[article] Title : | ปัจจัยทำนายการกำเริบฉับพลันรุนแรงในผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง | Original title : | Predictors of chronic obstructive pulmonary disease severe acute exacerbation | Material Type: | printed text | Authors: | จเร บุญเรือง, Author ; จอม สุวรรณโณ, Author ; เจนเนตร พลเพชร, Author ; เรวดี เพชรศิราสัณห์, Author ; ลัดดา เถียมวงศ์, Author | Publication Date: | 2017 | Article on page: | p.111-126 | Languages : | Thai (tha) Original Language : Thai (tha) | in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 [11/16/2017] . - p.111-126Keywords: | ปอดอุดกั้นเรื้อรัง.การกำเริบฉับพลันรุนแรง.รูปแบบทำนายปัจจัยเสี่ยง. | Abstract: | การวิจัยแบบติดตามไปข้างหน้า 3 เดือนนี้ ศึกษาโมเดลอิทธิพลของปัจจัย 3 กลุ่ม ด้านบุคคล โรคและความเจ็บป่วย และสุขภาวะในการทำนายการกำเริบฉับพลันรุนแรงในผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)
กลุ่มตัวอย่าง 110 ราย จากคลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโรงพยาบาลชุมชน 3 แห่ง ตัวแปรทำนายมี 13 ปัจจัย ตามกรอบแนวคิดอาการและการจัดการอาการ กลุ่มปัจจัยลักษณะส่วนบุคคลมี 5 ตัวแปร ได้แก่ อายุ เพศ การศึกษา รายได้ การสูบบุหรี่ กลุ่มปัจจัยโรคและความเจ็บป่วย มี 6 ตัวแปร ได้แก่ ดัชนีมวลกาย ระดับความรุนแรงของโรคตาม GOLD Stage ระดับอาการหายใจลำบากประเมินจาก mMRC-DS ประวัติการกำเริบฉับพลันรุนแรงในระยะ 1 ปี ความเหมาะสมของการรักษาพยาบาลในระยะสงบ และปอดอักเสบติดเชื้อ และกลุ่มปัจจัยสุขภาวะมี 2 ตัวแปร ได้แก่ คุณภาพชีวิต ประเมินจาก COPD Assessment Test (CAT) และภาวะซึมเศร้า ประเมินจากแบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเมินผลลัพธ์การเกิดกำเริบฉับพลันรุนแรง จากทะเบียนประวัติการเข้ารับการรักษาที่แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินและหรือการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยอาการกำเริบฉับพลันรุนแรง วิเคราะห์ข้อมูลโมเดลปัจจัยเดี่ยวใช้ค่า odds ratio (OR), 95% confidential interval (95%CI), Chi-square และ Fisher exact tests และในโมเดลพหุปัจจัยใช้การถดถอยโลจิสติก
ผลการวิจัย พบว่า โมเดลปัจจัยเดี่ยวมี 6 ตัวแปรที่สัมพันธ์กับการกำเริบฉับพลันรุนแรง เป็นปัจจัยด้านโรคและความเจ็บป่วย 4 ตัวแปร ได้แก่ ระดับความรุนแรงของโรค (p=0.002) ระดับความรุนแรงของอาการหายใจลำบาก (p=0.041) ประวัติการกำเริบฉับพลับรุนแรงในระยะ 1 ปี (OR 40, 95%CI 12.89-124.09, p=0.000) และภาวะปอดอักเสบติดเชื้อ (OR 411.78, 95%CI 23.58-7190.23, p=0.000) ปัจจัยสุขภาวะมี 2 ตัวแปรที่มีทำนาย คือ คุณภาพชีวิตต่ำ (OR 6.42, 95%CI 2.58-15.99, p=0.000) และคะแนนภาวะซึมเศร้าที่เพิ่มขึ้นทุกหนึ่งคะแนน (OR 1.37, 95CI 1.16-1.63, p=0.000) สำหรับปัจจัยด้านบุคคลไม่มีตัวแปรใดทำนาย การวิเคราะห์ในโมเดลพหุปัจจัยพบว่ามีเพียง 2 ตัวแปรคือ ภาวะปอดอักเสบติดเชื้อ และประวัติการกำเริบฉับพลันรุนแรงในระยะ 1 ปี ที่มีค่านัยสำคัญทางสถิติในการทำนายการกำเริบฉับพลันรุนแรง โดยร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 74.8 ทั้งนี้ปอดอักเสบติดเชื้อมีค่าสัดส่วนอัตราเสี่ยงในการทำนายสูงสุด (OR 65.26, 95%CI 7.43-527.94, Wald 14.21, p=0.000) และรองลงมาคือประวัติการกำเริบฉับพลันรุนแรงในระยะ1 ปี (OR 8.09, 95%CI 2.09-31.34, Wald 9.14, p=0.003)
การศึกษานี้ให้ข้อมูลเชิงประจักษ์ในการสร้างแนวทางปฏิบัติในการลดการกำเริบฉับพลันรุนแรงในผู้ป่วย COPD โดยป้องกันภาวะปอดอักเสบติดเชื้อ คัดกรองภาวะซึมเศร้า ฟื้นฟูสมรรถภาพปอด และการส่งเสริมคุณภาพชีวิต | Link for e-copy: | http://www.thaicvtnurse.org/index.php?option=com | Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27502 |
[article] ปัจจัยทำนายการกำเริบฉับพลันรุนแรงในผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง = Predictors of chronic obstructive pulmonary disease severe acute exacerbation [printed text] / จเร บุญเรือง, Author ; จอม สุวรรณโณ, Author ; เจนเนตร พลเพชร, Author ; เรวดี เพชรศิราสัณห์, Author ; ลัดดา เถียมวงศ์, Author . - 2017 . - p.111-126. Languages : Thai ( tha) Original Language : Thai ( tha) in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 [11/16/2017] . - p.111-126Keywords: | ปอดอุดกั้นเรื้อรัง.การกำเริบฉับพลันรุนแรง.รูปแบบทำนายปัจจัยเสี่ยง. | Abstract: | การวิจัยแบบติดตามไปข้างหน้า 3 เดือนนี้ ศึกษาโมเดลอิทธิพลของปัจจัย 3 กลุ่ม ด้านบุคคล โรคและความเจ็บป่วย และสุขภาวะในการทำนายการกำเริบฉับพลันรุนแรงในผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)
กลุ่มตัวอย่าง 110 ราย จากคลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโรงพยาบาลชุมชน 3 แห่ง ตัวแปรทำนายมี 13 ปัจจัย ตามกรอบแนวคิดอาการและการจัดการอาการ กลุ่มปัจจัยลักษณะส่วนบุคคลมี 5 ตัวแปร ได้แก่ อายุ เพศ การศึกษา รายได้ การสูบบุหรี่ กลุ่มปัจจัยโรคและความเจ็บป่วย มี 6 ตัวแปร ได้แก่ ดัชนีมวลกาย ระดับความรุนแรงของโรคตาม GOLD Stage ระดับอาการหายใจลำบากประเมินจาก mMRC-DS ประวัติการกำเริบฉับพลันรุนแรงในระยะ 1 ปี ความเหมาะสมของการรักษาพยาบาลในระยะสงบ และปอดอักเสบติดเชื้อ และกลุ่มปัจจัยสุขภาวะมี 2 ตัวแปร ได้แก่ คุณภาพชีวิต ประเมินจาก COPD Assessment Test (CAT) และภาวะซึมเศร้า ประเมินจากแบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเมินผลลัพธ์การเกิดกำเริบฉับพลันรุนแรง จากทะเบียนประวัติการเข้ารับการรักษาที่แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินและหรือการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยอาการกำเริบฉับพลันรุนแรง วิเคราะห์ข้อมูลโมเดลปัจจัยเดี่ยวใช้ค่า odds ratio (OR), 95% confidential interval (95%CI), Chi-square และ Fisher exact tests และในโมเดลพหุปัจจัยใช้การถดถอยโลจิสติก
ผลการวิจัย พบว่า โมเดลปัจจัยเดี่ยวมี 6 ตัวแปรที่สัมพันธ์กับการกำเริบฉับพลันรุนแรง เป็นปัจจัยด้านโรคและความเจ็บป่วย 4 ตัวแปร ได้แก่ ระดับความรุนแรงของโรค (p=0.002) ระดับความรุนแรงของอาการหายใจลำบาก (p=0.041) ประวัติการกำเริบฉับพลับรุนแรงในระยะ 1 ปี (OR 40, 95%CI 12.89-124.09, p=0.000) และภาวะปอดอักเสบติดเชื้อ (OR 411.78, 95%CI 23.58-7190.23, p=0.000) ปัจจัยสุขภาวะมี 2 ตัวแปรที่มีทำนาย คือ คุณภาพชีวิตต่ำ (OR 6.42, 95%CI 2.58-15.99, p=0.000) และคะแนนภาวะซึมเศร้าที่เพิ่มขึ้นทุกหนึ่งคะแนน (OR 1.37, 95CI 1.16-1.63, p=0.000) สำหรับปัจจัยด้านบุคคลไม่มีตัวแปรใดทำนาย การวิเคราะห์ในโมเดลพหุปัจจัยพบว่ามีเพียง 2 ตัวแปรคือ ภาวะปอดอักเสบติดเชื้อ และประวัติการกำเริบฉับพลันรุนแรงในระยะ 1 ปี ที่มีค่านัยสำคัญทางสถิติในการทำนายการกำเริบฉับพลันรุนแรง โดยร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 74.8 ทั้งนี้ปอดอักเสบติดเชื้อมีค่าสัดส่วนอัตราเสี่ยงในการทำนายสูงสุด (OR 65.26, 95%CI 7.43-527.94, Wald 14.21, p=0.000) และรองลงมาคือประวัติการกำเริบฉับพลันรุนแรงในระยะ1 ปี (OR 8.09, 95%CI 2.09-31.34, Wald 9.14, p=0.003)
การศึกษานี้ให้ข้อมูลเชิงประจักษ์ในการสร้างแนวทางปฏิบัติในการลดการกำเริบฉับพลันรุนแรงในผู้ป่วย COPD โดยป้องกันภาวะปอดอักเสบติดเชื้อ คัดกรองภาวะซึมเศร้า ฟื้นฟูสมรรถภาพปอด และการส่งเสริมคุณภาพชีวิต | Link for e-copy: | http://www.thaicvtnurse.org/index.php?option=com | Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27502 |
|