[article] Title : | ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับระยะเวลาการมารับการรักษาในโรงพยาบาล : ของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบเฉียบพลัน | Original title : | Selected factors related to pre-hospital time in chronic obstructive pulmonary disease patients with acute exacebation | Material Type: | printed text | Authors: | ปราณี คำโสภา, Author ; นรลักขณ์ เอื้อกิจ, Author | Publication Date: | 2017 | Article on page: | p. | Languages : | Thai (tha) Original Language : Thai (tha) | in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 [11/16/2017] . - p.Keywords: | โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง.ระยะเวลาการมารับการรักษา.ปัจจัยคัดสรร. | Abstract: | การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระยะเวลาการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบเฉียบพลัน และปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์ ได้แก่ อาการหายใจลำบาก การรับรู้ความรุนแรงของโรค ความเหนื่อยล้า ความวิตกกังวลและการสนับสนุนทางสังคม กับระยะเวลาการมารับการรักษา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบเฉียบพลัน จำนวน 123 คน ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตากสินและโรงพยาบาลกลาง เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามระยะเวลาการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง แบบประเมินอาการหายใจลำบาก แบบประเมินการรับรู้ความรุนแรงของโรค แบบวัดความเหนื่อยล้า แบบประเมินความวิตกกังวล และแบบสอบถามความรู้สึกหลากหลายมิติเกี่ยวกับความช่วยเหลือทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 50 - 59 ปี คิดเป็นร้อยละ 84.6 (mean = 52.9, S.D. = 5.42) มีค่าเฉลี่ยของระยะเวลาการมารับการรักษา 60 นาที (S.D. = 38.70) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรพบว่า อาการหายใจลำบาก การรับรู้ความรุนแรงของโรค ความเหนื่อยล้า ความวิตกกังวลและการสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางลบกับระยะเวลาการมารับการรักษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) (r= -.730, -.699, -.217, -.333 และ -.429 ตามลำดับ)
ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความรุนแรงของอาการหายใจลำบาก ความรุนแรงของโรค และเพิ่มการสนับสนุนทางสังคมให้ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เพื่อให้ผู้ป่วยมีระยะเวลาการมารับการรักษาอย่างเหมาะสมเมื่อเกิดอาการกำเริบเฉียบพลัน | Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27500 |
[article] ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับระยะเวลาการมารับการรักษาในโรงพยาบาล = Selected factors related to pre-hospital time in chronic obstructive pulmonary disease patients with acute exacebation : ของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบเฉียบพลัน [printed text] / ปราณี คำโสภา, Author ; นรลักขณ์ เอื้อกิจ, Author . - 2017 . - p. Languages : Thai ( tha) Original Language : Thai ( tha) in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.28 No.1 (ม.ค-มิ.ย) 2017 [11/16/2017] . - p.Keywords: | โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง.ระยะเวลาการมารับการรักษา.ปัจจัยคัดสรร. | Abstract: | การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระยะเวลาการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบเฉียบพลัน และปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์ ได้แก่ อาการหายใจลำบาก การรับรู้ความรุนแรงของโรค ความเหนื่อยล้า ความวิตกกังวลและการสนับสนุนทางสังคม กับระยะเวลาการมารับการรักษา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบเฉียบพลัน จำนวน 123 คน ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตากสินและโรงพยาบาลกลาง เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามระยะเวลาการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง แบบประเมินอาการหายใจลำบาก แบบประเมินการรับรู้ความรุนแรงของโรค แบบวัดความเหนื่อยล้า แบบประเมินความวิตกกังวล และแบบสอบถามความรู้สึกหลากหลายมิติเกี่ยวกับความช่วยเหลือทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 50 - 59 ปี คิดเป็นร้อยละ 84.6 (mean = 52.9, S.D. = 5.42) มีค่าเฉลี่ยของระยะเวลาการมารับการรักษา 60 นาที (S.D. = 38.70) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรพบว่า อาการหายใจลำบาก การรับรู้ความรุนแรงของโรค ความเหนื่อยล้า ความวิตกกังวลและการสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางลบกับระยะเวลาการมารับการรักษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) (r= -.730, -.699, -.217, -.333 และ -.429 ตามลำดับ)
ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความรุนแรงของอาการหายใจลำบาก ความรุนแรงของโรค และเพิ่มการสนับสนุนทางสังคมให้ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เพื่อให้ผู้ป่วยมีระยะเวลาการมารับการรักษาอย่างเหมาะสมเมื่อเกิดอาการกำเริบเฉียบพลัน | Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27500 |
| |