From this page you can:
Home |
วารสารสภาการพยาบาล / สภาการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข . Vol 32. No. 1 (Jan-Mar) 2017/60Published date : 07/25/2017 |
Available articles
Add the result to your basketภาพลักษณ์พยาบาลไทยในสื่อหนังสือพิมพ์ ระหว่าง พ.ศ. 2547-2558 / รุจา ภู่ไพบูลย์ in วารสารสภาการพยาบาล, Vol 32. No. 1 (Jan-Mar) 2017/60 ([07/25/2017])
[article]
Title : ภาพลักษณ์พยาบาลไทยในสื่อหนังสือพิมพ์ ระหว่าง พ.ศ. 2547-2558 Original title : Image of Thai Nurses in Newspapers between 2004 and 2015 Material Type: printed text Authors: รุจา ภู่ไพบูลย์, Author ; นันทพันธ์ ชินล้ำประเสริฐ, Author ; ยุวดี เกตสัมพันธ์, Author Publication Date: 2017 Article on page: p.5-17 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารสภาการพยาบาล > Vol 32. No. 1 (Jan-Mar) 2017/60 [07/25/2017] . - p.5-17Keywords: ภาพลักษณ์. พยาบาล. สื่อหนังสือพิมพ์. สื่อออนไลน์. การรับรู้. Abstract:
วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่ออธิบายภาพลักษณ์ของพยาบาลไทย และแนวโน้ม การเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของพยาบาลในหนังสือพิมพ์ไทยและสื่อออนไลน์ ระหว่าง พ.ศ. 2547-2558
การออกแบบการวิจัย: การวิจัยเอกสารเชิงพรรณา การดำเนินการวิจัย: เอกสารที่ศึกษาได้แก่1) ข่าวหนังสือพิมพ์ที่ปรากฏในสิ่งพิมพ์ ไมโครฟิลม์ และข่าวออนไลน์ จำนวน 395 ข่าว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย : พบภาพลักษณ์พยาบาลในข่าวหนังสือพิมพ์และข่าวออนไลนม์ทั้งเชิงบวก และเชิงลบ ข่าวพยาบาลสะท้อนภาพลักษณ์ เป็นเชิงบวก 3 ด้าน และเชิงลบ 5 ด้าน โดยรวม พบว่าภาพลักษณ์เชิงบวกเน้นการบริการที่ดีมีประสิทธิภาพ มีการแสดงออกทางกริยามารยาท ที่ดีเป็นที่ประทับใจ เป็นผู้เสียสละ แต่ภาพลักษณ์เชิงลบมักเกี่ยวกับการบริการที่ไม่ประทับใจ คณุภาพชีวิตของพยาบาลที่ไม่ดี และไม่ก้าวหน้า พบว่าแนวโนม้ข่าวพยาบาลในหนังสือพิมพ์ เพิ่มขึ้นทั้งภาพลักษณ์เชิงบวกและเชิงลบ แต่ภาพลักษณ์เชิงลบมีจำนวนมากกว่าเชิงบวก
ข้อเสนอแนะ: ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางในการพัฒนาภาพลักษณ์ของพยาบาลเชิงบวก ทั้งแนวรุกและแนวรับ ได้แก่ สถาบัน องค์กรวิชาชีพ สร้างกลไกการสื่อสาร ให้ข้อมูลแก่สื่อ เกี่ยวกับกิจกรรมของพยาบาลที่มีประโยชน์ต่อสาธารณะอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ควรมี หน่วยงานหรือผู้ทำหน้าที่โฆษกของสถาบันวิชาชีพระดับประเทศที่ช่วยกระจายข่าวอย่างมี ประสิทธิภาพ แสดงจุดยืนที่เป็นผู้พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคด้านสุขภาพ เพื่อให้สื่อสาธารณะรับรู้บทบาทพยาบาลที่เป็นฝ่ายประชาชนผู้รับบริการ ร่วมกับสื่อหนังสือพิมพ์ ในการให้ความรู้ ประชาชน และมีการให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับพยาบาลLink for e-copy: http://www.tci-thaijo.org/index.php/TJONC Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26980 [article] ภาพลักษณ์พยาบาลไทยในสื่อหนังสือพิมพ์ ระหว่าง พ.ศ. 2547-2558 = Image of Thai Nurses in Newspapers between 2004 and 2015 [printed text] / รุจา ภู่ไพบูลย์, Author ; นันทพันธ์ ชินล้ำประเสริฐ, Author ; ยุวดี เกตสัมพันธ์, Author . - 2017 . - p.5-17.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารสภาการพยาบาล > Vol 32. No. 1 (Jan-Mar) 2017/60 [07/25/2017] . - p.5-17Keywords: ภาพลักษณ์. พยาบาล. สื่อหนังสือพิมพ์. สื่อออนไลน์. การรับรู้. Abstract:
วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่ออธิบายภาพลักษณ์ของพยาบาลไทย และแนวโน้ม การเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของพยาบาลในหนังสือพิมพ์ไทยและสื่อออนไลน์ ระหว่าง พ.ศ. 2547-2558
การออกแบบการวิจัย: การวิจัยเอกสารเชิงพรรณา การดำเนินการวิจัย: เอกสารที่ศึกษาได้แก่1) ข่าวหนังสือพิมพ์ที่ปรากฏในสิ่งพิมพ์ ไมโครฟิลม์ และข่าวออนไลน์ จำนวน 395 ข่าว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย : พบภาพลักษณ์พยาบาลในข่าวหนังสือพิมพ์และข่าวออนไลนม์ทั้งเชิงบวก และเชิงลบ ข่าวพยาบาลสะท้อนภาพลักษณ์ เป็นเชิงบวก 3 ด้าน และเชิงลบ 5 ด้าน โดยรวม พบว่าภาพลักษณ์เชิงบวกเน้นการบริการที่ดีมีประสิทธิภาพ มีการแสดงออกทางกริยามารยาท ที่ดีเป็นที่ประทับใจ เป็นผู้เสียสละ แต่ภาพลักษณ์เชิงลบมักเกี่ยวกับการบริการที่ไม่ประทับใจ คณุภาพชีวิตของพยาบาลที่ไม่ดี และไม่ก้าวหน้า พบว่าแนวโนม้ข่าวพยาบาลในหนังสือพิมพ์ เพิ่มขึ้นทั้งภาพลักษณ์เชิงบวกและเชิงลบ แต่ภาพลักษณ์เชิงลบมีจำนวนมากกว่าเชิงบวก
ข้อเสนอแนะ: ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางในการพัฒนาภาพลักษณ์ของพยาบาลเชิงบวก ทั้งแนวรุกและแนวรับ ได้แก่ สถาบัน องค์กรวิชาชีพ สร้างกลไกการสื่อสาร ให้ข้อมูลแก่สื่อ เกี่ยวกับกิจกรรมของพยาบาลที่มีประโยชน์ต่อสาธารณะอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ควรมี หน่วยงานหรือผู้ทำหน้าที่โฆษกของสถาบันวิชาชีพระดับประเทศที่ช่วยกระจายข่าวอย่างมี ประสิทธิภาพ แสดงจุดยืนที่เป็นผู้พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคด้านสุขภาพ เพื่อให้สื่อสาธารณะรับรู้บทบาทพยาบาลที่เป็นฝ่ายประชาชนผู้รับบริการ ร่วมกับสื่อหนังสือพิมพ์ ในการให้ความรู้ ประชาชน และมีการให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับพยาบาลLink for e-copy: http://www.tci-thaijo.org/index.php/TJONC Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26980 ผลของโปรแกรมการดูแลช่องปากด้วยตนเองร่วมกับการอมกลั้วปากด้วยน้ำมันมะพร้าวต่ออาการเยื้อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด / เอมอร สุวรรณพิวัฒน์ in วารสารสภาการพยาบาล, Vol 32. No. 1 (Jan-Mar) 2017/60 ([07/25/2017])
[article]
Title : ผลของโปรแกรมการดูแลช่องปากด้วยตนเองร่วมกับการอมกลั้วปากด้วยน้ำมันมะพร้าวต่ออาการเยื้อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด Original title : Effects of Co-Applying Oral Health Self-Care Programme and Coconut Oil Gargle on Stomatitis in Cancer Patients Treated with Chemotherapy Material Type: printed text Authors: เอมอร สุวรรณพิวัฒน์, Author Publication Date: 2017 Article on page: p.18-31 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารสภาการพยาบาล > Vol 32. No. 1 (Jan-Mar) 2017/60 [07/25/2017] . - p.18-31Keywords: ภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบ. การดูแลช่องปาก. มะเร็ง. ยาเคมีบำบัด. การอมกลั้วปากด้วยน้ำมันพืช. น้ำมันมะพร้าว. Abstract: วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการดูแลช่องปากด้วยตนเองร่วมกับการอมกลั้วปากด้วยน้ำมันมะพร้าวต่ออาการเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด
การออกแบบวิจัย: ทดลองทางคลินิกแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม
การดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง 51 ราย เป็นผู้ป่วยผู้ใหญ่มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคใต้ ผู้วิจัยสุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่ม โดย การควบคุมตัวแปรเพศด้วยการจับสลาก กลุ่มทดลอง 1 (16 ราย)ได้รับโปรแกรมการดูแลช่องปากด้วยตนเอง กลุ่มทดลอง 2 (16 ราย) ได้รับโปรแกรมการดูแลช่องปากด้วยตนเอง เช่นเดียวกับ กลุ่มทดลอง 1 ร่วมกับการอมกลั้วปากด้วยน้ำมันมะพร้าว ในเวลาเช้าและก่อนนอน ติดต่อกัน เป็นเวลา 7 วัน กลุ่มควบคุม (19 ราย) ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างทุกรายจะได้รับ การประเมินอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบก่อนการทดลอง-ก่อนให้ยาเคมีบำบัด (T0) หลังได้รับ ยาเคมีบำบัดวันที่ 1 (T1) วันที่ 7 (T2) และวันที่ 14 (T3)
ผลการวิจัย: พบว่ากลุ่มทดลอง 2 มีคะแนนเฉลี่ยระดับอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบแตกต่าง จากก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p < .01) โดยมีคะแนนเพิ่มสูงสุดในวันที่ 7 (T2) และลดลงในวันที่ 14 (T3) หลังได้รับยาเคมีบำบัดและกละกลุ่มทดลอง 2 มีคะแนนเฉลี่ยระดับอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบต่ำกว่ากลุ่มทดลอง 1 และกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01)
ข้อเสนอแนะ: การศึกษานี้ให้หลักฐานสนับสนุนว่าโปรแกรมการดูแลช่องปากด้วยตนเอง ร่วมกับการอมกลั้วปากด้วยน้ำมะพร้าว ช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดมีการดูแลตนเอง และช่องปาก เพื่อจัดการอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบที่ดีขึ้น ช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของอาการเยื่อบุช่องปากได้ดีกว่าการใช้โปรแกรมการดูแลช่องปากด้วยตนเองเพียงอย่างเดียว จึงควรมีการสนับสนุนให้มีการใช้โปรแกรมการดูแลช่องปากด้วยตนเองร่วมกับการอมกลั้วปากด้วยน้ำมะพร้าวในทางคลินิกต่อไปLink for e-copy: http://www.tci-thaijo.org/index.php/TJONC Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26981 [article] ผลของโปรแกรมการดูแลช่องปากด้วยตนเองร่วมกับการอมกลั้วปากด้วยน้ำมันมะพร้าวต่ออาการเยื้อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด = Effects of Co-Applying Oral Health Self-Care Programme and Coconut Oil Gargle on Stomatitis in Cancer Patients Treated with Chemotherapy [printed text] / เอมอร สุวรรณพิวัฒน์, Author . - 2017 . - p.18-31.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารสภาการพยาบาล > Vol 32. No. 1 (Jan-Mar) 2017/60 [07/25/2017] . - p.18-31Keywords: ภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบ. การดูแลช่องปาก. มะเร็ง. ยาเคมีบำบัด. การอมกลั้วปากด้วยน้ำมันพืช. น้ำมันมะพร้าว. Abstract: วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการดูแลช่องปากด้วยตนเองร่วมกับการอมกลั้วปากด้วยน้ำมันมะพร้าวต่ออาการเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด
การออกแบบวิจัย: ทดลองทางคลินิกแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม
การดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง 51 ราย เป็นผู้ป่วยผู้ใหญ่มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคใต้ ผู้วิจัยสุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่ม โดย การควบคุมตัวแปรเพศด้วยการจับสลาก กลุ่มทดลอง 1 (16 ราย)ได้รับโปรแกรมการดูแลช่องปากด้วยตนเอง กลุ่มทดลอง 2 (16 ราย) ได้รับโปรแกรมการดูแลช่องปากด้วยตนเอง เช่นเดียวกับ กลุ่มทดลอง 1 ร่วมกับการอมกลั้วปากด้วยน้ำมันมะพร้าว ในเวลาเช้าและก่อนนอน ติดต่อกัน เป็นเวลา 7 วัน กลุ่มควบคุม (19 ราย) ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างทุกรายจะได้รับ การประเมินอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบก่อนการทดลอง-ก่อนให้ยาเคมีบำบัด (T0) หลังได้รับ ยาเคมีบำบัดวันที่ 1 (T1) วันที่ 7 (T2) และวันที่ 14 (T3)
ผลการวิจัย: พบว่ากลุ่มทดลอง 2 มีคะแนนเฉลี่ยระดับอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบแตกต่าง จากก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p < .01) โดยมีคะแนนเพิ่มสูงสุดในวันที่ 7 (T2) และลดลงในวันที่ 14 (T3) หลังได้รับยาเคมีบำบัดและกละกลุ่มทดลอง 2 มีคะแนนเฉลี่ยระดับอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบต่ำกว่ากลุ่มทดลอง 1 และกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01)
ข้อเสนอแนะ: การศึกษานี้ให้หลักฐานสนับสนุนว่าโปรแกรมการดูแลช่องปากด้วยตนเอง ร่วมกับการอมกลั้วปากด้วยน้ำมะพร้าว ช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดมีการดูแลตนเอง และช่องปาก เพื่อจัดการอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบที่ดีขึ้น ช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของอาการเยื่อบุช่องปากได้ดีกว่าการใช้โปรแกรมการดูแลช่องปากด้วยตนเองเพียงอย่างเดียว จึงควรมีการสนับสนุนให้มีการใช้โปรแกรมการดูแลช่องปากด้วยตนเองร่วมกับการอมกลั้วปากด้วยน้ำมะพร้าวในทางคลินิกต่อไปLink for e-copy: http://www.tci-thaijo.org/index.php/TJONC Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26981 ผลของโปรแกรมการเตือนตนเองด้านการบริโภคอาหารโดยใช้อินเตอร์เน็ตต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและน้ำหนักตัวในวัยรุ่นที่มีภาวะโภชนาการเกิน / ผลิดา หนุดละ in วารสารสภาการพยาบาล, Vol 32. No. 1 (Jan-Mar) 2017/60 ([07/25/2017])
[article]
Title : ผลของโปรแกรมการเตือนตนเองด้านการบริโภคอาหารโดยใช้อินเตอร์เน็ตต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและน้ำหนักตัวในวัยรุ่นที่มีภาวะโภชนาการเกิน Original title : Effect of Internet-Based Dietary Self-Monitoring Program on Dietary Behavior and Body Weight Among Overnutrition Adolescents Material Type: printed text Authors: ผลิดา หนุดละ, Author ; ปิยะนุช จิตตนูนท์, Author ; กาญจน์สุนภัส บาลทิพย์, Author Publication Date: 2017 Article on page: p.32-46 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารสภาการพยาบาล > Vol 32. No. 1 (Jan-Mar) 2017/60 [07/25/2017] . - p.32-46Keywords: โปรแกรมการเตือนตนเอง. อินเตอร์เน็ต. พฤติกรรมการบริโภค. น้ำหนักตัว. ภาวะโภชนาการเกิน. วัยรุ่น. Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเตือนตนเองด้านการบริโภคอาหาร
โดยใช้อินเตอร์เน็ตต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและน้ำหนักตัวในวัยรุ่นที่มีภาวะโภชนาการเกิน
การออกแบบวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง
การดำเนินการวิจัย: คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากโรงเรียนมัธยมที่มีขนาดใหญ่พิเศษในเขตเทศบาลนครแห่งหนึ่ง จำนวน 2 โรงเรียน โดยใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างนักเรียนวัยรุ่นที่มีภาวะโภชนาการเกินของแต่ละโรงเรียนแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด และจับคู่กลุ่มตัวอย่างทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมตามระดับภาวะโภชนาการ กลุ่มละ 24 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเตือนตนเองด้านการบริโภคอาหารโดยใช้อินเตอร์เน็ต เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมไม่ได้รับโปรแกรมดังกล่าว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการเตือนตนเองด้านการบริโภคอาหารโดยใช้อินเตอร์เน็ต 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และเครื่องชั่งน้ำหนักแบบดิจิตอล เครื่องมือทั้งหมดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหารผ่านการตรวจสอบความเที่ยงในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 20 ราย ได้ค่าสัมประสิทธิแอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .80 และเครื่องชั่งน้ำหนักตรวจสอบความเที่ยงโดยการเปรียบเทียบกับเครื่องมือมาตรฐานก่อนการชั่งทุกครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลโดยสถิติบรรยาย วิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคอาหารและน้ำหนักตัวภายในกลุ่มก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมโดยสถิติทีคู่ วิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคอาหารและน้ำหนักตัวระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยสถิติที
ผลการวิจัย: กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคอาหารหลังการทดลองสูงกว่า
ก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และนำ้หนักตัวตำ่กว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(p<.01) กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคอาหารหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) และนำ้หนักตัวกลุ่มทดลองหลังการทดลองตำ่กว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติ (p<.05)
สรุปผลการวิจัย: ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า โปรแกรมการเตือนตนเองด้านการบริโภคอาหาร
โดยใช้อินเตอร์เน็ต สามารถทำให้วัยรุ่นในโรงเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคอาหารและทำให้นำ้หนักตัวลดลงได้ ดังนั้นจึงควรนำไปใช้เพื่อจัดการภาวะโภชนาการเกินสำหรับวัยรุ่นในระบบการศึกษาหรือปรับใช้กับวัยรุ่นโดยทั่วไปLink for e-copy: http://www.tci-thaijo.org/index.php/TJONC Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26982 [article] ผลของโปรแกรมการเตือนตนเองด้านการบริโภคอาหารโดยใช้อินเตอร์เน็ตต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและน้ำหนักตัวในวัยรุ่นที่มีภาวะโภชนาการเกิน = Effect of Internet-Based Dietary Self-Monitoring Program on Dietary Behavior and Body Weight Among Overnutrition Adolescents [printed text] / ผลิดา หนุดละ, Author ; ปิยะนุช จิตตนูนท์, Author ; กาญจน์สุนภัส บาลทิพย์, Author . - 2017 . - p.32-46.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารสภาการพยาบาล > Vol 32. No. 1 (Jan-Mar) 2017/60 [07/25/2017] . - p.32-46Keywords: โปรแกรมการเตือนตนเอง. อินเตอร์เน็ต. พฤติกรรมการบริโภค. น้ำหนักตัว. ภาวะโภชนาการเกิน. วัยรุ่น. Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเตือนตนเองด้านการบริโภคอาหาร
โดยใช้อินเตอร์เน็ตต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและน้ำหนักตัวในวัยรุ่นที่มีภาวะโภชนาการเกิน
การออกแบบวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง
การดำเนินการวิจัย: คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากโรงเรียนมัธยมที่มีขนาดใหญ่พิเศษในเขตเทศบาลนครแห่งหนึ่ง จำนวน 2 โรงเรียน โดยใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างนักเรียนวัยรุ่นที่มีภาวะโภชนาการเกินของแต่ละโรงเรียนแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด และจับคู่กลุ่มตัวอย่างทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมตามระดับภาวะโภชนาการ กลุ่มละ 24 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเตือนตนเองด้านการบริโภคอาหารโดยใช้อินเตอร์เน็ต เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมไม่ได้รับโปรแกรมดังกล่าว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการเตือนตนเองด้านการบริโภคอาหารโดยใช้อินเตอร์เน็ต 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และเครื่องชั่งน้ำหนักแบบดิจิตอล เครื่องมือทั้งหมดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหารผ่านการตรวจสอบความเที่ยงในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 20 ราย ได้ค่าสัมประสิทธิแอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .80 และเครื่องชั่งน้ำหนักตรวจสอบความเที่ยงโดยการเปรียบเทียบกับเครื่องมือมาตรฐานก่อนการชั่งทุกครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลโดยสถิติบรรยาย วิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคอาหารและน้ำหนักตัวภายในกลุ่มก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมโดยสถิติทีคู่ วิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคอาหารและน้ำหนักตัวระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยสถิติที
ผลการวิจัย: กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคอาหารหลังการทดลองสูงกว่า
ก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และนำ้หนักตัวตำ่กว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(p<.01) กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคอาหารหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) และนำ้หนักตัวกลุ่มทดลองหลังการทดลองตำ่กว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติ (p<.05)
สรุปผลการวิจัย: ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า โปรแกรมการเตือนตนเองด้านการบริโภคอาหาร
โดยใช้อินเตอร์เน็ต สามารถทำให้วัยรุ่นในโรงเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคอาหารและทำให้นำ้หนักตัวลดลงได้ ดังนั้นจึงควรนำไปใช้เพื่อจัดการภาวะโภชนาการเกินสำหรับวัยรุ่นในระบบการศึกษาหรือปรับใช้กับวัยรุ่นโดยทั่วไปLink for e-copy: http://www.tci-thaijo.org/index.php/TJONC Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26982 ประสบการณ์การดูแลตนเองของผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริ / ดารุณี เงินแท้ in วารสารสภาการพยาบาล, Vol 32. No. 1 (Jan-Mar) 2017/60 ([07/25/2017])
[article]
Title : ประสบการณ์การดูแลตนเองของผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริ Original title : Self-Care Experience of People with Chronic Obstructive Pulmonary Disease (COPD) Exacerbation Material Type: printed text Authors: ดารุณี เงินแท้, Author ; มณี อาภานันทิกุล, Author ; สุมลชาติ ดวงบุบผา, Author Publication Date: 2017 Article on page: p.47-63 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารสภาการพยาบาล > Vol 32. No. 1 (Jan-Mar) 2017/60 [07/25/2017] . - p.47-63Keywords: ประสบการณ์การดูแลตนเอง. ผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบ. การวิจัยเชิงคุณภาพ. Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อศึกษาประสบการณ์การดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้น
เรื้อรังที่มีอาการกำเริบ
การออกแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงคุณภาพ
การดำเนินการวิจัย: คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำาหนดโดย
เป็นผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบ จำานวน 10 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก และบันทึกเทป วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย: ประสบการณ์การดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบ
แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะอาการกำาเริบและระยะอาการสงบ ซึ่งในระยะอาการกำเริบ ประกอบด้วย 4 ประเด็นหลัก ได้แก่
1) เคลื่อนไหวร่างกายให้น้อยที่สุด 2) จัดการอาการที่ทำให้หอบกำเริบมากขึ้น 3) จัดการทางเดินหายใจให้โล่งและ 4) ขอความช่วยเหลือจากคนในบ้านและเพื่อนบ้าน ส่วนในระยะอาการสงบ ประกอบด้วย 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) ควบคุมอาการหอบเหนื่อยไม่ให้กำาเริบมากขึ้น 2) หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้อาการหอบกำเริบอย่างเคร่งครัด และ 3) ทำกิจวัตรประจำวัน ตามปกติและตามสภาพร่างกาย จากการศึกษาในครั้งนี้ทำให้เข้าใจถึงประสบการณ์
การดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบ
ข้อเสนอแนะ: พยาบาลสามารถใช้ผลการศึกษานี้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการส่งเสริมให้ความรู้
ในการดูแลตนเองแก่ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำาเริบเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ในการวางแผนทางการพยาบาลทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเพื่อให้คำแนะนำ
และติดตามผลของการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบต่อไปLink for e-copy: http://www.tci-thaijo.org/index.php/TJONC Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26983 [article] ประสบการณ์การดูแลตนเองของผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริ = Self-Care Experience of People with Chronic Obstructive Pulmonary Disease (COPD) Exacerbation [printed text] / ดารุณี เงินแท้, Author ; มณี อาภานันทิกุล, Author ; สุมลชาติ ดวงบุบผา, Author . - 2017 . - p.47-63.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารสภาการพยาบาล > Vol 32. No. 1 (Jan-Mar) 2017/60 [07/25/2017] . - p.47-63Keywords: ประสบการณ์การดูแลตนเอง. ผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบ. การวิจัยเชิงคุณภาพ. Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อศึกษาประสบการณ์การดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้น
เรื้อรังที่มีอาการกำเริบ
การออกแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงคุณภาพ
การดำเนินการวิจัย: คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำาหนดโดย
เป็นผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบ จำานวน 10 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก และบันทึกเทป วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย: ประสบการณ์การดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบ
แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะอาการกำาเริบและระยะอาการสงบ ซึ่งในระยะอาการกำเริบ ประกอบด้วย 4 ประเด็นหลัก ได้แก่
1) เคลื่อนไหวร่างกายให้น้อยที่สุด 2) จัดการอาการที่ทำให้หอบกำเริบมากขึ้น 3) จัดการทางเดินหายใจให้โล่งและ 4) ขอความช่วยเหลือจากคนในบ้านและเพื่อนบ้าน ส่วนในระยะอาการสงบ ประกอบด้วย 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) ควบคุมอาการหอบเหนื่อยไม่ให้กำาเริบมากขึ้น 2) หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้อาการหอบกำเริบอย่างเคร่งครัด และ 3) ทำกิจวัตรประจำวัน ตามปกติและตามสภาพร่างกาย จากการศึกษาในครั้งนี้ทำให้เข้าใจถึงประสบการณ์
การดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบ
ข้อเสนอแนะ: พยาบาลสามารถใช้ผลการศึกษานี้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการส่งเสริมให้ความรู้
ในการดูแลตนเองแก่ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำาเริบเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ในการวางแผนทางการพยาบาลทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเพื่อให้คำแนะนำ
และติดตามผลของการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบต่อไปLink for e-copy: http://www.tci-thaijo.org/index.php/TJONC Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26983 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยในผู้สูงอายุ จังหวัดเชียงราย / ปิยะภร ไพรสนธิ์ in วารสารสภาการพยาบาล, Vol 32. No. 1 (Jan-Mar) 2017/60 ([07/25/2017])
[article]
Title : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยในผู้สูงอายุ จังหวัดเชียงราย Original title : Factors Related to Mild Cognitive Impairments in Elderly People in Chiang Rai Province Material Type: printed text Authors: ปิยะภร ไพรสนธิ์, Author ; พรสวรรค์ เชื้อเจ็ดตน, Author Publication Date: 2017 Article on page: p.64-80 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารสภาการพยาบาล > Vol 32. No. 1 (Jan-Mar) 2017/60 [07/25/2017] . - p.64-80Keywords: ภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย. ปัจจัยส่วนบุคคล. การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน. การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันขั้นซับซ้อน.ผู้สูงอายุ. Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย: ศึกษาภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยในผู้สูงอายุจังหวัดเชียงราย การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุที่มีภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ โรคเรื้อรังจำนวนยาที่รับประทาน และการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันกับภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยในผู้สูงอายุจังหวัดเชียงราย
การออกแบบการวิจัย: การวิจัยแบบพรรณนา
การดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงราย จำนวน 1,375 คน
เลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์คัดเข้าที่กำหนดไว้ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูล
ส่วนบุคคล แบบประเมินการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และแบบประเมินภาวะการรู้คิดบกพร่อง
เล็กน้อย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และพอยท์ไบซีเรียล
ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างมีภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย (MoCA < 25) จำนวน 1,108 คน (ร้อยละ 80.60) ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน (BADL) ได้ด้วยตนเอง (ร้อยละ 98.30) ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันขั้นซับซ้อนโดยมีอุปกรณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง (IADL) ได้ด้วยตนเอง(มากกว่าร้อยละ 82) ปัจจัยด้านเพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา รายได้ การดื่มแอลกอฮอล์ การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน (BADL) และการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันขั้นซับซ้อนโดยมีอุปกรณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง (IADL) มีความสัมพันธ์กับการเกิด
ภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 แต่ปัจจัยด้านการสูบบุหรี่ การเป็นโรคเรื้อรัง และจำนวนยาที่รับประทานเป็นประจำไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย
ข้อเสนอแนะ: ตรวจคัดกรองภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยในกลุ่มผู้สูงอายุ ศึกษาติดตามระยะยาว และหาวิธีการป้องกันหรือชะลอความเสื่อมของสภาพสมองLink for e-copy: http://www.tci-thaijo.org/index.php/TJONC Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26984 [article] ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยในผู้สูงอายุ จังหวัดเชียงราย = Factors Related to Mild Cognitive Impairments in Elderly People in Chiang Rai Province [printed text] / ปิยะภร ไพรสนธิ์, Author ; พรสวรรค์ เชื้อเจ็ดตน, Author . - 2017 . - p.64-80.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารสภาการพยาบาล > Vol 32. No. 1 (Jan-Mar) 2017/60 [07/25/2017] . - p.64-80Keywords: ภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย. ปัจจัยส่วนบุคคล. การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน. การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันขั้นซับซ้อน.ผู้สูงอายุ. Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย: ศึกษาภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยในผู้สูงอายุจังหวัดเชียงราย การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุที่มีภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ โรคเรื้อรังจำนวนยาที่รับประทาน และการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันกับภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยในผู้สูงอายุจังหวัดเชียงราย
การออกแบบการวิจัย: การวิจัยแบบพรรณนา
การดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงราย จำนวน 1,375 คน
เลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์คัดเข้าที่กำหนดไว้ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูล
ส่วนบุคคล แบบประเมินการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และแบบประเมินภาวะการรู้คิดบกพร่อง
เล็กน้อย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และพอยท์ไบซีเรียล
ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างมีภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย (MoCA < 25) จำนวน 1,108 คน (ร้อยละ 80.60) ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน (BADL) ได้ด้วยตนเอง (ร้อยละ 98.30) ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันขั้นซับซ้อนโดยมีอุปกรณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง (IADL) ได้ด้วยตนเอง(มากกว่าร้อยละ 82) ปัจจัยด้านเพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา รายได้ การดื่มแอลกอฮอล์ การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน (BADL) และการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันขั้นซับซ้อนโดยมีอุปกรณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง (IADL) มีความสัมพันธ์กับการเกิด
ภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 แต่ปัจจัยด้านการสูบบุหรี่ การเป็นโรคเรื้อรัง และจำนวนยาที่รับประทานเป็นประจำไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย
ข้อเสนอแนะ: ตรวจคัดกรองภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยในกลุ่มผู้สูงอายุ ศึกษาติดตามระยะยาว และหาวิธีการป้องกันหรือชะลอความเสื่อมของสภาพสมองLink for e-copy: http://www.tci-thaijo.org/index.php/TJONC Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26984 การวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาสถานพยาบาลแดนหญิงในเรือนจำ / ศุภาว์ เผือกเทศ in วารสารสภาการพยาบาล, Vol 32. No. 1 (Jan-Mar) 2017/60 ([07/25/2017])
[article]
Title : การวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาสถานพยาบาลแดนหญิงในเรือนจำ Original title : Analysis of Approaches to Improving the Healthcare Facility for Women's Inmates Material Type: printed text Authors: ศุภาว์ เผือกเทศ, Author ; นันทกา สวัสดิพานิช, Author ; เดือนทิพย์ เขษมโอภาส, Author Publication Date: 2017 Article on page: p.94-114 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารสภาการพยาบาล > Vol 32. No. 1 (Jan-Mar) 2017/60 [07/25/2017] . - p.94-114Keywords: แนวทางการพัฒนา. สถานพยาบาลแดนหญิง. ผู้ต้องขังหญิง. เรือนจำ. Abstract: วัตถุประสงค์การวิจัย : เพื่อประเมินสถานพยาบาลแดนหญิง วิเคราะห์ปัญหาหรืออุปสรรคในการพัฒนาคุณภาพการจัดบริการด้านสุขภาพ และวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาสถานพยาบาลแดนหญิง
การออกแบบวิจัย : การวิจัยเชิงบรรยาย
การดำเนินการวิจัย : เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบประเมินสถานพยาบาลแดนหญิง และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ การสังเกต และการตรวจสอบเอกสาร ตั้งแต่เดือนสิงหาคมพ.ศ. 2558 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2559 ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย 1) ผู้บริหาร พยาบาล และเจ้าหน้าที่ รวมจำนวน 44 คน 2) ผู้ต้องขังหญิงจำนวน 121 คน และ 3) กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการประชาพิจารณ์แนวทางการพัฒนาสถานพยาบาลแดนหญิงจำนวน 43 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติบรรยายและข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย : สถานพยาบาลแดนหญิง 7 ใน 14 แห่ง ผ่านเกณฑ์การประเมินตามมาตรฐานสถานพยาบาลแดนหญิง ผลการวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาสถานพยาบาลพบประเด็นดังนี้ 1) มาตรฐานการบริหารจัดการสถานพยาบาลแดนหญิงในส่วนของบริบท คือ 1.1) นโยบายและงบประมาณการดูแลสุขภาพ และส่วนปัจจัยนำเข้า คือ 1.2) อัตรากำลังบุคลากร 1.3) การพัฒนาศักยภาพบุคลากร 1.4) ระบบการทำงานร่วมกัน 1.5) ความพร้อมของสถานพยาบาลและ 1.6) การสร้างเครือข่ายภายนอก 2) มาตรฐานการจัดบริการด้านสุขภาพในแดนหญิง คือ 2.1) การสำรวจและวิเคราะห์ปัญหาด้านสุขภาพ 2.2) การจัดบริการด้านสุขภาพครบทุกมิติ 2.3) การจัดทำและดำเนินการตามแนวปฏิบัติ 2.4) การพัฒนาระบบการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลด้านสุขภาพ 3) มาตรฐานผลลัพธ์จากการจัดบริการด้านสุขภาพในแดนหญิง คือ 3.1) ความพึงพอใจในบริการสุขภาพ 3.2) ความรู้ความเข้าใจในภาวะสุขภาพ 3.3)อุบัติการณ์โรคติดต่อรายใหม่ลดลง และ 3.4) ผู้ต้องขังหญิงกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองโรค
ข้อเสนอแนะ : แนวทางการพัฒนาสถานพยาบาลแดนหญิงที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้พัฒนาคุณภาพการจัดบริการด้านสุขภาพได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยบุคลากรและหน่วยงานระดับต่างๆ ของกรมราชทัณฑ์มีส่วนร่วมรับผิดชอบดำเนินการภายใต้ความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายLink for e-copy: http://www.tci-thaijo.org/index.php/TJONC Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26985 [article] การวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาสถานพยาบาลแดนหญิงในเรือนจำ = Analysis of Approaches to Improving the Healthcare Facility for Women's Inmates [printed text] / ศุภาว์ เผือกเทศ, Author ; นันทกา สวัสดิพานิช, Author ; เดือนทิพย์ เขษมโอภาส, Author . - 2017 . - p.94-114.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารสภาการพยาบาล > Vol 32. No. 1 (Jan-Mar) 2017/60 [07/25/2017] . - p.94-114Keywords: แนวทางการพัฒนา. สถานพยาบาลแดนหญิง. ผู้ต้องขังหญิง. เรือนจำ. Abstract: วัตถุประสงค์การวิจัย : เพื่อประเมินสถานพยาบาลแดนหญิง วิเคราะห์ปัญหาหรืออุปสรรคในการพัฒนาคุณภาพการจัดบริการด้านสุขภาพ และวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาสถานพยาบาลแดนหญิง
การออกแบบวิจัย : การวิจัยเชิงบรรยาย
การดำเนินการวิจัย : เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบประเมินสถานพยาบาลแดนหญิง และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ การสังเกต และการตรวจสอบเอกสาร ตั้งแต่เดือนสิงหาคมพ.ศ. 2558 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2559 ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย 1) ผู้บริหาร พยาบาล และเจ้าหน้าที่ รวมจำนวน 44 คน 2) ผู้ต้องขังหญิงจำนวน 121 คน และ 3) กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการประชาพิจารณ์แนวทางการพัฒนาสถานพยาบาลแดนหญิงจำนวน 43 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติบรรยายและข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย : สถานพยาบาลแดนหญิง 7 ใน 14 แห่ง ผ่านเกณฑ์การประเมินตามมาตรฐานสถานพยาบาลแดนหญิง ผลการวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาสถานพยาบาลพบประเด็นดังนี้ 1) มาตรฐานการบริหารจัดการสถานพยาบาลแดนหญิงในส่วนของบริบท คือ 1.1) นโยบายและงบประมาณการดูแลสุขภาพ และส่วนปัจจัยนำเข้า คือ 1.2) อัตรากำลังบุคลากร 1.3) การพัฒนาศักยภาพบุคลากร 1.4) ระบบการทำงานร่วมกัน 1.5) ความพร้อมของสถานพยาบาลและ 1.6) การสร้างเครือข่ายภายนอก 2) มาตรฐานการจัดบริการด้านสุขภาพในแดนหญิง คือ 2.1) การสำรวจและวิเคราะห์ปัญหาด้านสุขภาพ 2.2) การจัดบริการด้านสุขภาพครบทุกมิติ 2.3) การจัดทำและดำเนินการตามแนวปฏิบัติ 2.4) การพัฒนาระบบการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลด้านสุขภาพ 3) มาตรฐานผลลัพธ์จากการจัดบริการด้านสุขภาพในแดนหญิง คือ 3.1) ความพึงพอใจในบริการสุขภาพ 3.2) ความรู้ความเข้าใจในภาวะสุขภาพ 3.3)อุบัติการณ์โรคติดต่อรายใหม่ลดลง และ 3.4) ผู้ต้องขังหญิงกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองโรค
ข้อเสนอแนะ : แนวทางการพัฒนาสถานพยาบาลแดนหญิงที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้พัฒนาคุณภาพการจัดบริการด้านสุขภาพได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยบุคลากรและหน่วยงานระดับต่างๆ ของกรมราชทัณฑ์มีส่วนร่วมรับผิดชอบดำเนินการภายใต้ความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายLink for e-copy: http://www.tci-thaijo.org/index.php/TJONC Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26985 ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 / กมลพร สิริคุตจตุพร in วารสารสภาการพยาบาล, Vol 32. No. 1 (Jan-Mar) 2017/60 ([07/25/2017])
[article]
Title : ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 Original title : Factors Predicting Self-Management Behaviour of Elderly Type 2 Diabetes Patients Material Type: printed text Authors: กมลพร สิริคุตจตุพร, Author ; วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์, Author ; นารีรัตน์ จิตรมนตรี, Author Publication Date: 2017 Article on page: p.84-93 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารสภาการพยาบาล > Vol 32. No. 1 (Jan-Mar) 2017/60 [07/25/2017] . - p.84-93Keywords: การรับรู้สมรรถนะแห่งตน. การกำกับตนเอง. การสนับสนุนทางสังคม. พฤติกรรมการจัดการตนเอง. ผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2. Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย : เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของความรู้เรื่องโรคเบาหวาน
การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การกำกับตนเอง และการสนับสนุนทางสังคม ต่อพฤติกรรม
การจัดการตนเองของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2
การออกแบบการวิจัย: การวิจัยแบบหาอำนาจการทำนาย
วิธีการดำเนินการวิจัย: การวิจัยนี้ใช้กรอบแนวคิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบ
ผสมผสานของ Ryan กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อายุ 60 ปีขึ้นไปคัดเลือกตามเกณฑ์คัดเข้า จำนวน 132 คน เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน และสถิติสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัย: พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการจัดการตนเองโดยรวมอยู่ในระดับ
ปานกลาง ( = 5.59, SD. = 0.87) ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การกำกับตนเอง และการสนับสนุนทางสังคม สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเอง
ได้ร้อยละ 81.2 (R2= .812, F = 142.59, p < .01) และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนสามารถทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองได้สูงสุด (β = .597, p < .01)
ข้อเสนอแนะ: ผลการวิจัยนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวาน
ชนิดที่ 2 ครอบครัว เพื่อนหรือเพื่อนบ้าน และบุคลากรทางการแพทย์ ควรมีส่วนร่วมในการใช้
หลักอาหารแลกเปลี่ยนและการออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
สุขภาพของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และผลการวิจัยสามารถนำไปพัฒนาโปรแกรม
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุโรคเบาหวานต่อไปLink for e-copy: http://www.tci-thaijo.org/index.php/TJONC Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26986 [article] ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 = Factors Predicting Self-Management Behaviour of Elderly Type 2 Diabetes Patients [printed text] / กมลพร สิริคุตจตุพร, Author ; วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์, Author ; นารีรัตน์ จิตรมนตรี, Author . - 2017 . - p.84-93.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารสภาการพยาบาล > Vol 32. No. 1 (Jan-Mar) 2017/60 [07/25/2017] . - p.84-93Keywords: การรับรู้สมรรถนะแห่งตน. การกำกับตนเอง. การสนับสนุนทางสังคม. พฤติกรรมการจัดการตนเอง. ผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2. Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย : เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของความรู้เรื่องโรคเบาหวาน
การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การกำกับตนเอง และการสนับสนุนทางสังคม ต่อพฤติกรรม
การจัดการตนเองของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2
การออกแบบการวิจัย: การวิจัยแบบหาอำนาจการทำนาย
วิธีการดำเนินการวิจัย: การวิจัยนี้ใช้กรอบแนวคิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบ
ผสมผสานของ Ryan กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อายุ 60 ปีขึ้นไปคัดเลือกตามเกณฑ์คัดเข้า จำนวน 132 คน เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน และสถิติสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัย: พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการจัดการตนเองโดยรวมอยู่ในระดับ
ปานกลาง ( = 5.59, SD. = 0.87) ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การกำกับตนเอง และการสนับสนุนทางสังคม สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเอง
ได้ร้อยละ 81.2 (R2= .812, F = 142.59, p < .01) และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนสามารถทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองได้สูงสุด (β = .597, p < .01)
ข้อเสนอแนะ: ผลการวิจัยนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวาน
ชนิดที่ 2 ครอบครัว เพื่อนหรือเพื่อนบ้าน และบุคลากรทางการแพทย์ ควรมีส่วนร่วมในการใช้
หลักอาหารแลกเปลี่ยนและการออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
สุขภาพของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และผลการวิจัยสามารถนำไปพัฒนาโปรแกรม
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุโรคเบาหวานต่อไปLink for e-copy: http://www.tci-thaijo.org/index.php/TJONC Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26986 การจัดการด้านโภชนาการและผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรง / สุพรพรรณ์ กิจบรรยงเลิศ in วารสารสภาการพยาบาล, Vol 32. No. 1 (Jan-Mar) 2017/60 ([07/25/2017])
[article]
Title : การจัดการด้านโภชนาการและผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรง Original title : Nutritional Management and Clinical Outcomes of Patients with Severe Traumatic Brain Injury at Vachira Phuket Hospital Material Type: printed text Authors: สุพรพรรณ์ กิจบรรยงเลิศ, Author ; นฤมล หอบุตร, Author ; ยุทธนา คงนาม, Author Publication Date: 2017 Article on page: p.115-132 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารสภาการพยาบาล > Vol 32. No. 1 (Jan-Mar) 2017/60 [07/25/2017] . - p.115-132Keywords: บาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรง. การจัดการด้านโภชนาการ. Abstract: วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการจัดการด้านโภชนาการในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรงและเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางคลินิกระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการด้านโภชนาการและกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลแบบปกติ
การออกแบบวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน
การดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง 50 คน เป็นผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรง อายุ 18 ปีขึ้นไป มี GCS <8 คะแนน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 25 คน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลแบบปกติ กลุ่มทดลองได้รับการจัดการด้านโภชนาการ ประกอบด้วย การประเมินภาวะเสี่ยงทางโภชนาการ การเริ่มให้อาหารปั่นสูตรพิเศษทางทางเดินอาหาร ภายใน 24-48 ชั่วโมง การคำนวณพลังงานเป้าหมายและพลังงานที่ได้รับแต่ละวัน และการเตือนแพทย์เพื่อการจัดการโภชนาการที่เหมาะสม วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติบรรยาย และเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางคลินิกด้วยสถิติอ้างอิงพาราเมตริกหรือนอน-พาราเมตริกตามลักษณะของชุดข้อมูล
ผลการวิจัย: กลุ่มทดลองเริ่มให้อาหารทางสายยางหลังจากการรักษาตัวในโรงพยาบาลเร็วกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (Md = 33 ชั่วโมง, IQR = 27; Md = 46 ชั่วโมง, IQR = 38, ตามลำดับ; Z =-2.26, p < .05) กลุ่มทดลองได้รับพลังงานถึงเป้าหมายเร็วกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (Md = วันที่ 6, IQR = 5, และ Md = วันที่ 10.5 IQR = 8, ตามลำดับ; Z = -2.20, p. < .05) และมีจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับพลังงานถึงเป้าหมายภายใน 7 วันมากกว่ากลุ่มควบคุม ( 2= 13.23, p < .001) ด้านผลลัพธ์ทางคลินิก พบว่า อัตราการตายของกลุ่มทดลอง (ไม่มี) ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (ร้อยละ 16) ( 2= 4.39, p < .05) ส่วนด้านคะแนน GCS จำนวนวันที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ จำนวนวันนอนโรงพยาบาล และการติดเชื้อตำแหน่งต่าง ๆ ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างสองกลุ่ม ส่วนระดับอัลบูมินในเลือดของกลุ่มทดลองพบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในวันที่ 1, 7 และ 14ของกลุ่มทดลองไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
ข้อเสนอแนะ: การจัดการด้านโภชนาการส่งผลดีต่อผลลัพธ์ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรง แต่ควรมีการติดตามอย่างต่อเนื่องในระยะยาวต่อไปLink for e-copy: http://www.tci-thaijo.org/index.php/TJONC Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26987 [article] การจัดการด้านโภชนาการและผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรง = Nutritional Management and Clinical Outcomes of Patients with Severe Traumatic Brain Injury at Vachira Phuket Hospital [printed text] / สุพรพรรณ์ กิจบรรยงเลิศ, Author ; นฤมล หอบุตร, Author ; ยุทธนา คงนาม, Author . - 2017 . - p.115-132.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารสภาการพยาบาล > Vol 32. No. 1 (Jan-Mar) 2017/60 [07/25/2017] . - p.115-132Keywords: บาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรง. การจัดการด้านโภชนาการ. Abstract: วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการจัดการด้านโภชนาการในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรงและเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางคลินิกระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการด้านโภชนาการและกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลแบบปกติ
การออกแบบวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน
การดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง 50 คน เป็นผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรง อายุ 18 ปีขึ้นไป มี GCS <8 คะแนน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 25 คน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลแบบปกติ กลุ่มทดลองได้รับการจัดการด้านโภชนาการ ประกอบด้วย การประเมินภาวะเสี่ยงทางโภชนาการ การเริ่มให้อาหารปั่นสูตรพิเศษทางทางเดินอาหาร ภายใน 24-48 ชั่วโมง การคำนวณพลังงานเป้าหมายและพลังงานที่ได้รับแต่ละวัน และการเตือนแพทย์เพื่อการจัดการโภชนาการที่เหมาะสม วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติบรรยาย และเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางคลินิกด้วยสถิติอ้างอิงพาราเมตริกหรือนอน-พาราเมตริกตามลักษณะของชุดข้อมูล
ผลการวิจัย: กลุ่มทดลองเริ่มให้อาหารทางสายยางหลังจากการรักษาตัวในโรงพยาบาลเร็วกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (Md = 33 ชั่วโมง, IQR = 27; Md = 46 ชั่วโมง, IQR = 38, ตามลำดับ; Z =-2.26, p < .05) กลุ่มทดลองได้รับพลังงานถึงเป้าหมายเร็วกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (Md = วันที่ 6, IQR = 5, และ Md = วันที่ 10.5 IQR = 8, ตามลำดับ; Z = -2.20, p. < .05) และมีจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับพลังงานถึงเป้าหมายภายใน 7 วันมากกว่ากลุ่มควบคุม ( 2= 13.23, p < .001) ด้านผลลัพธ์ทางคลินิก พบว่า อัตราการตายของกลุ่มทดลอง (ไม่มี) ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (ร้อยละ 16) ( 2= 4.39, p < .05) ส่วนด้านคะแนน GCS จำนวนวันที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ จำนวนวันนอนโรงพยาบาล และการติดเชื้อตำแหน่งต่าง ๆ ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างสองกลุ่ม ส่วนระดับอัลบูมินในเลือดของกลุ่มทดลองพบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในวันที่ 1, 7 และ 14ของกลุ่มทดลองไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
ข้อเสนอแนะ: การจัดการด้านโภชนาการส่งผลดีต่อผลลัพธ์ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรง แต่ควรมีการติดตามอย่างต่อเนื่องในระยะยาวต่อไปLink for e-copy: http://www.tci-thaijo.org/index.php/TJONC Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26987 ภาวะโลหิตจางในผู้สูงอายุภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย / ปิยะภร ไพรสนธิ์ in วารสารสภาการพยาบาล, Vol 32. No. 1 (Jan-Mar) 2017/60 ([07/25/2017])
[article]
Title : ภาวะโลหิตจางในผู้สูงอายุภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย Original title : Anaemia in Elderly People in Upper-Northern Thailand Material Type: printed text Authors: ปิยะภร ไพรสนธิ์, Author ; พรทิพย์ สารีโส, Author ; พัชราภรณ์ อารีย์, Author Publication Date: 2017 Article on page: p.133-145 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารสภาการพยาบาล > Vol 32. No. 1 (Jan-Mar) 2017/60 [07/25/2017] . - p.133-145Keywords: ภาวะโลหิตจาง. ผู้สูงอายุไทย. ภาวะโภชนการ. อาการที่สัมพันธ์กับภาวะโลหิตจาง.anaemia. Abstract: วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของภาวะโลหิตจางในผู้สูงอายุภาคเหนือตอนบนของ
ประเทศไทย อาการที่สัมพันธ์กับภาวะโลหิตจาง และภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุที่มีภาวะโลหิตจาง
การออกแบบวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา
วิธีดำเนินการวิจัย: คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จากผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี
ขึ้นไป อาศัยอยู่ในเขตภาคเหนือ 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา และลำพูน
จำนวน 477 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และเจาะเลือดส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย
ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างจำานวน 477 คน มีภาวะโลหิตจางจำนวน 130 คน (ร้อยละ 27.3)ส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 65.4) โดยเพศหญิงมีภาวะโลหิตจาง (Hb < 12 g/dL)85 คน คิดเป็นร้อยละ 28.1 เพศชายมีภาวะโลหิตจาง (Hb < 13 g/dL) 45 คน
คิดเป็นร้อยละ 25.7 มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก 3 คน คิดเป็นร้อยละ 2.3
มีอาการที่สัมพันธ์กับภาวะซีดภายใน 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา 5 อันดับแรก ได้แก่
อาการหลงลืมง่าย คิดช้า คิดไม่ค่อยออก ขาเป็นตะคริว นอนไม่หลับ และรู้สึกไม่คล่องแคล่ว
อาการส่วนใหญ่อยู่ในระดับไม่รุนแรง มีภาวะโภชนาการระดับปกติ ร้อยละ 54.6 และมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะทุพโภชนาการ ร้อยละ 44.6
ข้อเสนอแนะ: บุคลากรสุขภาพควรตระหนักถึงความสำาคัญของภาวะโลหิตจางในผู้สูงอายุ
มีการประเมินติดตามอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเฝ้าระวังอาการที่สัมพันธ์กับภาวะโลหิตจาง
ที่อาจเกิดขึ้นLink for e-copy: http://www.tci-thaijo.org/index.php/TJONC Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26988 [article] ภาวะโลหิตจางในผู้สูงอายุภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย = Anaemia in Elderly People in Upper-Northern Thailand [printed text] / ปิยะภร ไพรสนธิ์, Author ; พรทิพย์ สารีโส, Author ; พัชราภรณ์ อารีย์, Author . - 2017 . - p.133-145.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารสภาการพยาบาล > Vol 32. No. 1 (Jan-Mar) 2017/60 [07/25/2017] . - p.133-145Keywords: ภาวะโลหิตจาง. ผู้สูงอายุไทย. ภาวะโภชนการ. อาการที่สัมพันธ์กับภาวะโลหิตจาง.anaemia. Abstract: วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของภาวะโลหิตจางในผู้สูงอายุภาคเหนือตอนบนของ
ประเทศไทย อาการที่สัมพันธ์กับภาวะโลหิตจาง และภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุที่มีภาวะโลหิตจาง
การออกแบบวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา
วิธีดำเนินการวิจัย: คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จากผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี
ขึ้นไป อาศัยอยู่ในเขตภาคเหนือ 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา และลำพูน
จำนวน 477 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และเจาะเลือดส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย
ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างจำานวน 477 คน มีภาวะโลหิตจางจำนวน 130 คน (ร้อยละ 27.3)ส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 65.4) โดยเพศหญิงมีภาวะโลหิตจาง (Hb < 12 g/dL)85 คน คิดเป็นร้อยละ 28.1 เพศชายมีภาวะโลหิตจาง (Hb < 13 g/dL) 45 คน
คิดเป็นร้อยละ 25.7 มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก 3 คน คิดเป็นร้อยละ 2.3
มีอาการที่สัมพันธ์กับภาวะซีดภายใน 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา 5 อันดับแรก ได้แก่
อาการหลงลืมง่าย คิดช้า คิดไม่ค่อยออก ขาเป็นตะคริว นอนไม่หลับ และรู้สึกไม่คล่องแคล่ว
อาการส่วนใหญ่อยู่ในระดับไม่รุนแรง มีภาวะโภชนาการระดับปกติ ร้อยละ 54.6 และมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะทุพโภชนาการ ร้อยละ 44.6
ข้อเสนอแนะ: บุคลากรสุขภาพควรตระหนักถึงความสำาคัญของภาวะโลหิตจางในผู้สูงอายุ
มีการประเมินติดตามอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเฝ้าระวังอาการที่สัมพันธ์กับภาวะโลหิตจาง
ที่อาจเกิดขึ้นLink for e-copy: http://www.tci-thaijo.org/index.php/TJONC Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26988 การวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมการดูแลรักษาเด็กโรคปอดอักเสบและต้นทุน การวินิจฉัยโรคร่วมในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลเชียงคำ / ปวีณา วรรณวิภาพร in วารสารสภาการพยาบาล, Vol 32. No. 1 (Jan-Mar) 2017/60 ([07/25/2017])
[article]
Title : การวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมการดูแลรักษาเด็กโรคปอดอักเสบและต้นทุน การวินิจฉัยโรคร่วมในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลเชียงคำ Material Type: printed text Authors: ปวีณา วรรณวิภาพร, Author ; พิกุลแก้ว เจนใจ, Author ; ศุภลักษณ์ อยู่ยอด, Author Publication Date: 2017 Article on page: p.146-157 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารสภาการพยาบาล > Vol 32. No. 1 (Jan-Mar) 2017/60 [07/25/2017] . - p.146-157Keywords: ต้นทุนกิจกรรม. การดูแลรักษา. ต้นทุนการวินิจฉัยโรคเด็กโรคปอดอักเสบ. Abstract: วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างต้นทุนกิจกรรมการดูแลรักษากับต้นทุน
การวินิจฉัย โรคร่วมในเด็กโรคปอดอักเสบ หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลเชียงคำ
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงบรรยาย
วิธีดำเนินการวิจัย; ประชากรที่ศึกษา คือ ทีมเจ้าหน้าที่ที่ดูแลรักษาเด็กป่วยโรคปอดอักเสบ
ทั้งหมดจำนวน 25 คน และเด็กป่วยโรคปอดอักเสบที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม
โรงพยาบาลเชียงคำ ระหว่างพฤษภาคม ถึงสิงหาคม 2559 ประชากรทั้งหมดจำนวน 39 คน ใช้ขนาดตัวอย่าง จำนวน 14 คน กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 6 ชุด คือ
ชุดที่ 1 แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของเด็กป่วย ชุดที่ 2 พจนานุกรมกิจกรรมการดูแลรักษาจำนวน 5 กิจกรรมหลัก ชุดที่ 3 แบบสังเกตเวลาที่ใช้ในการทำกิจกรรม ชุดที่ 4 แบบบันทึกข้อมูลการจัดบริการเด็กป่วยโรคปอดอักเสบ ชุดที่ 5 แบบบันทึกต้นทุน และชุดที่ 6 แบบบันทึกข้อมูล ตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน และได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ .96 ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย
ผลการวิจัย: พบว่า ต้นทุนกิจกรรมการดูแลรักษารวมสำหรับผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบโดย
ไม่คิดรวมค่ายา ค่าตรวจวินิจฉัย ค่าห้อง ค่าอาหารและค่าสาธารณูปโภค ต่อราย เท่ากับ 1,765.22 บาท กิจกรรมที่มีต้นทุนสูงที่สุด คือ กิจกรรมการพยาบาลต่อเนื่อง เท่ากับ 855.15 บาท (ร้อยละ 48) กิจกรรมที่มีต้นทุนตำ่ที่สุด คือ กิจกรรมของทีมสหสาขาวิชาชีพ เท่ากับ 140.69 บาท (ร้อยละ 13)และพบว่าต้นทุนกิจกรรมการดูแลรักษา (ABC) ต่อราย โดยคิดรวมค่ายา ค่าตรวจวินิจฉัย ค่าห้อง/ค่าอาหาร และค่าสาธารณูปโภค เท่ากับ 4,617.87 บาท บาท การวิจัยนี้พบว่า ความแตกต่างระหว่างต้นทุนกิจกรรมการดูแลรักษาตำ่กว่าต้นทุนการวินิจฉัยตามกลุ่มโรค (DRG) เฉลี่ยต่อรายเท่ากับ
5,047.61 บาท
ข้อเสนอแนะ: ผู้บริหารควรนำเสนอผลการวิจัยให้บุคลากรในหน่วยงานได้ทราบเพื่อให้เกิด
ความตระหนักในการลดต้นทุนในการทำกิจกรรมโดยการคิดมาตรการ นวัตกรรม หรือนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในงานเอกสารเพื่อลดต้นทุนและลดเวลาในกิจกรรมการดูแลรักษาLink for e-copy: http://www.tci-thaijo.org/index.php/TJONC Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26989 [article] การวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมการดูแลรักษาเด็กโรคปอดอักเสบและต้นทุน การวินิจฉัยโรคร่วมในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลเชียงคำ [printed text] / ปวีณา วรรณวิภาพร, Author ; พิกุลแก้ว เจนใจ, Author ; ศุภลักษณ์ อยู่ยอด, Author . - 2017 . - p.146-157.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารสภาการพยาบาล > Vol 32. No. 1 (Jan-Mar) 2017/60 [07/25/2017] . - p.146-157Keywords: ต้นทุนกิจกรรม. การดูแลรักษา. ต้นทุนการวินิจฉัยโรคเด็กโรคปอดอักเสบ. Abstract: วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างต้นทุนกิจกรรมการดูแลรักษากับต้นทุน
การวินิจฉัย โรคร่วมในเด็กโรคปอดอักเสบ หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลเชียงคำ
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงบรรยาย
วิธีดำเนินการวิจัย; ประชากรที่ศึกษา คือ ทีมเจ้าหน้าที่ที่ดูแลรักษาเด็กป่วยโรคปอดอักเสบ
ทั้งหมดจำนวน 25 คน และเด็กป่วยโรคปอดอักเสบที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม
โรงพยาบาลเชียงคำ ระหว่างพฤษภาคม ถึงสิงหาคม 2559 ประชากรทั้งหมดจำนวน 39 คน ใช้ขนาดตัวอย่าง จำนวน 14 คน กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 6 ชุด คือ
ชุดที่ 1 แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของเด็กป่วย ชุดที่ 2 พจนานุกรมกิจกรรมการดูแลรักษาจำนวน 5 กิจกรรมหลัก ชุดที่ 3 แบบสังเกตเวลาที่ใช้ในการทำกิจกรรม ชุดที่ 4 แบบบันทึกข้อมูลการจัดบริการเด็กป่วยโรคปอดอักเสบ ชุดที่ 5 แบบบันทึกต้นทุน และชุดที่ 6 แบบบันทึกข้อมูล ตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน และได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ .96 ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย
ผลการวิจัย: พบว่า ต้นทุนกิจกรรมการดูแลรักษารวมสำหรับผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบโดย
ไม่คิดรวมค่ายา ค่าตรวจวินิจฉัย ค่าห้อง ค่าอาหารและค่าสาธารณูปโภค ต่อราย เท่ากับ 1,765.22 บาท กิจกรรมที่มีต้นทุนสูงที่สุด คือ กิจกรรมการพยาบาลต่อเนื่อง เท่ากับ 855.15 บาท (ร้อยละ 48) กิจกรรมที่มีต้นทุนตำ่ที่สุด คือ กิจกรรมของทีมสหสาขาวิชาชีพ เท่ากับ 140.69 บาท (ร้อยละ 13)และพบว่าต้นทุนกิจกรรมการดูแลรักษา (ABC) ต่อราย โดยคิดรวมค่ายา ค่าตรวจวินิจฉัย ค่าห้อง/ค่าอาหาร และค่าสาธารณูปโภค เท่ากับ 4,617.87 บาท บาท การวิจัยนี้พบว่า ความแตกต่างระหว่างต้นทุนกิจกรรมการดูแลรักษาตำ่กว่าต้นทุนการวินิจฉัยตามกลุ่มโรค (DRG) เฉลี่ยต่อรายเท่ากับ
5,047.61 บาท
ข้อเสนอแนะ: ผู้บริหารควรนำเสนอผลการวิจัยให้บุคลากรในหน่วยงานได้ทราบเพื่อให้เกิด
ความตระหนักในการลดต้นทุนในการทำกิจกรรมโดยการคิดมาตรการ นวัตกรรม หรือนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในงานเอกสารเพื่อลดต้นทุนและลดเวลาในกิจกรรมการดูแลรักษาLink for e-copy: http://www.tci-thaijo.org/index.php/TJONC Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26989