From this page you can:
Home |
Author details
Author สุชาวดี รุ่งแจ้ง
Available item(s) by this author
Add the result to your basket Make a suggestion Refine your search Apply to external sourcesการจัดการอาการในผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลาม / สุชาวดี รุ่งแจ้ง in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, Vol.27 No.2 (ก.ค-ธ.ค) 2559/2016 ([11/16/2017])
[article]
Title : การจัดการอาการในผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลาม Original title : สุชาวดี รุ่งแจ้ง, รัชนี นามจันทรา Material Type: printed text Authors: สุชาวดี รุ่งแจ้ง, Author ; รัชนี นามจันทรา, Author Publication Date: 2017 Article on page: p.43-57 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.27 No.2 (ก.ค-ธ.ค) 2559/2016 [11/16/2017] . - p.43-57Keywords: ผู้ป่วยมะเร็งปอด.มะเร็งปอดระยะลุกลาม.อาการ.วิธีการจัดการอาการ. Abstract: การวิจัยเชิงบรรยายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) อาการ และความรุนแรงของอาการในผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลาม และ 2) วิธีการจัดการอาการ และผลลัพธ์ของการจัดการอาการในผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลาม
กลุ่มตัวอย่างเลือกอย่างเฉพาะเจาะจงจากผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลามที่มารับบริการ ณ หน่วยผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ จำนวน 83 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับความเจ็บป่วย และแบบสัมภาษณ์อาการ ความรุนแรงของอาการ วิธีการจัดการอาการ และผลลัพธ์ของการจัดการอาการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า อาการที่พบบ่อย 5 อันดับแรก ได้แก่ ปวด ไอ เหนื่อยล้า หายใจลำบาก และเบื่ออาหาร เรียงลำดับตามความรุนแรงในอาการที่พบบ่อยได้เป็น เบื่ออาหาร ปวด เหนื่อยล้า หายใจลำบาก และไอ ตามลำดับ โดยอาการปวดเป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด ในขณะที่อาการเบื่ออาหารมีค่าเฉลี่ยความรุนแรงสูงที่สุด ผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลามใช้วิธีการหลายๆ วิธีในการจัดการอาการแต่ละอาการ วิธีการจัดการอาการที่พบบ่อย 5 อันดับแรก มีดังนี้ 1) อาการปวด ใช้วิธีการรับประทานยาแก้ปวดทุกครั้งที่มีอาการ 2) อาการไอ ใช้วิธีจิบน้ำอุ่น/ดื่มน้ำ และรับประทานยาละลายเสมหะ 3) อาการเหนื่อยล้า ใช้วิธีการนั่งพัก/นอนพักช่วงกลางวัน 4) อาการหายใจลำบาก ใช้วิธีการนั่งพัก/นอนพัก และ 5) อาการเบื่ออาหาร ใช้วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่น รับประทานอาหารหรือผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว หรือดื่มเครื่องดื่มอาหารเสริมระหว่างมื้ออาหาร ผลลัพธ์ของการจัดการอาการของผู้ป่วยโดยรวมเป็นไปในทางที่ดี คือ มีอาการทุเลา
ผลการศึกษานี้เป็นข้อมูลในการวางแผนการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลาม เพื่อลดความรุนแรงและบรรเทาอาการจากโรค ในการให้ข้อมูล ให้คำปรึกษา รวมทั้งสนับสนุนให้ผู้ป่วยและญาติมีการจัดการอาการด้วยตนเองให้สอดคล้องกับความต้องการในการดำเนินชีวิตประจำวัน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลาม
Link for e-copy: http://www.thaicvtnurse.org/index.php?option=com Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27488 [article] การจัดการอาการในผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลาม = สุชาวดี รุ่งแจ้ง, รัชนี นามจันทรา [printed text] / สุชาวดี รุ่งแจ้ง, Author ; รัชนี นามจันทรา, Author . - 2017 . - p.43-57.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.27 No.2 (ก.ค-ธ.ค) 2559/2016 [11/16/2017] . - p.43-57Keywords: ผู้ป่วยมะเร็งปอด.มะเร็งปอดระยะลุกลาม.อาการ.วิธีการจัดการอาการ. Abstract: การวิจัยเชิงบรรยายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) อาการ และความรุนแรงของอาการในผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลาม และ 2) วิธีการจัดการอาการ และผลลัพธ์ของการจัดการอาการในผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลาม
กลุ่มตัวอย่างเลือกอย่างเฉพาะเจาะจงจากผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลามที่มารับบริการ ณ หน่วยผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ จำนวน 83 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับความเจ็บป่วย และแบบสัมภาษณ์อาการ ความรุนแรงของอาการ วิธีการจัดการอาการ และผลลัพธ์ของการจัดการอาการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า อาการที่พบบ่อย 5 อันดับแรก ได้แก่ ปวด ไอ เหนื่อยล้า หายใจลำบาก และเบื่ออาหาร เรียงลำดับตามความรุนแรงในอาการที่พบบ่อยได้เป็น เบื่ออาหาร ปวด เหนื่อยล้า หายใจลำบาก และไอ ตามลำดับ โดยอาการปวดเป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด ในขณะที่อาการเบื่ออาหารมีค่าเฉลี่ยความรุนแรงสูงที่สุด ผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลามใช้วิธีการหลายๆ วิธีในการจัดการอาการแต่ละอาการ วิธีการจัดการอาการที่พบบ่อย 5 อันดับแรก มีดังนี้ 1) อาการปวด ใช้วิธีการรับประทานยาแก้ปวดทุกครั้งที่มีอาการ 2) อาการไอ ใช้วิธีจิบน้ำอุ่น/ดื่มน้ำ และรับประทานยาละลายเสมหะ 3) อาการเหนื่อยล้า ใช้วิธีการนั่งพัก/นอนพักช่วงกลางวัน 4) อาการหายใจลำบาก ใช้วิธีการนั่งพัก/นอนพัก และ 5) อาการเบื่ออาหาร ใช้วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่น รับประทานอาหารหรือผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว หรือดื่มเครื่องดื่มอาหารเสริมระหว่างมื้ออาหาร ผลลัพธ์ของการจัดการอาการของผู้ป่วยโดยรวมเป็นไปในทางที่ดี คือ มีอาการทุเลา
ผลการศึกษานี้เป็นข้อมูลในการวางแผนการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลาม เพื่อลดความรุนแรงและบรรเทาอาการจากโรค ในการให้ข้อมูล ให้คำปรึกษา รวมทั้งสนับสนุนให้ผู้ป่วยและญาติมีการจัดการอาการด้วยตนเองให้สอดคล้องกับความต้องการในการดำเนินชีวิตประจำวัน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลาม
Link for e-copy: http://www.thaicvtnurse.org/index.php?option=com Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27488