รายงานการวิจัยเรื่อง การรับรู้ต่อการบำบัดรักษาของผู้ป่วยชาวเขาที่เสพติดฝิ่น [printed text] /
สลินดา แวงสูงเนิน, Author ;
ธัญญารัตน์ ขจัดพาล, Author . -
[S.l.] : โรงพยาบาลธัญญารักษ์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, 2544 . - 56 แผ่น. : ตาราง. ; 30 ซม.
ISSN : 978-974-774-017-6 : บริจาค.
Languages : Thai (
tha)
Descriptors: | [LCSH]ผู้ป่วย -- ยาเสพติด -- การบำบัด [LCSH]ฝิ่น --ไทย -- แม่ฮ่องสอน [LCSH]พฤติกรรมการใช้สารเสพติดประเภทฝิ่น -- ไทย --แม่ฮ่องสอน
|
Keywords: | การบำบัด.
ฝิ่น.
ผู้ป่วย.
ชาวเขา. |
Class number: | HV5840 ส873 2544 |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยชาวเขาเสพติดฝิ่นและศึกษาการรับรู้ต่อการบำบัดรักษาของผู้ป่วยชาวเขาที่เสพติดฝิ่นกลุ่มตัวอย่างที่ศึกกษาเป็นผู้ป่วยชาวเขาเสพติดฝิ่นที่เข้ารับการบำบัดรักษาที่ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดจังแม่ฮ่องสอน จำนวน 7 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้แนวคำถามสัมภาษณ์ ระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2544
ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้ชาวเขาเสพติดฝิ่น คือ การใช้เพื่อบรรเทาความเจ็บป่วยและอาการไม่สุขสาบ โดยได้รับการถ่ายทอดความรู้และวิธีการมาตั้งแต่อดีต เนื่องจากการเดินทางเพื่อรักษาตัวจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขไม่สะดวกและต้องใช้เวลาในการเดินทางมากและเชือว่าการใช้ฝิ่นเป็นยารักษาโรคไม่ก่อให้เกิดการเสพติดและไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย นอกจากนั้นยังพบว่า ฝิ่นมีส่วนช่วยให้ทำงานได้มากขึ้น และยังใช้จำหน่ายเป็นรายได้เพิ่มเติม ทำให้อยู่ใกล้ชิดกับฝิ่นจึงเสพฝิ่น และสาเหตุประการสุดท้ายคือ การถูกชักจูงจากเพื่อนฝูงทำให้ลอง จนติดฝิ่นในที่สุด
ส่วนการรับรู้เกี่ยวกับฝิ่น พบว่าชาวเขารับรู้เกี่ยวกับฝิ่นใน 2 ทาง คือ มองว่าฝิ่นมีประโยชน์ต่อตนเองในการรักษาโรคและช่วยให้ทำงานได้ อีกทางหนึ่งคือ รับรู้ว่าฝิ่นมีโทษทั้งต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม การรับรู้เกี่ยวกับการบำบัดรักษาที่ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดจังหวัดแม่ฮ่องสอน พบว่าชาวเขามีความต้องการและตั้งใจเลิกยาเสพติดนั้นจะรับรู้ต่อการบำบัดรักษาในทางที่ดี มีความตั้งใจในการรักษา โดยให้ความร่วมมือและเห็นประโยชน์ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ และนำไปประยุกต์ใช้กับตนเองได้ ส่วนชาวเขาที่ไม่สมัครใจมารักษา พบว่าส่วนใหญ่ถูกบังคับและกึ่งบังคับให้มารักษาตัวอยู่ที่ศูนย์ ชาวเขากลุ่มนี้จะรับรู้ต่อการบำบัดรักษาในทางทีไม่ดี เพราะคิดว่ามาอยู่ที่ศูนย์ เพื่อให้พ้นความผิดเท่านั้น และมีพฤติกรรมไม่ให้่ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของศูนย์ที่กำหนดให้ ประการสำคัญมีแนวโน้มเมื่อสิ้นสุดการรักษาแล้วนี้จะกลับไปเสพซ้ำอีกซึ่งส่วนใหญ่ทำให้การรักษาไม่ได้ผล ดังนั้นข้อเสนอแนะของผู้วิจัยพบว่า หากต้องการให้ชาวเขาเลิกฝิ่นได้อย่างเด็ดขาดโดยไม่กลับไปเสพซ้ำ จึงควรเริ่มจากการเตรียมตัวให้ชาวเขามีความพร้อมก่อนเข้ารับการรักษา โดยใช้วิธีต่าง ๆ นับตั้งแต่การพูดคุยให้เข้าใจประโยชน์ของการเลิกฝิ่นอย่างแท้จริง และมีการเตรียมความพร้อมก่อนกลับบ้่าน โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกระดับหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเองเบื้องต้น เมื่อเกิดความเจ็บป่้วยซึ่งส่งผลให้ชาวเขากลับไปใช้ฝิ่นเพื่อรักษาความเจ็บป่วยตนเอง ทำให้เลิกเสพฝิ่นไม่ได้่ |
Curricular : | BALA/BNS/GE |
Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=23295 |