Collection Title: | SIU THE-T | Title : | ความศรัทธาของนักธุรกิจต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่สรรพากร | Original title : | The Faith of Businessmen in the Work Operation of Police Officers and Tax Revenue Officers | Material Type: | printed text | Authors: | นัชพณ ฤทธิ์คำรพ, Author ; วรเดช จันทรศร, Associated Name ; อุมาหฤทัย วรรณศรี, Associated Name | Publisher: | กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร | Publication Date: | 2017 | Pagination: | xi, 172 น. | Layout: | ภาพประกอบ, ตาราง | Size: | 30 ซม. | Price: | 500.00 | General note: | SIU THE-T: IPAG-DPA-2017-01
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2017 | Languages : | Thai (tha) | Descriptors: | [LCSH]ความเชื่อถือได้ [LCSH]นักธุรกิจ [LCSH]เจ้าหน้าที่ตำรวจ -- การปฏิบัติงาน [LCSH]เจ้าหน้าที่สรรพากร -- การปฏิบัติงาน
| Keywords: | ความศรัทธา,
เจ้าหน้าที่ตำรวจ,
เจ้าหน้าที่สรรพากร | Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความศรัทธาของนักธุรกิจต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่สรรพากร และ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความศรัทธาของนักธุรกิจต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่สรรพากร
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้การสำรวจเก็บข้อมูลจากนักธุรกิจเอกชน ในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดจันทบุรี จำนวน 392 คน จากประชากรนักธุรกิจเอกชน จำนวน 20,055 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ใช้แบบสอบถามที่ผ่านตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและความเชื่อมั่น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวและการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ
ผลการวิจัยพบว่า ระดับความศรัทธาของนักธุรกิจต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 2.96) และ เจ้าหน้าสรรพากร อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.11)
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความศรัทธาของนักธุรกิจต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และ มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เห็นจากค่าสัมประสิทธิ์มากไปหาน้อย ได้แก่ 1) ภาวะผู้นำ (X1) 2) พฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติ (X2) และ 3) ประสิทธิภาพของกลไกในการตรวจสอบและถ่วงดุล (X4) โดยมีสมการพยากรณ์ Ý1 = 0.596 + 0.474X1 + 0.268X2 + 0.156X4 และ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ R2 = 0.515
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความศรัทธาของนักธุรกิจต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สรรพากรเจ้าหน้าที่สรรพากรและมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เห็นจากค่าสัมประสิทธิ์มากไปหาน้อย ได้แก่ 1) ประสิทธิภาพของกลไกในการตรวจสอบและถ่วงดุล (X4) 2) พฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ (X2) 3) ภาวะผู้นำ (X1) และ 4) ประสิทธิภาพของการสื่อสาร (X3) โดยมีสมการพยากรณ์ Ý2 = 0.327 + 0.107X1 + 0.353X2 + 0.212X3 + 0.380X4 และ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ R2 = 0.659
ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจจะได้รับความศรัทธาจากนักธุรกิจมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับภาวะผู้นำ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าระบบของตำรวจยังไม่ดีพอ ส่วนเจ้าหน้าที่สรรพากร จะได้รับความศรัทธาจากนักธุรกิจมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับระบบการตรวจสอบและถ่วงดุล
จึงเห็นว่าสองหน่วยงานแตกต่างกัน ทั้งนี้ เนื่องจากระบบงานของตำรวจตามทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์ เป็นระบบราชการแบบดั้งเดิม การบริหารขึ้นอยู่กับภาวะผู้นำ เป็นการบริหารจัดการภาครัฐที่เน้นสายบังคับบัญชา มีขั้นตอนการควบคุมที่มีความชัดเจน และส่วนระบบงานของสรรพากรเป็นการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ มีการใช้ระบบการตรวจสอบและถ่วงดุล เพื่อป้องกันมิให้อำนาจอยู่ในมือของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเพียงฝ่ายเดียว | Curricular : | BBA/GE/MBA | Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26627 |
SIU THE-T. ความศรัทธาของนักธุรกิจต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่สรรพากร = The Faith of Businessmen in the Work Operation of Police Officers and Tax Revenue Officers [printed text] / นัชพณ ฤทธิ์คำรพ, Author ; วรเดช จันทรศร, Associated Name ; อุมาหฤทัย วรรณศรี, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2017 . - xi, 172 น. : ภาพประกอบ, ตาราง ; 30 ซม. 500.00 SIU THE-T: IPAG-DPA-2017-01
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2017 Languages : Thai ( tha) Descriptors: | [LCSH]ความเชื่อถือได้ [LCSH]นักธุรกิจ [LCSH]เจ้าหน้าที่ตำรวจ -- การปฏิบัติงาน [LCSH]เจ้าหน้าที่สรรพากร -- การปฏิบัติงาน
| Keywords: | ความศรัทธา,
เจ้าหน้าที่ตำรวจ,
เจ้าหน้าที่สรรพากร | Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความศรัทธาของนักธุรกิจต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่สรรพากร และ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความศรัทธาของนักธุรกิจต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่สรรพากร
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้การสำรวจเก็บข้อมูลจากนักธุรกิจเอกชน ในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดจันทบุรี จำนวน 392 คน จากประชากรนักธุรกิจเอกชน จำนวน 20,055 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ใช้แบบสอบถามที่ผ่านตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและความเชื่อมั่น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวและการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ
ผลการวิจัยพบว่า ระดับความศรัทธาของนักธุรกิจต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 2.96) และ เจ้าหน้าสรรพากร อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.11)
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความศรัทธาของนักธุรกิจต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และ มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เห็นจากค่าสัมประสิทธิ์มากไปหาน้อย ได้แก่ 1) ภาวะผู้นำ (X1) 2) พฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติ (X2) และ 3) ประสิทธิภาพของกลไกในการตรวจสอบและถ่วงดุล (X4) โดยมีสมการพยากรณ์ Ý1 = 0.596 + 0.474X1 + 0.268X2 + 0.156X4 และ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ R2 = 0.515
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความศรัทธาของนักธุรกิจต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สรรพากรเจ้าหน้าที่สรรพากรและมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เห็นจากค่าสัมประสิทธิ์มากไปหาน้อย ได้แก่ 1) ประสิทธิภาพของกลไกในการตรวจสอบและถ่วงดุล (X4) 2) พฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ (X2) 3) ภาวะผู้นำ (X1) และ 4) ประสิทธิภาพของการสื่อสาร (X3) โดยมีสมการพยากรณ์ Ý2 = 0.327 + 0.107X1 + 0.353X2 + 0.212X3 + 0.380X4 และ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ R2 = 0.659
ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจจะได้รับความศรัทธาจากนักธุรกิจมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับภาวะผู้นำ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าระบบของตำรวจยังไม่ดีพอ ส่วนเจ้าหน้าที่สรรพากร จะได้รับความศรัทธาจากนักธุรกิจมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับระบบการตรวจสอบและถ่วงดุล
จึงเห็นว่าสองหน่วยงานแตกต่างกัน ทั้งนี้ เนื่องจากระบบงานของตำรวจตามทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์ เป็นระบบราชการแบบดั้งเดิม การบริหารขึ้นอยู่กับภาวะผู้นำ เป็นการบริหารจัดการภาครัฐที่เน้นสายบังคับบัญชา มีขั้นตอนการควบคุมที่มีความชัดเจน และส่วนระบบงานของสรรพากรเป็นการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ มีการใช้ระบบการตรวจสอบและถ่วงดุล เพื่อป้องกันมิให้อำนาจอยู่ในมือของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเพียงฝ่ายเดียว | Curricular : | BBA/GE/MBA | Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26627 |
|