[article] Title : | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ : ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ | Original title : | Factors related to smoking cessation behavior among patients after coronary artery bypass graft | Material Type: | printed text | Authors: | ชนิดา รำขวัญ, Author ; กุสุมา คุววัฒนสัมฤทธิ์, Author ; อรสา พันธ์ภักดี, Author | Publication Date: | 2017 | Article on page: | p.2-16 | Languages : | Thai (tha) Original Language : Thai (tha) | in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.27 No.2 (ก.ค-ธ.ค) 2559/2016 [11/16/2017] . - p.2-16Keywords: | พฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่.ผู้ป่วยหลังผ่าตัด.CAGB.การรับรู้ประโยชน์.การรับรู็อุปสรรคการรับรู้สมรรถนะแห่งตน | Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Bypass Graft: CABG) ภายใต้กรอบแนวคิดทฤษฎีส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป เป็นผู้ป่วยหลังผ่าตัด CABG อย่างน้อย 6 เดือน มีประวัติการสูบบุหรี่ หรือเลิกสูบบุหรี่ จำนวน 146 คน เก็บข้อมูลผู้ป่วยที่มาตรวจตามนัดที่หน่วยตรวจผู้ป่วยนอกแผนกศัลยกรรมโรงพยาบาลรามาธิบดี โดยใช้แบบสอบถาม 2 ชุดคือ ชุดที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ชุดที่ 2 แบบสอบถามความคิดและอารมณ์ที่มีต่อพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบสถิติไคสแควร์และสหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน
ผลการศึกษา พบว่า CABG (\dpi{200} ^{x}2 = 5.36, p <.05) แลยังพบว่า ระดับการติดนิโคติน การรับรู้ประโยชน์ของการเลิกสูบบุหรี่ การรับรู้อุปสรรคของการเลิกสูบบุหรี่ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการเลิกสูบบุหรี่มีความสัมพันธ์ กับพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่หลังผ่าตัด CABG (r = -.921, r = .316, r = -.443 และ r = .563, p <.01) ตามลำดับ
ผลการวิจัยครั้งนี้เสนอแนะว่า พยาบาลควรคำนึงถึงปัจจัย เพศ ระดับการติดนิโคติน การรับรู้ประโยชน์ของการเลิกสูบบุหรี่ การรับรู้อุปสรรคของการเลิกสูบบุหรี่และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการเลิกสูบบุหรี่ เพื่อใช้ในการประเมินและการพิจารณาการแก้ไขปัญหาการสูบบุหรี่ในผู้ป่วยหลังผ่าตัด และส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถเลิกบุหรี่ได้มากขึ้น ส่งผลให้ลดปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับการเกิดโรคหัวใจ และลดการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดหัวใจได้เพิ่มขึ้น | Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27485 |
[article] ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ = Factors related to smoking cessation behavior among patients after coronary artery bypass graft : ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ [printed text] / ชนิดา รำขวัญ, Author ; กุสุมา คุววัฒนสัมฤทธิ์, Author ; อรสา พันธ์ภักดี, Author . - 2017 . - p.2-16. Languages : Thai ( tha) Original Language : Thai ( tha) in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.27 No.2 (ก.ค-ธ.ค) 2559/2016 [11/16/2017] . - p.2-16Keywords: | พฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่.ผู้ป่วยหลังผ่าตัด.CAGB.การรับรู้ประโยชน์.การรับรู็อุปสรรคการรับรู้สมรรถนะแห่งตน | Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Bypass Graft: CABG) ภายใต้กรอบแนวคิดทฤษฎีส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป เป็นผู้ป่วยหลังผ่าตัด CABG อย่างน้อย 6 เดือน มีประวัติการสูบบุหรี่ หรือเลิกสูบบุหรี่ จำนวน 146 คน เก็บข้อมูลผู้ป่วยที่มาตรวจตามนัดที่หน่วยตรวจผู้ป่วยนอกแผนกศัลยกรรมโรงพยาบาลรามาธิบดี โดยใช้แบบสอบถาม 2 ชุดคือ ชุดที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ชุดที่ 2 แบบสอบถามความคิดและอารมณ์ที่มีต่อพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบสถิติไคสแควร์และสหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน
ผลการศึกษา พบว่า CABG (\dpi{200} ^{x}2 = 5.36, p <.05) แลยังพบว่า ระดับการติดนิโคติน การรับรู้ประโยชน์ของการเลิกสูบบุหรี่ การรับรู้อุปสรรคของการเลิกสูบบุหรี่ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการเลิกสูบบุหรี่มีความสัมพันธ์ กับพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่หลังผ่าตัด CABG (r = -.921, r = .316, r = -.443 และ r = .563, p <.01) ตามลำดับ
ผลการวิจัยครั้งนี้เสนอแนะว่า พยาบาลควรคำนึงถึงปัจจัย เพศ ระดับการติดนิโคติน การรับรู้ประโยชน์ของการเลิกสูบบุหรี่ การรับรู้อุปสรรคของการเลิกสูบบุหรี่และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการเลิกสูบบุหรี่ เพื่อใช้ในการประเมินและการพิจารณาการแก้ไขปัญหาการสูบบุหรี่ในผู้ป่วยหลังผ่าตัด และส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถเลิกบุหรี่ได้มากขึ้น ส่งผลให้ลดปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับการเกิดโรคหัวใจ และลดการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดหัวใจได้เพิ่มขึ้น | Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27485 |
|