Collection Title: | SIU THE-T | Title : | การบริหารงานตำรวจในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 | Original title : | Police Administration in Prevention and Suppression of Human Trafficking of Provincial Police Region 5 | Material Type: | printed text | Authors: | วิศิษฎ์ แดนโพธิ์, Author ; พิภพ วชังเงิน, Associated Name ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name | Publisher: | กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร | Publication Date: | 2019 | Pagination: | ix, 137 น. | Layout: | ตาราง, ภาพประกอบ | Size: | 30 ซม. | Price: | 500.00 บาท | General note: | SIU THE-T: IPAG-DPA-2019-03
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2019 | Languages : | Thai (tha) | Descriptors: | [LCSH]การค้ามนุษย์ -- การป้องกันและควบคุม -- วิจัย [LCSH]การบริหารงานตำรวจ
| Keywords: | การบริหารงานตำรวจ,
การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ | Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษ (1) สมรรถนะองค์การในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 (2) พฤติกรรมการบริหารจัดการองค์การในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 (3) การบริหารงานตำรวจในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 (4) ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะองค์การและพฤติกรรมการบริหารจัดการองค์การกับการบริหารงานตำรวจในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 (5) สมรรถนะองค์การและพฤติกรรมการบริหารจัดการองค์การที่มีผลต่อการบริหารงานตำรวจในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 และ (6) ปัญหาและอุปสรรคในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5
การศึกษาครั้งนี้ ใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี ประชากร ประกอบด้วย (1) ประชาการที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ตำรวจในสังกัดกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 จำนวน 16,234 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 445 คน และ (2) ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์เชิงลึก ได้แก่ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด ในสังกัดกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 รวม 16 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า (1) สมรรถนะองค์การในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของกอง บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.39, SD = 0.49) (2) พฤติกรรมการบริหารจัดการองค์การในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 อยู่ในระดับมาก ( = 3.79, SD = 0.50) (3) การบริหารงานตำรวจในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.19, SD = 0.48) (4) สมรรถนะองค์การและพฤติกรรมการบริหารจัดการองค์การมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการบริหารงานตำรวจในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01 (5) สมรรถนะองค์การและพฤติกรรมการบริหารจัดการองค์การ มีผลต่อการบริหารงานตำรวจในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในเชิงบวกที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01 โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์การบริหารงานตำรวจในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ได้ร้อยละ 53.6 และ (6) ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ได้แก่ 1) การขาดแคลนงบประมาณและกำลังพลที่ไม่เพียงพอ 2) เจ้าหน้าที่ตำรวจขาดความรู้ ความเข้าใจในข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์
3) ขาดหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงและขาดการประสานงานหรือความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ และ 4) ปัญหาในการสื่อสารโดยใช้ภาษาสากลเนื่องจากการค้ามนุษย์มักจะเป็นการกระทำความผิดเกี่ยวเนื่องระหว่างประเทศ | Curricular : | GE | Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27941 |
SIU THE-T. การบริหารงานตำรวจในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 = Police Administration in Prevention and Suppression of Human Trafficking of Provincial Police Region 5 [printed text] / วิศิษฎ์ แดนโพธิ์, Author ; พิภพ วชังเงิน, Associated Name ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2019 . - ix, 137 น. : ตาราง, ภาพประกอบ ; 30 ซม. 500.00 บาท SIU THE-T: IPAG-DPA-2019-03
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2019 Languages : Thai ( tha) Descriptors: | [LCSH]การค้ามนุษย์ -- การป้องกันและควบคุม -- วิจัย [LCSH]การบริหารงานตำรวจ
| Keywords: | การบริหารงานตำรวจ,
การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ | Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษ (1) สมรรถนะองค์การในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 (2) พฤติกรรมการบริหารจัดการองค์การในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 (3) การบริหารงานตำรวจในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 (4) ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะองค์การและพฤติกรรมการบริหารจัดการองค์การกับการบริหารงานตำรวจในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 (5) สมรรถนะองค์การและพฤติกรรมการบริหารจัดการองค์การที่มีผลต่อการบริหารงานตำรวจในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 และ (6) ปัญหาและอุปสรรคในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5
การศึกษาครั้งนี้ ใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี ประชากร ประกอบด้วย (1) ประชาการที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ตำรวจในสังกัดกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 จำนวน 16,234 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 445 คน และ (2) ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์เชิงลึก ได้แก่ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด ในสังกัดกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 รวม 16 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า (1) สมรรถนะองค์การในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของกอง บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.39, SD = 0.49) (2) พฤติกรรมการบริหารจัดการองค์การในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 อยู่ในระดับมาก ( = 3.79, SD = 0.50) (3) การบริหารงานตำรวจในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.19, SD = 0.48) (4) สมรรถนะองค์การและพฤติกรรมการบริหารจัดการองค์การมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการบริหารงานตำรวจในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01 (5) สมรรถนะองค์การและพฤติกรรมการบริหารจัดการองค์การ มีผลต่อการบริหารงานตำรวจในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในเชิงบวกที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01 โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์การบริหารงานตำรวจในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ได้ร้อยละ 53.6 และ (6) ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ได้แก่ 1) การขาดแคลนงบประมาณและกำลังพลที่ไม่เพียงพอ 2) เจ้าหน้าที่ตำรวจขาดความรู้ ความเข้าใจในข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์
3) ขาดหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงและขาดการประสานงานหรือความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ และ 4) ปัญหาในการสื่อสารโดยใช้ภาษาสากลเนื่องจากการค้ามนุษย์มักจะเป็นการกระทำความผิดเกี่ยวเนื่องระหว่างประเทศ | Curricular : | GE | Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27941 |
|