[article] Title : | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนัก : ของสตรีมุสลิมที่มีภาวะอ้วนในภาคใต้ตอนล่าง | Original title : | Factors related to body weight control behaviors among obese muslim women in lower southern region, Thailand | Material Type: | printed text | Authors: | ปรีชารีฟ ยีหรีม, Author ; รุ้งระวี นาวีเจริญ, Author | Publication Date: | 2017 | Article on page: | p.31-42 | Languages : | Thai (tha) Original Language : Thai (tha) | in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.27 No.2 (ก.ค-ธ.ค) 2559/2016 [11/16/2017] . - p.31-42Keywords: | ภาวะอ้วน.พฤติกรรมการควบคุมน้ำหนัก.สตรีมุสลิม. | Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ (descriptive correlational research) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของสตรีมุสลิมในภาคใต้ตอนล่างและหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้สมรรถนะแห่งตน อิทธิพลระหว่างบุคคล อิทธิพลด้านสถานการณ์ และความมุ่งมั่นในการวางแผนการปฏิบัติกับพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของสตรีมุสลิมที่มีภาวะอ้วนในภาคใต้ตอนล่าง กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีมุสลิมที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง มีอายุระหว่าง 20-59 ปี มีค่าดัชนีมวลกายเท่ากับหรือมากกว่า 25 กิโลกรัม/ตารางเมตร จำนวน 384 ราย ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของสตรีมุสลิมที่มีภาวะอ้วนในภาคใต้ตอนล่างอยู่ในระดับปานกลาง (mean= 3.43, S.D. = 0.43) ปัจจัยการรับรู้ประโยชน์ ปัจจัยการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ความมุ่งมั่นในการวางแผนปฏิบัติ อิทธิพลด้านสถานการณ์ และอิทธิพลระหว่างบุคคลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของสตรีมุสลิมที่มีภาวะอ้วนในภาคใต้ตอนล่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = 0.30, 0.50, 0.70, 0.54 และ 0.35 ตามลำดับ) ปัจจัยการรับรู้อุปสรรคไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของสตรีมุสลิมที่มีภาวะอ้วนในภาคใต้ตอนล่าง (r = -.03)
ผลการวิจัยสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของสตรีมุสลิมที่มีภาวะอ้วนที่เกี่ยวกับการบริโภคและการออกกำลังกาย เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค โดยเฉพาะโรคเรื้อรังต่างๆ | Link for e-copy: | http://www.thaicvtnurse.org/index.php?option=com | Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27487 |
[article] ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนัก = Factors related to body weight control behaviors among obese muslim women in lower southern region, Thailand : ของสตรีมุสลิมที่มีภาวะอ้วนในภาคใต้ตอนล่าง [printed text] / ปรีชารีฟ ยีหรีม, Author ; รุ้งระวี นาวีเจริญ, Author . - 2017 . - p.31-42. Languages : Thai ( tha) Original Language : Thai ( tha) in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.27 No.2 (ก.ค-ธ.ค) 2559/2016 [11/16/2017] . - p.31-42Keywords: | ภาวะอ้วน.พฤติกรรมการควบคุมน้ำหนัก.สตรีมุสลิม. | Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ (descriptive correlational research) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของสตรีมุสลิมในภาคใต้ตอนล่างและหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้สมรรถนะแห่งตน อิทธิพลระหว่างบุคคล อิทธิพลด้านสถานการณ์ และความมุ่งมั่นในการวางแผนการปฏิบัติกับพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของสตรีมุสลิมที่มีภาวะอ้วนในภาคใต้ตอนล่าง กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีมุสลิมที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง มีอายุระหว่าง 20-59 ปี มีค่าดัชนีมวลกายเท่ากับหรือมากกว่า 25 กิโลกรัม/ตารางเมตร จำนวน 384 ราย ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของสตรีมุสลิมที่มีภาวะอ้วนในภาคใต้ตอนล่างอยู่ในระดับปานกลาง (mean= 3.43, S.D. = 0.43) ปัจจัยการรับรู้ประโยชน์ ปัจจัยการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ความมุ่งมั่นในการวางแผนปฏิบัติ อิทธิพลด้านสถานการณ์ และอิทธิพลระหว่างบุคคลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของสตรีมุสลิมที่มีภาวะอ้วนในภาคใต้ตอนล่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = 0.30, 0.50, 0.70, 0.54 และ 0.35 ตามลำดับ) ปัจจัยการรับรู้อุปสรรคไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของสตรีมุสลิมที่มีภาวะอ้วนในภาคใต้ตอนล่าง (r = -.03)
ผลการวิจัยสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของสตรีมุสลิมที่มีภาวะอ้วนที่เกี่ยวกับการบริโภคและการออกกำลังกาย เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค โดยเฉพาะโรคเรื้อรังต่างๆ | Link for e-copy: | http://www.thaicvtnurse.org/index.php?option=com | Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27487 |
|