Title : | การประเมินผลการพัฒนารูปแบบการจัดบริการผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ST ยก ในสถานบริการสาธารณสุข จังหวัดสระบุรี : ในสถานบริการสาธารณสุข จังหวัดสระบุรี |
Material Type: | printed text |
Authors: | นพมาศ พงษ์ประจักษ์, Author ; พิธา พรหมลิขิตชัย, Author ; ทิตยา ด้วงเงิน, Author |
Publication Date: | 2017 |
Article on page: | p.69-80 |
Languages : | Thai (tha) Original Language : Thai (tha) |
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 [11/16/2017] . - p.69-80Keywords: | กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน.ีระยะเวลากล้มเนื้อหัวใจขาดเลือด.ระยเวลาการให้ยาละลายลิ่มเลือด.รูปแบบการจัดบริการ.อัตราการเสียชีวิต. |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบการศึกษาย้อนหลังมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการพัฒนารูปแบบการจัดบริการการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ST ยก ในสถานบริการสาธารณสุข จังหวัดสระบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือเวชระเบียนของผู้ป่วยกลุ่มโรคนี้ที่มารับบริการ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มก่อนการพัฒนารูปแบบ ระหว่าง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ถึง 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558 จำนวน 146 ราย และกลุ่มหลังการพัฒนารูปแบบฯ ระหว่าง 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2559 จำนวน 176 ราย เก็บข้อมูลก่อนและหลังการพัฒนารูปแบบการจัดบริการได้แก่ ระยะเวลากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Total Ischemic Time) ระยะเวลาการให้ยาละลายลิ่มเลือด (Door to Needle Time) และอัตราการเสียชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าสถิติ t–test และ Chi- Square Test
ผลการศึกษา พบว่า การพัฒนารูปแบบจากการให้ยาละลายลิ่มเลือด นอกจากจะรักษาได้เฉพาะในรพ.ศูนย์ (รพศ.) และรพ.ทั่วไป (รพท.) แล้ว ยังให้ยาละลายลิ่มเลือดได้ทั้ง รพศ. รพท. และรพ.ชุมชน (รพช.) ได้ผลลัพธ์ดังนี้ 1) ระยะเวลากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Total Ischemic Time) เฉลี่ย ลดลงจาก 225.11 นาที (SD = 143.65) เป็น 182.36 นาที (SD = 125.97) ซึ่งไม่แตกต่างจากระยะเวลาที่มีประสิทธิภาพการรักษาสูงสุดของการให้ยาละลายลิ่มเลือด(180 นาที) 2) ระยะเวลาการให้ยาละลายลิ่มเลือด (Door to Needle Time) เฉลี่ยของรพท.เพิ่มขึ้นจาก 37.36 นาที (SD = 19.66) เป็น 57.03 นาที (SD = 45.06) รพศ.เพิ่มขึ้นจาก 45.71 (SD = 31.69) นาที เป็น 60.41 นาที (SD = 41.10) และรพช.มีค่า 54.80 นาที (SD = 28.49) ซึ่งระยะหลังการพัฒนาในรพ.ทุกระดับมีค่าสูงกว่าค่ามาตรฐาน (30นาที) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) อัตราการเสียชีวิตเฉลี่ยระยะก่อนการพัฒนา ร้อยละ 23.97 ระยะหลังการพัฒนา ร้อยละ 15.91 ลดลง ร้อยละ 8.06 แต่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ST ยก กับระยะเวลาตามรูปแบบการพัฒนาการให้ยาละลายลิ่มเลือด
ผลการศึกษานี้เสนอแนะว่าควรมีการพัฒนารูปแบบเชิงรุกและขยายรูปแบบในการดูแลจัดบริการการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ST ยกในสถาบยริการอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง
|
Link for e-copy: | http://www.thaicvtnurse.org/index.php?option=com |
Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27497 |