Collection Title: | SIU THE-T | Title : | การประเมินนโยบายตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ว่าด้วยการละเมิดลิขสิทธิ์งานภาพยนตร์ : Policy Evaluation of Copyright ACT 2573 (1994) For The Copyright Infringement in Cinematographic Works | Material Type: | printed text | Authors: | นันทพงศ์ อินทอง, Author ; วรเดช จันทรศร, Associated Name ; บุญทัน ดอกไธสง, Associated Name | Publisher: | กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร | Publication Date: | 2018 | Pagination: | viii, 194 น. | Layout: | ตาราง, ภาพประกอบ | Size: | 30 ซม. | Price: | 500.00 | General note: | SIU THE-T: IPAG-DPA-2018-03
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2018 | Languages : | Thai (tha) | Descriptors: | [LCSH]การละเมิดลิขสิทธิ์ [LCSH]ลิขสิทธิ์
| Keywords: | การประเมินนโยบาย, การละเมิดลขสิทธิ์งานภาพยนตร์, พระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 | Abstract: | การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการในการนำนโยบายตามพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ว่าด้วยการละเมิดงานภาพยนตร์ไปปฏิบัติ 2) เพื่อประเมินนโยบายตามพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ว่าด้วยการละเมิดงานภาพยนตร์ 3) เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงนโยบายตามพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ พ.ศ 2537 ว่าด้วยการละเมิดงานภาพยนตร์ไปปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีเครื่องมือที่สำคัญ ได้แก่ ผู้วิจัย และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกแบบมีโครงสร้าง รวมทั้งการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และไม่มีส่วนร่วม จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 38 คน ประกอบด้วย ส่วนแรก เป็น 3 หน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพยนตร์เป็นหน่วยปฏิบัติงานหลัก ได้แก่ 1) กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ 2) กรมทรัพย์สินทางปัญญา 3) สำนักงานอัยการฝ่ายคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ส่วนที่สอง เป็นการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรก คือ เจ้าของลิขสิทธิ์ กลุ่มที่สอง ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ กลุ่มที่สาม ฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้บังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการละเมิดลิขสิทธิ์ กลุ่มที่สี่ ผู้จัดการโรงภาพยนตร์ ผลการศึกษา พบว่า กระบวนการในการนำนโยบายตามพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ว่าด้วยการละเมิดงานภาพยนตร์ไปปฏิบัติ ในระดับมหภาพ และการดำเนินการในระดับจุลภาพเป็นเพียงดำเนินการตามผลของการกระทำผิดเท่านั้น ไม่มีการรณรงค์หรือประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเกิดความร่วมมือที่จะไม่ละเมิดลิขสิทธิ์งานภาพยนตร์ และเทคโนโลยีที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำให้การป้องกันปราบปรามมีความยากลำบาก และจากการประเมินผลนโยบายการนำนโยบายนี้ไปปฏิบัติไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา หลังจากมีการประกาศใช้ พรบ. ลิขสิทธิ์นี้ การละเมิดลิขสิทธิ์งานภาพยนตร์ เป็นปรากฎการณ์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ยังไม่มีวิธีการศึกษาในการหาวิธีการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจน ถึงแม้ว่ามีการจับกุม ดำเนินคดี หรือการยอมความ แต่ผู้ละเมิดยังมีจำนวนเพิ่มขึ้น เนื่องจาก ผู้นำของรัฐไม่ให้ความสำคัญต่อการละเมิดลิขสิทธิ์เท่าที่ควรจะเป็นในเรื่องการสื่อสาร การสั่งการ ก็ตาม ข้อค้นพบสำคัญในการสร้างองค์ความรู้ คือ ทฤษฎีทางหลักนิติศาสตร์ กับ ทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ มีความไม่สอดคล้องกันภายใต้การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ข้อเสนอแนะ ด้านมหภาพ ผู้นำรัฐควรสื่อสารประชาสัมพันธ์ไปยังประชาชนให้เกิดวัฒนธรรมและค่านิยมให้เกิดความร่วมมือที่จะไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ รัฐควรกำหนดอัตราโทษทางอาญาให้เหมาะสมกับลักษณะของการกระทำความผิด เพื่อการแก้ไขปัญหาการใช้โทษทางอาญาเป็นเครื่องมือในการใช้สิทธิโดยมิชอบของเจ้าของลิขสิทธิ์ ควรมีการทบทวนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ ซึ่งรวมถึงกฎหมายลิขสิทธิ์อย่างสม่ำเสมอ ควรจัดให้มีการฝึกอบรม เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ ด้านจุลภาพ ในหน่วยปฏิบัติงานควรมีการรณรงค์ให้ประชาชนทราบถึงความผิดจากการละเมิดลิขสิทธิ์ และในกระบวนการการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น | Curricular : | GE | Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27771 |
SIU THE-T. การประเมินนโยบายตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ว่าด้วยการละเมิดลิขสิทธิ์งานภาพยนตร์ : Policy Evaluation of Copyright ACT 2573 (1994) For The Copyright Infringement in Cinematographic Works [printed text] / นันทพงศ์ อินทอง, Author ; วรเดช จันทรศร, Associated Name ; บุญทัน ดอกไธสง, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2018 . - viii, 194 น. : ตาราง, ภาพประกอบ ; 30 ซม. 500.00 SIU THE-T: IPAG-DPA-2018-03
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2018 Languages : Thai ( tha) Descriptors: | [LCSH]การละเมิดลิขสิทธิ์ [LCSH]ลิขสิทธิ์
| Keywords: | การประเมินนโยบาย, การละเมิดลขสิทธิ์งานภาพยนตร์, พระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 | Abstract: | การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการในการนำนโยบายตามพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ว่าด้วยการละเมิดงานภาพยนตร์ไปปฏิบัติ 2) เพื่อประเมินนโยบายตามพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ว่าด้วยการละเมิดงานภาพยนตร์ 3) เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงนโยบายตามพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ พ.ศ 2537 ว่าด้วยการละเมิดงานภาพยนตร์ไปปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีเครื่องมือที่สำคัญ ได้แก่ ผู้วิจัย และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกแบบมีโครงสร้าง รวมทั้งการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และไม่มีส่วนร่วม จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 38 คน ประกอบด้วย ส่วนแรก เป็น 3 หน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพยนตร์เป็นหน่วยปฏิบัติงานหลัก ได้แก่ 1) กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ 2) กรมทรัพย์สินทางปัญญา 3) สำนักงานอัยการฝ่ายคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ส่วนที่สอง เป็นการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรก คือ เจ้าของลิขสิทธิ์ กลุ่มที่สอง ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ กลุ่มที่สาม ฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้บังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการละเมิดลิขสิทธิ์ กลุ่มที่สี่ ผู้จัดการโรงภาพยนตร์ ผลการศึกษา พบว่า กระบวนการในการนำนโยบายตามพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ว่าด้วยการละเมิดงานภาพยนตร์ไปปฏิบัติ ในระดับมหภาพ และการดำเนินการในระดับจุลภาพเป็นเพียงดำเนินการตามผลของการกระทำผิดเท่านั้น ไม่มีการรณรงค์หรือประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเกิดความร่วมมือที่จะไม่ละเมิดลิขสิทธิ์งานภาพยนตร์ และเทคโนโลยีที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำให้การป้องกันปราบปรามมีความยากลำบาก และจากการประเมินผลนโยบายการนำนโยบายนี้ไปปฏิบัติไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา หลังจากมีการประกาศใช้ พรบ. ลิขสิทธิ์นี้ การละเมิดลิขสิทธิ์งานภาพยนตร์ เป็นปรากฎการณ์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ยังไม่มีวิธีการศึกษาในการหาวิธีการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจน ถึงแม้ว่ามีการจับกุม ดำเนินคดี หรือการยอมความ แต่ผู้ละเมิดยังมีจำนวนเพิ่มขึ้น เนื่องจาก ผู้นำของรัฐไม่ให้ความสำคัญต่อการละเมิดลิขสิทธิ์เท่าที่ควรจะเป็นในเรื่องการสื่อสาร การสั่งการ ก็ตาม ข้อค้นพบสำคัญในการสร้างองค์ความรู้ คือ ทฤษฎีทางหลักนิติศาสตร์ กับ ทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ มีความไม่สอดคล้องกันภายใต้การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ข้อเสนอแนะ ด้านมหภาพ ผู้นำรัฐควรสื่อสารประชาสัมพันธ์ไปยังประชาชนให้เกิดวัฒนธรรมและค่านิยมให้เกิดความร่วมมือที่จะไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ รัฐควรกำหนดอัตราโทษทางอาญาให้เหมาะสมกับลักษณะของการกระทำความผิด เพื่อการแก้ไขปัญหาการใช้โทษทางอาญาเป็นเครื่องมือในการใช้สิทธิโดยมิชอบของเจ้าของลิขสิทธิ์ ควรมีการทบทวนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ ซึ่งรวมถึงกฎหมายลิขสิทธิ์อย่างสม่ำเสมอ ควรจัดให้มีการฝึกอบรม เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ ด้านจุลภาพ ในหน่วยปฏิบัติงานควรมีการรณรงค์ให้ประชาชนทราบถึงความผิดจากการละเมิดลิขสิทธิ์ และในกระบวนการการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น | Curricular : | GE | Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27771 |
|