SIU IS-T. รูปแบบภาวะผู้นำของข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร ตามความคาดหวังของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 21 = Leadership Style of Commissioned Police Officer Towards the Expectation of Non-Commissioned Police Officer, the Border Patrol Police, Subdivision 21 [printed text] /
พัชรี ล่วงมัจฉา, Author ;
อุมาหฤทัย วรรณศรี, Associated Name ;
วรเดช จันทรศร, Associated Name . -
[S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2017 . - xii, 100 น. : ตาราง, ภาพประกอบ ; 30 ซม.
500.00
SIU IS-T: IPAG-MPA-2017-37
[MPA.[รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]] -- มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2017.
Languages : Thai (
tha)
Descriptors: | [LCSH]ข้าราชการตำรวจ [LCSH]ภาวะผู้นำ
|
Keywords: | รูปแบบภาวะผู้นำ
ความคาดหวัง
ข้าราชการตำรวจชั้นประทวน
ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร
กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 21 |
Abstract: | งานค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงระดับความคาดหวังของข้าราชการตำรวจ
ชั้นประทวน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 21 ที่มีต่อข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร
กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 21 ในด้านรูปแบบภาวะผู้นำ ด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้นำ และในด้านคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับงานของผู้นำ ซึ่งได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบโดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล รวมถึงเพื่อศึกษาถึงปัญหา แนวทางการแก้ไขปัญหา และข้อเสนอแนะเพิ่มเติมอื่น ๆ
ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ข้าราชการตํารวจชั้นประทวน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ที่ 21 ในฝ่ายอำนวยการทั้งหมด จํานวน 210 คน โดยจําแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อายุราชการ โดยทำการศึกษาถึงคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้นำทั้งหมด 5 ด้าน รวมถึงศึกษา ในด้านคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับงานของผู้นำทั้งหมด 6 ด้าน โดยใช้สถิติพื้นฐาน คือ การแจกแจงความถี่ การหาค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ ซึ่งได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงพรรณนา รวมถึงวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรม SPSS
ผลการศึกษา พบว่า ข้าราชการตํารวจชั้นประทวน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 21 จํานวน 210 คน ส่วนมากเป็นเพศชาย มีอายุ 41-50 ปี มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี และมีอายุราชการ 1-10 ปี โดยผลการวิเคราะห์ระดับความคาดหวังของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 21 ที่มีต่อข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 21 ในด้านรูปแบบภาวะผู้นำ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจําแนกเป็นรายด้าน พบว่า อันดับที่ 1 คือ ผู้นำแบบประชาธิปไตย อันดับรองลงมา คือ ผู้นำแบบใช้อำนาจ ตามลําดับ ส่วนในด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้นำทั้งหมด 5 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อันดับที่ 1 คือ ด้านบุคลิกภาพ รองลงมา คือ ด้านสติปัญญา ด้านสังคม ด้านกายภาพ ส่วนอันดับสุดท้าย คือ ด้านภูมิหลังส่วนบุคคล และในด้านคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับงานของผู้นำทั้งหมด 6 ด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อย่อย พบว่า อันดับที่หนึ่ง คือ ด้านความมีมาตรฐาน คือ ผู้นำสามารถใช้ทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ในการทำงานได้เป็นอย่างดีและมีมาตรฐานในการทำงานโดยไม่เลือกปฏิบัติ และด้านการมีความชัดเจน คือ ผู้นำมีความชัดเจนในด้านมาตรฐานการทำงาน ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านความรู้สึกเป็นทีมงาน คือ ผู้นำสามารถสร้างบรรยากาศของความรู้สึกเป็นทีมงานได้เป็นอย่างดีซึ่งอยู่ในระดับมาก และด้านการรู้ถึงหน้าที่รับผิดชอบ คือ ผู้นำมีการช่วยเหลือสนับสนุนการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาและเปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในการทำงาน
ข้อเสนอแนะ ผู้บังคับบัญชาในหน่วยงานควรจะต้องนำเอาหลักการทางประชาธิปไตยมาปรับใช้ในการบริหารงานบริหารคน ทั้งนี้เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา และควรต้องมีคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้นำในด้านการมีบุคลิกภาพที่ดี ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างความเคารพศรัทธาให้เกิดมีกับผู้ใต้บังคับบัญชา ส่วนในด้านคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับงานของผู้นำนั้นต้องให้ความสำคัญในด้านความมีมาตรฐาน ดังนั้น ในการปฏิบัติงานผู้นำต้องมีความชัดเจนในมาตรฐานการทำงานโดยไม่เลือกปฏิบัติ อีกทั้งยังต้องมีทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีในการทำงาน สามารถที่จะสร้างบรรยากาศของความรู้สึกเป็นทีมงานได้เป็นอย่างดี สามารถที่จะคอยช่วยเหลือสนับสนุนการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาได้ทุกภารกิจ และเปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาสามารถมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ในการทำงานได้
กล่าวโดยสรุป ผู้บังคับบัญชาหรือผู้นำหน่วยต้องมีการนำปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจริงในสภาพปัจจุบันนำมาแก้ไขเป็นกรณีเร่งด่วน ซึ่งเป็นวิธีการตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้ใต้บังคับบัญชาได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้เกิดขึ้นในทีมงาน ซึ่งจะส่งผลที่ดีต่อการปฏิบัติหน้าที่ โดยจะสามารถส่งเสริมสนับสนุนทุกภารกิจให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงานให้กับหน่วยงานได้เป็นอย่างดี รวมถึงผู้บังคับบัญชาหรือผู้นำหน่วยนั้นควรจะต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับระดับความคาดหวังของผู้ใต้บังคับบัญชาในส่วนงานอื่น ๆ ด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพให้กับหน่วยงานในภาพรวมต่อไป |
Curricular : | GE |
Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27312 |