From this page you can:
Home |
Descriptors
Add the result to your basket Make a suggestion Refine your search Apply to external sources
SIU IS-T. การพัฒนาการบริการสู่ความเป็นเลิศของสโมสรตำรวจ / บุญล้น จันทะขิน / กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร - 2016
Collection Title: SIU IS-T Title : การพัฒนาการบริการสู่ความเป็นเลิศของสโมสรตำรวจ Original title : Development Services to Excellence of the Royal Thai Police Sports Club Material Type: printed text Authors: บุญล้น จันทะขิน, Author ; อุมาหฤทัย วรรณศรี, Associated Name ; วรเดช จันทรศร, Associated Name Publisher: กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร Publication Date: 2016 Pagination: viii, 68 น. Layout: ภาพประกอบ, ตาราง Size: 30 ซม. Price: 500.00 General note: SIU IS-T: IPAG-MPA-2016-17
[MPA.[รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]] -- มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2016.Languages : Thai (tha) Descriptors: [LCSH]การบริการ -- การพัฒนา
[LCSH]การศึกษา -- การบริการAbstract: งานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาการบริการสู่ความเป็นเลิศของสโมสรตำรวจ” มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ได้แก่ (1) เพื่อศึกษากระบวนการการบริการสู่ความเป็นเลิศของสโมสรตำรวจ (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีต่อการพัฒนาการบริการสู่ความเป็นเลิศของสโมสรตำรวจ และ (3) เพื่อนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรคการพัฒนาการบริการสู่ความเป็นเลิศของสโมสรตำรวจ โดยเป็นการศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพ (qualitative search) มีวิธีการวิจัย คือ การวิจัยจากเอกสาร (documentary research) และการวิจัยสนาม (field research)
สรุปผลการวิจัยตามประเด็นคำถามต่าง ๆ ได้ดังนี้ (1) ผลการศึกษาพบว่า การบริการของสโมสรตำรวจเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดประชุมสัมมนา งานเลี้ยง งานสังสรรค์ งานกิจกรรมสันทนาการ พร้อมทั้งให้บริการสนามเทนนิส อาคารออกกำลังกาย สระว่ายน้ำ การบริการงานของสโมสรตำรวจ มีระเบียบคณะสวัสดิการภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กำหนดให้มีคณะกรรมการสวัสดิการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อกำหนดนโยบาย อำนวยการ ควบคุม ดูแล โดยมีคณะอนุกรรมการสวัสดิการสโมสรตำรวจ ทำหน้าที่ในการจัดทำแผนดำเนินงานประจำปี พร้อมประมาณการรายได้ และค่าใช้จ่ายประจำปี เสนอคณะอนุกรรมการสวัสดิการสโมสรตำรวจ เพื่อพิจารณาอนุมัติ วางแผนการดำเนินการตามระเบียบคณะอนุกรรมการสวัสดิการสโมสรตำรวจ มีการมอบหมายแต่งตั้งผู้รับผิดชอบ ดำเนินการตามแผนการปฏิบัติราชการ มีการรายงานผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น อย่างเป็นระบบถือว่าการบริการงานของสโมสรตำรวจมีความเหมาะสมดี นอกจากนี้ควรใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีหรือหลักธรรมาภิบาล เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ที่มาใช้บริการ มีการกำหนดขั้นตอน ระยะเวลา การดำเนินงานของแต่ละขั้นตอนของการปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของสโมสรตำรวจ และเกิดประสิทธิภาพในการทำงานของข้าราชการตำรวจและลูกจ้าง (2) ผลการศึกษาพบว่า การบริการของสโมสรตำรวจ มีผู้มาใช้บริการเป็นจำนวนมาก และ เป็นสถานที่สำหรับจัดเลี้ยงรับรองในภารกิจที่สำคัญ เช่น การจัดงานเลี้ยงรับรองวันตำรวจ งานเลี้ยงรับรองเนื่องในโอกาสมอบประกาศเกียรติคุณในวาระข้าราชการตำรวจเกษียณอายุประจำปี งานประชุมสัมมนาระดับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งปัญหาที่พบ คือยังขาดแคลน ด้านกำลังพลที่มีอัตรากำลังพลจากข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการในด้านต่าง ๆ และลูกจ้างชั่วคราวที่มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานด้านการตลาด การโรงแรม การบริการสถานที่ อาหาร และเครื่องดื่ม เห็นได้ว่าเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านนี้ ยังขาดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการตลาด การโรงแรม การบริการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน รวมถึงคณะอนุกรรมการสวัสดิการสโมสรตำรวจ ยังไม่มีนโยบายให้จัดหาเพิ่ม และ (3) ผลการศึกษาพบว่าแนวทางการแก้ปัญหา ควรจัดทำและเสนอแผนประจำปีขอบุคลากรเพิ่ม และควรมีการฝึกอบรมบุคลากรในทุก 6 เดือน เพื่อพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถของบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพCurricular : MPA Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26531 SIU IS-T. การพัฒนาการบริการสู่ความเป็นเลิศของสโมสรตำรวจ = Development Services to Excellence of the Royal Thai Police Sports Club [printed text] / บุญล้น จันทะขิน, Author ; อุมาหฤทัย วรรณศรี, Associated Name ; วรเดช จันทรศร, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2016 . - viii, 68 น. : ภาพประกอบ, ตาราง ; 30 ซม.
500.00
SIU IS-T: IPAG-MPA-2016-17
[MPA.[รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]] -- มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2016.
Languages : Thai (tha)
Descriptors: [LCSH]การบริการ -- การพัฒนา
[LCSH]การศึกษา -- การบริการAbstract: งานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาการบริการสู่ความเป็นเลิศของสโมสรตำรวจ” มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ได้แก่ (1) เพื่อศึกษากระบวนการการบริการสู่ความเป็นเลิศของสโมสรตำรวจ (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีต่อการพัฒนาการบริการสู่ความเป็นเลิศของสโมสรตำรวจ และ (3) เพื่อนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรคการพัฒนาการบริการสู่ความเป็นเลิศของสโมสรตำรวจ โดยเป็นการศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพ (qualitative search) มีวิธีการวิจัย คือ การวิจัยจากเอกสาร (documentary research) และการวิจัยสนาม (field research)
สรุปผลการวิจัยตามประเด็นคำถามต่าง ๆ ได้ดังนี้ (1) ผลการศึกษาพบว่า การบริการของสโมสรตำรวจเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดประชุมสัมมนา งานเลี้ยง งานสังสรรค์ งานกิจกรรมสันทนาการ พร้อมทั้งให้บริการสนามเทนนิส อาคารออกกำลังกาย สระว่ายน้ำ การบริการงานของสโมสรตำรวจ มีระเบียบคณะสวัสดิการภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กำหนดให้มีคณะกรรมการสวัสดิการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อกำหนดนโยบาย อำนวยการ ควบคุม ดูแล โดยมีคณะอนุกรรมการสวัสดิการสโมสรตำรวจ ทำหน้าที่ในการจัดทำแผนดำเนินงานประจำปี พร้อมประมาณการรายได้ และค่าใช้จ่ายประจำปี เสนอคณะอนุกรรมการสวัสดิการสโมสรตำรวจ เพื่อพิจารณาอนุมัติ วางแผนการดำเนินการตามระเบียบคณะอนุกรรมการสวัสดิการสโมสรตำรวจ มีการมอบหมายแต่งตั้งผู้รับผิดชอบ ดำเนินการตามแผนการปฏิบัติราชการ มีการรายงานผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น อย่างเป็นระบบถือว่าการบริการงานของสโมสรตำรวจมีความเหมาะสมดี นอกจากนี้ควรใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีหรือหลักธรรมาภิบาล เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ที่มาใช้บริการ มีการกำหนดขั้นตอน ระยะเวลา การดำเนินงานของแต่ละขั้นตอนของการปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของสโมสรตำรวจ และเกิดประสิทธิภาพในการทำงานของข้าราชการตำรวจและลูกจ้าง (2) ผลการศึกษาพบว่า การบริการของสโมสรตำรวจ มีผู้มาใช้บริการเป็นจำนวนมาก และ เป็นสถานที่สำหรับจัดเลี้ยงรับรองในภารกิจที่สำคัญ เช่น การจัดงานเลี้ยงรับรองวันตำรวจ งานเลี้ยงรับรองเนื่องในโอกาสมอบประกาศเกียรติคุณในวาระข้าราชการตำรวจเกษียณอายุประจำปี งานประชุมสัมมนาระดับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งปัญหาที่พบ คือยังขาดแคลน ด้านกำลังพลที่มีอัตรากำลังพลจากข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการในด้านต่าง ๆ และลูกจ้างชั่วคราวที่มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานด้านการตลาด การโรงแรม การบริการสถานที่ อาหาร และเครื่องดื่ม เห็นได้ว่าเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านนี้ ยังขาดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการตลาด การโรงแรม การบริการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน รวมถึงคณะอนุกรรมการสวัสดิการสโมสรตำรวจ ยังไม่มีนโยบายให้จัดหาเพิ่ม และ (3) ผลการศึกษาพบว่าแนวทางการแก้ปัญหา ควรจัดทำและเสนอแผนประจำปีขอบุคลากรเพิ่ม และควรมีการฝึกอบรมบุคลากรในทุก 6 เดือน เพื่อพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถของบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพCurricular : MPA Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26531 Hold
Place a hold on this item
Copies
Barcode Call number Media type Location Section Status 32002000591733 SIU IS-T: IPAG-MPA-2016-17 c.2 SIU Independent Study Graduate Library Thesis Corner Available 32002000591741 SIU IS-T: IPAG-MPA-2016-17 c.1 SIU Independent Study Main Library Thesis Corner Available SIU IS-T. ความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้พิการทางการเคลื่อนไหว ต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ / ถิรภัทร ประภาสิทธิ / กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร - 2016
Collection Title: SIU IS-T Title : ความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้พิการทางการเคลื่อนไหว ต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ Original title : Expectation and Satisfaction of Physical Disability in Public Service Of District Officer at Chiang Mai District Office Material Type: printed text Authors: ถิรภัทร ประภาสิทธิ, Author ; อุมาหฤทัย วรรณศรี, Associated Name ; วรเดช จันทรศร, Associated Name Publisher: กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร Publication Date: 2016 Pagination: x,88 น. Layout: ภาพประกอบ, ตาราง Size: 30 ซม. Price: 500.00 General note: SIU IS-T: IPAG-MPA-2016-14
[MPA.[รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]] -- มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2016.Languages : Thai (tha) Descriptors: [LCSH]การบริการ -- การพัฒนา
[LCSH]คนพิการ -- สวัสดิการ -- เชียงใหม่
[LCSH]เจ้าหน้าที่ที่ว่าการอำเภอ -- การให้บริการ -- เชียงใหม่Keywords: ผู้พิการทางการเคลื่อนไหว
ความคาดหวังและความพึงพอใจ
คุณภาพการให้บริการAbstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้พิการทางการเคลื่อนไหวต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อเปรียบเทียบระหว่างปัจจัยด้านประชากรศาสตร์กับความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้พิการทางการเคลื่อนไหวต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการบริการผู้พิการทางการเคลื่อนไหวอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ ผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ของผู้พิการทางการเคลื่อนไหวต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ 1. เพศ 2. อายุ 3. สถานภาพสมรส 4. การศึกษา 5. อาชีพ 6. รายได้ จากผู้ตอบแบสอบถามจำนวน 229 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป มีสถานภาพโสด มีระดับการศึกษาต่ำกว่าอนุปริญญา/ประกาศนียบัตรชั้นสูง มีอาชีพประกอบธุรกิจส่วนตัว เช่น ขายลอตเตอร์ลี่ รับจ้างทำสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ธุรกิจร้านเกม ธุรกิจร้านอินเตอร์เน็ต ร้านหนังสือให้เช่า มีห้องให้เช่า เป็นต้น มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001 – 25,000 บาท ส่วนปัจจัยทางด้านความคาดหวังของผู้พิการทางการเคลื่อนไหวต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จากการศึกษา พบว่า มีความคาดหวังต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ด้านความเชื่อมั่นในคุณภาพการให้บริการของเจ้าหน้าที่อยู่ในระดับสูงสุด รองลงมาได้แก่ ด้านลักษณะทางกายภาพ ถัดมาคือ ด้านการตอบสนองอย่างรวดเร็วในการให้บริการของเจ้าหน้าที่ และลำดับสุดท้าย ได้แก่ ด้านความเอาใจใส่และมีอัธยาศัยไมตรีต่อผู้รับบริการ แต่อย่างไรก็ตามความคาดหวังของผู้พิการทางการเคลื่อนไหวต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยควรจัดให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในด้านการเปิดเผยข้อมูล ด้านระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายในการปฏิบัติงาน ด้านการกำหนดระยะเวลาปฏิบัติงานประกาศให้ผู้ใช้บริการทราบ ด้านกระบวนการ และด้านโครงการที่ที่ว่าการอำเภอเมืองได้จัดทำเพื่อบริการผู้พิการทางการเคลื่อนไหว ควรมีการขยายขอบเขตในด้านสถานที่ในการศึกษาเพิ่มเติม ควรทำการศึกษาในแนวลึกลงไปถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องในด้านต่าง ๆ ให้ละเอียดและครอบคลุมมากขึ้นถึงสาเหตุดังกล่าว ควรมีการขยายขอบเขตในด้านเนื้อหาของการศึกษาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้บริการเพิ่มเติม เช่น ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการให้บริการกับผู้พิการทางการเคลื่อนไหวด้านต่าง ๆ เพื่อจะได้ส่งมอบการอำนวยความสะดวกในการให้บริการให้ตรงกับพฤติกรรมของผู้บริการต่อไป Curricular : GE/MBA Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26532 SIU IS-T. ความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้พิการทางการเคลื่อนไหว ต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ = Expectation and Satisfaction of Physical Disability in Public Service Of District Officer at Chiang Mai District Office [printed text] / ถิรภัทร ประภาสิทธิ, Author ; อุมาหฤทัย วรรณศรี, Associated Name ; วรเดช จันทรศร, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2016 . - x,88 น. : ภาพประกอบ, ตาราง ; 30 ซม.
500.00
SIU IS-T: IPAG-MPA-2016-14
[MPA.[รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]] -- มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2016.
Languages : Thai (tha)
Descriptors: [LCSH]การบริการ -- การพัฒนา
[LCSH]คนพิการ -- สวัสดิการ -- เชียงใหม่
[LCSH]เจ้าหน้าที่ที่ว่าการอำเภอ -- การให้บริการ -- เชียงใหม่Keywords: ผู้พิการทางการเคลื่อนไหว
ความคาดหวังและความพึงพอใจ
คุณภาพการให้บริการAbstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้พิการทางการเคลื่อนไหวต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อเปรียบเทียบระหว่างปัจจัยด้านประชากรศาสตร์กับความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้พิการทางการเคลื่อนไหวต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการบริการผู้พิการทางการเคลื่อนไหวอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ ผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ของผู้พิการทางการเคลื่อนไหวต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ 1. เพศ 2. อายุ 3. สถานภาพสมรส 4. การศึกษา 5. อาชีพ 6. รายได้ จากผู้ตอบแบสอบถามจำนวน 229 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป มีสถานภาพโสด มีระดับการศึกษาต่ำกว่าอนุปริญญา/ประกาศนียบัตรชั้นสูง มีอาชีพประกอบธุรกิจส่วนตัว เช่น ขายลอตเตอร์ลี่ รับจ้างทำสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ธุรกิจร้านเกม ธุรกิจร้านอินเตอร์เน็ต ร้านหนังสือให้เช่า มีห้องให้เช่า เป็นต้น มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001 – 25,000 บาท ส่วนปัจจัยทางด้านความคาดหวังของผู้พิการทางการเคลื่อนไหวต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จากการศึกษา พบว่า มีความคาดหวังต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ด้านความเชื่อมั่นในคุณภาพการให้บริการของเจ้าหน้าที่อยู่ในระดับสูงสุด รองลงมาได้แก่ ด้านลักษณะทางกายภาพ ถัดมาคือ ด้านการตอบสนองอย่างรวดเร็วในการให้บริการของเจ้าหน้าที่ และลำดับสุดท้าย ได้แก่ ด้านความเอาใจใส่และมีอัธยาศัยไมตรีต่อผู้รับบริการ แต่อย่างไรก็ตามความคาดหวังของผู้พิการทางการเคลื่อนไหวต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยควรจัดให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในด้านการเปิดเผยข้อมูล ด้านระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายในการปฏิบัติงาน ด้านการกำหนดระยะเวลาปฏิบัติงานประกาศให้ผู้ใช้บริการทราบ ด้านกระบวนการ และด้านโครงการที่ที่ว่าการอำเภอเมืองได้จัดทำเพื่อบริการผู้พิการทางการเคลื่อนไหว ควรมีการขยายขอบเขตในด้านสถานที่ในการศึกษาเพิ่มเติม ควรทำการศึกษาในแนวลึกลงไปถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องในด้านต่าง ๆ ให้ละเอียดและครอบคลุมมากขึ้นถึงสาเหตุดังกล่าว ควรมีการขยายขอบเขตในด้านเนื้อหาของการศึกษาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้บริการเพิ่มเติม เช่น ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการให้บริการกับผู้พิการทางการเคลื่อนไหวด้านต่าง ๆ เพื่อจะได้ส่งมอบการอำนวยความสะดวกในการให้บริการให้ตรงกับพฤติกรรมของผู้บริการต่อไป Curricular : GE/MBA Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26532 Hold
Place a hold on this item
Copies
Barcode Call number Media type Location Section Status 32002000591766 SIU IS-T: IPAG-MPA-2016-14 c.2 SIU Independent Study Graduate Library Thesis Corner Available 32002000591758 SIU IS-T: IPAG-MPA-2016-14 c.1 SIU Independent Study Main Library Thesis Corner Available SIU IS-T. คุณภาพการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าขนอน อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี / อรพรรณ พัฒนรักษา / กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร - 2016
Collection Title: SIU IS-T Title : คุณภาพการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าขนอน อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี Original title : A Research on Service Quality of the Tambol Administrative Organization of Takhanon of Kiriratnikom District, Suratthani Province Material Type: printed text Authors: อรพรรณ พัฒนรักษา, Author ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name ; สมชาย รัตนโกมุท, Associated Name Publisher: กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร Publication Date: 2016 Pagination: viii, 81 น. Layout: ภาพประกอบ, ตาราง Size: 30 ซม. Price: 500.00 General note: SIU IS-T: IPAG-MPA-2016-11
[MPA.[รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]] -- มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2016.Languages : Thai (tha) Descriptors: [LCSH]การควบคุมคุณภาพ
[LCSH]การบริการ -- การพัฒนา
[LCSH]องค์การบริหารส่วนตำบล -- สุราษธานี -- ท่าขนอน -- การให้บริการKeywords: คุณภาพการให้บริการ
องค์การบริหารส่วนตำบลAbstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าขนอน อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการองค์การบริหารส่วนตำบลท่าขนอน อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อคุณภาพการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าขนอน อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยใช้วิธีเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 376 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย วิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปเพื่อการวิเคราะห์ทางสถิติ SPSS สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย สถิติบรรยาย (descriptive statistics) ได้แก่ ความถี่ (frequency) ร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และสถิติอ้างอิง (inferential statistics) ได้แก่ สถิติ t-test และสถิติ one way ANOVA โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ .05 และ .01
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุ 21-30 ปี การศึกษาอนุปริญญา หรือเทียบเท่า มีอาชีพรับจ้างทั่วไป และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,000-10,000 บาท คุณภาพการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าขนอน อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฏร์ธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาและอุปสรรคที่ประชาชนได้รับจากการบริการ คือ เรื่องความล่าช้าในการรับบริการ เป็นปัญหาและอุปสรรคต่อคุณภาพการให้บริการมากCurricular : GE/MBA Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26539 SIU IS-T. คุณภาพการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าขนอน อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี = A Research on Service Quality of the Tambol Administrative Organization of Takhanon of Kiriratnikom District, Suratthani Province [printed text] / อรพรรณ พัฒนรักษา, Author ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name ; สมชาย รัตนโกมุท, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2016 . - viii, 81 น. : ภาพประกอบ, ตาราง ; 30 ซม.
500.00
SIU IS-T: IPAG-MPA-2016-11
[MPA.[รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]] -- มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2016.
Languages : Thai (tha)
Descriptors: [LCSH]การควบคุมคุณภาพ
[LCSH]การบริการ -- การพัฒนา
[LCSH]องค์การบริหารส่วนตำบล -- สุราษธานี -- ท่าขนอน -- การให้บริการKeywords: คุณภาพการให้บริการ
องค์การบริหารส่วนตำบลAbstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าขนอน อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการองค์การบริหารส่วนตำบลท่าขนอน อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อคุณภาพการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าขนอน อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยใช้วิธีเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 376 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย วิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปเพื่อการวิเคราะห์ทางสถิติ SPSS สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย สถิติบรรยาย (descriptive statistics) ได้แก่ ความถี่ (frequency) ร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และสถิติอ้างอิง (inferential statistics) ได้แก่ สถิติ t-test และสถิติ one way ANOVA โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ .05 และ .01
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุ 21-30 ปี การศึกษาอนุปริญญา หรือเทียบเท่า มีอาชีพรับจ้างทั่วไป และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,000-10,000 บาท คุณภาพการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าขนอน อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฏร์ธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาและอุปสรรคที่ประชาชนได้รับจากการบริการ คือ เรื่องความล่าช้าในการรับบริการ เป็นปัญหาและอุปสรรคต่อคุณภาพการให้บริการมากCurricular : GE/MBA Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26539 Hold
Place a hold on this item
Copies
Barcode Call number Media type Location Section Status 32002000591832 SIU IS-T: IPAG-MPA-2016-11 c.1 SIU Independent Study Graduate Library Thesis Corner Available