Title : | กลยุทธ์การบริหารเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้ : จากการปฏิบัติของอาจารย์ในสถาบันการศึกษาพยาบาล |
Original title : | Management strategies to enhance action learning abilities of instructors in nursing schools |
Material Type: | printed text |
Authors: | รุจิรา สืบสุข, Author ; วลัยพร ศิริภิรมย์, Author ; พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์, Author |
Publication Date: | 2017 |
Article on page: | p.7-27 |
Languages : | Thai (tha) Original Language : Thai (tha) |
in วารสารเกื้อการุณย์ > Vol.24 No.1 (Jan-Jun) 2017/60 [07/25/2017] . - p.7-27Keywords: | การเรียนรู้จากการปฏิบัติ.สถาบันการศึกษาพยาบาล. |
Abstract: | วัคถุประสงค์เพื่อ
1. ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหาร
2. วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการบริหาร
3. พัฒนากลยุทธ์การบริหารโดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน
กลุ่มตัวอย่าง
สถาบันการศึกษาพยาบาล จำนวน 26 แห่ง มีผู้ให้ข้อมูลจำนวน 366 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ
แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ โดยได้ผ่านการทดสอบความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .85 และหาความเที่ยงด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .94
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNI modified
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัจจุบันของการบริหารในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์การบริหารในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. จุดแข็งของการบริหาร คือ การวางแผนและการเรียนรู้จากการปฏิบัติและแก้ไขปัญหาจากการทำงาน การเรียนรู้จากการปฎิบัติ การเรียนรู้จากการทำงาน การเรียนรู้จากการปฏืบัติเพื่อเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ทำงาน จุดอ่อน คือ การนำแผนการสู่การปฏิบัติ และการประเมินผลเพื่อการเรีัยนรู้จากการปฏิบัติ การเรัียนรู้จากการปฏิบัติและพัฒนาการเรียนรู้เป็นรายบุคคล และเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ของบุคคลและองค์กร โอกาส คือ สภาพสังคม และเทคโยโลยี ภาวะคุกคาม คือ สภาพการเมืองและนโยบายของรัฐ และสภาพเศรษฐกิจ
3. กลยุทธฺการบริหารเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้้จากการปฏิบัติของอาจารย์ในสถาบันการศึกษาพยาบาล มี 3 กลยุทธ์ คือ (1) ออกแบบและวางแผนการเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้จากการปฏิบัติของอาจารย์ โดยกำหนดให้อาจารย์ทำแผนการพัฒนาการเรียนรู้เป็นรายบุคคล เพื่อให้อาจารย์มีเป้าหมาย วิธีการ และระยะเวลาในการพัฒนาการเรียนรู้ตนเองอย่างต่อเนื่อง (2) ยกระดับการปฏิบัติการในการเสริมสร้างความสามารถในการเรัียนรู้จากการปฏิบัติของอาจารย์ โดยผู้บริหารและอาจารย์ร่วมกันสร้างระบบกลุ่ม ชุมชนนักปฏิบัติและใช้กระบวนการของการเรียนรู้จากการปฏิบัติเพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญของกลุ่ม (3) ยกระดับการประเมินการเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้จากการปฏิบัติของอาจารย์ โดยสถาบันมีการกำหนดเกณฑ์ ผลลัพธ์ ตัวชี้วัดที่ชัดเจนในการเรียนรู้จากการปฏิบัติในทุกกิจกรรม/พันธกิจหลักของสถาบันในทุกมิติอย่างสม่ำเสมอ |
Link for e-copy: | http://www.kcn.ac.th/KCN-Journal/no1-2556.html |
Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27055 |