[article] Title : | การจัดการด้านโภชนาการและผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรง | Original title : | Nutritional Management and Clinical Outcomes of Patients with Severe Traumatic Brain Injury at Vachira Phuket Hospital | Material Type: | printed text | Authors: | สุพรพรรณ์ กิจบรรยงเลิศ, Author ; นฤมล หอบุตร, Author ; ยุทธนา คงนาม, Author | Publication Date: | 2017 | Article on page: | p.115-132 | Languages : | Thai (tha) Original Language : Thai (tha) | in วารสารสภาการพยาบาล > Vol 32. No. 1 (Jan-Mar) 2017/60 [07/25/2017] . - p.115-132Keywords: | บาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรง. การจัดการด้านโภชนาการ. | Abstract: | วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการจัดการด้านโภชนาการในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรงและเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางคลินิกระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการด้านโภชนาการและกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลแบบปกติ
การออกแบบวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน
การดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง 50 คน เป็นผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรง อายุ 18 ปีขึ้นไป มี GCS <8 คะแนน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 25 คน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลแบบปกติ กลุ่มทดลองได้รับการจัดการด้านโภชนาการ ประกอบด้วย การประเมินภาวะเสี่ยงทางโภชนาการ การเริ่มให้อาหารปั่นสูตรพิเศษทางทางเดินอาหาร ภายใน 24-48 ชั่วโมง การคำนวณพลังงานเป้าหมายและพลังงานที่ได้รับแต่ละวัน และการเตือนแพทย์เพื่อการจัดการโภชนาการที่เหมาะสม วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติบรรยาย และเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางคลินิกด้วยสถิติอ้างอิงพาราเมตริกหรือนอน-พาราเมตริกตามลักษณะของชุดข้อมูล
ผลการวิจัย: กลุ่มทดลองเริ่มให้อาหารทางสายยางหลังจากการรักษาตัวในโรงพยาบาลเร็วกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (Md = 33 ชั่วโมง, IQR = 27; Md = 46 ชั่วโมง, IQR = 38, ตามลำดับ; Z =-2.26, p < .05) กลุ่มทดลองได้รับพลังงานถึงเป้าหมายเร็วกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (Md = วันที่ 6, IQR = 5, และ Md = วันที่ 10.5 IQR = 8, ตามลำดับ; Z = -2.20, p. < .05) และมีจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับพลังงานถึงเป้าหมายภายใน 7 วันมากกว่ากลุ่มควบคุม ( 2= 13.23, p < .001) ด้านผลลัพธ์ทางคลินิก พบว่า อัตราการตายของกลุ่มทดลอง (ไม่มี) ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (ร้อยละ 16) ( 2= 4.39, p < .05) ส่วนด้านคะแนน GCS จำนวนวันที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ จำนวนวันนอนโรงพยาบาล และการติดเชื้อตำแหน่งต่าง ๆ ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างสองกลุ่ม ส่วนระดับอัลบูมินในเลือดของกลุ่มทดลองพบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในวันที่ 1, 7 และ 14ของกลุ่มทดลองไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
ข้อเสนอแนะ: การจัดการด้านโภชนาการส่งผลดีต่อผลลัพธ์ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรง แต่ควรมีการติดตามอย่างต่อเนื่องในระยะยาวต่อไป | Link for e-copy: | http://www.tci-thaijo.org/index.php/TJONC | Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26987 |
[article] การจัดการด้านโภชนาการและผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรง = Nutritional Management and Clinical Outcomes of Patients with Severe Traumatic Brain Injury at Vachira Phuket Hospital [printed text] / สุพรพรรณ์ กิจบรรยงเลิศ, Author ; นฤมล หอบุตร, Author ; ยุทธนา คงนาม, Author . - 2017 . - p.115-132. Languages : Thai ( tha) Original Language : Thai ( tha) in วารสารสภาการพยาบาล > Vol 32. No. 1 (Jan-Mar) 2017/60 [07/25/2017] . - p.115-132Keywords: | บาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรง. การจัดการด้านโภชนาการ. | Abstract: | วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการจัดการด้านโภชนาการในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรงและเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางคลินิกระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการด้านโภชนาการและกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลแบบปกติ
การออกแบบวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน
การดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง 50 คน เป็นผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรง อายุ 18 ปีขึ้นไป มี GCS <8 คะแนน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 25 คน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลแบบปกติ กลุ่มทดลองได้รับการจัดการด้านโภชนาการ ประกอบด้วย การประเมินภาวะเสี่ยงทางโภชนาการ การเริ่มให้อาหารปั่นสูตรพิเศษทางทางเดินอาหาร ภายใน 24-48 ชั่วโมง การคำนวณพลังงานเป้าหมายและพลังงานที่ได้รับแต่ละวัน และการเตือนแพทย์เพื่อการจัดการโภชนาการที่เหมาะสม วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติบรรยาย และเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางคลินิกด้วยสถิติอ้างอิงพาราเมตริกหรือนอน-พาราเมตริกตามลักษณะของชุดข้อมูล
ผลการวิจัย: กลุ่มทดลองเริ่มให้อาหารทางสายยางหลังจากการรักษาตัวในโรงพยาบาลเร็วกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (Md = 33 ชั่วโมง, IQR = 27; Md = 46 ชั่วโมง, IQR = 38, ตามลำดับ; Z =-2.26, p < .05) กลุ่มทดลองได้รับพลังงานถึงเป้าหมายเร็วกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (Md = วันที่ 6, IQR = 5, และ Md = วันที่ 10.5 IQR = 8, ตามลำดับ; Z = -2.20, p. < .05) และมีจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับพลังงานถึงเป้าหมายภายใน 7 วันมากกว่ากลุ่มควบคุม ( 2= 13.23, p < .001) ด้านผลลัพธ์ทางคลินิก พบว่า อัตราการตายของกลุ่มทดลอง (ไม่มี) ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (ร้อยละ 16) ( 2= 4.39, p < .05) ส่วนด้านคะแนน GCS จำนวนวันที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ จำนวนวันนอนโรงพยาบาล และการติดเชื้อตำแหน่งต่าง ๆ ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างสองกลุ่ม ส่วนระดับอัลบูมินในเลือดของกลุ่มทดลองพบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในวันที่ 1, 7 และ 14ของกลุ่มทดลองไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
ข้อเสนอแนะ: การจัดการด้านโภชนาการส่งผลดีต่อผลลัพธ์ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรง แต่ควรมีการติดตามอย่างต่อเนื่องในระยะยาวต่อไป | Link for e-copy: | http://www.tci-thaijo.org/index.php/TJONC | Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26987 |
| |