ผลของการพัฒนาการบริหารยาโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ต่ออุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนทางยาและความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพหอผู้ป่วยวิกฤต : Effects of using medication administration by evidence-based practice on incidence of medication errors and nurses' job satisfaction in intensive care unit [printed text] /
นงนุช หอมเนียม, Author . -
กรุงเทพฯ : คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 . - ก-ญ, 171 แผ่น : ตาราง. ; 30 ซม.
บริจาค.
วิทยานิพนธ์ [พย.ม.[การบริหารการพยาบาล]] -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Languages : Thai (
tha)
Descriptors: | [LCSH]Critical Care -- methods [LCSH]Intensive Care Units [LCSH]การพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ [LCSH]พยาบาล -- ความพอใจในการทำงาน [LCSH]ยา -- การบริหาร [LCSH]หน่วยรักษาพยาบาลผู้ป่วยหนัก
|
Keywords: | พยาบาลวิชาชีพ.
ความพอใจ.
การบริหาร.
การดูแล. |
Class number: | WX218 น525 2554 |
Abstract: | วิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการบริหารยาโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ และเพื่อเปรียบเทียบอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนในการบริหารยาและความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพก่อนและหลังการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการบริหารยาในหอผู้ป่วยวิกฤต กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลพญาไท 2 จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในดำเนินการทดลองประกอบด้วย แผนการอบรม คู่มือการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการบริหารยาในหอผู้ป่วยวิกฤต แบบกำกับการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบบันทึกอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนในการบริหารยาในหอผู้ป่วยวิกฤต และแบบสอบถามความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และหาค่าความเที่ยงของแบบสอบถามความพึงพอใจในงานด้วยสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ .91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบสถิติค่าที
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. จำนวนอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนในการให้ยาผิดขนาดภายหลังการทดลอง (2.44 ครั้งต่อ 1000 วันนอน) น้อยกว่าก่อนการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการบริหารยา (8.47 ครั้ง ต่อ 1000 วันนอน) และความคลาดเคลื่อนในการให้ยาผิดเวลาภายหลังการทดลอง (2.44 ครั้ง ต่อ 1000 วันนอน) น้อยกว่าก่อนการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการบริหารยา (5.65 ครั้งต่อ 1000 วันนอน) 2. คะแนนเฉลี่ยของความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพหลังการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการบริหารยาในหอผู้ป่วยวิกฤต (ค่าเฉลี่ย = 3.96) สูงกว่าก่อนการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ (ค่าเฉลี่ย = 3.16) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05
|
Curricular : | BNS |
Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=23195 |