Collection Title: | SIU THE-T | Title : | ปัจจัยอธิบายความสำเร็จของการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) | Original title : | Factors Explaining the Success of the Village Public Health Volunteer Work (VHV.) | Material Type: | printed text | Authors: | เฟื่องวิทย์ ชูตินันท์, Author ; ไชยวัฒน์ ค้ำชู, Associated Name ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name | Publisher: | กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร | Publication Date: | 2019 | Pagination: | viii, 237 น. | Layout: | ตาราง, ภาพประกอบ | Size: | 30 ซม. | Price: | 500.00 บาท | General note: | SIU THE-T: IPAG-DPA-2019-02
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2019 | Languages : | Thai (tha) | Descriptors: | [LCSH]ความสำเร็จ [LCSH]อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน -- การปฏิบัติงาน
| Keywords: | ความสำเร็จ,
การปฏิบัติงาน,
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน | Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความสำเร็จของการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน สังกัดสำนักงานเขตสุขภาพที่ 4 2) ปัจจัยอธิบายความสำเร็จของการปฏิบัติงานและ 3) นำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารงานการบริการสาธารณสุขมูลฐาน เป็นการวิจัยแบบผสม กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 398 คน และเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ดีเด่น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สาธารณสุขอำเภอ สาธารณสุขจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 40 คน วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรและทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ความสำเร็จของการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อยู่ในระดับดี ปัจจัยที่สามารถอธิบายการปฏิบัติงาน ได้แก่ ปัจจัยด้านแรงจูงใจ ภาวะผู้นำ การจัดองค์กรแห่งการเรียนรู้ การสื่อสารและการประสานงาน การนิเทศและประเมินผล การจัดสรรงบประมาณ ด้านกฎหมาย และด้านกลไกทางการเมือง สามารถอธิบายความสำเร็จของการปฏิบัติงานของ อสม. ได้ในระดับมาก โดยปัจจัยด้านกฎหมาย และปัจจัยด้านกลไกทางการเมือง เป็นตัวพยากรณ์ที่ดีที่สุด สามารถพยากรณ์ความสำเร็จของการปฏิบัติงานของ อสม. สังกัดสำนักงานเขตสุขภาพที่ 4 ได้ร้อยละ 55.70 โดยมีข้อเสนอเชิงนโยบาย คือ 1) รัฐควรกำหนดเป็นนโยบายสำคัญสนับสนุน อสม. ในการพัฒนาสุขภาพพลเมือง สร้างและพัฒนาเครือข่ายเชื่อมโยงกับประชาชนในการเสริมสร้างสุขภาวะอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม รวมทั้งสร้างสรรค์นวัตกรรมบริการสาธารณสุขเพื่อพัฒนาให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศยุค 4.0 2) ในการกำหนดนโยบายรัฐควรคำนึงถึงการบูรณาการองค์ความรู้จากทฤษฎี และประสบการณ์จากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) | Curricular : | GE | Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27940 |
SIU THE-T. ปัจจัยอธิบายความสำเร็จของการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) = Factors Explaining the Success of the Village Public Health Volunteer Work (VHV.) [printed text] / เฟื่องวิทย์ ชูตินันท์, Author ; ไชยวัฒน์ ค้ำชู, Associated Name ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2019 . - viii, 237 น. : ตาราง, ภาพประกอบ ; 30 ซม. 500.00 บาท SIU THE-T: IPAG-DPA-2019-02
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2019 Languages : Thai ( tha) Descriptors: | [LCSH]ความสำเร็จ [LCSH]อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน -- การปฏิบัติงาน
| Keywords: | ความสำเร็จ,
การปฏิบัติงาน,
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน | Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความสำเร็จของการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน สังกัดสำนักงานเขตสุขภาพที่ 4 2) ปัจจัยอธิบายความสำเร็จของการปฏิบัติงานและ 3) นำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารงานการบริการสาธารณสุขมูลฐาน เป็นการวิจัยแบบผสม กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 398 คน และเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ดีเด่น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สาธารณสุขอำเภอ สาธารณสุขจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 40 คน วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรและทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ความสำเร็จของการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อยู่ในระดับดี ปัจจัยที่สามารถอธิบายการปฏิบัติงาน ได้แก่ ปัจจัยด้านแรงจูงใจ ภาวะผู้นำ การจัดองค์กรแห่งการเรียนรู้ การสื่อสารและการประสานงาน การนิเทศและประเมินผล การจัดสรรงบประมาณ ด้านกฎหมาย และด้านกลไกทางการเมือง สามารถอธิบายความสำเร็จของการปฏิบัติงานของ อสม. ได้ในระดับมาก โดยปัจจัยด้านกฎหมาย และปัจจัยด้านกลไกทางการเมือง เป็นตัวพยากรณ์ที่ดีที่สุด สามารถพยากรณ์ความสำเร็จของการปฏิบัติงานของ อสม. สังกัดสำนักงานเขตสุขภาพที่ 4 ได้ร้อยละ 55.70 โดยมีข้อเสนอเชิงนโยบาย คือ 1) รัฐควรกำหนดเป็นนโยบายสำคัญสนับสนุน อสม. ในการพัฒนาสุขภาพพลเมือง สร้างและพัฒนาเครือข่ายเชื่อมโยงกับประชาชนในการเสริมสร้างสุขภาวะอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม รวมทั้งสร้างสรรค์นวัตกรรมบริการสาธารณสุขเพื่อพัฒนาให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศยุค 4.0 2) ในการกำหนดนโยบายรัฐควรคำนึงถึงการบูรณาการองค์ความรู้จากทฤษฎี และประสบการณ์จากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) | Curricular : | GE | Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27940 |
|