Collection Title: | SIU THE-T | Title : | การตลาดเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์และกระบวนทัศน์การพัฒนากลุ่มอาชีพอย่างมีส่วนร่วม: ชุมชนต้นแบบภายใต้พื้นที่โครงการหลวง | Original title : | Creative Economic Marketing and Participatory Development Paradigm: The Model Community of the Royal Project | Material Type: | printed text | Authors: | สุธีมนต์ ทรงศิริโรจน์, Author ; ชาญชัย บัญชาพัฒนศักดา, Associated Name ; เฟื่องฟ้า อัมพรสถิร, Associated Name | Publisher: | กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร | Publication Date: | 2020 | Pagination: | xix, 375 น. | Layout: | ตาราง, ภาพประกอบ | Size: | 30 ซม. | Price: | 500.00 บาท | General note: | SIU THE-T: SOM-DBA-2020-03
Thesis. [DฺBA [บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต บธ.ด.]] -- มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2563 | Languages : | Thai (tha) | Descriptors: | [LCSH]การพัฒนาชุมชน [LCSH]การพัฒนาอาชีพ [LCSH]เศรษฐกิจสร้างสรรค์
| Keywords: | การพัฒนากลุ่มอาชีพ,
เศรษฐกิจสร้างสรรค์,
ชุมชนแม่จันใต้ | Abstract: | การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์และรูปแบบเส้นทางผู้บริโภคที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพทางการตลาดที่สามารถสนองตอบต่อความต้องการตามสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมทางการตลาดยุคปัจจุบัน รวมถึงศึกษาบริบทชุมชนบ้านแม่จันใต้ ตำบลท่าก๊อ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ซึ่งกำหนดเป็นชุมชนต้นแบบภายใต้พื้นที่โครงการหลวง และตลอดจนศึกษาคุณลักษณะ กระบวนการและรูปแบบการพัฒนากลุ่มอาชีพ ความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการกลุ่มอาชีพของเกษตรกรในชุมชนต้นแบบ จากกลุ่มตัวอย่างที่ 1 เกษตรกรชุมชนต้นแบบ จำนวน 36 ครัวเรือน และกลุ่มตัวอย่างที่ 2 คือ ประชากร เพศชายและเพศหญิง อายุ 20 ปีขึ้นไปและเป็นผู้ที่มีประสบการณ์บริโภคผลิตภัณฑ์โครงการหลวง จำนวน 300 คน วิธีการสุ่มตัวอย่างในกลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง โดยไม่อาศัยความน่าจะเป็น (Non-Probability Sampling) แบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานการวิจัยโดยการทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปร การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว One-Way ANOVA และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient)
ผลการวิจัยพบว่าเกษตรกรในชุมชนต้นแบบมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดตั้งกลุ่มอาชีพอยู่ในระดับมากที่สุด มีความต้องการจัดตั้งกลุ่มอาชีพและมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการกลุ่มอาชีพ (POSDCoRB) อยู่ในระดับมากที่สุด และผลการวิจัยด้านการตลาดเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ พบว่าผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยเศรษฐกิจสร้างสรรค์อยู่ในระดับมากที่สุด มีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการตลาด 4.0 เส้นทางผู้บริโภคอยู่ในระดับมาก ทั้งยังพบว่ารูปแบบของเส้นทางผู้บริโภคเป็น “รูปแบบทรัมเป็ต (Trumpet)” ผลการทดสอบสมมุติฐานการวิจัย พบว่า
1. ลักษะทางประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันทางด้านสถานะภาพและด้านประสบการณ์ทำงาน มีค่าเฉลี่ยของระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ที่แตกต่างกันในทุกปัจจัย อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
2. ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) (1) ด้านความรู้และทรัพย์สินทางปัญญา ด้านขั้นตอนการพัฒนา มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการรับรู้ปัญหา (Aware) (2) ด้านการสร้างสรรค์งาน การสร้างสรรค์ และด้านเทคโนโลยี/นวัตกรรมสมัยใหม่ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการประเมินทางเลือก (Appeal) (3) ด้านความรู้และทรัพย์สินทางปัญญา และ ด้านขั้นตอนการพัฒนา มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการค้นหาข้อมูล (Ask) และ (4) ด้านเทคโนโลยี/นวัตกรรมสมัยใหม่ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการตัดสินใจซื้อ (Act)
การนำผลจากการศึกษาวิจัยเพื่อเป็นประโยชน์ในด้านการพัฒนารูปแบบกลุ่มอาชีพและเครือข่ายชุมชนโดยรอบ และเครือข่ายภายนอก ควรการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันและรูปแบบการพัฒนากลุ่มอาชีพที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมและใช้กระบวนการเรียนรู้เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนา ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างปัจจัยอันจะเอื้อและก่อให้เกิดคุณลักษณะของธุรกิจชุมชนที่มีกรอบชัดเจน และมีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งส่งเสริมการถ่ายทอดองค์ความรู้ ซึ่งควรเป็นไปในลักษณะของการจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการร่วมกับการจัดการความรู้ในชุมชน (Knowledge Management) ควบคู่ไปกับการจัดให้มีระบบพี่เลี้ยงในระหว่างกระบวนการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่องให้แก่ชุมชนด้วยอีกประการ | Curricular : | BBA/MBA/PhDM | Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=28046 |
SIU THE-T. การตลาดเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์และกระบวนทัศน์การพัฒนากลุ่มอาชีพอย่างมีส่วนร่วม: ชุมชนต้นแบบภายใต้พื้นที่โครงการหลวง = Creative Economic Marketing and Participatory Development Paradigm: The Model Community of the Royal Project [printed text] / สุธีมนต์ ทรงศิริโรจน์, Author ; ชาญชัย บัญชาพัฒนศักดา, Associated Name ; เฟื่องฟ้า อัมพรสถิร, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2020 . - xix, 375 น. : ตาราง, ภาพประกอบ ; 30 ซม. 500.00 บาท SIU THE-T: SOM-DBA-2020-03
Thesis. [DฺBA [บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต บธ.ด.]] -- มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2563 Languages : Thai ( tha) Descriptors: | [LCSH]การพัฒนาชุมชน [LCSH]การพัฒนาอาชีพ [LCSH]เศรษฐกิจสร้างสรรค์
| Keywords: | การพัฒนากลุ่มอาชีพ,
เศรษฐกิจสร้างสรรค์,
ชุมชนแม่จันใต้ | Abstract: | การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์และรูปแบบเส้นทางผู้บริโภคที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพทางการตลาดที่สามารถสนองตอบต่อความต้องการตามสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมทางการตลาดยุคปัจจุบัน รวมถึงศึกษาบริบทชุมชนบ้านแม่จันใต้ ตำบลท่าก๊อ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ซึ่งกำหนดเป็นชุมชนต้นแบบภายใต้พื้นที่โครงการหลวง และตลอดจนศึกษาคุณลักษณะ กระบวนการและรูปแบบการพัฒนากลุ่มอาชีพ ความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการกลุ่มอาชีพของเกษตรกรในชุมชนต้นแบบ จากกลุ่มตัวอย่างที่ 1 เกษตรกรชุมชนต้นแบบ จำนวน 36 ครัวเรือน และกลุ่มตัวอย่างที่ 2 คือ ประชากร เพศชายและเพศหญิง อายุ 20 ปีขึ้นไปและเป็นผู้ที่มีประสบการณ์บริโภคผลิตภัณฑ์โครงการหลวง จำนวน 300 คน วิธีการสุ่มตัวอย่างในกลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง โดยไม่อาศัยความน่าจะเป็น (Non-Probability Sampling) แบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานการวิจัยโดยการทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปร การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว One-Way ANOVA และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient)
ผลการวิจัยพบว่าเกษตรกรในชุมชนต้นแบบมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดตั้งกลุ่มอาชีพอยู่ในระดับมากที่สุด มีความต้องการจัดตั้งกลุ่มอาชีพและมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการกลุ่มอาชีพ (POSDCoRB) อยู่ในระดับมากที่สุด และผลการวิจัยด้านการตลาดเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ พบว่าผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยเศรษฐกิจสร้างสรรค์อยู่ในระดับมากที่สุด มีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการตลาด 4.0 เส้นทางผู้บริโภคอยู่ในระดับมาก ทั้งยังพบว่ารูปแบบของเส้นทางผู้บริโภคเป็น “รูปแบบทรัมเป็ต (Trumpet)” ผลการทดสอบสมมุติฐานการวิจัย พบว่า
1. ลักษะทางประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันทางด้านสถานะภาพและด้านประสบการณ์ทำงาน มีค่าเฉลี่ยของระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ที่แตกต่างกันในทุกปัจจัย อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
2. ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) (1) ด้านความรู้และทรัพย์สินทางปัญญา ด้านขั้นตอนการพัฒนา มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการรับรู้ปัญหา (Aware) (2) ด้านการสร้างสรรค์งาน การสร้างสรรค์ และด้านเทคโนโลยี/นวัตกรรมสมัยใหม่ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการประเมินทางเลือก (Appeal) (3) ด้านความรู้และทรัพย์สินทางปัญญา และ ด้านขั้นตอนการพัฒนา มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการค้นหาข้อมูล (Ask) และ (4) ด้านเทคโนโลยี/นวัตกรรมสมัยใหม่ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการตัดสินใจซื้อ (Act)
การนำผลจากการศึกษาวิจัยเพื่อเป็นประโยชน์ในด้านการพัฒนารูปแบบกลุ่มอาชีพและเครือข่ายชุมชนโดยรอบ และเครือข่ายภายนอก ควรการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันและรูปแบบการพัฒนากลุ่มอาชีพที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมและใช้กระบวนการเรียนรู้เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนา ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างปัจจัยอันจะเอื้อและก่อให้เกิดคุณลักษณะของธุรกิจชุมชนที่มีกรอบชัดเจน และมีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งส่งเสริมการถ่ายทอดองค์ความรู้ ซึ่งควรเป็นไปในลักษณะของการจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการร่วมกับการจัดการความรู้ในชุมชน (Knowledge Management) ควบคู่ไปกับการจัดให้มีระบบพี่เลี้ยงในระหว่างกระบวนการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่องให้แก่ชุมชนด้วยอีกประการ | Curricular : | BBA/MBA/PhDM | Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=28046 |
|