความสำคัญเท่ากับ 3.55 และปัจจัยภายในองค์การ มีค่าความสำคัญเท่ากับ 3.46
2) ปัจจัยแวดล้อมของปัจเจกบุคคล ตัวแปรมีค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์สูงสุด คือ ด้านครอบครัว และสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านเศรษฐกิจ มีค่า (r=0.67, r=0.52 และ r=0.40) ตามลำดับ ปัจจัยภายในองค์การ ตัวแปรมีค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์สูงสุด คือ ด้านการให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน (r=0.90) และตัวแปรค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ต่ำสุด คือ ด้านวัฒนธรรมองค์การ (r=0.019) ปัจจัยเชิงนโยบาย ตัวแปรมีค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์สูงสุด คือ ด้านการวางแผนและการควบคุม (r=0.80) และตัวแปรมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ต่ำสุด คือ ด้านระบบการวัดผล (r=0.80)
3) ปัจจัยแวดล้อมของปัจเจกบุคคลตัวแปรที่ส่งผล คือ ด้านครอบครัว และสังคม ปัจจัยภายในองค์การตัวแปรที่ส่งผลคือ ด้านการประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ข้อมูล และปัจจัยเชิงนโยบายมีตัว 5 ตัวแปรที่ส่งผล ได้แก่ ด้านการวางแผนและการควบคุม ด้านการกำหนดภารกิจ และมอบหมายงาน ด้านวัตถุประสงค์ของนโยบาย ด้านมาตรฐานการให้คุณ-โทษ และด้านมาตรฐานการปฏิบัติงานCurricular : MPA/DPA Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=28107 Hold
Place a hold on this item
Copies
Barcode Call number Media type Location Section Status 32002000607327 SIU THE-T: IPAG-DPA-2020-09 c.1 SIU Thesis and Dissertation Main Library Thesis Corner Available 32002000607330 SIU THE-T: IPAG-DPA-2020-09 c.2 SIU Thesis and Dissertation Main Library Thesis Corner Available SIU THE-T. ปัจจัยความสำเร็จการพัฒนาเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืนของเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี / อารยะ ชีสังวรณ์ / กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร - 2020
Collection Title: SIU THE-T Title : ปัจจัยความสำเร็จการพัฒนาเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืนของเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี Original title : Success Factors of Livable City Sustainable Development of Phanat Nikhom Municipals, Chonburi Province Material Type: printed text Authors: อารยะ ชีสังวรณ์, Author ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name ; ไชยวัฒน์ ค้ำชู, Associated Name Publisher: กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร Publication Date: 2020 Pagination: x, 280 น. Layout: ตาราง, ภาพประกอบ Size: 30 ซม. Price: 500.00 บาท General note: SIU THE-T: IPAG-DPA-2020-03
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2020Languages : Thai (tha) Descriptors: [LCSH]การพัฒนาเมืองแบบยั่งยืน -- ชลบุรี -- พนัสนิคม
[LCSH]ความสำเร็จKeywords: เมืองน่าอยู่,
การพัฒนาเมืองน่าอยู่,
อย่างยั่งยืนAbstract: วิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพความสำเร็จของการพัฒนาเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืนของเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลความสำเร็จของการพัฒนาเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืนของเทศบาลเมืองพนัสนิคม 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการปฏิบัติที่ดี ของการพัฒนาเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืนของเทศบาลเมืองพนัสนิคม ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้ให้ข้อมูลหลักการสัมภาษณ์ จำนวน 20 คน และเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจาก เจ้าพนักงานสังกัดเทศบาลพนัสนิคม และประชาชน ในเขตเทศบาลพนัสนิคม จำนวน 361 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา (Descriptive Statistics) ทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุ (Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืนของเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี มีเป้าหมายชัดเจน ดำเนินการภายใต้เงื่อนไขการยอมรับของทุกฝ่าย มีจิตสำนึกและสืบทอดเจตนารมณ์ในการสร้างความยั่งยืนร่วมกัน การพัฒนาโดยรวมอยู่ในระดับ “ดี” ปัจจัยความสำเร็จของการพัฒนาเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน ประกอบด้วย ปัจจัยด้านมุ่งผลสัมฤทธิ์ ด้านความเป็นพลเมือง ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ด้านการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ด้านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี ด้านการมีส่วนร่วม และ ด้านความร่วมมือ สามารถอธิบายความสำเร็จของการพัฒนาเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน ได้ในระดับ “มาก” โดยปัจจัยทั้ง 8 ด้าน เป็นตัวพยากรณ์ที่ดีที่สุดสามารถพยากรณ์ความเป็นเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืนได้ร้อยละ 95.60
ข้อเสนอแนวทางการปฏิบัติที่ดีของการพัฒนาเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน ดังนี้ 1) ผู้นำท้องถิ่นควรต้องตระหนักเสมอว่า การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น คือ หัวใจของความเจริญในชุมชน สามารถต่อยอดการพัฒนาเป็นเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืนได้ 2) การกำหนดนโยบายควรมีเป้าหมายที่ชัดเจน ตอบสนองความต้องการของชาวเมือง และสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ 3) การกำหนดนโยบายการพัฒนาเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน ควรคำนึงถึงการบูรณาการองค์ความรู้จากทฤษฎี และประสบการณ์จากชุมชน 4) เทศบาลควรส่งเสริม สนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วม สร้างสรรค์นวัตกรรมและสืบทอดเจตนารมณ์การสร้างเมืองให้น่าอยู่อย่างยั่งยืน ต่อไปCurricular : GE Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=28043 SIU THE-T. ปัจจัยความสำเร็จการพัฒนาเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืนของเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี = Success Factors of Livable City Sustainable Development of Phanat Nikhom Municipals, Chonburi Province [printed text] / อารยะ ชีสังวรณ์, Author ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name ; ไชยวัฒน์ ค้ำชู, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2020 . - x, 280 น. : ตาราง, ภาพประกอบ ; 30 ซม.
500.00 บาท
SIU THE-T: IPAG-DPA-2020-03
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2020
Languages : Thai (tha)
Descriptors: [LCSH]การพัฒนาเมืองแบบยั่งยืน -- ชลบุรี -- พนัสนิคม
[LCSH]ความสำเร็จKeywords: เมืองน่าอยู่,
การพัฒนาเมืองน่าอยู่,
อย่างยั่งยืนAbstract: วิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพความสำเร็จของการพัฒนาเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืนของเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลความสำเร็จของการพัฒนาเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืนของเทศบาลเมืองพนัสนิคม 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการปฏิบัติที่ดี ของการพัฒนาเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืนของเทศบาลเมืองพนัสนิคม ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้ให้ข้อมูลหลักการสัมภาษณ์ จำนวน 20 คน และเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจาก เจ้าพนักงานสังกัดเทศบาลพนัสนิคม และประชาชน ในเขตเทศบาลพนัสนิคม จำนวน 361 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา (Descriptive Statistics) ทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุ (Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืนของเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี มีเป้าหมายชัดเจน ดำเนินการภายใต้เงื่อนไขการยอมรับของทุกฝ่าย มีจิตสำนึกและสืบทอดเจตนารมณ์ในการสร้างความยั่งยืนร่วมกัน การพัฒนาโดยรวมอยู่ในระดับ “ดี” ปัจจัยความสำเร็จของการพัฒนาเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน ประกอบด้วย ปัจจัยด้านมุ่งผลสัมฤทธิ์ ด้านความเป็นพลเมือง ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ด้านการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ด้านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี ด้านการมีส่วนร่วม และ ด้านความร่วมมือ สามารถอธิบายความสำเร็จของการพัฒนาเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน ได้ในระดับ “มาก” โดยปัจจัยทั้ง 8 ด้าน เป็นตัวพยากรณ์ที่ดีที่สุดสามารถพยากรณ์ความเป็นเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืนได้ร้อยละ 95.60
ข้อเสนอแนวทางการปฏิบัติที่ดีของการพัฒนาเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน ดังนี้ 1) ผู้นำท้องถิ่นควรต้องตระหนักเสมอว่า การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น คือ หัวใจของความเจริญในชุมชน สามารถต่อยอดการพัฒนาเป็นเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืนได้ 2) การกำหนดนโยบายควรมีเป้าหมายที่ชัดเจน ตอบสนองความต้องการของชาวเมือง และสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ 3) การกำหนดนโยบายการพัฒนาเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน ควรคำนึงถึงการบูรณาการองค์ความรู้จากทฤษฎี และประสบการณ์จากชุมชน 4) เทศบาลควรส่งเสริม สนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วม สร้างสรรค์นวัตกรรมและสืบทอดเจตนารมณ์การสร้างเมืองให้น่าอยู่อย่างยั่งยืน ต่อไปCurricular : GE Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=28043 Hold
Place a hold on this item
Copies
Barcode Call number Media type Location Section Status 32002000607390 SIU THE-T: IPAG-DPA-2020-03 c.1 SIU Thesis and Dissertation Main Library Thesis Corner Available 32002000607388 SIU THE-T: IPAG-DPA-2020-03 c.2 SIU Thesis and Dissertation Main Library Thesis Corner Available SIU THE-T. ปัจจัยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ตามแนวทางยุทธศาสตร์ชาติ กรณีศึกษา จังหวัดปทุมธานี / ชัยพร โทนทอง / กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร - 2019
Collection Title: SIU THE-T Title : ปัจจัยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ตามแนวทางยุทธศาสตร์ชาติ กรณีศึกษา จังหวัดปทุมธานี Original title : Factors Affecting the Achievement of National Village and Urban Community’s Fund in Line with the National Strategy: A Case of Pathum Thani Province Material Type: printed text Authors: ชัยพร โทนทอง, Author ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name ; ไชยวัฒน์ ค้ำชู, Associated Name Publisher: กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร Publication Date: 2019 Pagination: x, 234 น. Layout: ตาราง, ภาพประกอบ Size: 30 ซม. Price: 500.00 บาท General note: SIU THE-T: IPAG-DPA-2019-16
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2019Languages : Thai (tha) Descriptors: [LCSH]กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง -- ไทย -- ปทุมธานี -- การบริหาร
[LCSH]ยุทธศาสตร์Keywords: กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง,
ผลสัมฤทธิ์,
ยุทธศาสตร์ชาติCurricular : GE Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27960 SIU THE-T. ปัจจัยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ตามแนวทางยุทธศาสตร์ชาติ กรณีศึกษา จังหวัดปทุมธานี = Factors Affecting the Achievement of National Village and Urban Community’s Fund in Line with the National Strategy: A Case of Pathum Thani Province [printed text] / ชัยพร โทนทอง, Author ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name ; ไชยวัฒน์ ค้ำชู, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2019 . - x, 234 น. : ตาราง, ภาพประกอบ ; 30 ซม.
500.00 บาท
SIU THE-T: IPAG-DPA-2019-16
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2019
Languages : Thai (tha)
Descriptors: [LCSH]กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง -- ไทย -- ปทุมธานี -- การบริหาร
[LCSH]ยุทธศาสตร์Keywords: กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง,
ผลสัมฤทธิ์,
ยุทธศาสตร์ชาติCurricular : GE Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27960 Hold
Place a hold on this item
Copies
Barcode Call number Media type Location Section Status 32002000607959 SIU THE-T: IPAG-DPA-2019-16 c.2 SIU Thesis and Dissertation Graduate Library Thesis Corner Available 32002000607961 SIU THE-T: IPAG-DPA-2019-16 c.1 SIU Thesis and Dissertation Main Library Thesis Corner Available SIU THE-T. ปัจจัยอธิบายความสำเร็จของการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) / เฟื่องวิทย์ ชูตินันท์ / กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร - 2019
Collection Title: SIU THE-T Title : ปัจจัยอธิบายความสำเร็จของการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) Original title : Factors Explaining the Success of the Village Public Health Volunteer Work (VHV.) Material Type: printed text Authors: เฟื่องวิทย์ ชูตินันท์, Author ; ไชยวัฒน์ ค้ำชู, Associated Name ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name Publisher: กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร Publication Date: 2019 Pagination: viii, 237 น. Layout: ตาราง, ภาพประกอบ Size: 30 ซม. Price: 500.00 บาท General note: SIU THE-T: IPAG-DPA-2019-02
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2019Languages : Thai (tha) Descriptors: [LCSH]ความสำเร็จ
[LCSH]อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน -- การปฏิบัติงานKeywords: ความสำเร็จ,
การปฏิบัติงาน,
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านAbstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความสำเร็จของการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน สังกัดสำนักงานเขตสุขภาพที่ 4 2) ปัจจัยอธิบายความสำเร็จของการปฏิบัติงานและ 3) นำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารงานการบริการสาธารณสุขมูลฐาน เป็นการวิจัยแบบผสม กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 398 คน และเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ดีเด่น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สาธารณสุขอำเภอ สาธารณสุขจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 40 คน วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรและทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ความสำเร็จของการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อยู่ในระดับดี ปัจจัยที่สามารถอธิบายการปฏิบัติงาน ได้แก่ ปัจจัยด้านแรงจูงใจ ภาวะผู้นำ การจัดองค์กรแห่งการเรียนรู้ การสื่อสารและการประสานงาน การนิเทศและประเมินผล การจัดสรรงบประมาณ ด้านกฎหมาย และด้านกลไกทางการเมือง สามารถอธิบายความสำเร็จของการปฏิบัติงานของ อสม. ได้ในระดับมาก โดยปัจจัยด้านกฎหมาย และปัจจัยด้านกลไกทางการเมือง เป็นตัวพยากรณ์ที่ดีที่สุด สามารถพยากรณ์ความสำเร็จของการปฏิบัติงานของ อสม. สังกัดสำนักงานเขตสุขภาพที่ 4 ได้ร้อยละ 55.70 โดยมีข้อเสนอเชิงนโยบาย คือ 1) รัฐควรกำหนดเป็นนโยบายสำคัญสนับสนุน อสม. ในการพัฒนาสุขภาพพลเมือง สร้างและพัฒนาเครือข่ายเชื่อมโยงกับประชาชนในการเสริมสร้างสุขภาวะอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม รวมทั้งสร้างสรรค์นวัตกรรมบริการสาธารณสุขเพื่อพัฒนาให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศยุค 4.0 2) ในการกำหนดนโยบายรัฐควรคำนึงถึงการบูรณาการองค์ความรู้จากทฤษฎี และประสบการณ์จากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) Curricular : GE Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27940 SIU THE-T. ปัจจัยอธิบายความสำเร็จของการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) = Factors Explaining the Success of the Village Public Health Volunteer Work (VHV.) [printed text] / เฟื่องวิทย์ ชูตินันท์, Author ; ไชยวัฒน์ ค้ำชู, Associated Name ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2019 . - viii, 237 น. : ตาราง, ภาพประกอบ ; 30 ซม.
500.00 บาท
SIU THE-T: IPAG-DPA-2019-02
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2019
Languages : Thai (tha)
Descriptors: [LCSH]ความสำเร็จ
[LCSH]อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน -- การปฏิบัติงานKeywords: ความสำเร็จ,
การปฏิบัติงาน,
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านAbstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความสำเร็จของการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน สังกัดสำนักงานเขตสุขภาพที่ 4 2) ปัจจัยอธิบายความสำเร็จของการปฏิบัติงานและ 3) นำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารงานการบริการสาธารณสุขมูลฐาน เป็นการวิจัยแบบผสม กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 398 คน และเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ดีเด่น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สาธารณสุขอำเภอ สาธารณสุขจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 40 คน วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรและทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ความสำเร็จของการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อยู่ในระดับดี ปัจจัยที่สามารถอธิบายการปฏิบัติงาน ได้แก่ ปัจจัยด้านแรงจูงใจ ภาวะผู้นำ การจัดองค์กรแห่งการเรียนรู้ การสื่อสารและการประสานงาน การนิเทศและประเมินผล การจัดสรรงบประมาณ ด้านกฎหมาย และด้านกลไกทางการเมือง สามารถอธิบายความสำเร็จของการปฏิบัติงานของ อสม. ได้ในระดับมาก โดยปัจจัยด้านกฎหมาย และปัจจัยด้านกลไกทางการเมือง เป็นตัวพยากรณ์ที่ดีที่สุด สามารถพยากรณ์ความสำเร็จของการปฏิบัติงานของ อสม. สังกัดสำนักงานเขตสุขภาพที่ 4 ได้ร้อยละ 55.70 โดยมีข้อเสนอเชิงนโยบาย คือ 1) รัฐควรกำหนดเป็นนโยบายสำคัญสนับสนุน อสม. ในการพัฒนาสุขภาพพลเมือง สร้างและพัฒนาเครือข่ายเชื่อมโยงกับประชาชนในการเสริมสร้างสุขภาวะอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม รวมทั้งสร้างสรรค์นวัตกรรมบริการสาธารณสุขเพื่อพัฒนาให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศยุค 4.0 2) ในการกำหนดนโยบายรัฐควรคำนึงถึงการบูรณาการองค์ความรู้จากทฤษฎี และประสบการณ์จากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) Curricular : GE Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27940 Hold
Place a hold on this item
Copies
Barcode Call number Media type Location Section Status 32002000607992 SIU THE-T: IPAG-DPA-2019-02 c.1 SIU Thesis and Dissertation Main Library Thesis Corner Available 32002000607989 SIU THE-T: IPAG-DPA-2019-02 c.2 SIU Thesis and Dissertation Main Library Thesis Corner Available SIU THE-T. ผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการของกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ / ไพทูรย์ สิทธิบุญ / กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร - 2019
Collection Title: SIU THE-T Title : ผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการของกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ Original title : Achievement Management of the Patrol Special Operation Division, Metropolitan Police Bureau, Royal Thai Police Material Type: printed text Authors: ไพทูรย์ สิทธิบุญ, Author ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name ; ไชยวัฒน์ ค้ำชู, Associated Name Publisher: กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร Publication Date: 2019 Pagination: xv, 292 น. Layout: ตาราง, ภาพประกอบ Size: 30 ซม. Price: 500.00 บาท General note: SIU THE-T: IPAG-DPA-2019-13
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2019Languages : Thai (tha) Descriptors: [LCSH]ตำรวจ -- การปฏิบัติงาน Keywords: พฤติกรรมการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ,
ผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการของกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษAbstract: การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาวิจัย 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ และ ผลสัมฤทธิ์การบริหารของกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลระหว่างพฤติกรรมการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ และผลสัมฤทธิ์การบริหาร ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการของ กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ 3) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา และอุปสรรค รวมถึงแนวทางในการบริหารจัดการที่จะช่วยให้การปฏิบัติงานบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการบริหารจัดการของกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ วิธีการวิจัย ผู้วิจัยใช้ แบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ก่อนและตามด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เครื่องมือในการวิจัย เชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม จำนวน 306 ชุด และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ สถิติพรรณนา (Descriptive Statistics) สถิติอนุมาน (Inferential Statistics) การวิเคราะห์ข้อมูล เชิงสหสัมพันธ์ (Correlation Analysis) โดยกำหนดนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 และ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression) โดยกำหนดให้ระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ .05 การตรวจวัดเครื่องมือการวิจัย การวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยดำเนินการหาค่าความเที่ยงตรง (Validity) ของแบบสอบถามด้วยวิธีหาค่า Index of Item Objective Congruence : IOC โดยให้อาจารย์ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญ รวม 5 คน เป็นผู้ตรวจแบบสอบถาม (Face Validity) เพื่อให้มีความเที่ยงตรงตามเนื้อหา จากนั้นนำแบบสอบถามที่ได้รับจากการหาค่า IOC มาทำการปรับปรุงแก้ไขวัดค่า IOC ได้ ระหว่าง 0.6-1.00 เพื่อให้งานวิจัยมีความน่าเชื่อถือ ผู้วิจัยได้นำแบบสอบถามที่ได้ปรับแก้ไขแล้วไปทดสอบ (Pre-Test) กับกลุ่มตำรวจกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ ซึ่งใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างจริง จำนวน 30 คน เพื่อหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ด้วยวิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค (Cronbach ,Alpha Coefficient) เพื่อให้ได้ค่าไม่น้อยกว่า 0.70 จึงจะมีความเหมาะสมในการนำไปเก็บข้อมูล (สุจิตรา บุญยรัตพันธุ์, 2546, น. 135-141) (วันชัย จึงวิบูลย์สถิต, 2560, น. 104) และ (จีรวัฏฐ์ บุญวัฒนาภรณ์, 2556, น. 142) ผลการทดสอบ ด้านพฤติกรรมการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจสังกัดกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ ได้ค่า 0.965 และผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการของกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ ที่มีผลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ ได้ค่า 0.995
ผลการวิจัยพบว่า
1) ด้านพฤติกรรมการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ และ ผลสัมฤทธิ์การบริหารของกองบังคับการ สายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ ตามวัตถุประสงค์ข้อ 1 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 3.489, S.D. = 0.809) ซึ่งประกอบด้วย ด้านทัศนคติในการปฏิบัติงาน (x ̅ = 3.598, S.D. = 0.809) ด้านความเข้มแข็งในการปฏิบัติงาน (x ̅ = 3.526, S.D. = 0.832) ด้านการปฏิบัติงานมุ่งสู่สากล (x ̅ = 3.493, S.D. = 0.826) และด้านความเป็นตำรวจมืออาชีพ (x ̅ = 3.341, S.D. = 0.726) 2) ด้านอิทธิพลระหว่างพฤติกรรมการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ และผลสัมฤทธิ์การบริหาร ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการของกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ ตามวัตถุประสงค์ข้อ 2 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 3.508, S.D. = 0.789) ประกอบด้วย ด้านวัฒนธรรมองค์การ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 3.554, S.D. = 0.744) ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (x ̅ = 3.530, S.D. = 0.804) ด้านลักษณะองค์การ (x ̅ = 3.517, S.D. = 0.812) ด้านธรรมาภิบาล (x ̅ = 3.505, S.D. = 0.806) และด้านทรัพยากรบริหาร (x ̅ = 3.438, S.D. = 0.825) 3) สภาพปัญหา และอุปสรรค รวมถึงแนวทางในการบริหารจัดการที่จะช่วยให้การปฏิบัติงานบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการบริหารจัดการของกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ ตามวัตถุประสงค์ ข้อที่ 3 พบว่า ด้านพฤติกรรมการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจและ ผลสัมฤทธิ์การบริหารของ กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ ด้านความเป็นตำรวจมืออาชีพ เป็นพฤติกรรมการปฏิบัติงานที่เป็นปัญหา อุปสรรค และส่งผลต่อสัมฤทธิ์การบริหารจัดการของกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ ในระดับมาก รองลงมาตามลำดับ คือ ด้านการปฏิบัติงานมุ่งสู่สากลในระดับปานกลาง ด้านความเข้มแข็งในการปฏิบัติงานในระดับน้อย และด้านทัศนคติในการปฏิบัติงานในระดับน้อยที่สุด ด้านอิทธิพลระหว่างพฤติกรรมการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ และผลสัมฤทธิ์การบริหารที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการของกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ ด้านทรัพยากรบริหารเป็นปัญหา อุปสรรค และส่งผลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ ในระดับมากที่สุด รองลงมาตามลำดับ คือ ด้านธรรมาภิบาลในระดับมาก ด้านลักษณะองศ์การในระดับปานกลาง ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในระดับน้อย และด้านวัฒนธรรมองศ์การในระดับน้อยที่สุด
ผลการทดสอบสมมติฐาน โดยวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณ พบว่า 1) ด้านการสร้างขวัญและกำลังใจให้ตำรวจ ด้านทัศนคติในการปฏิบัติงาน ด้านการพัฒนาเครื่องมือในการปฏิบัติงาน และด้านการพัฒนาระบบการปฏิบัติงาน มีอิทธิพลต่อปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การโดยรวม 2) ด้านการสร้างขวัญและกำลังใจให้ตำรวจ ด้านทัศนคติในการปฏิบัติงาน ด้านการพัฒนาสมรรถนะของตำรวจ และด้านการพัฒนาองค์ความรู้ให้ตำรวจ มีอิทธิพลต่อปัจจัยด้านลักษณะองค์การโดยรวม 3) ด้านการสร้างขวัญและกำลังใจให้ตำรวจ ด้านทัศนคติในการปฏิบัติงาน ด้านการพัฒนาสมรรถนะของตำรวจ ด้านการพัฒนาเครื่องมือในการปฏิบัติงาน และด้านการพัฒนาระบบการปฏิบัติงาน มีอิทธิพลต่อปัจจัยด้านทรัพยากรการบริหารโดยรวม 4)ด้านการสร้างขวัญและกำลังใจให้ตำรวจ ด้านการพัฒนาสมรรถนะของตำรวจ ด้านการพัฒนาเครื่องมือในการปฏิบัติงาน และด้านทัศนคติในการปฏิบัติงาน มีอิทธิพลต่อปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงโดยรวม 5)ด้านการสร้างขวัญและกำลังใจให้ตำรวจ ด้านทัศนคติในการปฏิบัติงาน ด้านการพัฒนาสมรรถนะของตำรวจ และด้านการพัฒนาเครื่องมือในการปฏิบัติงาน มีอิทธิพลต่อปัจจัยด้านหลักธรรมาภิบาลโดยรวมCurricular : GE Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=28023 SIU THE-T. ผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการของกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ = Achievement Management of the Patrol Special Operation Division, Metropolitan Police Bureau, Royal Thai Police [printed text] / ไพทูรย์ สิทธิบุญ, Author ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name ; ไชยวัฒน์ ค้ำชู, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2019 . - xv, 292 น. : ตาราง, ภาพประกอบ ; 30 ซม.
500.00 บาท
SIU THE-T: IPAG-DPA-2019-13
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2019
Languages : Thai (tha)
Descriptors: [LCSH]ตำรวจ -- การปฏิบัติงาน Keywords: พฤติกรรมการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ,
ผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการของกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษAbstract: การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาวิจัย 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ และ ผลสัมฤทธิ์การบริหารของกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลระหว่างพฤติกรรมการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ และผลสัมฤทธิ์การบริหาร ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการของ กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ 3) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา และอุปสรรค รวมถึงแนวทางในการบริหารจัดการที่จะช่วยให้การปฏิบัติงานบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการบริหารจัดการของกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ วิธีการวิจัย ผู้วิจัยใช้ แบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ก่อนและตามด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เครื่องมือในการวิจัย เชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม จำนวน 306 ชุด และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ สถิติพรรณนา (Descriptive Statistics) สถิติอนุมาน (Inferential Statistics) การวิเคราะห์ข้อมูล เชิงสหสัมพันธ์ (Correlation Analysis) โดยกำหนดนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 และ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression) โดยกำหนดให้ระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ .05 การตรวจวัดเครื่องมือการวิจัย การวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยดำเนินการหาค่าความเที่ยงตรง (Validity) ของแบบสอบถามด้วยวิธีหาค่า Index of Item Objective Congruence : IOC โดยให้อาจารย์ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญ รวม 5 คน เป็นผู้ตรวจแบบสอบถาม (Face Validity) เพื่อให้มีความเที่ยงตรงตามเนื้อหา จากนั้นนำแบบสอบถามที่ได้รับจากการหาค่า IOC มาทำการปรับปรุงแก้ไขวัดค่า IOC ได้ ระหว่าง 0.6-1.00 เพื่อให้งานวิจัยมีความน่าเชื่อถือ ผู้วิจัยได้นำแบบสอบถามที่ได้ปรับแก้ไขแล้วไปทดสอบ (Pre-Test) กับกลุ่มตำรวจกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ ซึ่งใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างจริง จำนวน 30 คน เพื่อหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ด้วยวิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค (Cronbach ,Alpha Coefficient) เพื่อให้ได้ค่าไม่น้อยกว่า 0.70 จึงจะมีความเหมาะสมในการนำไปเก็บข้อมูล (สุจิตรา บุญยรัตพันธุ์, 2546, น. 135-141) (วันชัย จึงวิบูลย์สถิต, 2560, น. 104) และ (จีรวัฏฐ์ บุญวัฒนาภรณ์, 2556, น. 142) ผลการทดสอบ ด้านพฤติกรรมการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจสังกัดกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ ได้ค่า 0.965 และผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการของกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ ที่มีผลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ ได้ค่า 0.995
ผลการวิจัยพบว่า
1) ด้านพฤติกรรมการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ และ ผลสัมฤทธิ์การบริหารของกองบังคับการ สายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ ตามวัตถุประสงค์ข้อ 1 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 3.489, S.D. = 0.809) ซึ่งประกอบด้วย ด้านทัศนคติในการปฏิบัติงาน (x ̅ = 3.598, S.D. = 0.809) ด้านความเข้มแข็งในการปฏิบัติงาน (x ̅ = 3.526, S.D. = 0.832) ด้านการปฏิบัติงานมุ่งสู่สากล (x ̅ = 3.493, S.D. = 0.826) และด้านความเป็นตำรวจมืออาชีพ (x ̅ = 3.341, S.D. = 0.726) 2) ด้านอิทธิพลระหว่างพฤติกรรมการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ และผลสัมฤทธิ์การบริหาร ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการของกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ ตามวัตถุประสงค์ข้อ 2 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 3.508, S.D. = 0.789) ประกอบด้วย ด้านวัฒนธรรมองค์การ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 3.554, S.D. = 0.744) ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (x ̅ = 3.530, S.D. = 0.804) ด้านลักษณะองค์การ (x ̅ = 3.517, S.D. = 0.812) ด้านธรรมาภิบาล (x ̅ = 3.505, S.D. = 0.806) และด้านทรัพยากรบริหาร (x ̅ = 3.438, S.D. = 0.825) 3) สภาพปัญหา และอุปสรรค รวมถึงแนวทางในการบริหารจัดการที่จะช่วยให้การปฏิบัติงานบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการบริหารจัดการของกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ ตามวัตถุประสงค์ ข้อที่ 3 พบว่า ด้านพฤติกรรมการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจและ ผลสัมฤทธิ์การบริหารของ กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ ด้านความเป็นตำรวจมืออาชีพ เป็นพฤติกรรมการปฏิบัติงานที่เป็นปัญหา อุปสรรค และส่งผลต่อสัมฤทธิ์การบริหารจัดการของกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ ในระดับมาก รองลงมาตามลำดับ คือ ด้านการปฏิบัติงานมุ่งสู่สากลในระดับปานกลาง ด้านความเข้มแข็งในการปฏิบัติงานในระดับน้อย และด้านทัศนคติในการปฏิบัติงานในระดับน้อยที่สุด ด้านอิทธิพลระหว่างพฤติกรรมการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ และผลสัมฤทธิ์การบริหารที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการของกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ ด้านทรัพยากรบริหารเป็นปัญหา อุปสรรค และส่งผลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ ในระดับมากที่สุด รองลงมาตามลำดับ คือ ด้านธรรมาภิบาลในระดับมาก ด้านลักษณะองศ์การในระดับปานกลาง ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในระดับน้อย และด้านวัฒนธรรมองศ์การในระดับน้อยที่สุด
ผลการทดสอบสมมติฐาน โดยวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณ พบว่า 1) ด้านการสร้างขวัญและกำลังใจให้ตำรวจ ด้านทัศนคติในการปฏิบัติงาน ด้านการพัฒนาเครื่องมือในการปฏิบัติงาน และด้านการพัฒนาระบบการปฏิบัติงาน มีอิทธิพลต่อปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การโดยรวม 2) ด้านการสร้างขวัญและกำลังใจให้ตำรวจ ด้านทัศนคติในการปฏิบัติงาน ด้านการพัฒนาสมรรถนะของตำรวจ และด้านการพัฒนาองค์ความรู้ให้ตำรวจ มีอิทธิพลต่อปัจจัยด้านลักษณะองค์การโดยรวม 3) ด้านการสร้างขวัญและกำลังใจให้ตำรวจ ด้านทัศนคติในการปฏิบัติงาน ด้านการพัฒนาสมรรถนะของตำรวจ ด้านการพัฒนาเครื่องมือในการปฏิบัติงาน และด้านการพัฒนาระบบการปฏิบัติงาน มีอิทธิพลต่อปัจจัยด้านทรัพยากรการบริหารโดยรวม 4)ด้านการสร้างขวัญและกำลังใจให้ตำรวจ ด้านการพัฒนาสมรรถนะของตำรวจ ด้านการพัฒนาเครื่องมือในการปฏิบัติงาน และด้านทัศนคติในการปฏิบัติงาน มีอิทธิพลต่อปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงโดยรวม 5)ด้านการสร้างขวัญและกำลังใจให้ตำรวจ ด้านทัศนคติในการปฏิบัติงาน ด้านการพัฒนาสมรรถนะของตำรวจ และด้านการพัฒนาเครื่องมือในการปฏิบัติงาน มีอิทธิพลต่อปัจจัยด้านหลักธรรมาภิบาลโดยรวมCurricular : GE Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=28023 Hold
Place a hold on this item
Copies
Barcode Call number Media type Location Section Status 32002000607424 SIU THE-T: IPAG-DPA-2019-13 c.2 SIU Thesis and Dissertation Graduate Library Thesis Corner Available 32002000607437 SIU THE-T: IPAG-DPA-2019-13 c.1 SIU Thesis and Dissertation Main Library Thesis Corner Available SIU THE-T. ผลสัมฤทธิ์การบริหารพรรคการเมืองของไทย : กรณีศึกษาพรรคเพื่อไทย / ณรงค์ รุ่งธนวงศ์ / กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร - 2020
Collection Title: SIU THE-T Title : ผลสัมฤทธิ์การบริหารพรรคการเมืองของไทย : กรณีศึกษาพรรคเพื่อไทย Original title : The Achievement of Thai Political Parties Administration: A Case of Pheu Thai Party Material Type: printed text Authors: ณรงค์ รุ่งธนวงศ์, Author ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name ; ไชยวัฒน์ ค้ำชู, Associated Name Publisher: กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร Publication Date: 2020 Pagination: viii, 196 น. Layout: ตาราง, ภาพประกอบ Size: 30 ซม. Price: 500.00 บาท General note: SIU THE-T: IPAG-DPA-2020-19
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2020Languages : Thai (tha) Descriptors: [LCSH]การบริหาร
[LCSH]พรรคการเมือง -- ไทย
[LCSH]พรรคเพื่อไทยKeywords: ผลสัมฤทธิ์ การบริหารจัดการพรรคการเมืองของไทย, พรรคเพื่อไทย Abstract: การวิจัยเรื่อง การบริหารจัดการพรรคการเมืองของไทย: กรณีศึกษาพรรคเพื่อไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในของพรรคการเมืองกับผลสัมฤทธิ์การบริหารพรรคการเมืองของไทย 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในของพรรคการเมืองต่อผลสัมฤทธิ์การบริหารพรรคการเมืองของไทยและ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการพรรคการเมืองไทยที่เหมาะสม การวิจัยใช้แนวทางการผสมผสานด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถาม และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) ผู้บริหารพรรคและกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย จำนวน 8 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยภายนอกของพรรคการเมืองในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับจากมาไปน้อย คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านการเมืองและ ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ส่วนปัจจัยภายในโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับจากมาไปน้อย คือ ด้านบุคลากร ด้านกฎข้อบังคับ ด้านงบประมาณ และด้านสถานที่ตามลำดับ ผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการพรรคการเมืองของไทยในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับจากมาไปน้อย คือ การพัฒนาความเป็นสถาบันทางการเมือง การพัฒนาโครงสร้างทางการเมือง การพัฒนาคุณลักษณะที่เหมาะสมของผู้นำและสมาชิกพรรค การพัฒนาบทบาทและความสำคัญของพรรคการเมือง และ การพัฒนาเสถียรภาพทางการเมืองตามลำดับ การทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า ปัจจัยภายนอก ด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมืองของพรรคเพื่อไทยมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์การบริหารพรรคการเมืองของไทยในระดับสูงและ ปัจจัยภายในด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านสถานที่และด้านกฎข้อบังคับของพรรคเพื่อไทยมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์การบริหารพรรคการเมืองของไทยในระดับสูงและโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (Multiple Regression) พบว่า ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกมีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์การบริหารพรรคการเมืองของไทยร้อยละ 71.20 (r2=.712)Curricular : GE Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=28026 SIU THE-T. ผลสัมฤทธิ์การบริหารพรรคการเมืองของไทย : กรณีศึกษาพรรคเพื่อไทย = The Achievement of Thai Political Parties Administration: A Case of Pheu Thai Party [printed text] / ณรงค์ รุ่งธนวงศ์, Author ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name ; ไชยวัฒน์ ค้ำชู, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2020 . - viii, 196 น. : ตาราง, ภาพประกอบ ; 30 ซม.
500.00 บาท
SIU THE-T: IPAG-DPA-2020-19
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2020
Languages : Thai (tha)
Descriptors: [LCSH]การบริหาร
[LCSH]พรรคการเมือง -- ไทย
[LCSH]พรรคเพื่อไทยKeywords: ผลสัมฤทธิ์ การบริหารจัดการพรรคการเมืองของไทย, พรรคเพื่อไทย Abstract: การวิจัยเรื่อง การบริหารจัดการพรรคการเมืองของไทย: กรณีศึกษาพรรคเพื่อไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในของพรรคการเมืองกับผลสัมฤทธิ์การบริหารพรรคการเมืองของไทย 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในของพรรคการเมืองต่อผลสัมฤทธิ์การบริหารพรรคการเมืองของไทยและ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการพรรคการเมืองไทยที่เหมาะสม การวิจัยใช้แนวทางการผสมผสานด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถาม และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) ผู้บริหารพรรคและกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย จำนวน 8 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยภายนอกของพรรคการเมืองในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับจากมาไปน้อย คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านการเมืองและ ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ส่วนปัจจัยภายในโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับจากมาไปน้อย คือ ด้านบุคลากร ด้านกฎข้อบังคับ ด้านงบประมาณ และด้านสถานที่ตามลำดับ ผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการพรรคการเมืองของไทยในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับจากมาไปน้อย คือ การพัฒนาความเป็นสถาบันทางการเมือง การพัฒนาโครงสร้างทางการเมือง การพัฒนาคุณลักษณะที่เหมาะสมของผู้นำและสมาชิกพรรค การพัฒนาบทบาทและความสำคัญของพรรคการเมือง และ การพัฒนาเสถียรภาพทางการเมืองตามลำดับ การทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า ปัจจัยภายนอก ด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมืองของพรรคเพื่อไทยมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์การบริหารพรรคการเมืองของไทยในระดับสูงและ ปัจจัยภายในด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านสถานที่และด้านกฎข้อบังคับของพรรคเพื่อไทยมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์การบริหารพรรคการเมืองของไทยในระดับสูงและโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (Multiple Regression) พบว่า ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกมีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์การบริหารพรรคการเมืองของไทยร้อยละ 71.20 (r2=.712)Curricular : GE Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=28026 Hold
Place a hold on this item
Copies
Barcode Call number Media type Location Section Status 32002000607430 SIU THE-T: IPAG-DPA-2020-19 c.1 SIU Thesis and Dissertation Main Library Thesis Corner Available 32002000607432 SIU THE-T: IPAG-DPA-2020-19 c.2 SIU Thesis and Dissertation Main Library Thesis Corner Available