Collection Title: | SIU THE-T | Title : | การบูรณาการจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ตสู่บริบทประเทศไทย 4.0 | Original title : | Integrating Phuket Province’s Public Disaster Management into Thailand 4.0 Contexts | Material Type: | printed text | Authors: | สมศักดิ์ คงทอง, Author ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name ; พิภพ วชังเงิน, Associated Name | Publisher: | กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร | Publication Date: | 2019 | Pagination: | xi, 256 น. | Layout: | ตาราง, ภาพประกอบ | Size: | 30 ซม. | Price: | 500.00 บาท | General note: | SIU THE-T: IPAG-DPA-2019-05
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2019 | Languages : | Thai (tha) | Descriptors: | [LCSH]การบรรเทาสาธารณภัย -- การจัดการ [LCSH]การพัฒนาประเทศ -- ไทย -- ภูเก็ต
| Keywords: | การบูรณาการ,
การจัดการสาธารณภัย,
บริบทประเทศไทย 4.0 | Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการบริหารงานคุณภาพการจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ตสู่บริบทประเทศไทย 4.0 2) ศึกษาการจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ตสู่บริบทประเทศไทย 4.0 3) ศึกษาการบูรณาการจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ตสู่บริบทประเทศไทย 4.0 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริหารงานคุณภาพกับการบูรณาการจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ตสู่บริบทประเทศไทย 4.0 5) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการสาธารณภัยกับการบูรณาการจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ตสู่บริบทประเทศไทย 4.0 และ 6) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบูรณาการจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ตสู่บริบทประเทศไทย 4.0
การวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยผู้วิจัยได้อาศัยวิธีดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิจัยภาคสนามจากการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้เชี่ยวชาญและผู้บริหารหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ต ได้แก่ นายอำเภอจังหวัดภูเก็ต จำนวน 3 คน หัวหน้าสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ต จำนวน 2 คน ผู้บังคับการ และผู้กำกับการสถานีตำรวจจังหวัดภูเก็ต จำนวน 4 คน รวมทั้งเจ้าหน้าที่บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต จำนวน 2 คน มาจาก 3 อำเภอของจังหวัดภูเก็ต ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอถลาง อำเภอกะทู้ รวมจำนวน 11 คน ประกอบกับการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร และกลุ่มตัวอย่างประชาชนที่อยู่อาศัยจริงในเขตพื้นที่ศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 400 คน จากจำนวนประชากร 402,017 คน โดยการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson product-moment correlation coefficient) ควบคู่กับการสำรวจข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้าทางเอกสาร
ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการบริหารงานคุณภาพการจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ตสู่บริบทประเทศไทย 4.0 มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =3.192, S.D=0.690) 2) การจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ตสู่บริบทประเทศไทย 4.0 มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =3.183, S.D=0.712) 3) การบูรณาการจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ตสู่บริบทประเทศไทย 4.0 มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =3.201, S.D=0.675) 4) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริหารงานคุณภาพกับการบูรณาการจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ตสู่บริบทประเทศไทย 4.0 เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ พบว่า พฤติกรรมการบริหารงานคุณภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการบูรณาการจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ตสู่บริบทประเทศไทย 4.0 โดยมีค่า r=0.980 (p‹0.01) ซึ่งแสดงว่ามีความสัมพันธ์กันในระดับสูงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 5) ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการสาธารณภัยกับการบูรณาการจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ตสู่บริบทประเทศไทย 4.0 เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ พบว่า การจัดการสาธารณภัยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการบูรณาการจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ตสู่บริบทประเทศไทย 4.0 โดยมีค่า r=0.965 (p‹0.01) ซึ่งแสดงว่ามีความสัมพันธ์กันในระดับสูงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 6) ปัญหาและอุปสรรคในการบูรณาการจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ตสู่บริบทประเทศไทย 4.0 พบว่า ส่วนใหญ่ประสบปัญหาด้านการประสานงานร่วมกับหน่วยงานใกล้เคียง และภาคส่วนต่างๆ ในการแก้ปัญหาสาธารณภัยยังไม่ได้รับความร่วมมือเท่าที่ควร ร้อยละ 31.5 รองลงมาคือ ด้านการให้ความรู้แก่ประชาชนในการจัดการสาธารณภัยอย่างเป็นระบบและยั่งยืน ร้อยละ 23.1 ด้านการสร้างจิตสำนึกในการรับผิดชอบร่วมกันในการบริหารจัดการสาธารณภัย ร้อยละ 18.8 ด้านการประชาสัมพันธ์ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ทราบเกี่ยวกับการจัดการสาธารณภัย ร้อยละ 18.0 ด้านการรับฟังความคิดเห็น และการรับฟังปัญหาจากประชาชนก่อนดำเนินการจัดทำแผนป้องกันฯ เพื่อใช้รับมือกับปัญหาสาธารณภัย ร้อยละ 4.8 และด้านอุปกรณ์การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงพอเพื่อใช้ในการสื่อสาร ร้อยละ 3.8 ตามลำดับ ซึ่งข้อมูลและข้อค้นพบที่ได้จากการศึกษาจะนำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุง และพัฒนางานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ตให้มีประสิทธิผล และประสิทธิภาพต่อไป | Curricular : | GE | Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27943 |
SIU THE-T. การบูรณาการจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ตสู่บริบทประเทศไทย 4.0 = Integrating Phuket Province’s Public Disaster Management into Thailand 4.0 Contexts [printed text] / สมศักดิ์ คงทอง, Author ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name ; พิภพ วชังเงิน, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2019 . - xi, 256 น. : ตาราง, ภาพประกอบ ; 30 ซม. 500.00 บาท SIU THE-T: IPAG-DPA-2019-05
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2019 Languages : Thai ( tha) Descriptors: | [LCSH]การบรรเทาสาธารณภัย -- การจัดการ [LCSH]การพัฒนาประเทศ -- ไทย -- ภูเก็ต
| Keywords: | การบูรณาการ,
การจัดการสาธารณภัย,
บริบทประเทศไทย 4.0 | Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการบริหารงานคุณภาพการจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ตสู่บริบทประเทศไทย 4.0 2) ศึกษาการจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ตสู่บริบทประเทศไทย 4.0 3) ศึกษาการบูรณาการจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ตสู่บริบทประเทศไทย 4.0 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริหารงานคุณภาพกับการบูรณาการจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ตสู่บริบทประเทศไทย 4.0 5) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการสาธารณภัยกับการบูรณาการจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ตสู่บริบทประเทศไทย 4.0 และ 6) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบูรณาการจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ตสู่บริบทประเทศไทย 4.0
การวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยผู้วิจัยได้อาศัยวิธีดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิจัยภาคสนามจากการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้เชี่ยวชาญและผู้บริหารหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ต ได้แก่ นายอำเภอจังหวัดภูเก็ต จำนวน 3 คน หัวหน้าสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ต จำนวน 2 คน ผู้บังคับการ และผู้กำกับการสถานีตำรวจจังหวัดภูเก็ต จำนวน 4 คน รวมทั้งเจ้าหน้าที่บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต จำนวน 2 คน มาจาก 3 อำเภอของจังหวัดภูเก็ต ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอถลาง อำเภอกะทู้ รวมจำนวน 11 คน ประกอบกับการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร และกลุ่มตัวอย่างประชาชนที่อยู่อาศัยจริงในเขตพื้นที่ศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 400 คน จากจำนวนประชากร 402,017 คน โดยการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson product-moment correlation coefficient) ควบคู่กับการสำรวจข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้าทางเอกสาร
ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการบริหารงานคุณภาพการจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ตสู่บริบทประเทศไทย 4.0 มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =3.192, S.D=0.690) 2) การจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ตสู่บริบทประเทศไทย 4.0 มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =3.183, S.D=0.712) 3) การบูรณาการจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ตสู่บริบทประเทศไทย 4.0 มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =3.201, S.D=0.675) 4) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริหารงานคุณภาพกับการบูรณาการจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ตสู่บริบทประเทศไทย 4.0 เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ พบว่า พฤติกรรมการบริหารงานคุณภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการบูรณาการจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ตสู่บริบทประเทศไทย 4.0 โดยมีค่า r=0.980 (p‹0.01) ซึ่งแสดงว่ามีความสัมพันธ์กันในระดับสูงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 5) ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการสาธารณภัยกับการบูรณาการจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ตสู่บริบทประเทศไทย 4.0 เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ พบว่า การจัดการสาธารณภัยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการบูรณาการจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ตสู่บริบทประเทศไทย 4.0 โดยมีค่า r=0.965 (p‹0.01) ซึ่งแสดงว่ามีความสัมพันธ์กันในระดับสูงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 6) ปัญหาและอุปสรรคในการบูรณาการจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ตสู่บริบทประเทศไทย 4.0 พบว่า ส่วนใหญ่ประสบปัญหาด้านการประสานงานร่วมกับหน่วยงานใกล้เคียง และภาคส่วนต่างๆ ในการแก้ปัญหาสาธารณภัยยังไม่ได้รับความร่วมมือเท่าที่ควร ร้อยละ 31.5 รองลงมาคือ ด้านการให้ความรู้แก่ประชาชนในการจัดการสาธารณภัยอย่างเป็นระบบและยั่งยืน ร้อยละ 23.1 ด้านการสร้างจิตสำนึกในการรับผิดชอบร่วมกันในการบริหารจัดการสาธารณภัย ร้อยละ 18.8 ด้านการประชาสัมพันธ์ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ทราบเกี่ยวกับการจัดการสาธารณภัย ร้อยละ 18.0 ด้านการรับฟังความคิดเห็น และการรับฟังปัญหาจากประชาชนก่อนดำเนินการจัดทำแผนป้องกันฯ เพื่อใช้รับมือกับปัญหาสาธารณภัย ร้อยละ 4.8 และด้านอุปกรณ์การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงพอเพื่อใช้ในการสื่อสาร ร้อยละ 3.8 ตามลำดับ ซึ่งข้อมูลและข้อค้นพบที่ได้จากการศึกษาจะนำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุง และพัฒนางานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ตให้มีประสิทธิผล และประสิทธิภาพต่อไป | Curricular : | GE | Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27943 |
|