Collection Title: | SIU THE-T | Title : | การยอมรับนวัตกรรมอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งของผู้สูงวัยที่ต้องการใช้แพลตฟอร์มแอนดรอยด์เพื่อดูแลสุขภาพ : กรณีศึกษาผู้สูงวัยในจังหวัดสมุทรปราการ | Original title : | Adoption of Internet of Things by the Elderly for Health Care for Health Care Android Platform: Case Study of Aging in Samutprakarn province | Material Type: | printed text | Authors: | ปัญจรัตน์ หาญพานิช, Author ; วุฒิพงศ์ พงศ์สุวรรณ, Associated Name ; ปาลพล รอดลอยทุกข์, Associated Name | Publisher: | กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร | Publication Date: | 2019 | Pagination: | xi, 72 น. | Layout: | ตาราง, ภาพประกอบ | Size: | 30 ซม. | Price: | 500.00 บาท | General note: | SIU THE-T: SOLA-PhD-MIC-2019-02
Thesis. [PhD-MIC [ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสื่อ สารสนเทศและการสื่อสาร]] -- มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2562 | Languages : | Thai (tha) | Descriptors: | [LCSH]นวัตกรรม [LCSH]ผู้สูงอายุ -- สุขภาพและอนามัย -- สมุทรปราการ
| Keywords: | สูงวัย, เบบี้บูมเมอร์, สุขภาพ, อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง, แอนดรอยด์, การยอมรับ | Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อทราบถึงพฤติกรรมในการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารของ
ผู้สูงวัยในจังหวัดสมุทรปราการ 2) เพื่อทราบถึงความต้องการในการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งของผู้สูงวัยในจังหวัดสมุทรปราการ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ต่อการยอมรับการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งของผู้สูงวัยในจังหวัดสมุทรปราการ 4) เพื่อทราบถึงความต้องการใช้แพลตฟอร์มแอนดรอยด์เพื่อดูแลสุขภาพสำหรับผู้สูงวัย โดยกลุ่มตัวอย่างคือประชากรผู้สูงวัยทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ใน 23 อำเภอของจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 400 คน
ผลของการศึกษาพบว่า 1) ทราบถึงพฤติกรรมในการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารของผู้สูงวัยในจังหวัดสมุทรปราการ พบว่าผู้สูงอายุส่วนมากมีการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารแบบมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบเป็นครั้งคราว คิดเป็นร้อยละ 38.0 รองลงมาคือใช้เทคโนโลยีการสื่อสารแต่ไม่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เนื่องจากกลัวสิ้นเปลือง 2) พบความต้องการในการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งของผู้สูงวัยในจังหวัดสมุทรปราการ อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 75.6 3) พบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งของผู้สูงวัยในจังหวัดสมุทรปราการ พบว่าไม่ว่าจะเป็นเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ และสุขภาพ ไม่ใช่ปัจจัยที่จะทำให้ผู้สูงวัยมีการยอมรับการใช้เทคโนโลยี และจากการสัมภาษณ์ผู้สูงวัยทำให้ผู้วิจัยพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้เทคโนโลยี คือ ลูก-หลานที่เป็นผู้จัดหา และจัดการให้ผู้สูงวัยได้ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง 4) ทราบถึงความต้องการใช้แพลตฟอร์มแอนดรอยด์เพื่อดูแลสุขภาพสำหรับผู้สูงวัย คือต้องการให้แพลตฟอร์มแอนดรอยด์มีระบบแจ้งเตือนไปยังญาติเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน และความต้องการให้มีระบบเตือนความจำ เช่น วันเกิด ทานยา ทานข้าว นัดหมาย ซึ่งจากการสัมภาษณ์ พบว่าผู้สูงวัยบางท่านเริ่มมีสุขภาพไม่ค่อยดี จึงทำให้เกิดความกังวลว่าเมื่อมีเหตุร้ายอะไรเกิดขึ้นก็ขอให้มีการแจ้งเตือนไปบอกเพื่อจะได้รีบพาไปพบแพทย์ และผู้สูงวัยบางท่านอาจจะมีอาการหลงลืม ต้องการตัวช่วยในเรื่องของการแจ้งเตือน
จากสมมุติฐานในการวิจัย พบว่า 1) ระดับความรู้และความเข้าใจของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งมีความสัมพันธ์กับการยอมรับการใช้แพลตฟอร์มแอนดรอยด์เพื่อดูแลสุขภาพได้มากขึ้นนั้น พบว่าผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนและอินเทอร์เน็ตของผู้สูงวัยด้านการศึกษา ไม่มีผลต่อการยอมรับการใช้แพลตฟอร์มแอนดรอยด์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ และสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับการยอมรับนวัตกรรมเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งในการใช้แพลตฟอร์มแอนดรอยด์เพื่อดูแลสุขภาพพบว่าผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนและอินเทอร์เน็ตของผู้สูงวัยเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ และสุขภาพ ไม่ได้มีผลต่อการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนและเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ผู้สูงอายุที่มีพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน และอินเทอร์เน็ต มีการยอมรับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งในการใช้แพลตฟอร์มแอนดรอยด์เพื่อดูแลสุขภาพ พบว่าผู้สูงอายุที่มีพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน และอินเทอร์เน็ตมีการยอมรับ และให้ความเชื่อมั่นในเทคโนโลยี ตามผลการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มผู้สูงวัยที่มีการยอมรับเทคโนโลยี Internet of Things กับระดับการยอมรับ โดยใช้สถิติ Chi-Square Test (X 2) ด้วยวิธีของ Pearson Chi-Square และค่า Exact ในการเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยค่า Chi-Square ตามวิธีของ Pearson พบว่าเป็นความถี่ที่คาดหวังที่
มีค่าน้อยกว่า 5 ซึ่งมีอยู่จำนวน 2 เซลล์คิดเป็น 33.3% ของเซลล์ทั้งหมด และค่าความถี่ที่คาดหวังต่ำสุดคือ 2.27 4) กลุ่มผู้สูงอายุที่ยอมรับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งมีความต้องการใช้แพลตฟอร์มแอนดรอยด์เพื่อดูแลสุขภาพในวัตถุประสงค์ในการพูดคุยมากที่สุด จากการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบความแตกต่างของความพึงพอใจความต้องการใช้แพลตฟอร์มเพื่อดูแลสุขภาพในรูปแบบต่าง ๆ ได้ทำการจำแนกตามเพศเอาไว้ พบว่าค่า P-value ของความต้องการให้มีการแจ้งเตือนไปยังญาติเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินกับตนเอง = 0.87 > 0.05 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และความต้องการให้มีระบบเตือนความจำ เช่น วันเกิด ทานยา ทานข้าว นัดหมาย = 0.83 > 0.05 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 | Curricular : | GE | Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27964 |
SIU THE-T. การยอมรับนวัตกรรมอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งของผู้สูงวัยที่ต้องการใช้แพลตฟอร์มแอนดรอยด์เพื่อดูแลสุขภาพ : กรณีศึกษาผู้สูงวัยในจังหวัดสมุทรปราการ = Adoption of Internet of Things by the Elderly for Health Care for Health Care Android Platform: Case Study of Aging in Samutprakarn province [printed text] / ปัญจรัตน์ หาญพานิช, Author ; วุฒิพงศ์ พงศ์สุวรรณ, Associated Name ; ปาลพล รอดลอยทุกข์, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2019 . - xi, 72 น. : ตาราง, ภาพประกอบ ; 30 ซม. 500.00 บาท SIU THE-T: SOLA-PhD-MIC-2019-02
Thesis. [PhD-MIC [ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสื่อ สารสนเทศและการสื่อสาร]] -- มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2562 Languages : Thai ( tha) Descriptors: | [LCSH]นวัตกรรม [LCSH]ผู้สูงอายุ -- สุขภาพและอนามัย -- สมุทรปราการ
| Keywords: | สูงวัย, เบบี้บูมเมอร์, สุขภาพ, อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง, แอนดรอยด์, การยอมรับ | Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อทราบถึงพฤติกรรมในการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารของ
ผู้สูงวัยในจังหวัดสมุทรปราการ 2) เพื่อทราบถึงความต้องการในการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งของผู้สูงวัยในจังหวัดสมุทรปราการ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ต่อการยอมรับการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งของผู้สูงวัยในจังหวัดสมุทรปราการ 4) เพื่อทราบถึงความต้องการใช้แพลตฟอร์มแอนดรอยด์เพื่อดูแลสุขภาพสำหรับผู้สูงวัย โดยกลุ่มตัวอย่างคือประชากรผู้สูงวัยทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ใน 23 อำเภอของจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 400 คน
ผลของการศึกษาพบว่า 1) ทราบถึงพฤติกรรมในการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารของผู้สูงวัยในจังหวัดสมุทรปราการ พบว่าผู้สูงอายุส่วนมากมีการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารแบบมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบเป็นครั้งคราว คิดเป็นร้อยละ 38.0 รองลงมาคือใช้เทคโนโลยีการสื่อสารแต่ไม่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เนื่องจากกลัวสิ้นเปลือง 2) พบความต้องการในการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งของผู้สูงวัยในจังหวัดสมุทรปราการ อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 75.6 3) พบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งของผู้สูงวัยในจังหวัดสมุทรปราการ พบว่าไม่ว่าจะเป็นเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ และสุขภาพ ไม่ใช่ปัจจัยที่จะทำให้ผู้สูงวัยมีการยอมรับการใช้เทคโนโลยี และจากการสัมภาษณ์ผู้สูงวัยทำให้ผู้วิจัยพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้เทคโนโลยี คือ ลูก-หลานที่เป็นผู้จัดหา และจัดการให้ผู้สูงวัยได้ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง 4) ทราบถึงความต้องการใช้แพลตฟอร์มแอนดรอยด์เพื่อดูแลสุขภาพสำหรับผู้สูงวัย คือต้องการให้แพลตฟอร์มแอนดรอยด์มีระบบแจ้งเตือนไปยังญาติเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน และความต้องการให้มีระบบเตือนความจำ เช่น วันเกิด ทานยา ทานข้าว นัดหมาย ซึ่งจากการสัมภาษณ์ พบว่าผู้สูงวัยบางท่านเริ่มมีสุขภาพไม่ค่อยดี จึงทำให้เกิดความกังวลว่าเมื่อมีเหตุร้ายอะไรเกิดขึ้นก็ขอให้มีการแจ้งเตือนไปบอกเพื่อจะได้รีบพาไปพบแพทย์ และผู้สูงวัยบางท่านอาจจะมีอาการหลงลืม ต้องการตัวช่วยในเรื่องของการแจ้งเตือน
จากสมมุติฐานในการวิจัย พบว่า 1) ระดับความรู้และความเข้าใจของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งมีความสัมพันธ์กับการยอมรับการใช้แพลตฟอร์มแอนดรอยด์เพื่อดูแลสุขภาพได้มากขึ้นนั้น พบว่าผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนและอินเทอร์เน็ตของผู้สูงวัยด้านการศึกษา ไม่มีผลต่อการยอมรับการใช้แพลตฟอร์มแอนดรอยด์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ และสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับการยอมรับนวัตกรรมเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งในการใช้แพลตฟอร์มแอนดรอยด์เพื่อดูแลสุขภาพพบว่าผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนและอินเทอร์เน็ตของผู้สูงวัยเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ และสุขภาพ ไม่ได้มีผลต่อการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนและเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ผู้สูงอายุที่มีพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน และอินเทอร์เน็ต มีการยอมรับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งในการใช้แพลตฟอร์มแอนดรอยด์เพื่อดูแลสุขภาพ พบว่าผู้สูงอายุที่มีพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน และอินเทอร์เน็ตมีการยอมรับ และให้ความเชื่อมั่นในเทคโนโลยี ตามผลการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มผู้สูงวัยที่มีการยอมรับเทคโนโลยี Internet of Things กับระดับการยอมรับ โดยใช้สถิติ Chi-Square Test (X 2) ด้วยวิธีของ Pearson Chi-Square และค่า Exact ในการเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยค่า Chi-Square ตามวิธีของ Pearson พบว่าเป็นความถี่ที่คาดหวังที่
มีค่าน้อยกว่า 5 ซึ่งมีอยู่จำนวน 2 เซลล์คิดเป็น 33.3% ของเซลล์ทั้งหมด และค่าความถี่ที่คาดหวังต่ำสุดคือ 2.27 4) กลุ่มผู้สูงอายุที่ยอมรับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งมีความต้องการใช้แพลตฟอร์มแอนดรอยด์เพื่อดูแลสุขภาพในวัตถุประสงค์ในการพูดคุยมากที่สุด จากการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบความแตกต่างของความพึงพอใจความต้องการใช้แพลตฟอร์มเพื่อดูแลสุขภาพในรูปแบบต่าง ๆ ได้ทำการจำแนกตามเพศเอาไว้ พบว่าค่า P-value ของความต้องการให้มีการแจ้งเตือนไปยังญาติเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินกับตนเอง = 0.87 > 0.05 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และความต้องการให้มีระบบเตือนความจำ เช่น วันเกิด ทานยา ทานข้าว นัดหมาย = 0.83 > 0.05 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 | Curricular : | GE | Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27964 |
|