From this page you can:
Home |
Author details
Author ทิพนันท์ ปันคำ
Available item(s) by this author
Add the result to your basket Make a suggestion Refine your search Apply to external sourcesปัจจัยทำนายพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยที่ได้รับการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบถาวร / ทิพนันท์ ปันคำ in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 ([11/16/2017])
[article]
Title : ปัจจัยทำนายพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยที่ได้รับการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบถาวร Original title : Predicting factors of health behaviors in patients with cardiac permanent pacemaker Material Type: printed text Authors: ทิพนันท์ ปันคำ, Author Publication Date: 2017 Article on page: p.129-141 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 [11/16/2017] . - p.129-141Keywords: พฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วย.พฤติกรรมสุขภาพ.เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบถาวร.ปัจจัยทำนาย. Abstract: การวิจัยเชิงพยากรณ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาอำนาจการทำนายของปัจจัยนำ (ความรู้ อัตมโนทัศน์ และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง) ปัจจัยเสริม (การสนับสนุนทางสังคม) และปัจจัยเอื้อ (การเข้าถึงบริการของสถานบริการสุขภาพ) ต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยที่ได้รับการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบถาวร กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยจำนวน 128 คน ที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก คลินิกเครื่องกระตุ้นหัวใจ โรงพยาบาลตติยภูมิสามแห่งในเขตกรุงเทพมหานคร คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความรู้ แบบวัดอัตมโนทัศน์ แบบวัดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง แบบวัดการสนับสนุนทางสังคม แบบวัดการเข้าถึงบริการของสถานบริการสุขภาพ และแบบวัดพฤติกรรมสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติถดถอยพหุคูณแบบเข้าทีละตัว
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี (mean = 33.3, SD = 3.9) การสนับสนุนทางสังคมความรู้ และอัตมโนทัศน์ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มตัวอย่าง (r =.523, .508 และ .369 ตามลำดับ) แต่ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการเข้าถึงบริการของสถานบริการสุขภาพไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับพฤติกรรมสุขภาพ ความรู้ อัตมโนทัศน์ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การสนับสนุนทางสังคม และการเข้าถึงบริการของสถานบริการสุขภาพ สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมสุขภาพ ได้ร้อยละ 44
ผลการศึกษาครั้งนี้ พยาบาลสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยที่ได้รับการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบถาวร โดยเน้นการให้ความรู้ การส่งเสริมอัตมโนทัศน์ และการส่งเสริมการสนับสนุนทางสังคม เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างเหมาะสมRecord link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27503 [article] ปัจจัยทำนายพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยที่ได้รับการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบถาวร = Predicting factors of health behaviors in patients with cardiac permanent pacemaker [printed text] / ทิพนันท์ ปันคำ, Author . - 2017 . - p.129-141.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 [11/16/2017] . - p.129-141Keywords: พฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วย.พฤติกรรมสุขภาพ.เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบถาวร.ปัจจัยทำนาย. Abstract: การวิจัยเชิงพยากรณ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาอำนาจการทำนายของปัจจัยนำ (ความรู้ อัตมโนทัศน์ และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง) ปัจจัยเสริม (การสนับสนุนทางสังคม) และปัจจัยเอื้อ (การเข้าถึงบริการของสถานบริการสุขภาพ) ต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยที่ได้รับการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบถาวร กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยจำนวน 128 คน ที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก คลินิกเครื่องกระตุ้นหัวใจ โรงพยาบาลตติยภูมิสามแห่งในเขตกรุงเทพมหานคร คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความรู้ แบบวัดอัตมโนทัศน์ แบบวัดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง แบบวัดการสนับสนุนทางสังคม แบบวัดการเข้าถึงบริการของสถานบริการสุขภาพ และแบบวัดพฤติกรรมสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติถดถอยพหุคูณแบบเข้าทีละตัว
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี (mean = 33.3, SD = 3.9) การสนับสนุนทางสังคมความรู้ และอัตมโนทัศน์ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มตัวอย่าง (r =.523, .508 และ .369 ตามลำดับ) แต่ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการเข้าถึงบริการของสถานบริการสุขภาพไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับพฤติกรรมสุขภาพ ความรู้ อัตมโนทัศน์ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การสนับสนุนทางสังคม และการเข้าถึงบริการของสถานบริการสุขภาพ สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมสุขภาพ ได้ร้อยละ 44
ผลการศึกษาครั้งนี้ พยาบาลสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยที่ได้รับการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบถาวร โดยเน้นการให้ความรู้ การส่งเสริมอัตมโนทัศน์ และการส่งเสริมการสนับสนุนทางสังคม เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างเหมาะสมRecord link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27503