[article] Title : | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการความรู้ : ทางการพยาบาลโรคหัวใจและหลอดเลือดในพยาบาลวิชาชีพ | Original title : | Factors influencing to knowledge management of cardiovascular nursing in registered nurses | Material Type: | printed text | Authors: | ดวงกมล วัตราดุลย์, Author ; กนกพร แจ่มสมบูรณ์, Author ; เพ็ญจันทร์ แสนประสาน, Author ; นงนุช เตชะวีรากร, Author ; มาเรียม เพราะสุนทร, Author | Publication Date: | 2017 | Article on page: | p.85-99 | Languages : | Thai (tha) Original Language : Thai (tha) | in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.27 No.2 (ก.ค-ธ.ค) 2559/2016 [11/16/2017] . - p.85-99Keywords: | พยาบาลวิชาชีพ.การจัดการความรู้.การพยาบาลโรคหัวใจและหลอดเลือด. | Abstract: | การศึกษาเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลกับการจัดการความรู้การพยาบาลโรคหัวใจและหลอดเลือดของพยาบาลวิชาชีพ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดในโรงพยาบาลทุกระดับที่เข้าร่วมประชุมวิชาการประจำปีจัดโดยสมาคมพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอกแห่งประเทศไทยปี 2558 จำนวน 191 คน
เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลมี 3ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) การรับรู้เรื่องโครงสร้างและปัจจัยในองค์กร และ 3)กระบวนการจัดการความรู้ในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัย พบว่า พยาบาลมีการรับรู้กระบวนการจัดการความรู้ในการพยาบาลโรคหัวใจและหลอดเลือดในภาพรวมในระดับมาก ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เรื่องโครงสร้างและปัจจัยในองค์กร ประกอบด้วย การบริหารองค์กร ผู้บริหาร การบริหารเทคโนโลยี วัฒนธรรมองค์กร การเสริมสร้างพลังอำนาจ และการมีส่วนร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ กับกระบวนการจัดการความรู้การพยาบาลโรคหัวใจและหลอดเลือด พบว่ามีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) และพบว่าตัวแปรที่สามารถร่วมกันทำนายกระบวนการจัดการความรู้การพยาบาลโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ดีที่สุดถึงร้อยละ 80.3 ได้แก่ วัฒนธรรมองค์กร ความร่วมมือกับสหสาขา การจัดการเทคโนโลยี และการบริหารองค์กร
งานวิจัยนี้เสนอแนะ ให้มีการพัฒนาการจัดการความรู้อย่างต่อเนื่องในสถานบริการสุขภาพทุกระดับในด้านวัฒนธรรมองค์กร ความร่วมมือกับสหสาขาวิชาชีพ การจัดการเทคโนโลยี และการบริหารองค์กรเพื่อให้มีการพัฒนาการจัดการความรู้ในการพยาบาลโรคหัวใจและหลอดเลือดให้มีประสิทธิภาพ | Link for e-copy: | http://www.thaicvtnurse.org/index.php?option=com | Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27491 |
[article] ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการความรู้ = Factors influencing to knowledge management of cardiovascular nursing in registered nurses : ทางการพยาบาลโรคหัวใจและหลอดเลือดในพยาบาลวิชาชีพ [printed text] / ดวงกมล วัตราดุลย์, Author ; กนกพร แจ่มสมบูรณ์, Author ; เพ็ญจันทร์ แสนประสาน, Author ; นงนุช เตชะวีรากร, Author ; มาเรียม เพราะสุนทร, Author . - 2017 . - p.85-99. Languages : Thai ( tha) Original Language : Thai ( tha) in วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก > Vol.27 No.2 (ก.ค-ธ.ค) 2559/2016 [11/16/2017] . - p.85-99Keywords: | พยาบาลวิชาชีพ.การจัดการความรู้.การพยาบาลโรคหัวใจและหลอดเลือด. | Abstract: | การศึกษาเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลกับการจัดการความรู้การพยาบาลโรคหัวใจและหลอดเลือดของพยาบาลวิชาชีพ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดในโรงพยาบาลทุกระดับที่เข้าร่วมประชุมวิชาการประจำปีจัดโดยสมาคมพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอกแห่งประเทศไทยปี 2558 จำนวน 191 คน
เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลมี 3ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) การรับรู้เรื่องโครงสร้างและปัจจัยในองค์กร และ 3)กระบวนการจัดการความรู้ในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัย พบว่า พยาบาลมีการรับรู้กระบวนการจัดการความรู้ในการพยาบาลโรคหัวใจและหลอดเลือดในภาพรวมในระดับมาก ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เรื่องโครงสร้างและปัจจัยในองค์กร ประกอบด้วย การบริหารองค์กร ผู้บริหาร การบริหารเทคโนโลยี วัฒนธรรมองค์กร การเสริมสร้างพลังอำนาจ และการมีส่วนร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ กับกระบวนการจัดการความรู้การพยาบาลโรคหัวใจและหลอดเลือด พบว่ามีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) และพบว่าตัวแปรที่สามารถร่วมกันทำนายกระบวนการจัดการความรู้การพยาบาลโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ดีที่สุดถึงร้อยละ 80.3 ได้แก่ วัฒนธรรมองค์กร ความร่วมมือกับสหสาขา การจัดการเทคโนโลยี และการบริหารองค์กร
งานวิจัยนี้เสนอแนะ ให้มีการพัฒนาการจัดการความรู้อย่างต่อเนื่องในสถานบริการสุขภาพทุกระดับในด้านวัฒนธรรมองค์กร ความร่วมมือกับสหสาขาวิชาชีพ การจัดการเทคโนโลยี และการบริหารองค์กรเพื่อให้มีการพัฒนาการจัดการความรู้ในการพยาบาลโรคหัวใจและหลอดเลือดให้มีประสิทธิภาพ | Link for e-copy: | http://www.thaicvtnurse.org/index.php?option=com | Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27491 |
|