From this page you can:
Home |
วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย / คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย . Vol.27 No.3 (Sep-Dec) 2015/2558Published date : 06/27/2016 |
Available articles
Add the result to your basketบริการส่งเสริมสุขภาพสำหรับนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ / ดาริกา เยือกเย็น in วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, Vol.27 No.3 (Sep-Dec) 2015/2558 ([06/27/2016])
[article]
Title : บริการส่งเสริมสุขภาพสำหรับนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ : ที่พำนักระยะยาวในประเทศไทย Original title : Health promotion services for long-stay health tourists in Thailand Material Type: printed text Authors: ดาริกา เยือกเย็น, Author ; บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร, Author Publication Date: 2016 Article on page: p.1-9 General note: เพื่อศึกษาบริการส่งเสริมสุขภาพซึ่งโรงพยาบาลเอกชนควรจัดบริการแก่นักท่องเที่ยวเชองสุขภาพที่พำนักระยะยาวในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงพรรณา ใช้เทคนิค EDFR กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 17 คน รวบรวมความคิดเห็นที่สอดคล้องจากผู้เชี่ยวชาญโดยใช้เทคนิคเดลฟาย จำนวน 3 รอบ รอบที่ 1 ใช้แบบสัมภาษณ์ปลายเปิด รอบที่ 2 ใช้แบบสอบถามมาตรประเมินค่า และรอบที่ 3 ให้ผู้เชี่ยวชาญทบทวนความคิดเห็นของตนเองเพื่อยืนยันคำตอบ หรือเปลี่ยนแปลงคำตอบได้ตามที่ระบุระดับความสำคัญของรายการบริการส่งเสริมสุขภาพในรอบที่่ 2 คัดเลือกบริการส่งเสริมสุขภาพโดยพิจารณาจากค่ามัธยฐานระดับมากขึ้นไป และเป็นความคิดเห็นที่สอดคล้องกันของผู้เชี่ยวชาญ (Md มากกว่า หรือเท่ากับ 3.50, IR น้อยกว่าหรือเท่ากัย 1.50) ผลการวิจัย บริการส่งเสริมสุขภาพโรงพยาบาลเอกชน ควรจัดบริการแก่นักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่่พำนักระยะยาวในประเทศไทย ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1. บริการส่งเสริมสุขภาพด้านร่างกาย 2. บริการส่งเสริมสุขภาพด้านจิตใจ 3. บริการส่งเสริมสุขภาพด้านสังคม 4. บริการส่งเสริมสุขภาพด้านจิตวิญญาณ และ 5. บริการส่งเสริมสุขภาพที่มีความปลอดภัย สรุปผลการวิจัย โรงพยาบาลเอกชนควรจัดบริการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม ที่ครอบคลุมทั้งการส่งเสริมสุขภาพกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ที่เน้นความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่พำนักระยะยาวในประเทศไทย
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย > Vol.27 No.3 (Sep-Dec) 2015/2558 [06/27/2016] . - p.1-9Keywords: บริการส่งเสริมสุขภาพ.ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในประเทศไทย. Link for e-copy: http://tci-thaijo.org/index.php/CUNS Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=25529 [article] บริการส่งเสริมสุขภาพสำหรับนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ = Health promotion services for long-stay health tourists in Thailand : ที่พำนักระยะยาวในประเทศไทย [printed text] / ดาริกา เยือกเย็น, Author ; บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร, Author . - 2016 . - p.1-9.
เพื่อศึกษาบริการส่งเสริมสุขภาพซึ่งโรงพยาบาลเอกชนควรจัดบริการแก่นักท่องเที่ยวเชองสุขภาพที่พำนักระยะยาวในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงพรรณา ใช้เทคนิค EDFR กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 17 คน รวบรวมความคิดเห็นที่สอดคล้องจากผู้เชี่ยวชาญโดยใช้เทคนิคเดลฟาย จำนวน 3 รอบ รอบที่ 1 ใช้แบบสัมภาษณ์ปลายเปิด รอบที่ 2 ใช้แบบสอบถามมาตรประเมินค่า และรอบที่ 3 ให้ผู้เชี่ยวชาญทบทวนความคิดเห็นของตนเองเพื่อยืนยันคำตอบ หรือเปลี่ยนแปลงคำตอบได้ตามที่ระบุระดับความสำคัญของรายการบริการส่งเสริมสุขภาพในรอบที่่ 2 คัดเลือกบริการส่งเสริมสุขภาพโดยพิจารณาจากค่ามัธยฐานระดับมากขึ้นไป และเป็นความคิดเห็นที่สอดคล้องกันของผู้เชี่ยวชาญ (Md มากกว่า หรือเท่ากับ 3.50, IR น้อยกว่าหรือเท่ากัย 1.50) ผลการวิจัย บริการส่งเสริมสุขภาพโรงพยาบาลเอกชน ควรจัดบริการแก่นักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่่พำนักระยะยาวในประเทศไทย ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1. บริการส่งเสริมสุขภาพด้านร่างกาย 2. บริการส่งเสริมสุขภาพด้านจิตใจ 3. บริการส่งเสริมสุขภาพด้านสังคม 4. บริการส่งเสริมสุขภาพด้านจิตวิญญาณ และ 5. บริการส่งเสริมสุขภาพที่มีความปลอดภัย สรุปผลการวิจัย โรงพยาบาลเอกชนควรจัดบริการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม ที่ครอบคลุมทั้งการส่งเสริมสุขภาพกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ที่เน้นความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่พำนักระยะยาวในประเทศไทย
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยชุมชนมีส่วนร่วมต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร / ธัญจิรา พิลาศรี in วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, Vol.27 No.3 (Sep-Dec) 2015/2558 ([06/27/2016])
[article]
Title : ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยชุมชนมีส่วนร่วมต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร : พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และภาวะโภชนาการในผู้หญิงที่มีความเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุงในชุมชน Original title : Effect of behavioral modification program using community participation on food consumption behaviors alcohol consumption behaviors and nutritional status in women at risk for metabolic syndrome in communities Material Type: printed text Authors: ธัญจิรา พิลาศรี, Author ; นพวรรณ เปียชื่อ, Author ; สุจินดา จารุพัฒน์ มารุโอ, Author Publication Date: 2016 Article on page: p.10-25 General note:
1. เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และภาวะโภชนาการของกลุ่มทดลองระหว่างก่อนและหลังได้รับโปรแกรม และ 2. เปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และภาวะโภชนาการระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ใช้รูปแบบการวิจัย แบบกึ่งทดลอง ประชากรที่ใช้เป็นกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้หญิงที่มีความเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุงในชุมชน 2 แห่ง ของจังหวัดสุรินทร์ เป็นกลุ่มควบคุม 35 ราย และกลุ่มทดลอง 35 ราย ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย สถิติที และสถิติแมนวิทนีย์ อู ผลการวิจัย 1. พฤติกรรมการบริโภคอาหารของกลุ่มทดลองภายหลังได้รับโปรแกรมดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรม (p น้อยกว่า .001) และดีกว่ากลุ่มควบคุม (p น้อยกว่า .001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของกลุ่มทดลองในระยะหลักทดลองดีกว่าก่อนทดลอง (p น้อยกว่า .001) และดีกว่ากลุ่มควบคุม (p เท่ากับ .02) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ 3. ภาวะโภชนาการ ได้แก่ เส้นรอบเอว ระดับน้ำตาลในเลือด และไตรกลีเซอไรด์ในหลอดเลือดของกลุ่มทดลองดีกว่ากลุ่มก่อนทดลอง (p น้อยกว่า .001) และดีกว่ากลุ่มควบคุม (p น้อยกว่า .001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป ผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะต่อพยาบาล เจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพ และเครือข่ายชุมชนในการติดตามภาวะเสี่ยงของโรคอ้วนลงพุง และส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการดูแลสุขภาพทั้งการบริโภคอาหาร การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อให้สามารถควบคุมภาวะเสี่ยงโรคอ้วนลงพุงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย > Vol.27 No.3 (Sep-Dec) 2015/2558 [06/27/2016] . - p.10-25Keywords: โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม.ชุมชนมีส่วนร่วม.พฤติกรรมการบริโภคอาหารพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอลฺ.ภาวะโภชนาการ.โรคอ้วนลงพุง Link for e-copy: http://tci-thaijo.org/index.php/CUNS Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=25530 [article] ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยชุมชนมีส่วนร่วมต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร = Effect of behavioral modification program using community participation on food consumption behaviors alcohol consumption behaviors and nutritional status in women at risk for metabolic syndrome in communities : พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และภาวะโภชนาการในผู้หญิงที่มีความเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุงในชุมชน [printed text] / ธัญจิรา พิลาศรี, Author ; นพวรรณ เปียชื่อ, Author ; สุจินดา จารุพัฒน์ มารุโอ, Author . - 2016 . - p.10-25.
1. เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และภาวะโภชนาการของกลุ่มทดลองระหว่างก่อนและหลังได้รับโปรแกรม และ 2. เปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และภาวะโภชนาการระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ใช้รูปแบบการวิจัย แบบกึ่งทดลอง ประชากรที่ใช้เป็นกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้หญิงที่มีความเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุงในชุมชน 2 แห่ง ของจังหวัดสุรินทร์ เป็นกลุ่มควบคุม 35 ราย และกลุ่มทดลอง 35 ราย ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย สถิติที และสถิติแมนวิทนีย์ อู ผลการวิจัย 1. พฤติกรรมการบริโภคอาหารของกลุ่มทดลองภายหลังได้รับโปรแกรมดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรม (p น้อยกว่า .001) และดีกว่ากลุ่มควบคุม (p น้อยกว่า .001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของกลุ่มทดลองในระยะหลักทดลองดีกว่าก่อนทดลอง (p น้อยกว่า .001) และดีกว่ากลุ่มควบคุม (p เท่ากับ .02) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ 3. ภาวะโภชนาการ ได้แก่ เส้นรอบเอว ระดับน้ำตาลในเลือด และไตรกลีเซอไรด์ในหลอดเลือดของกลุ่มทดลองดีกว่ากลุ่มก่อนทดลอง (p น้อยกว่า .001) และดีกว่ากลุ่มควบคุม (p น้อยกว่า .001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป ผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะต่อพยาบาล เจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพ และเครือข่ายชุมชนในการติดตามภาวะเสี่ยงของโรคอ้วนลงพุง และส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการดูแลสุขภาพทั้งการบริโภคอาหาร การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อให้สามารถควบคุมภาวะเสี่ยงโรคอ้วนลงพุงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)ประสบการณ์การมีอาการอ่อนล้า กลวิธีการจัดการกับอาการการสนับสนุนจากครอบครัว / พรพิมล วดีศิริศักดิ์ in วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, Vol.27 No.3 (Sep-Dec) 2015/2558 ([06/27/2016])
[article]
Title : ประสบการณ์การมีอาการอ่อนล้า กลวิธีการจัดการกับอาการการสนับสนุนจากครอบครัว : และคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต Material Type: printed text Authors: พรพิมล วดีศิริศักดิ์, Author ; วิไลวรรณ ทองเจริญ, Author ; จันทนา รณฤทธิวิชัย, Author Publication Date: 2016 Article on page: p.26-37 General note: เพื่อ..ศึกษาประสยการณืการมีอาการอ่อนล้า กลวิธีการจัดการรกับอาการ การสนับสนุนจากครอบครัวและคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุโรคไดเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต ใช้การวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต จำนวน 126 ราย เครื่องมือที่ใช้ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล, แบบประเมินประสบการณ์การมีอาการอ่อนล้า, แบบประเมินกลวิธีการจัดการกับอาการอ่อนล้า, แบบประเมินการสนับสนุนจากครอบครัว, แบบประเมินคุณภาพชีวิต มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าครอนบาคของแบบสอบถามที่ 2,4, 5 เท่ากับ .87 .97 และ .85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสหสัมพันธฺเพียร์สัน ผลการวิจัย ประสบการณ์การมีอาการอ่อนล้าโดยรวมของผู้สูงอายุในระดับปานกลาง กลวิธีการจัดการกับอาการอ่อนล้าที่ผู้ป่วยปฏิบัติมากที่สุด ได้แก่ การนอนกลับ ซึ่งมีประสิทธิภาพในระดับปานกลาง การสนับสนุนจากครอบครัวโดยรวมอยู่ในระดับมาก คุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับดี ประสบการณ์การมีอาการอ่อนล้าด้านพฤติกรรม หรือความรุนแรง และด้านความหมายเชิงอารมณ์ มีความสัมพันธ์เชิงลบกับคุณภาพชีวิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 ตามลำดับ การสนับสนุนจากครอบครัวโดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพชีวิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 สรุป สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการวางแผนการพยาบาล เพื่อป้องกันและจัดการกับอาการอ่อนล้าตามบริบทของผู้ป่วย เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย > Vol.27 No.3 (Sep-Dec) 2015/2558 [06/27/2016] . - p.26-37Keywords: อาการอ่อนล้า.กลวิธีการจัดการกับอาการ.การสนับสนุนจากครอบครัว.คุณภาพชีวิต. Link for e-copy: http://tci-thaijo.org/index.php/CUNS Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=25531 [article] ประสบการณ์การมีอาการอ่อนล้า กลวิธีการจัดการกับอาการการสนับสนุนจากครอบครัว : และคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต [printed text] / พรพิมล วดีศิริศักดิ์, Author ; วิไลวรรณ ทองเจริญ, Author ; จันทนา รณฤทธิวิชัย, Author . - 2016 . - p.26-37.
เพื่อ..ศึกษาประสยการณืการมีอาการอ่อนล้า กลวิธีการจัดการรกับอาการ การสนับสนุนจากครอบครัวและคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุโรคไดเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต ใช้การวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต จำนวน 126 ราย เครื่องมือที่ใช้ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล, แบบประเมินประสบการณ์การมีอาการอ่อนล้า, แบบประเมินกลวิธีการจัดการกับอาการอ่อนล้า, แบบประเมินการสนับสนุนจากครอบครัว, แบบประเมินคุณภาพชีวิต มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าครอนบาคของแบบสอบถามที่ 2,4, 5 เท่ากับ .87 .97 และ .85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสหสัมพันธฺเพียร์สัน ผลการวิจัย ประสบการณ์การมีอาการอ่อนล้าโดยรวมของผู้สูงอายุในระดับปานกลาง กลวิธีการจัดการกับอาการอ่อนล้าที่ผู้ป่วยปฏิบัติมากที่สุด ได้แก่ การนอนกลับ ซึ่งมีประสิทธิภาพในระดับปานกลาง การสนับสนุนจากครอบครัวโดยรวมอยู่ในระดับมาก คุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับดี ประสบการณ์การมีอาการอ่อนล้าด้านพฤติกรรม หรือความรุนแรง และด้านความหมายเชิงอารมณ์ มีความสัมพันธ์เชิงลบกับคุณภาพชีวิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 ตามลำดับ การสนับสนุนจากครอบครัวโดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพชีวิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 สรุป สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการวางแผนการพยาบาล เพื่อป้องกันและจัดการกับอาการอ่อนล้าตามบริบทของผู้ป่วย เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)การศึกษาวัฒนธรรมองค์การพยาบาล เครือโรงพยาบาลกรุงเทพดุสิตเวชการ / พิมพ์ชนก จามะรี in วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, Vol.27 No.3 (Sep-Dec) 2015/2558 ([06/27/2016])
[article]
Title : การศึกษาวัฒนธรรมองค์การพยาบาล เครือโรงพยาบาลกรุงเทพดุสิตเวชการ : กลุ่มตะวันออก Original title : A study of nursing organizational culture Bangkok Dusit Medical service, Eastern group Material Type: printed text Authors: พิมพ์ชนก จามะรี, Author ; กัญญตา ประจุศิลป์, Author Publication Date: 2016 Article on page: p.38-49 General note: ศึกษาวัฒนธรรมองค์การพยาบาล เครือโรงพยาบาลกรุงเทพดุสิตเวชาการ กลุ่มภาคตะวันออก ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณา เทคนิดการวิจัยเชิงอนาคต กลุุ่มตัวอย่าง คือผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มผู้บริหารโรงพยาบาล และผู้เชี่ยวชาญกลุ่มผู้บริหารทางการพยาบาล ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มอาจารย์พยาบาล และผู้เชี่ยวชาญในองค์กรวิชาชีพ การดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 สัมภาษณ์ความคิดเห็นเกี่ยวกับวัฒนธรรมการพยาบาล เครือโรงพยาบาลกรุงเทพดุสิตเวชการ กลุุ่มภาคตะวันออก ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหาแล้วสร้างแบบสอบถามวัฒนธรรมองค์การพยาบาล และขั้นตอนที่ื 3 นำความคิดเห็นของผุ้เชี่ยวชาญทั้ง 17 คน มาคำนวณค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันความคิดเห็นอีกครั้ง ผลการวิจัย วัฒนธรรมองค์การพยาบาลเครือโรงพยาบาลกรุงเทพดุสิตเวชการ กลุ่มภาคตะวันออกประกอบด้วย 2 ด้าน จำนวน 40 ข้อรายการ ได้แก่ 1. วัฒนธรรมองค์การด้านบุคลากรพยาบาล และ 2. วัฒนธรรมองค์การด้านผู้บริหาร สรุปผลการวิจัย ผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถนำผลการวิจัยไปเป็นแนวทางในการจัดทำนโยบาย กลยุทธ์และแนวทางปฏิบัติที่สอดคล้องกับบริบทวัฒนธรรมขององค์การพยาบาล Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย > Vol.27 No.3 (Sep-Dec) 2015/2558 [06/27/2016] . - p.38-49Keywords: วัฒนธรรมองค์การพยาบาล.โรงพยาบาลกรุงเทพดุสิตเวชาการ. Link for e-copy: http://tci-thaijo.org/index.php/CUNS Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=25532 [article] การศึกษาวัฒนธรรมองค์การพยาบาล เครือโรงพยาบาลกรุงเทพดุสิตเวชการ = A study of nursing organizational culture Bangkok Dusit Medical service, Eastern group : กลุ่มตะวันออก [printed text] / พิมพ์ชนก จามะรี, Author ; กัญญตา ประจุศิลป์, Author . - 2016 . - p.38-49.
ศึกษาวัฒนธรรมองค์การพยาบาล เครือโรงพยาบาลกรุงเทพดุสิตเวชาการ กลุ่มภาคตะวันออก ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณา เทคนิดการวิจัยเชิงอนาคต กลุุ่มตัวอย่าง คือผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มผู้บริหารโรงพยาบาล และผู้เชี่ยวชาญกลุ่มผู้บริหารทางการพยาบาล ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มอาจารย์พยาบาล และผู้เชี่ยวชาญในองค์กรวิชาชีพ การดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 สัมภาษณ์ความคิดเห็นเกี่ยวกับวัฒนธรรมการพยาบาล เครือโรงพยาบาลกรุงเทพดุสิตเวชการ กลุุ่มภาคตะวันออก ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหาแล้วสร้างแบบสอบถามวัฒนธรรมองค์การพยาบาล และขั้นตอนที่ื 3 นำความคิดเห็นของผุ้เชี่ยวชาญทั้ง 17 คน มาคำนวณค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันความคิดเห็นอีกครั้ง ผลการวิจัย วัฒนธรรมองค์การพยาบาลเครือโรงพยาบาลกรุงเทพดุสิตเวชการ กลุ่มภาคตะวันออกประกอบด้วย 2 ด้าน จำนวน 40 ข้อรายการ ได้แก่ 1. วัฒนธรรมองค์การด้านบุคลากรพยาบาล และ 2. วัฒนธรรมองค์การด้านผู้บริหาร สรุปผลการวิจัย ผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถนำผลการวิจัยไปเป็นแนวทางในการจัดทำนโยบาย กลยุทธ์และแนวทางปฏิบัติที่สอดคล้องกับบริบทวัฒนธรรมขององค์การพยาบาล
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)ผลของโปรแกรมป้องกันการเริ่มต้นสูบบุหรีที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน / รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์ in วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, Vol.27 No.3 (Sep-Dec) 2015/2558 ([06/27/2016])
[article]
Title : ผลของโปรแกรมป้องกันการเริ่มต้นสูบบุหรีที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน : ต่อการทดลองสูบบุหรีในวัยรุ่นตอนต้น Original title : Effects of school based smoking initiation prevention program on tried smoking among early adolescents Material Type: printed text Authors: รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์, Author ; พรนภา หอมสินธุ์, Author Publication Date: 2016 Article on page: p.50-67 General note: งานวิจัยนี้ เป็นแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน เป็นนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ของโรงเรียนรัฐบาล ในปีการศึกษา 2558 ... ผลการวิจัย พบว่านักเรียนที่ได้รับโปรแกรมป้องกันการเริ่มต้นสูบบุหรี่ที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความชุกของการสูบบุหรี่ และความตั้งใจในการสูบบุหรี่ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการสอนตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F=5.981 p มีค่าน้อยกว่า .01 F=5.62 P มีค่าน้อยกว่า .01 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม การรับรู้ความสามารถของตนในการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี และการรับรู้ภาพลักษณ์ทางสังคมเชิงบวกต่อคนสูบบุหรี่ พบว่า ทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน เมื่อติดตามไปสามเดือน หลังสิ้่นสุดการทดลอง พบว่า กลุ่มทดลองมีสัดส่วนการทดลองสูบ หรือสูบไม่ประจำต่ำกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถติ (15.5% และ 31% X กำลังสอง = 17.717 p มีค่าน้อยกว่า .05 สรุปผลการวิจัน แสดงให้เห็นประโยชน์ของการดำเนินกิจกรรมแบบหลายระดับ (multi-level intervention) มีผลต่อการยั้บยั้งการทดลองสูบบุหรี่ในวัยรุ่นตอนต้น
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย > Vol.27 No.3 (Sep-Dec) 2015/2558 [06/27/2016] . - p.50-67Keywords: การเริ่มสูบบุหรี่.วัยรุ่นตอนต้น.โปรแกรมที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน. Link for e-copy: http://tci-thaijo.org/index.php/CUNS Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=25533 [article] ผลของโปรแกรมป้องกันการเริ่มต้นสูบบุหรีที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน = Effects of school based smoking initiation prevention program on tried smoking among early adolescents : ต่อการทดลองสูบบุหรีในวัยรุ่นตอนต้น [printed text] / รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์, Author ; พรนภา หอมสินธุ์, Author . - 2016 . - p.50-67.
งานวิจัยนี้ เป็นแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน เป็นนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ของโรงเรียนรัฐบาล ในปีการศึกษา 2558 ... ผลการวิจัย พบว่านักเรียนที่ได้รับโปรแกรมป้องกันการเริ่มต้นสูบบุหรี่ที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความชุกของการสูบบุหรี่ และความตั้งใจในการสูบบุหรี่ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการสอนตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F=5.981 p มีค่าน้อยกว่า .01 F=5.62 P มีค่าน้อยกว่า .01 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม การรับรู้ความสามารถของตนในการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี และการรับรู้ภาพลักษณ์ทางสังคมเชิงบวกต่อคนสูบบุหรี่ พบว่า ทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน เมื่อติดตามไปสามเดือน หลังสิ้่นสุดการทดลอง พบว่า กลุ่มทดลองมีสัดส่วนการทดลองสูบ หรือสูบไม่ประจำต่ำกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถติ (15.5% และ 31% X กำลังสอง = 17.717 p มีค่าน้อยกว่า .05 สรุปผลการวิจัน แสดงให้เห็นประโยชน์ของการดำเนินกิจกรรมแบบหลายระดับ (multi-level intervention) มีผลต่อการยั้บยั้งการทดลองสูบบุหรี่ในวัยรุ่นตอนต้น
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)ผลของโปรแกรมการเจริญสติต่ออาการปวดเข่าในผู้สูงอายุ ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม / ปุณยนุช คงเสน่ห์ in วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, Vol.27 No.3 (Sep-Dec) 2015/2558 ([06/27/2016])
[article]
Title : ผลของโปรแกรมการเจริญสติต่ออาการปวดเข่าในผู้สูงอายุ ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม Original title : The effects of a mindfulness meditation program on knee pain among older persons with knee osteoarthritis Material Type: printed text Authors: ปุณยนุช คงเสน่ห์, Author ; จิราพร เกศพิชญวัฒนา, Author Publication Date: 2016 Article on page: p.68-79 General note: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเจริญสติต่ออาการปวดเข่าในผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข้าเสื่อม จำนวน 70 คน ที่เป็นสมาชิกในชมรมผู้สูงอายุ เขตเมือง สุราษฎร์ธานี แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 35 คน กลุ่มควบคุม 35 คน จับคู่ในด้าน เพศ อายุ ค่าดัชนีมวลกาย ชนิดของยาแก้ปวด ความถี่ของยาแก้ปวดที่ได้รับ และประสบการณ์ในการเจริญสติ กลุ่มทดลอง ได้รับการเจริญสติเพื่อบรรเทาอาการปวดเข่าในผู้สูงอายุที่มีภาวะเข่าเสื่อม กลุ่มควบคุมได้รับกิจกรรมตามปกติของชมรมผู้สูงอายุ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ โปรแกรมการเจริญสติเพื่อบรรเทาอาการปวดเข่าในผู้สูงอายุ ประกอบด้วยกิจกรรมกลุ่ม 5 ครั้ง และกิจกรรมรายบุคคล 3 ครั้ง รวม 8 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 1 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินระดับอาการปวดชนิดตัวเลข และแบบประเมินภาวะข้อจำกัดจากอาการปวดเข่า ซึ่งมีดัชนีความตรงตามเนื้่อหาเท่ากับ 1.0 และมีความเที่ยงแบบวัดซ้ำเท่ากับ .78 และ.99 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหา ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัย 1) อาการปวดเข่าของผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม ภายหลังได้รับโปรแกรมการเจริญสติต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสติที่ระดับ .01 2) อาการปวดเข่าของผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการเจริญสติต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับกิจกรรมตามปกติของชมรมผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สรุปผลการวิจัย โปรแกรมการเจริญสติส่งผลให้อาการปวดเข่าของผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมลดลงและต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับกิจกรรมตามปกติของชมรมผู้สูงอายุ Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย > Vol.27 No.3 (Sep-Dec) 2015/2558 [06/27/2016] . - p.68-79Keywords: การเจริญสติ.อาการปวดเข่า.ผู้สูงอายุภาวะข้อเข่าเสื่อม. Link for e-copy: http://tci-thaijo.org/index.php/CUNS Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=25534 [article] ผลของโปรแกรมการเจริญสติต่ออาการปวดเข่าในผู้สูงอายุ ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม = The effects of a mindfulness meditation program on knee pain among older persons with knee osteoarthritis [printed text] / ปุณยนุช คงเสน่ห์, Author ; จิราพร เกศพิชญวัฒนา, Author . - 2016 . - p.68-79.
เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเจริญสติต่ออาการปวดเข่าในผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข้าเสื่อม จำนวน 70 คน ที่เป็นสมาชิกในชมรมผู้สูงอายุ เขตเมือง สุราษฎร์ธานี แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 35 คน กลุ่มควบคุม 35 คน จับคู่ในด้าน เพศ อายุ ค่าดัชนีมวลกาย ชนิดของยาแก้ปวด ความถี่ของยาแก้ปวดที่ได้รับ และประสบการณ์ในการเจริญสติ กลุ่มทดลอง ได้รับการเจริญสติเพื่อบรรเทาอาการปวดเข่าในผู้สูงอายุที่มีภาวะเข่าเสื่อม กลุ่มควบคุมได้รับกิจกรรมตามปกติของชมรมผู้สูงอายุ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ โปรแกรมการเจริญสติเพื่อบรรเทาอาการปวดเข่าในผู้สูงอายุ ประกอบด้วยกิจกรรมกลุ่ม 5 ครั้ง และกิจกรรมรายบุคคล 3 ครั้ง รวม 8 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 1 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินระดับอาการปวดชนิดตัวเลข และแบบประเมินภาวะข้อจำกัดจากอาการปวดเข่า ซึ่งมีดัชนีความตรงตามเนื้่อหาเท่ากับ 1.0 และมีความเที่ยงแบบวัดซ้ำเท่ากับ .78 และ.99 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหา ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัย 1) อาการปวดเข่าของผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม ภายหลังได้รับโปรแกรมการเจริญสติต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสติที่ระดับ .01 2) อาการปวดเข่าของผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการเจริญสติต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับกิจกรรมตามปกติของชมรมผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สรุปผลการวิจัย โปรแกรมการเจริญสติส่งผลให้อาการปวดเข่าของผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมลดลงและต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับกิจกรรมตามปกติของชมรมผู้สูงอายุ
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง / จรวยพร วงศ์ขจิต in วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, Vol.27 No.3 (Sep-Dec) 2015/2558 ([06/27/2016])
[article]
Title : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง Original title : Factor related to eating behavioral in stroke patients Material Type: printed text Authors: จรวยพร วงศ์ขจิต, Author ; รุ้งระวี นาวีเจริญ, Author Publication Date: 2016 Article on page: p.80-92 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย > Vol.27 No.3 (Sep-Dec) 2015/2558 [06/27/2016] . - p.80-92Keywords: พฤติกรรมการบริโคอาหาร.ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง.โรคหลอดเลือดสมอง. Link for e-copy: http://tci-thaijo.org/index.php/CUNS Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=25535 [article] ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง = Factor related to eating behavioral in stroke patients [printed text] / จรวยพร วงศ์ขจิต, Author ; รุ้งระวี นาวีเจริญ, Author . - 2016 . - p.80-92.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)การพัฒนาและตรวจสอบคุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยา แบบประเมินสมรรถนะผู้จัดการพยาบาลโรงพยาบาลเอกชน / จารุวรรณ ธานี in วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, Vol.27 No.3 (Sep-Dec) 2015/2558 ([06/27/2016])
[article]
Title : การพัฒนาและตรวจสอบคุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยา แบบประเมินสมรรถนะผู้จัดการพยาบาลโรงพยาบาลเอกชน Original title : The development and psychometric properties of the nurse manager competency scale private hospitals Material Type: printed text Authors: จารุวรรณ ธานี, Author ; บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร, Author Publication Date: 2016 Article on page: p.93-104 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย > Vol.27 No.3 (Sep-Dec) 2015/2558 [06/27/2016] . - p.93-104Keywords: การวัดเชิงจิตวิทยา.แบบประเมินสมรรถนะ.ผู้จัดการพยาบาล.โรงพยาบาลเอกชน. Link for e-copy: http://tci-thaijo.org/index.php/CUNS Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=25536 [article] การพัฒนาและตรวจสอบคุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยา แบบประเมินสมรรถนะผู้จัดการพยาบาลโรงพยาบาลเอกชน = The development and psychometric properties of the nurse manager competency scale private hospitals [printed text] / จารุวรรณ ธานี, Author ; บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร, Author . - 2016 . - p.93-104.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)การปรับตัวในการเผชิญภาวะวิกฤตจากอุทกภัย / วินิกาญจน์ คงสุวรรณ in วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, Vol.27 No.3 (Sep-Dec) 2015/2558 ([06/27/2016])
[article]
Title : การปรับตัวในการเผชิญภาวะวิกฤตจากอุทกภัย : ของผู้ประสบอุทกภัย อ.หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา Material Type: printed text Authors: วินิกาญจน์ คงสุวรรณ, Author ; วันดี สุทธรังษี, Author ; วิลาวรรณ คริสต์รักษา, Author Publication Date: 2016 Article on page: p.105-118 General note: เพื่อศึกษาการปรับตัวในการเผชิญภาวะวิกฤตจากอุทกภัยของผู้ประสบอุทกภัย เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประสบอุทกภัย ปี พ.ศ 2554 คัดเลือกโดยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 250 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ประสบอุทกภัย และแบบสอบถามการปรับตัวในภาวะวิกฤตของผู้ประสบอุทกภัย ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน และตรวจสอบค่าความเที่ยงตรงด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการปรับตัวโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M=3.46 SD= 0.44) โดยมีการปรับรายด้านทั้ง 2 ด้าน คือ การปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่และการปรับตัวด้านการพึ่งพาอยู่ในระดับปานกลาง (M= 3.53 SD= 0.49) (M=3.40 SD= 0.53) Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย > Vol.27 No.3 (Sep-Dec) 2015/2558 [06/27/2016] . - p.105-118Keywords: ผู้ประสบอุทกภัย.การปรับตัว.การเผชิญภาวะวิกฤต.อุทกภัย. Link for e-copy: http://tci-thaijo.org/index.php/CUNS Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=25537 [article] การปรับตัวในการเผชิญภาวะวิกฤตจากอุทกภัย : ของผู้ประสบอุทกภัย อ.หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา [printed text] / วินิกาญจน์ คงสุวรรณ, Author ; วันดี สุทธรังษี, Author ; วิลาวรรณ คริสต์รักษา, Author . - 2016 . - p.105-118.
เพื่อศึกษาการปรับตัวในการเผชิญภาวะวิกฤตจากอุทกภัยของผู้ประสบอุทกภัย เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประสบอุทกภัย ปี พ.ศ 2554 คัดเลือกโดยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 250 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ประสบอุทกภัย และแบบสอบถามการปรับตัวในภาวะวิกฤตของผู้ประสบอุทกภัย ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน และตรวจสอบค่าความเที่ยงตรงด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการปรับตัวโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M=3.46 SD= 0.44) โดยมีการปรับรายด้านทั้ง 2 ด้าน คือ การปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่และการปรับตัวด้านการพึ่งพาอยู่ในระดับปานกลาง (M= 3.53 SD= 0.49) (M=3.40 SD= 0.53)
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)อิทธิพลของทัศนคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมต่อความสม่ำเสมอ / สุขุมาล หอมวิเศษวงศา in วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, Vol.27 No.3 (Sep-Dec) 2015/2558 ([06/27/2016])
[article]
Title : อิทธิพลของทัศนคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมต่อความสม่ำเสมอ : ในการรับประทานยาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ Original title : The influence of attitude subjective norm and perceived behavior control on medication in patients with coronary artery disease Material Type: printed text Authors: สุขุมาล หอมวิเศษวงศา, Author ; วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล, Author ; วิชชุดา เจริญกิจการ, Author Publication Date: 2016 Article on page: p.119-129 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย > Vol.27 No.3 (Sep-Dec) 2015/2558 [06/27/2016] . - p.119-129Keywords: ทัศนคติ.การรับรู้ความสามารถ.การควบคุมพฤติกรรม.การรับประทานยา.ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ. Link for e-copy: http://tci-thaijo.org/index.php/CUNS Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=25538 [article] อิทธิพลของทัศนคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมต่อความสม่ำเสมอ = The influence of attitude subjective norm and perceived behavior control on medication in patients with coronary artery disease : ในการรับประทานยาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ [printed text] / สุขุมาล หอมวิเศษวงศา, Author ; วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล, Author ; วิชชุดา เจริญกิจการ, Author . - 2016 . - p.119-129.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)สมรรถนะของหัวหน้าพยาบาล โรงพยาบาลเอกชนที่ผ่านการรับรองคุณภาพ โรงพยาบาลมาตรฐานระดับสากล / ศิริประภา ฤาชัย in วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, Vol.27 No.3 (Sep-Dec) 2015/2558 ([06/27/2016])
[article]
Title : สมรรถนะของหัวหน้าพยาบาล โรงพยาบาลเอกชนที่ผ่านการรับรองคุณภาพ โรงพยาบาลมาตรฐานระดับสากล Original title : Nursing directors competencies private hospitals accredited by joint commissions international Material Type: printed text Authors: ศิริประภา ฤาชัย, Author ; ยุพิน อังสุโรจน์, Author Publication Date: 2016 Article on page: p.130-145 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย > Vol.27 No.3 (Sep-Dec) 2015/2558 [06/27/2016] . - p.130-145Keywords: สมรรถนะของหัวหน้าพยาบาล.โรงพยาบาลเอกชน.โรงพยาบาลมาตรฐานระดับสากล.การรับรองคุณภาพ. Link for e-copy: http://tci-thaijo.org/index.php/CUNS Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=25539 [article] สมรรถนะของหัวหน้าพยาบาล โรงพยาบาลเอกชนที่ผ่านการรับรองคุณภาพ โรงพยาบาลมาตรฐานระดับสากล = Nursing directors competencies private hospitals accredited by joint commissions international [printed text] / ศิริประภา ฤาชัย, Author ; ยุพิน อังสุโรจน์, Author . - 2016 . - p.130-145.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)ผลของการใช้โปรแกรมการทำงานเป็นทีมเพื่อป้องกันความผิดพลาดในห้องผ่าตัดศัลยกรรมต่อประสิทธิผลของงาน / รุ้งสวรรค์ สุวัฒโน in วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, Vol.27 No.3 (Sep-Dec) 2015/2558 ([06/27/2016])
[article]
Title : ผลของการใช้โปรแกรมการทำงานเป็นทีมเพื่อป้องกันความผิดพลาดในห้องผ่าตัดศัลยกรรมต่อประสิทธิผลของงาน Original title : The effect of teamwork for advance events prevention program in surgical operating theater on work effectiveness Material Type: printed text Authors: รุ้งสวรรค์ สุวัฒโน, Author ; สุวิณี วิวัฒน์วานิช, Author Publication Date: 2016 Article on page: p.146-155 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย > Vol.27 No.3 (Sep-Dec) 2015/2558 [06/27/2016] . - p.146-155Keywords: ห้องผ่าตัดศัลยกรรม.การทำงานเป็นทีม.ความผิดพลาดในห้องผ่าตัด.ประสิทธิผลของงาน. Link for e-copy: http://tci-thaijo.org/index.php/CUNS Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=25540 [article] ผลของการใช้โปรแกรมการทำงานเป็นทีมเพื่อป้องกันความผิดพลาดในห้องผ่าตัดศัลยกรรมต่อประสิทธิผลของงาน = The effect of teamwork for advance events prevention program in surgical operating theater on work effectiveness [printed text] / รุ้งสวรรค์ สุวัฒโน, Author ; สุวิณี วิวัฒน์วานิช, Author . - 2016 . - p.146-155.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)