[article] Title : | การวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมการดูแลรักษาเด็กโรคปอดอักเสบและต้นทุน การวินิจฉัยโรคร่วมในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลเชียงคำ | Material Type: | printed text | Authors: | ปวีณา วรรณวิภาพร, Author ; พิกุลแก้ว เจนใจ, Author ; ศุภลักษณ์ อยู่ยอด, Author | Publication Date: | 2017 | Article on page: | p.146-157 | Languages : | Thai (tha) Original Language : Thai (tha) | in วารสารสภาการพยาบาล > Vol 32. No. 1 (Jan-Mar) 2017/60 [07/25/2017] . - p.146-157Keywords: | ต้นทุนกิจกรรม. การดูแลรักษา. ต้นทุนการวินิจฉัยโรคเด็กโรคปอดอักเสบ. | Abstract: | วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างต้นทุนกิจกรรมการดูแลรักษากับต้นทุน
การวินิจฉัย โรคร่วมในเด็กโรคปอดอักเสบ หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลเชียงคำ
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงบรรยาย
วิธีดำเนินการวิจัย; ประชากรที่ศึกษา คือ ทีมเจ้าหน้าที่ที่ดูแลรักษาเด็กป่วยโรคปอดอักเสบ
ทั้งหมดจำนวน 25 คน และเด็กป่วยโรคปอดอักเสบที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม
โรงพยาบาลเชียงคำ ระหว่างพฤษภาคม ถึงสิงหาคม 2559 ประชากรทั้งหมดจำนวน 39 คน ใช้ขนาดตัวอย่าง จำนวน 14 คน กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 6 ชุด คือ
ชุดที่ 1 แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของเด็กป่วย ชุดที่ 2 พจนานุกรมกิจกรรมการดูแลรักษาจำนวน 5 กิจกรรมหลัก ชุดที่ 3 แบบสังเกตเวลาที่ใช้ในการทำกิจกรรม ชุดที่ 4 แบบบันทึกข้อมูลการจัดบริการเด็กป่วยโรคปอดอักเสบ ชุดที่ 5 แบบบันทึกต้นทุน และชุดที่ 6 แบบบันทึกข้อมูล ตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน และได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ .96 ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย
ผลการวิจัย: พบว่า ต้นทุนกิจกรรมการดูแลรักษารวมสำหรับผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบโดย
ไม่คิดรวมค่ายา ค่าตรวจวินิจฉัย ค่าห้อง ค่าอาหารและค่าสาธารณูปโภค ต่อราย เท่ากับ 1,765.22 บาท กิจกรรมที่มีต้นทุนสูงที่สุด คือ กิจกรรมการพยาบาลต่อเนื่อง เท่ากับ 855.15 บาท (ร้อยละ 48) กิจกรรมที่มีต้นทุนตำ่ที่สุด คือ กิจกรรมของทีมสหสาขาวิชาชีพ เท่ากับ 140.69 บาท (ร้อยละ 13)และพบว่าต้นทุนกิจกรรมการดูแลรักษา (ABC) ต่อราย โดยคิดรวมค่ายา ค่าตรวจวินิจฉัย ค่าห้อง/ค่าอาหาร และค่าสาธารณูปโภค เท่ากับ 4,617.87 บาท บาท การวิจัยนี้พบว่า ความแตกต่างระหว่างต้นทุนกิจกรรมการดูแลรักษาตำ่กว่าต้นทุนการวินิจฉัยตามกลุ่มโรค (DRG) เฉลี่ยต่อรายเท่ากับ
5,047.61 บาท
ข้อเสนอแนะ: ผู้บริหารควรนำเสนอผลการวิจัยให้บุคลากรในหน่วยงานได้ทราบเพื่อให้เกิด
ความตระหนักในการลดต้นทุนในการทำกิจกรรมโดยการคิดมาตรการ นวัตกรรม หรือนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในงานเอกสารเพื่อลดต้นทุนและลดเวลาในกิจกรรมการดูแลรักษา | Link for e-copy: | http://www.tci-thaijo.org/index.php/TJONC | Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26989 |
[article] การวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมการดูแลรักษาเด็กโรคปอดอักเสบและต้นทุน การวินิจฉัยโรคร่วมในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลเชียงคำ [printed text] / ปวีณา วรรณวิภาพร, Author ; พิกุลแก้ว เจนใจ, Author ; ศุภลักษณ์ อยู่ยอด, Author . - 2017 . - p.146-157. Languages : Thai ( tha) Original Language : Thai ( tha) in วารสารสภาการพยาบาล > Vol 32. No. 1 (Jan-Mar) 2017/60 [07/25/2017] . - p.146-157Keywords: | ต้นทุนกิจกรรม. การดูแลรักษา. ต้นทุนการวินิจฉัยโรคเด็กโรคปอดอักเสบ. | Abstract: | วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างต้นทุนกิจกรรมการดูแลรักษากับต้นทุน
การวินิจฉัย โรคร่วมในเด็กโรคปอดอักเสบ หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลเชียงคำ
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงบรรยาย
วิธีดำเนินการวิจัย; ประชากรที่ศึกษา คือ ทีมเจ้าหน้าที่ที่ดูแลรักษาเด็กป่วยโรคปอดอักเสบ
ทั้งหมดจำนวน 25 คน และเด็กป่วยโรคปอดอักเสบที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม
โรงพยาบาลเชียงคำ ระหว่างพฤษภาคม ถึงสิงหาคม 2559 ประชากรทั้งหมดจำนวน 39 คน ใช้ขนาดตัวอย่าง จำนวน 14 คน กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 6 ชุด คือ
ชุดที่ 1 แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของเด็กป่วย ชุดที่ 2 พจนานุกรมกิจกรรมการดูแลรักษาจำนวน 5 กิจกรรมหลัก ชุดที่ 3 แบบสังเกตเวลาที่ใช้ในการทำกิจกรรม ชุดที่ 4 แบบบันทึกข้อมูลการจัดบริการเด็กป่วยโรคปอดอักเสบ ชุดที่ 5 แบบบันทึกต้นทุน และชุดที่ 6 แบบบันทึกข้อมูล ตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน และได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ .96 ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย
ผลการวิจัย: พบว่า ต้นทุนกิจกรรมการดูแลรักษารวมสำหรับผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบโดย
ไม่คิดรวมค่ายา ค่าตรวจวินิจฉัย ค่าห้อง ค่าอาหารและค่าสาธารณูปโภค ต่อราย เท่ากับ 1,765.22 บาท กิจกรรมที่มีต้นทุนสูงที่สุด คือ กิจกรรมการพยาบาลต่อเนื่อง เท่ากับ 855.15 บาท (ร้อยละ 48) กิจกรรมที่มีต้นทุนตำ่ที่สุด คือ กิจกรรมของทีมสหสาขาวิชาชีพ เท่ากับ 140.69 บาท (ร้อยละ 13)และพบว่าต้นทุนกิจกรรมการดูแลรักษา (ABC) ต่อราย โดยคิดรวมค่ายา ค่าตรวจวินิจฉัย ค่าห้อง/ค่าอาหาร และค่าสาธารณูปโภค เท่ากับ 4,617.87 บาท บาท การวิจัยนี้พบว่า ความแตกต่างระหว่างต้นทุนกิจกรรมการดูแลรักษาตำ่กว่าต้นทุนการวินิจฉัยตามกลุ่มโรค (DRG) เฉลี่ยต่อรายเท่ากับ
5,047.61 บาท
ข้อเสนอแนะ: ผู้บริหารควรนำเสนอผลการวิจัยให้บุคลากรในหน่วยงานได้ทราบเพื่อให้เกิด
ความตระหนักในการลดต้นทุนในการทำกิจกรรมโดยการคิดมาตรการ นวัตกรรม หรือนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในงานเอกสารเพื่อลดต้นทุนและลดเวลาในกิจกรรมการดูแลรักษา | Link for e-copy: | http://www.tci-thaijo.org/index.php/TJONC | Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26989 |
| |