[article] Title : | ปัจจัยทำนายการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ของผู้ป่วย ภายหลังได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก | Original title : | Factor predicting functional recovery of patients undergoing hip arthroplasty | Material Type: | printed text | Authors: | มุขรินทร์ สิงห์ปัญญา, Author ; สุพร ดนัยดุษฎีกุล, Author ; ก้องเขต เหรียญสุวรรณ, Author | Publication Date: | 2017 | Article on page: | p.154-167 | Languages : | Thai (tha) Original Language : Thai (tha) | in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 [11/16/2017] . - p.154-167Keywords: | การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก.ระดับฮีโมโกลบินในกระแสเลือด.ภาวะซึมเศร้า.การฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่.ภาวะโรคร่วม. | Abstract: | การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายเพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของระดับฮีโมโกลบินในกระแสเลือด ภาวะโรคร่วม และภาวะซึมเศร้าต่อการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ของผู้ป่วยภายหลังได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก
กลุ่มตัวอย่างได้รับการคัดเลือกตามเกณฑ์การคัดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 80 ราย มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเป็นครั้งแรกในโรงพยาบาลตติยภูมิ 3 แห่ง เก็บข้อมูลในระยะก่อนผ่าตัดดังนี้ ระดับฮีโมโกลบินในกระแสเลือดล่าสุดก่อนผ่าตัด ภาวะโรคร่วม ASA classification ประเมินภาวะซึมเศร้าโดยใช้แบบสอบถามภาวะซึมเศร้า เก็บข้อมูลการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ภายหลังผ่าตัดในวันที่ผู้ป่วยมาตรวจตามนัดครั้งแรก ด้วยแบบประเมิน Harris Hip Score วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับฮีโมโกลบินในกระแสเลือดเฉลี่ย 12.09 กรัมต่อเดซิลิตร ( SD ± 1.80) มี ASA physical status Class 2 มากที่สุด (ร้อยละ 58.8) คะแนนภาวะซึมเศร้าเฉลี่ย 10.56 ( SD ± 7.50 ) คะแนนการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่เฉลี่ย 58.39 (SD ± 8.60) ส่วนใหญ่การฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่อยู่ในระดับต่ำ (ร้อยละ 90) ภาวะโรคร่วมสามารถทำนายการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ของผู้ป่วยภายหลังได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกได้ร้อยละ 6.8 (R2 = 0.068, p < 0.05) โดยภาวะโรคร่วมกับภาวะซึมเศร้าสามารถร่วมทำนายการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ของผู้ป่วยภายหลังได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกได้ร้อยละ 13.1 (R2 = 0.131, p < 0.05) สำหรับระดับฮีโมโกลบินในกระแสเลือด การศึกษาครั้งนี้พบว่า ไม่สามารถทำนายการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ของผู้ป่วยภายหลังได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกได้
ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถช่วยให้ผู้ป่วยมีการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ภายหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกได้ หากผู้ป่วยได้รับการประเมินความรุนแรงของภาวะโรคร่วม คัดกรองภาวะซึมเศร้าและมีการดำเนินการแก้ไขหรือควบคุมภาวะโรคร่วม ภาวะซึมเศร้า ไม่ให้รุนแรงขึ้นก่อนได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก | Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27505 |
[article] ปัจจัยทำนายการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ของผู้ป่วย ภายหลังได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก = Factor predicting functional recovery of patients undergoing hip arthroplasty [printed text] / มุขรินทร์ สิงห์ปัญญา, Author ; สุพร ดนัยดุษฎีกุล, Author ; ก้องเขต เหรียญสุวรรณ, Author . - 2017 . - p.154-167. Languages : Thai ( tha) Original Language : Thai ( tha) in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 [11/16/2017] . - p.154-167Keywords: | การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก.ระดับฮีโมโกลบินในกระแสเลือด.ภาวะซึมเศร้า.การฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่.ภาวะโรคร่วม. | Abstract: | การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายเพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของระดับฮีโมโกลบินในกระแสเลือด ภาวะโรคร่วม และภาวะซึมเศร้าต่อการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ของผู้ป่วยภายหลังได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก
กลุ่มตัวอย่างได้รับการคัดเลือกตามเกณฑ์การคัดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 80 ราย มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเป็นครั้งแรกในโรงพยาบาลตติยภูมิ 3 แห่ง เก็บข้อมูลในระยะก่อนผ่าตัดดังนี้ ระดับฮีโมโกลบินในกระแสเลือดล่าสุดก่อนผ่าตัด ภาวะโรคร่วม ASA classification ประเมินภาวะซึมเศร้าโดยใช้แบบสอบถามภาวะซึมเศร้า เก็บข้อมูลการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ภายหลังผ่าตัดในวันที่ผู้ป่วยมาตรวจตามนัดครั้งแรก ด้วยแบบประเมิน Harris Hip Score วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับฮีโมโกลบินในกระแสเลือดเฉลี่ย 12.09 กรัมต่อเดซิลิตร ( SD ± 1.80) มี ASA physical status Class 2 มากที่สุด (ร้อยละ 58.8) คะแนนภาวะซึมเศร้าเฉลี่ย 10.56 ( SD ± 7.50 ) คะแนนการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่เฉลี่ย 58.39 (SD ± 8.60) ส่วนใหญ่การฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่อยู่ในระดับต่ำ (ร้อยละ 90) ภาวะโรคร่วมสามารถทำนายการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ของผู้ป่วยภายหลังได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกได้ร้อยละ 6.8 (R2 = 0.068, p < 0.05) โดยภาวะโรคร่วมกับภาวะซึมเศร้าสามารถร่วมทำนายการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ของผู้ป่วยภายหลังได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกได้ร้อยละ 13.1 (R2 = 0.131, p < 0.05) สำหรับระดับฮีโมโกลบินในกระแสเลือด การศึกษาครั้งนี้พบว่า ไม่สามารถทำนายการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ของผู้ป่วยภายหลังได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกได้
ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถช่วยให้ผู้ป่วยมีการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ภายหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกได้ หากผู้ป่วยได้รับการประเมินความรุนแรงของภาวะโรคร่วม คัดกรองภาวะซึมเศร้าและมีการดำเนินการแก้ไขหรือควบคุมภาวะโรคร่วม ภาวะซึมเศร้า ไม่ให้รุนแรงขึ้นก่อนได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก | Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27505 |
|