ผลของการใช้รูปแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณีในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมต่อความพึงพอใจในบริการของผู้ป่วยและการรับรู้คุณค่าวิชาชีพพยาบาลประจำการ หอผู้ป่วยศัลยกรรมทั่วไปหญิงโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ = Effects of nursing case management in breast cancer patients on patients' satisfaction and perceived of professional nurses' value, women general surgery ward in King Chulalongkorn Memorial Hospital [printed text] /
เพทาย สำรวยผล, Author . -
กรุงเทพฯ : คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 . - ก-ญ, 167 แผ่น : ตาราง. ; 30 ซม.
บริจาค.
วิทยานิพนธ์ [พย.ม.[การบริหารการพยาบาล]] --จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2553
Languages : Thai (
tha)
Descriptors: | [LCSH]การพยาบาล [LCSH]ผู้ป่วย -- การดูแล [LCSH]มะเร็ง -- ผู้ป่วย -- การดูแล [LCSH]มะเร็ง -- ผู้ป่วย -- การพยาบาล [LCSH]มะเร็งเต้านม
|
Keywords: | มะเร็งเต้านม.
การดูแล.
ผู้ป่วย. |
Class number: | WP870 พ642 2553 |
Abstract: | การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในบริการของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมกลุ่มที่ได้รับการดูแลโดยใช้รูปแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณีกับกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ และเปรียบเทียบการรับรู้คุณค่าวิชาชีพพยาบาลของพยาบาลประจำการระหว่างกลุ่มที่ใช้รูปแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณีในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมกับกลุ่มที่ใช้การดูแลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเต้านม จำนวน 60 คน และกลุ่มพยาบาลประจำการ หอผู้ป่วยศัลยกรรมทั่วไปหญิง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 20 คน เครื่องมือในการทดลอง ประกอบด้วย แผนการอบรม แผนการดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านม คู่มือการจัดการผู้ป่วยรายกรณีและแบบกำกับการทดลอง เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามความพึงพอใจในบริการของผู้ป่วย และแบบสอบถามการรับรู้คุณค่าวิชาชีพพยาบาล เครื่องมือทั้งหมดได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทดสอบค่าความเที่ยงด้วยสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคได้เท่ากับ .95 และ .96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสถิติที (t-test) และการทดสอบสถิติ Wilcoxon Rank Sum Test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.ความพึงพอใจในบริการของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมกลุ่มที่ได้รับการดูแลโดยใช้รูปแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณี ([X-Bar] = 4.38) สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ ([X-Bar] = 3.37) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.การรับรู้คุณค่าวิชาชีพพยาบาลกลุ่มพยาบาลประจำการที่ใช้รูปแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณีหลังการทดลอง ([X-Bar] = 4.74) สูงกว่ากลุ่มที่ใช้การดูแลตามปกติ ([X-Bar] = 4.01) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Curricular : | BNS |
Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=23200 |