From this page you can:
Home |
Author details
Author ชุนลิ้ม มณฑิรา
Available item(s) by this author
Add the result to your basket Make a suggestion Refine your search Apply to external sourcesSIU THE-T. การพัฒนากีฬาเพื่อเป็นกลยุทธ์การตลาดของมหาวิทยาลัยเอกชน / มณฑิรา ชุนลิ้ม / กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร - 2017
Collection Title: SIU THE-T Title : การพัฒนากีฬาเพื่อเป็นกลยุทธ์การตลาดของมหาวิทยาลัยเอกชน Original title : Sport Development’s Contribution to the Marketing Strategy of Private University Material Type: printed text Authors: มณฑิรา ชุนลิ้ม, Author ; อุษณีย์ เสวกวัชรี, Associated Name ; ชาญชัย บัญชาพัฒนศักดา, Associated Name Publisher: กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร Publication Date: 2017 Pagination: ix, 156 น. Layout: ตาราง, ภาพประกอบ Size: 30 ซม. Price: 500.00 General note: SIU THE-T: SOM-DBA-2017-11
Thesis. [DฺBA [บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต บธ.ด.]] -- มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2560Languages : Thai (tha) Descriptors: [LCSH]กลยุทธ์การตลาด
[LCSH]กีฬาKeywords: รูปแบบการพัฒนากีฬา,
กลยุทธ์การตลาด,
มหาวิทยาลัยเอกชน,
วิจัยเชิงคุณภาพAbstract: การศึกษาวิจัยเรื่องการพัฒนากีฬาเพื่อเป็นกลยุทธ์การตลาดของมหาวิทยาลัยเอกชนมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะการใช้กีฬาเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดของมหาวิทยาลัยเอกชน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกและ/หรือสมัครเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยเอกชน 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนากีฬาที่มีผลต่อการส่งเสริมกลยุทธ์ด้านการตลาดของมหาวิทยาลัยเอกชน ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ผู้วิจัยทำการวิจัยในครั้งนี้
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ที่มีการกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะ (Purposive Sampling) จากสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จำนวน 8 แห่ง ที่มีระดับผลการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 42 แบ่งเป็นกลุ่มสถาบันที่ได้รับเหรียญรางวัลมาก เหรียญรางวัลปานกลาง และเหรียญรางวัลน้อย โดยใช้รูปแบบการสัมภาษณ์คำถามแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured) กับผู้บริหารฝ่ายกิจการนักศึกษาหรือด้านสำนักกีฬา สถาบันละ 2 คน จำนวน 16 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยทำการส่งหนังสือขออนุญาตเข้าสัมภาษณ์พร้อมส่งข้อคำถาม ประเด็นการสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญและขออนุญาตทำการบันทึกเสียงร่วมกับการจดบันทึกในระหว่างการสัมภาษณ์ และถอดเทปการบันทึกการสัมภาษณ์โดยผู้วิจัยและนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ในแต่ละประเด็น ร่วมกับจากการศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี แล้วนำมาสรุปและอภิปรายผลของการวิจัยตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย
ผลการวิเคราะห์ของการวิจัย พบว่า สภาวะการแข่งขันทางการกีฬาของสถาบันอุดมศึกษานั้น มีลักษณะการแข่งขันกันในรูปแบบมหาวิทยาลัยของรัฐกับมหาวิทยาลัยเอกชนและในกลุ่มของมหาวิทยาลัยเอกชนด้วยกัน โดยมีระบบการให้ทุนการศึกษาความสามารถพิเศษด้านกีฬาเช่นเดียวกัน โดยมีลักษณะการแข่งขันมุ่งเน้นเหรียญรางวัลและระดับของจำนวนเหรียญรางวัลเพื่อเพิ่ม หรือรักษาระดับของมหาวิทยาลัย (Ranking) และประชาสัมพันธ์ชื่อมหาวิทยาลัย ซึ่งผลงานจากการพัฒนากีฬาของมหาวิทยาลัยมีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อของนักเรียน รูปแบบการพัฒนากีฬาของมหาวิทยาลัยเอกชนสามารถแบ่งออกตาม 7 Ps คือ 1) ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ประเภทกีฬาที่ส่งเสริม หลักสูตรการเรียนการสอน หลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้น 2) ด้านผลตอบแทนที่ได้รับจากการเข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัย (Price) ทุนการศึกษา ระบบจูงใจค่าตอบแทน สวัสดิการ 3) ด้านช่องทางการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในการรับนักศึกษา (Place) สถานที่ตั้งมหาวิทยาลัย การจัดการเรียนการสอน เวลาการให้บริการของเจ้าหน้าที่ 4) ด้านการส่งเสริม (Promotions) โครงการ/กิจกรรมด้านกีฬา การให้บริการด้านอาคาร สนามกีฬาและสิ่งอำนวยความสะดวก 5) ด้านบุคลากร (People) มีคณาจารย์และผู้ฝึกสอนที่มีชื่อเสียง 6) ด้านกายภาพและการนำเสนอ (Physical Evidence/Environment and Presentation) สนามกีฬาและอาคารกีฬา สิ่งอำนวยความสะดวกด้านกีฬา 7) ด้านกระบวนการ (Process) ระบบดูแลเรื่องการเรียน ระบบการฝึกซ้อม การประสานความร่วมมือกับสมาคมกีฬานอกจากนี้ ผลการวิจัยพบว่า มหาวิทยาลัยเอกชนใช้กีฬาเป็นกลยุทธ์การตลาดเพื่อการประชาสัมพันธ์ด้านการสร้างตราสินค้า (Brand Image) ของมหาวิทยาลัยและการให้ทุนการศึกษานักกีฬาที่มีชื่อเสียงเพื่อเป็นทูตตราสินค้า (Brand Ambassador) เพื่อเป็นแบบอย่างดึงดูดนักเรียนที่ชื่นชอบนักกีฬาเลือกเข้าศึกษาต่อได้Curricular : BBA/MBA/PhDM Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27548 SIU THE-T. การพัฒนากีฬาเพื่อเป็นกลยุทธ์การตลาดของมหาวิทยาลัยเอกชน = Sport Development’s Contribution to the Marketing Strategy of Private University [printed text] / มณฑิรา ชุนลิ้ม, Author ; อุษณีย์ เสวกวัชรี, Associated Name ; ชาญชัย บัญชาพัฒนศักดา, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2017 . - ix, 156 น. : ตาราง, ภาพประกอบ ; 30 ซม.
500.00
SIU THE-T: SOM-DBA-2017-11
Thesis. [DฺBA [บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต บธ.ด.]] -- มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2560
Languages : Thai (tha)
Descriptors: [LCSH]กลยุทธ์การตลาด
[LCSH]กีฬาKeywords: รูปแบบการพัฒนากีฬา,
กลยุทธ์การตลาด,
มหาวิทยาลัยเอกชน,
วิจัยเชิงคุณภาพAbstract: การศึกษาวิจัยเรื่องการพัฒนากีฬาเพื่อเป็นกลยุทธ์การตลาดของมหาวิทยาลัยเอกชนมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะการใช้กีฬาเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดของมหาวิทยาลัยเอกชน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกและ/หรือสมัครเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยเอกชน 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนากีฬาที่มีผลต่อการส่งเสริมกลยุทธ์ด้านการตลาดของมหาวิทยาลัยเอกชน ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ผู้วิจัยทำการวิจัยในครั้งนี้
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ที่มีการกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะ (Purposive Sampling) จากสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จำนวน 8 แห่ง ที่มีระดับผลการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 42 แบ่งเป็นกลุ่มสถาบันที่ได้รับเหรียญรางวัลมาก เหรียญรางวัลปานกลาง และเหรียญรางวัลน้อย โดยใช้รูปแบบการสัมภาษณ์คำถามแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured) กับผู้บริหารฝ่ายกิจการนักศึกษาหรือด้านสำนักกีฬา สถาบันละ 2 คน จำนวน 16 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยทำการส่งหนังสือขออนุญาตเข้าสัมภาษณ์พร้อมส่งข้อคำถาม ประเด็นการสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญและขออนุญาตทำการบันทึกเสียงร่วมกับการจดบันทึกในระหว่างการสัมภาษณ์ และถอดเทปการบันทึกการสัมภาษณ์โดยผู้วิจัยและนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ในแต่ละประเด็น ร่วมกับจากการศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี แล้วนำมาสรุปและอภิปรายผลของการวิจัยตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย
ผลการวิเคราะห์ของการวิจัย พบว่า สภาวะการแข่งขันทางการกีฬาของสถาบันอุดมศึกษานั้น มีลักษณะการแข่งขันกันในรูปแบบมหาวิทยาลัยของรัฐกับมหาวิทยาลัยเอกชนและในกลุ่มของมหาวิทยาลัยเอกชนด้วยกัน โดยมีระบบการให้ทุนการศึกษาความสามารถพิเศษด้านกีฬาเช่นเดียวกัน โดยมีลักษณะการแข่งขันมุ่งเน้นเหรียญรางวัลและระดับของจำนวนเหรียญรางวัลเพื่อเพิ่ม หรือรักษาระดับของมหาวิทยาลัย (Ranking) และประชาสัมพันธ์ชื่อมหาวิทยาลัย ซึ่งผลงานจากการพัฒนากีฬาของมหาวิทยาลัยมีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อของนักเรียน รูปแบบการพัฒนากีฬาของมหาวิทยาลัยเอกชนสามารถแบ่งออกตาม 7 Ps คือ 1) ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ประเภทกีฬาที่ส่งเสริม หลักสูตรการเรียนการสอน หลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้น 2) ด้านผลตอบแทนที่ได้รับจากการเข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัย (Price) ทุนการศึกษา ระบบจูงใจค่าตอบแทน สวัสดิการ 3) ด้านช่องทางการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในการรับนักศึกษา (Place) สถานที่ตั้งมหาวิทยาลัย การจัดการเรียนการสอน เวลาการให้บริการของเจ้าหน้าที่ 4) ด้านการส่งเสริม (Promotions) โครงการ/กิจกรรมด้านกีฬา การให้บริการด้านอาคาร สนามกีฬาและสิ่งอำนวยความสะดวก 5) ด้านบุคลากร (People) มีคณาจารย์และผู้ฝึกสอนที่มีชื่อเสียง 6) ด้านกายภาพและการนำเสนอ (Physical Evidence/Environment and Presentation) สนามกีฬาและอาคารกีฬา สิ่งอำนวยความสะดวกด้านกีฬา 7) ด้านกระบวนการ (Process) ระบบดูแลเรื่องการเรียน ระบบการฝึกซ้อม การประสานความร่วมมือกับสมาคมกีฬานอกจากนี้ ผลการวิจัยพบว่า มหาวิทยาลัยเอกชนใช้กีฬาเป็นกลยุทธ์การตลาดเพื่อการประชาสัมพันธ์ด้านการสร้างตราสินค้า (Brand Image) ของมหาวิทยาลัยและการให้ทุนการศึกษานักกีฬาที่มีชื่อเสียงเพื่อเป็นทูตตราสินค้า (Brand Ambassador) เพื่อเป็นแบบอย่างดึงดูดนักเรียนที่ชื่นชอบนักกีฬาเลือกเข้าศึกษาต่อได้Curricular : BBA/MBA/PhDM Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27548 Hold
Place a hold on this item
Copies
Barcode Call number Media type Location Section Status 32002000596708 SIU THE-T: SOM-DBA-2017-11 c.1 SIU Thesis and Dissertation Graduate Library Thesis Corner Available 32002000596690 SIU THE-T: SOM-DBA-2017-11 c.2 SIU Thesis and Dissertation Graduate Library Thesis Corner Available SIU IS-T. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการโรงแรมระดับห้าดาวของนักท่องเที่ยวชาวไทยในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ / นงนภัส จุลเปมะ / กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร - 2019
Collection Title: SIU IS-T Title : ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการโรงแรมระดับห้าดาวของนักท่องเที่ยวชาวไทยในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ Original title : Factors Influencing Thai Tourist Decision Making on Choosing Five-Star Hotel in Amphoe Muang, Chiang Mai Material Type: printed text Authors: นงนภัส จุลเปมะ, Author ; มณฑิรา ชุนลิ้ม, Associated Name ; ชาญชัย บัญชาพัฒนศักดา, Associated Name Publisher: กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร Publication Date: 2019 Pagination: viii, 77 น. Layout: ตาราง, ภาพประกอบ Size: 30 ซม. Price: 500.00 บาท General note: SIU IS-T: SOM-MBA-2019-04
Independent Study. [MS[MBA]]--Shinawatra University, 2019.Languages : Thai (tha) Descriptors: [LCSH]ผู้บริโภค -- การตัดสินใจ
[LCSH]ส่วนประสมการตลาด
[LCSH]โรงแรมKeywords: ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด,
คุณภาพการให้บริการ,
การตัดสินใจเลือกใช้บริการ,
โรงแรมระดับห้าดาวAbstract: ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการโรงแรมระดับห้าดาวของนักท่องเที่ยวชาวไทยในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางด้านประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการโรงแรมระดับห้าดาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงแรมระดับห้าดาว อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ และ 3) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยคุณภาพบริการที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการโรงแรมระดับห้าดาว อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการศึกษาเชิงสำรวจ รวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม ซึ่งกลุ่มตัวอย่างคือนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาพักค้างในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 400 คน โดยใช้สถิติวิเคราะห์ผลเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ผลเชิงอนุมาน ทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติแบบ t–test, F–test และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ วิธีการทดสอบ Least Significant Difference (LSD) test และทดสอบความสัมพันธ์ใช้สถิติทดสอบแบบ Chi-Square test
ผลวิจัยพบว่าลักษณะประชากรศาสตร์ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชายและมีอายุ 31 – 40 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรี มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มากกว่า 60,000 บาท 1) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการให้ความสำคัญในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ ด้านบุคลากร ด้านราคา ด้านกระบวนการ ด้านสถานที่หรือช่องทางจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาดตามลำดับ และด้านผลิตภัณฑ์ให้ความสำคัญในระดับมาก 2) ด้านปัจจัยคุณภาพการให้บริการให้ความสำคัญระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านการตอบสนองต่อลูกค้า ด้านความน่าเชื่อถือ ด้านการให้ความเชื่อมั่นต่อลูกค้า ด้านการรู้จักและเอาใจลูกค้า และด้านความเป็นรูปธรรมของบริการ ตามลำดับ 3) การตัดสินใจใช้บริการในระดับมากที่สุด คือ ด้านความพึงพอใจต่อการให้บริการของโรงแรม ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า 1)ปัจจัยลักษณะประชากรศาสตร์ด้านระดับการศึกษามีผลต่อการเลือกใช้บริการโรงแรมแตกต่างกัน โดยกลุ่มนักท่องเที่ยวระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีเลือกใช้บริการโรงแรมต่ำกว่า กลุ่มระดับการศึกษาปริญญาตรีและสูงกว่าปริญญาตรี 2) ผลทดสอบความสัมพันธ์ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการโรงแรมมีความสัมพันธ์กับการเลือกใช้บริการโรงแรม โดยด้านบุคลากร มีความสัมพันธ์สูงสุด รองลงมา คือ ด้านกระบวนการ ด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านสถานที่หรือช่องทางจัดจำหน่าย ด้านราคา และด้านผลิตภัณฑ์ ตามลำดับ 3) ปัจจัยคุณภาพการให้บริการมีความสัมพันธ์กับการเลือกใช้บริการโรงแรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ด้านการรู้จักและเอาใจลูกค้า มีความสัมพันธ์สูงสุด รองลงมาคือด้านการตอบสนองต่อลูกค้า ด้านความน่าเชื่อถือ ด้านการให้ความเชื่อมั่นต่อลูกค้า และด้านความเป็นรูปธรรมของบริการ ตามลำดับCurricular : BBA/MBA Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27993 SIU IS-T. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการโรงแรมระดับห้าดาวของนักท่องเที่ยวชาวไทยในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ = Factors Influencing Thai Tourist Decision Making on Choosing Five-Star Hotel in Amphoe Muang, Chiang Mai [printed text] / นงนภัส จุลเปมะ, Author ; มณฑิรา ชุนลิ้ม, Associated Name ; ชาญชัย บัญชาพัฒนศักดา, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2019 . - viii, 77 น. : ตาราง, ภาพประกอบ ; 30 ซม.
500.00 บาท
SIU IS-T: SOM-MBA-2019-04
Independent Study. [MS[MBA]]--Shinawatra University, 2019.
Languages : Thai (tha)
Descriptors: [LCSH]ผู้บริโภค -- การตัดสินใจ
[LCSH]ส่วนประสมการตลาด
[LCSH]โรงแรมKeywords: ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด,
คุณภาพการให้บริการ,
การตัดสินใจเลือกใช้บริการ,
โรงแรมระดับห้าดาวAbstract: ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการโรงแรมระดับห้าดาวของนักท่องเที่ยวชาวไทยในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางด้านประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการโรงแรมระดับห้าดาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงแรมระดับห้าดาว อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ และ 3) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยคุณภาพบริการที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการโรงแรมระดับห้าดาว อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการศึกษาเชิงสำรวจ รวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม ซึ่งกลุ่มตัวอย่างคือนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาพักค้างในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 400 คน โดยใช้สถิติวิเคราะห์ผลเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ผลเชิงอนุมาน ทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติแบบ t–test, F–test และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ วิธีการทดสอบ Least Significant Difference (LSD) test และทดสอบความสัมพันธ์ใช้สถิติทดสอบแบบ Chi-Square test
ผลวิจัยพบว่าลักษณะประชากรศาสตร์ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชายและมีอายุ 31 – 40 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรี มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มากกว่า 60,000 บาท 1) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการให้ความสำคัญในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ ด้านบุคลากร ด้านราคา ด้านกระบวนการ ด้านสถานที่หรือช่องทางจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาดตามลำดับ และด้านผลิตภัณฑ์ให้ความสำคัญในระดับมาก 2) ด้านปัจจัยคุณภาพการให้บริการให้ความสำคัญระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านการตอบสนองต่อลูกค้า ด้านความน่าเชื่อถือ ด้านการให้ความเชื่อมั่นต่อลูกค้า ด้านการรู้จักและเอาใจลูกค้า และด้านความเป็นรูปธรรมของบริการ ตามลำดับ 3) การตัดสินใจใช้บริการในระดับมากที่สุด คือ ด้านความพึงพอใจต่อการให้บริการของโรงแรม ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า 1)ปัจจัยลักษณะประชากรศาสตร์ด้านระดับการศึกษามีผลต่อการเลือกใช้บริการโรงแรมแตกต่างกัน โดยกลุ่มนักท่องเที่ยวระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีเลือกใช้บริการโรงแรมต่ำกว่า กลุ่มระดับการศึกษาปริญญาตรีและสูงกว่าปริญญาตรี 2) ผลทดสอบความสัมพันธ์ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการโรงแรมมีความสัมพันธ์กับการเลือกใช้บริการโรงแรม โดยด้านบุคลากร มีความสัมพันธ์สูงสุด รองลงมา คือ ด้านกระบวนการ ด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านสถานที่หรือช่องทางจัดจำหน่าย ด้านราคา และด้านผลิตภัณฑ์ ตามลำดับ 3) ปัจจัยคุณภาพการให้บริการมีความสัมพันธ์กับการเลือกใช้บริการโรงแรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ด้านการรู้จักและเอาใจลูกค้า มีความสัมพันธ์สูงสุด รองลงมาคือด้านการตอบสนองต่อลูกค้า ด้านความน่าเชื่อถือ ด้านการให้ความเชื่อมั่นต่อลูกค้า และด้านความเป็นรูปธรรมของบริการ ตามลำดับCurricular : BBA/MBA Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27993 Hold
Place a hold on this item
Copies
Barcode Call number Media type Location Section Status 32002000607456 SIU IS-T: SOM-MBA-2019-04 c.1 SIU Independent Study Graduate Library Thesis Corner Available 32002000607455 SIU IS-T: SOM-MBA-2019-04 c.2 SIU Independent Study Graduate Library Thesis Corner Available SIU IS-T. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานออกกำลังกายเจริญทอง มวยไทยยิม / ปริชาติ มูลสวัสดิ์ / กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร - 2019
Collection Title: SIU IS-T Title : ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานออกกำลังกายเจริญทอง มวยไทยยิม Original title : Influencing Factors affecting Customer Decision Toward Jaroenthong Muay Thai Gym Material Type: printed text Authors: ปริชาติ มูลสวัสดิ์, Author ; มณฑิรา ชุนลิ้ม, Associated Name ; ชาญชัย บัญชาพัฒนศักดา, Associated Name Publisher: กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร Publication Date: 2019 Pagination: ix, 75 น. Layout: ตาราง, ภาพประกอบ Size: 30 ซม. Price: 500.00 บาท General note: SIU IS-T: SOM-MBA-2019-02
Independent Study. [MS[MBA]]--Shinawatra University, 2019.Languages : Thai (tha) Descriptors: [LCSH]พฤติกรรมผู้บริโภค
[LCSH]มวยไทย
[LCSH]สถานกายบริหาร
[LCSH]ส่วนประสมการตลาดKeywords: ส่วนประสมทางการตลาด, พฤติกรรมผู้บริโภค, การตัดสินใจ, สถานออกกำลังกายมวยไทยยิม Abstract: การศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานออกกำลังกายเจริญทองมวยไทยยิม มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยทางด้านลักษณะทางประชากรศาสตร์ ที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานออกกำลังกายเจริญทองมวยไทยยิม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานออกกำลังกายเจริญทองมวยไทยยิม และ 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานออกกำลังกายเจริญทองมวยไทยยิม ระเบียบวิธีวิจัยเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณใช้วิธีการศึกษาเชิงสำรวจรวบรวมข้อมูลที่ได้รับจากแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใช้บริการสถานออกกำลังกายเจริญทองมวยไทยยิม จำนวน 200 ตัวอย่าง ทดสอบความน่าเชื่อถือของเครื่องมือ ตามแนวคิดของครอนบัค (Cronbach Alpha Formula) จำนวน 30 ตัวอย่าง ได้ผลทดสอบความน่าเชื่อถือเครื่องมือที่ 0.95 และผลทดสอบค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างเนื้อหา (IOC) มีเท่ากับ 0.972 สถิติในการวิเคราะห์ผลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติแบบ T – test , F – Test และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่วิธีการทดสอบ Least Significant Difference test และทดสอบความสัมพันธ์ใช้สถิติทดสอบแบบ Pearson's Correlation Coefficient ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ประมวลผลข้อมูลจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ
ผลวิจัยข้อมูลลักษณะส่วนบุคคล เป็นเพศหญิงมากกว่า เพศชาย ส่วนใหญ่ อายุ 36 – 40 ปี รองลงมา อายุ 20 – 25 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรี รองลงมา สูงกว่าปริญญาตรี มีสถานภาพโสด รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 25,000 บาท รองลงมา 25,000 - 35,000 บาท มีความถี่ในการใช้บริการสถานออกกำลังกาย จำนวน 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ มากสุด รองลงมา จำนวน 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ วันที่ใช้บริการเป็นวันหยุดจากการทำงานมากกว่าวันทำงาน โดยมีช่วงเวลาที่ใช้บริการ เวลา 16.01 - 20.00 น. รองลงมา เวลา 09.00 - 12.00 น. โดยส่วนใหญ่ไม่มีครูฝึกสอนส่วนตัว (Personal Trainer) มากกว่ามีครูฝึกสอนส่วนตัว ปัจจัยส่วนประสมการตลาดสถานออกกำลังกายเจริญทองมวยไทยยิมมีความสำคัญในระดับมากที่สุด โดยสูงสุดด้านบุคคล รองลงมา ด้านการนำเสนอลักษณะทางกายภาพ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านกระบวนการ ด้านราคา และให้ความสำคัญในระดับมาก ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ
จากผลวิจัยปัจจัยพฤติกรรมผู้บริโภคในการใช้บริการสถานออกกำลังกายเจริญทองมวยไทยยิม มีความสำคัญในระดับมาก โดยสูงสุดในด้านสังคม รองลงมา ด้านจิตวิทยา และด้านกลุ่มอ้างอิง ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ด้านอายุมีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานออกกำลังกายเจริญทองมวยไทยยิม แตกต่างกัน และปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการสถานออกกำลังกายเจริญทองมวยไทยยิมมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจใช้บริการสถานออกกำลังกายเจริญทองมวยไทยยิม โดยด้านบุคคล มีความสัมพันธ์สูงสุด รองลงมา ด้านกระบวนการ ด้านการนำเสนอลักษณะทางกายภาพ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านผลิตภัณฑ์ ตามลำดับ และปัจจัยพฤติกรรมผู้บริโภคในการใช้บริการสถานออกกำลังกายเจริญทองมวยไทยยิมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานออกกำลังกายเจริญทองมวยไทยยิม โดย ด้านสังคมมีความสัมพันธ์สูงสุด รองลงมา ด้านจิตวิทยา และด้านกลุ่มอ้างอิง ตามลำดับ
Curricular : BBA/MBA Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27991 SIU IS-T. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานออกกำลังกายเจริญทอง มวยไทยยิม = Influencing Factors affecting Customer Decision Toward Jaroenthong Muay Thai Gym [printed text] / ปริชาติ มูลสวัสดิ์, Author ; มณฑิรา ชุนลิ้ม, Associated Name ; ชาญชัย บัญชาพัฒนศักดา, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2019 . - ix, 75 น. : ตาราง, ภาพประกอบ ; 30 ซม.
500.00 บาท
SIU IS-T: SOM-MBA-2019-02
Independent Study. [MS[MBA]]--Shinawatra University, 2019.
Languages : Thai (tha)
Descriptors: [LCSH]พฤติกรรมผู้บริโภค
[LCSH]มวยไทย
[LCSH]สถานกายบริหาร
[LCSH]ส่วนประสมการตลาดKeywords: ส่วนประสมทางการตลาด, พฤติกรรมผู้บริโภค, การตัดสินใจ, สถานออกกำลังกายมวยไทยยิม Abstract: การศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานออกกำลังกายเจริญทองมวยไทยยิม มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยทางด้านลักษณะทางประชากรศาสตร์ ที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานออกกำลังกายเจริญทองมวยไทยยิม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานออกกำลังกายเจริญทองมวยไทยยิม และ 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานออกกำลังกายเจริญทองมวยไทยยิม ระเบียบวิธีวิจัยเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณใช้วิธีการศึกษาเชิงสำรวจรวบรวมข้อมูลที่ได้รับจากแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใช้บริการสถานออกกำลังกายเจริญทองมวยไทยยิม จำนวน 200 ตัวอย่าง ทดสอบความน่าเชื่อถือของเครื่องมือ ตามแนวคิดของครอนบัค (Cronbach Alpha Formula) จำนวน 30 ตัวอย่าง ได้ผลทดสอบความน่าเชื่อถือเครื่องมือที่ 0.95 และผลทดสอบค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างเนื้อหา (IOC) มีเท่ากับ 0.972 สถิติในการวิเคราะห์ผลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติแบบ T – test , F – Test และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่วิธีการทดสอบ Least Significant Difference test และทดสอบความสัมพันธ์ใช้สถิติทดสอบแบบ Pearson's Correlation Coefficient ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ประมวลผลข้อมูลจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ
ผลวิจัยข้อมูลลักษณะส่วนบุคคล เป็นเพศหญิงมากกว่า เพศชาย ส่วนใหญ่ อายุ 36 – 40 ปี รองลงมา อายุ 20 – 25 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรี รองลงมา สูงกว่าปริญญาตรี มีสถานภาพโสด รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 25,000 บาท รองลงมา 25,000 - 35,000 บาท มีความถี่ในการใช้บริการสถานออกกำลังกาย จำนวน 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ มากสุด รองลงมา จำนวน 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ วันที่ใช้บริการเป็นวันหยุดจากการทำงานมากกว่าวันทำงาน โดยมีช่วงเวลาที่ใช้บริการ เวลา 16.01 - 20.00 น. รองลงมา เวลา 09.00 - 12.00 น. โดยส่วนใหญ่ไม่มีครูฝึกสอนส่วนตัว (Personal Trainer) มากกว่ามีครูฝึกสอนส่วนตัว ปัจจัยส่วนประสมการตลาดสถานออกกำลังกายเจริญทองมวยไทยยิมมีความสำคัญในระดับมากที่สุด โดยสูงสุดด้านบุคคล รองลงมา ด้านการนำเสนอลักษณะทางกายภาพ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านกระบวนการ ด้านราคา และให้ความสำคัญในระดับมาก ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ
จากผลวิจัยปัจจัยพฤติกรรมผู้บริโภคในการใช้บริการสถานออกกำลังกายเจริญทองมวยไทยยิม มีความสำคัญในระดับมาก โดยสูงสุดในด้านสังคม รองลงมา ด้านจิตวิทยา และด้านกลุ่มอ้างอิง ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ด้านอายุมีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานออกกำลังกายเจริญทองมวยไทยยิม แตกต่างกัน และปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการสถานออกกำลังกายเจริญทองมวยไทยยิมมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจใช้บริการสถานออกกำลังกายเจริญทองมวยไทยยิม โดยด้านบุคคล มีความสัมพันธ์สูงสุด รองลงมา ด้านกระบวนการ ด้านการนำเสนอลักษณะทางกายภาพ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านผลิตภัณฑ์ ตามลำดับ และปัจจัยพฤติกรรมผู้บริโภคในการใช้บริการสถานออกกำลังกายเจริญทองมวยไทยยิมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานออกกำลังกายเจริญทองมวยไทยยิม โดย ด้านสังคมมีความสัมพันธ์สูงสุด รองลงมา ด้านจิตวิทยา และด้านกลุ่มอ้างอิง ตามลำดับ
Curricular : BBA/MBA Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27991 Hold
Place a hold on this item
Copies
Barcode Call number Media type Location Section Status 32002000607451 SIU IS-T: SOM-MBA-2019-02 c.2 SIU Independent Study Graduate Library Thesis Corner Available 32002000607452 SIU IS-T: SOM-MBA-2019-02 c.1 SIU Independent Study Main Library Thesis Corner Available SIU IS-T. อิทธิพลของบรรจุภัณฑ์มีผลต่อการซื้อเครื่องสำอางของพนักงานต้อนรับหญิงบนเครื่องบินสายการบินไทย / สรัญธร พัธนพันธุ์ / กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร - 2019
Collection Title: SIU IS-T Title : อิทธิพลของบรรจุภัณฑ์มีผลต่อการซื้อเครื่องสำอางของพนักงานต้อนรับหญิงบนเครื่องบินสายการบินไทย Original title : Influencing Package towards Purchasing Cosmetics of Thai Airways Air Hostess Material Type: printed text Authors: สรัญธร พัธนพันธุ์, Author ; มณฑิรา ชุนลิ้ม, Associated Name ; ชาญชัย บัญชาพัฒนศักดา, Associated Name Publisher: กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร Publication Date: 2019 Pagination: x, 74 น. Layout: ตาราง, ภาพประกอบ Size: 30 ซม. Price: 500.00 บาท General note: SIU IS-T: SOM-MBA-2019-03
Independent Study. [MS[MBA]]--Shinawatra University, 2019.Languages : Thai (tha) Descriptors: [LCSH]ผู้บริโภค -- การตัดสินใจ
[LCSH]พฤติกรรมผู้บริโภค
[LCSH]เครื่องสำอาง -- บรรจุภัณฑ์Keywords: พฤติกรรมผู้บริโภค,
การตัดสินใจซื้อ,
ภาพลักษณ์ตราสินค้า,
บรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางAbstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของบรรจุภัณฑ์มีผลต่อการซื้อเครื่องสำอางของพนักงานต้อนรับหญิงบนเครื่องบินสายการบินไทย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ พนักงานต้อนรับหญิงบนเครื่องบินสายการบินไทย ใช้สูตรการคำนวณของ W.G.Cochran ได้จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามที่ทางผู้วิจัยได้สร้างขึ้นประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 1) ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม 2) ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยด้านพฤติกรรมผู้บริโภคต่อการตัดสินใจและระดับการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอาง 3) ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยภาพลักษณ์ตราสินค้าต่อการตัดสินใจและระดับการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอาง 4) ข้อมูลเกี่ยวกับอิทธิพลของบรรจุภัณฑ์ในการซื้อเครื่องสำอางต่อการตัดสินใจและระดับการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอาง 5) ข้อเสนอแนะของผู้ตอบแบบสอบถาม
ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มี อายุ 36 – 40 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 50,000 - 60,000 บาท และค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องสำอางแต่ละครั้งโดยเฉลี่ย 1,000 - 5,000 บาท ในด้านปัจจัยพฤติกรรมผู้บริโภคด้านส่วนประสมการตลาดให้ความสำคัญในระดับมากที่สุดในด้านราคา รองลงมาเป็นด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านช่องทางในการจัดจำหน่าย ตามลำดับ ปัจจัยพฤติกรรมผู้บริโภคในด้านการตอบสนองของผู้ซื้อและลักษณะของผู้ซื้อ (ปัจจัยด้านจิตวิทยา) ให้ความสำคัญในระดับมากที่สุดโดยสูงสุดในด้านการตอบสนองของผู้ซื้อ รองลงมาลักษณะของผู้ซื้อ (ปัจจัยด้านจิตวิทยา) ในด้านกระบวนการตัดสินใจมีการตัดสินใจในระดับมากที่สุดในด้านการตัดสินใจซื้อ รองลงมาด้านพฤติกรรมภายหลังการซื้อ ด้านการประเมินทางเลือก ด้านการรับรู้ปัญหา และด้านการค้นหาข้อมูล ปัจจัยภาพลักษณ์และตราสินค้าในการซื้อเครื่องสำอางมีผลต่อการตัดสินใจในระดับมากที่สุดโดยสูงสุด ตราสินค้ามีความน่าเชื่อถือมีมาตรฐานรองรับจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อ.ย. ในด้านอิทธิพลของบรรจุภัณฑ์ในการซื้อเครื่องสำอางมีผลต่อการตัดสินใจในระดับมากที่สุด มีการตัดสินใจสูงสุดในด้านรูปทรงของบรรจุภัณฑ์สามารถสร้างความเป็นเอกลักษณ์ของสินค้าได้
ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคลด้านระดับการศึกษามีผลต่ออิทธิพลของบรรจุภัณฑ์ในการซื้อเครื่องสำอางแตกต่างกัน โดยกลุ่มพนักงานต้อนรับหญิงบนเครื่องบินสายการบินไทยระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีจะให้ความสำคัญต่ออิทธิพลของบรรจุภัณฑ์ในการซื้อเครื่องสำอางต่ำกว่ากลุ่มพนักงานต้อนรับหญิงบนเครื่องบินสายการบินไทยระดับการศึกษาปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก ปัจจัยพฤติกรรมผู้บริโภคในด้านส่วนประสมการตลาดของเครื่องสำอางมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่ออิทธิพลของบรรจุภัณฑ์ในการซื้อเครื่องสำอาง โดยด้านการส่งเสริมการตลาดมีความสัมพันธ์สูงสุด รองลงมาเป็นด้านช่องทางในการจัดจำหน่าย ด้านราคา และด้านผลิตภัณฑ์ตามลำดับ ปัจจัยพฤติกรรมผู้บริโภคในการซื้อเครื่องสำอางมีความสัมพันธ์กับอิทธิพลของบรรจุภัณฑ์ในการซื้อเครื่องสำอาง โดยด้านการตอบสนองของผู้ซื้อและลักษณะของผู้ซื้อ (ปัจจัยด้านจิตวิทยา) มีความสัมพันธ์เชิงบวกโดยด้านการตอบสนองของผู้ซื้อมีความสัมพันธ์สูงสุด รองลงมาด้านลักษณะของผู้ซื้อ (ปัจจัยด้านจิตวิทยา) และด้านกระบวนการตัดสินใจซื้อมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่ออิทธิพลของบรรจุภัณฑ์ในการซื้อเครื่องสำอาง โดยด้านพฤติกรรมภายหลังการซื้อมีความสัมพันธ์สูงสุด รองลงมาเป็นด้านการประเมินทางเลือก ด้านการค้นหาข้อมูล ด้านการตัดสินใจซื้อ และด้านการรับรู้ปัญหาตามลำดับ และ ปัจจัยภาพลักษณ์ตราสินค้าเครื่องสำอางมีความสัมพันธ์เชิงบวกในต่ออิทธิพลของบรรจุภัณฑ์ในการซื้อเครื่องสำอางเช่นกันCurricular : BBA/MBA Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27992 SIU IS-T. อิทธิพลของบรรจุภัณฑ์มีผลต่อการซื้อเครื่องสำอางของพนักงานต้อนรับหญิงบนเครื่องบินสายการบินไทย = Influencing Package towards Purchasing Cosmetics of Thai Airways Air Hostess [printed text] / สรัญธร พัธนพันธุ์, Author ; มณฑิรา ชุนลิ้ม, Associated Name ; ชาญชัย บัญชาพัฒนศักดา, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2019 . - x, 74 น. : ตาราง, ภาพประกอบ ; 30 ซม.
500.00 บาท
SIU IS-T: SOM-MBA-2019-03
Independent Study. [MS[MBA]]--Shinawatra University, 2019.
Languages : Thai (tha)
Descriptors: [LCSH]ผู้บริโภค -- การตัดสินใจ
[LCSH]พฤติกรรมผู้บริโภค
[LCSH]เครื่องสำอาง -- บรรจุภัณฑ์Keywords: พฤติกรรมผู้บริโภค,
การตัดสินใจซื้อ,
ภาพลักษณ์ตราสินค้า,
บรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางAbstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของบรรจุภัณฑ์มีผลต่อการซื้อเครื่องสำอางของพนักงานต้อนรับหญิงบนเครื่องบินสายการบินไทย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ พนักงานต้อนรับหญิงบนเครื่องบินสายการบินไทย ใช้สูตรการคำนวณของ W.G.Cochran ได้จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามที่ทางผู้วิจัยได้สร้างขึ้นประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 1) ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม 2) ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยด้านพฤติกรรมผู้บริโภคต่อการตัดสินใจและระดับการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอาง 3) ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยภาพลักษณ์ตราสินค้าต่อการตัดสินใจและระดับการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอาง 4) ข้อมูลเกี่ยวกับอิทธิพลของบรรจุภัณฑ์ในการซื้อเครื่องสำอางต่อการตัดสินใจและระดับการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอาง 5) ข้อเสนอแนะของผู้ตอบแบบสอบถาม
ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มี อายุ 36 – 40 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 50,000 - 60,000 บาท และค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องสำอางแต่ละครั้งโดยเฉลี่ย 1,000 - 5,000 บาท ในด้านปัจจัยพฤติกรรมผู้บริโภคด้านส่วนประสมการตลาดให้ความสำคัญในระดับมากที่สุดในด้านราคา รองลงมาเป็นด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านช่องทางในการจัดจำหน่าย ตามลำดับ ปัจจัยพฤติกรรมผู้บริโภคในด้านการตอบสนองของผู้ซื้อและลักษณะของผู้ซื้อ (ปัจจัยด้านจิตวิทยา) ให้ความสำคัญในระดับมากที่สุดโดยสูงสุดในด้านการตอบสนองของผู้ซื้อ รองลงมาลักษณะของผู้ซื้อ (ปัจจัยด้านจิตวิทยา) ในด้านกระบวนการตัดสินใจมีการตัดสินใจในระดับมากที่สุดในด้านการตัดสินใจซื้อ รองลงมาด้านพฤติกรรมภายหลังการซื้อ ด้านการประเมินทางเลือก ด้านการรับรู้ปัญหา และด้านการค้นหาข้อมูล ปัจจัยภาพลักษณ์และตราสินค้าในการซื้อเครื่องสำอางมีผลต่อการตัดสินใจในระดับมากที่สุดโดยสูงสุด ตราสินค้ามีความน่าเชื่อถือมีมาตรฐานรองรับจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อ.ย. ในด้านอิทธิพลของบรรจุภัณฑ์ในการซื้อเครื่องสำอางมีผลต่อการตัดสินใจในระดับมากที่สุด มีการตัดสินใจสูงสุดในด้านรูปทรงของบรรจุภัณฑ์สามารถสร้างความเป็นเอกลักษณ์ของสินค้าได้
ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคลด้านระดับการศึกษามีผลต่ออิทธิพลของบรรจุภัณฑ์ในการซื้อเครื่องสำอางแตกต่างกัน โดยกลุ่มพนักงานต้อนรับหญิงบนเครื่องบินสายการบินไทยระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีจะให้ความสำคัญต่ออิทธิพลของบรรจุภัณฑ์ในการซื้อเครื่องสำอางต่ำกว่ากลุ่มพนักงานต้อนรับหญิงบนเครื่องบินสายการบินไทยระดับการศึกษาปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก ปัจจัยพฤติกรรมผู้บริโภคในด้านส่วนประสมการตลาดของเครื่องสำอางมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่ออิทธิพลของบรรจุภัณฑ์ในการซื้อเครื่องสำอาง โดยด้านการส่งเสริมการตลาดมีความสัมพันธ์สูงสุด รองลงมาเป็นด้านช่องทางในการจัดจำหน่าย ด้านราคา และด้านผลิตภัณฑ์ตามลำดับ ปัจจัยพฤติกรรมผู้บริโภคในการซื้อเครื่องสำอางมีความสัมพันธ์กับอิทธิพลของบรรจุภัณฑ์ในการซื้อเครื่องสำอาง โดยด้านการตอบสนองของผู้ซื้อและลักษณะของผู้ซื้อ (ปัจจัยด้านจิตวิทยา) มีความสัมพันธ์เชิงบวกโดยด้านการตอบสนองของผู้ซื้อมีความสัมพันธ์สูงสุด รองลงมาด้านลักษณะของผู้ซื้อ (ปัจจัยด้านจิตวิทยา) และด้านกระบวนการตัดสินใจซื้อมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่ออิทธิพลของบรรจุภัณฑ์ในการซื้อเครื่องสำอาง โดยด้านพฤติกรรมภายหลังการซื้อมีความสัมพันธ์สูงสุด รองลงมาเป็นด้านการประเมินทางเลือก ด้านการค้นหาข้อมูล ด้านการตัดสินใจซื้อ และด้านการรับรู้ปัญหาตามลำดับ และ ปัจจัยภาพลักษณ์ตราสินค้าเครื่องสำอางมีความสัมพันธ์เชิงบวกในต่ออิทธิพลของบรรจุภัณฑ์ในการซื้อเครื่องสำอางเช่นกันCurricular : BBA/MBA Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27992 Hold
Place a hold on this item
Copies
Barcode Call number Media type Location Section Status 32002000607454 SIU IS-T: SOM-MBA-2019-03 c.2 SIU Independent Study Graduate Library Thesis Corner Available 32002000607453 SIU IS-T: SOM-MBA-2019-03 c.1 SIU Independent Study Main Library Thesis Corner Available