Collection Title: | SIU Thesis | Title : | ความสัมพันธ์ระหว่างความจงรักภักดีกับการคงอยู่ของพนักงาน ธนาคารพาณิชย์ไทย | Original title : | Relationships between Loyalty and Employee Retaining of Thai Commercial Banks’ Employees | Material Type: | printed text | Authors: | พรทิวา บัญชาพัฒนศักดา, Author ; เพชรรัตน์ โล้วิชากรติกุล, Associated Name ; ชาญชัย บัญชาพัฒนศักดา, Associated Name | Publisher: | กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร | Publication Date: | 2017 | General note: | SIU THE-T: SOM-DBA-2017-08
Thesis. [DฺBA [บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต บธ.ด.]] -- มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2560 | Languages : | Thai (tha) | Descriptors: | [LCSH]ธนาคารพาณิชย์ -- พนักงาน
| Keywords: | ความจงรักภักดี,
การคงอยู่,
พนักงานธนาคารพาณิชย์ | Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความจงรักภักดีกับการคงอยู่ของพนักงานธนาคารพาณิชย์ไทย เครื่องมือวิจัยคือแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานของธนาคารพาณิชย์ไทย จำนวน 400 คน ด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามสัดส่วน วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่อหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานการวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์การถดถอย (Regression analysis) ในการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรและทดสอบสมมุติฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 36 - 40 ปี มีรายได้รวมเฉลี่ยต่อเดือน 15,001 - 30,000 บาท การศึกษาระดับปริญญาโท สถานภาพสมรส ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ มีอายุงานในงานปัจจุบันอยู่ในช่วง 2 - 4 ปี และมีอายุงานรวมกับการทำงานที่ธนาคารพาณิชย์อื่นๆ 6 - 10 ปี ผลการวิจัยยังพบว่าปัจจัยแวดล้อมในการทำงาน ปัจจัยการสร้างแรงจูงใจ ปัจจัยการบริหารองค์กร ปัจจัยค่านิยมร่วม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง เรียงตามลำดับ ส่วนเรื่องความจงรักภักดีด้านจิตใจพบว่าพนักงานมีความเต็มใจทุ่มเทและอุทิศตนให้กับองค์กรเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในระดับสูงโดยความจงรักภักดีด้านบรรทัดฐานพบว่าพนักงานยอมทำตามความต้องการขององค์กรเพื่อให้ได้ผลตอบแทนในระดับสูง ด้านการคงอยู่พบว่าพนักงานมีความจงรักภักดีกับองค์กรอยู่ในระดับสูง ผลการทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรพบว่าปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานธนาคารพาณิชย์ไทยมีความสัมพันธ์กับการรับรู้เกี่ยวกับความภักดีในองค์กร ปัจจัยแวดล้อมในการทำงานมีผลต่อความภักดีในองค์กรด้านจิตใจและด้านบรรทัดฐาน ปัจจัยด้านการบริหารองค์กรมีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีของพนักงานทั้งด้านจิตใจ และด้านบรรทัดฐาน ปัจจัยค่านิยมร่วมมีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีของพนักงานด้านจิตใจและด้านบรรทัดฐาน ปัจจัยการสร้างแรงจูงใจของพนักงานมีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีของพนักงานด้านจิตใจและด้านบรรทัดฐาน นอกจากนี้ผลการวิจัยพบว่าความผูกพันด้านจิตใจ และความผูกพันด้านบรรทัดฐาน มีความสัมพันธ์กับการคงอยู่ของพนักงานธนาคารพาณิชย์ไทย | Curricular : | BBA/MBA/PhDM | Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27319 |
SIU Thesis. ความสัมพันธ์ระหว่างความจงรักภักดีกับการคงอยู่ของพนักงาน ธนาคารพาณิชย์ไทย = Relationships between Loyalty and Employee Retaining of Thai Commercial Banks’ Employees [printed text] / พรทิวา บัญชาพัฒนศักดา, Author ; เพชรรัตน์ โล้วิชากรติกุล, Associated Name ; ชาญชัย บัญชาพัฒนศักดา, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2017. SIU THE-T: SOM-DBA-2017-08
Thesis. [DฺBA [บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต บธ.ด.]] -- มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2560 Languages : Thai ( tha) Descriptors: | [LCSH]ธนาคารพาณิชย์ -- พนักงาน
| Keywords: | ความจงรักภักดี,
การคงอยู่,
พนักงานธนาคารพาณิชย์ | Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความจงรักภักดีกับการคงอยู่ของพนักงานธนาคารพาณิชย์ไทย เครื่องมือวิจัยคือแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานของธนาคารพาณิชย์ไทย จำนวน 400 คน ด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามสัดส่วน วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่อหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานการวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์การถดถอย (Regression analysis) ในการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรและทดสอบสมมุติฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 36 - 40 ปี มีรายได้รวมเฉลี่ยต่อเดือน 15,001 - 30,000 บาท การศึกษาระดับปริญญาโท สถานภาพสมรส ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ มีอายุงานในงานปัจจุบันอยู่ในช่วง 2 - 4 ปี และมีอายุงานรวมกับการทำงานที่ธนาคารพาณิชย์อื่นๆ 6 - 10 ปี ผลการวิจัยยังพบว่าปัจจัยแวดล้อมในการทำงาน ปัจจัยการสร้างแรงจูงใจ ปัจจัยการบริหารองค์กร ปัจจัยค่านิยมร่วม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง เรียงตามลำดับ ส่วนเรื่องความจงรักภักดีด้านจิตใจพบว่าพนักงานมีความเต็มใจทุ่มเทและอุทิศตนให้กับองค์กรเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในระดับสูงโดยความจงรักภักดีด้านบรรทัดฐานพบว่าพนักงานยอมทำตามความต้องการขององค์กรเพื่อให้ได้ผลตอบแทนในระดับสูง ด้านการคงอยู่พบว่าพนักงานมีความจงรักภักดีกับองค์กรอยู่ในระดับสูง ผลการทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรพบว่าปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานธนาคารพาณิชย์ไทยมีความสัมพันธ์กับการรับรู้เกี่ยวกับความภักดีในองค์กร ปัจจัยแวดล้อมในการทำงานมีผลต่อความภักดีในองค์กรด้านจิตใจและด้านบรรทัดฐาน ปัจจัยด้านการบริหารองค์กรมีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีของพนักงานทั้งด้านจิตใจ และด้านบรรทัดฐาน ปัจจัยค่านิยมร่วมมีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีของพนักงานด้านจิตใจและด้านบรรทัดฐาน ปัจจัยการสร้างแรงจูงใจของพนักงานมีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีของพนักงานด้านจิตใจและด้านบรรทัดฐาน นอกจากนี้ผลการวิจัยพบว่าความผูกพันด้านจิตใจ และความผูกพันด้านบรรทัดฐาน มีความสัมพันธ์กับการคงอยู่ของพนักงานธนาคารพาณิชย์ไทย | Curricular : | BBA/MBA/PhDM | Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27319 |
|