From this page you can:
Home |
Author details
Author เดือนทิพย์ เขษมโอภาส
Available item(s) by this author
Add the result to your basket Make a suggestion Refine your search Apply to external sourcesการวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาสถานพยาบาลแดนหญิงในเรือนจำ / ศุภาว์ เผือกเทศ in วารสารสภาการพยาบาล, Vol 32. No. 1 (Jan-Mar) 2017/60 ([07/25/2017])
[article]
Title : การวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาสถานพยาบาลแดนหญิงในเรือนจำ Original title : Analysis of Approaches to Improving the Healthcare Facility for Women's Inmates Material Type: printed text Authors: ศุภาว์ เผือกเทศ, Author ; นันทกา สวัสดิพานิช, Author ; เดือนทิพย์ เขษมโอภาส, Author Publication Date: 2017 Article on page: p.94-114 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารสภาการพยาบาล > Vol 32. No. 1 (Jan-Mar) 2017/60 [07/25/2017] . - p.94-114Keywords: แนวทางการพัฒนา. สถานพยาบาลแดนหญิง. ผู้ต้องขังหญิง. เรือนจำ. Abstract: วัตถุประสงค์การวิจัย : เพื่อประเมินสถานพยาบาลแดนหญิง วิเคราะห์ปัญหาหรืออุปสรรคในการพัฒนาคุณภาพการจัดบริการด้านสุขภาพ และวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาสถานพยาบาลแดนหญิง
การออกแบบวิจัย : การวิจัยเชิงบรรยาย
การดำเนินการวิจัย : เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบประเมินสถานพยาบาลแดนหญิง และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ การสังเกต และการตรวจสอบเอกสาร ตั้งแต่เดือนสิงหาคมพ.ศ. 2558 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2559 ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย 1) ผู้บริหาร พยาบาล และเจ้าหน้าที่ รวมจำนวน 44 คน 2) ผู้ต้องขังหญิงจำนวน 121 คน และ 3) กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการประชาพิจารณ์แนวทางการพัฒนาสถานพยาบาลแดนหญิงจำนวน 43 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติบรรยายและข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย : สถานพยาบาลแดนหญิง 7 ใน 14 แห่ง ผ่านเกณฑ์การประเมินตามมาตรฐานสถานพยาบาลแดนหญิง ผลการวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาสถานพยาบาลพบประเด็นดังนี้ 1) มาตรฐานการบริหารจัดการสถานพยาบาลแดนหญิงในส่วนของบริบท คือ 1.1) นโยบายและงบประมาณการดูแลสุขภาพ และส่วนปัจจัยนำเข้า คือ 1.2) อัตรากำลังบุคลากร 1.3) การพัฒนาศักยภาพบุคลากร 1.4) ระบบการทำงานร่วมกัน 1.5) ความพร้อมของสถานพยาบาลและ 1.6) การสร้างเครือข่ายภายนอก 2) มาตรฐานการจัดบริการด้านสุขภาพในแดนหญิง คือ 2.1) การสำรวจและวิเคราะห์ปัญหาด้านสุขภาพ 2.2) การจัดบริการด้านสุขภาพครบทุกมิติ 2.3) การจัดทำและดำเนินการตามแนวปฏิบัติ 2.4) การพัฒนาระบบการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลด้านสุขภาพ 3) มาตรฐานผลลัพธ์จากการจัดบริการด้านสุขภาพในแดนหญิง คือ 3.1) ความพึงพอใจในบริการสุขภาพ 3.2) ความรู้ความเข้าใจในภาวะสุขภาพ 3.3)อุบัติการณ์โรคติดต่อรายใหม่ลดลง และ 3.4) ผู้ต้องขังหญิงกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองโรค
ข้อเสนอแนะ : แนวทางการพัฒนาสถานพยาบาลแดนหญิงที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้พัฒนาคุณภาพการจัดบริการด้านสุขภาพได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยบุคลากรและหน่วยงานระดับต่างๆ ของกรมราชทัณฑ์มีส่วนร่วมรับผิดชอบดำเนินการภายใต้ความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายLink for e-copy: http://www.tci-thaijo.org/index.php/TJONC Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26985 [article] การวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาสถานพยาบาลแดนหญิงในเรือนจำ = Analysis of Approaches to Improving the Healthcare Facility for Women's Inmates [printed text] / ศุภาว์ เผือกเทศ, Author ; นันทกา สวัสดิพานิช, Author ; เดือนทิพย์ เขษมโอภาส, Author . - 2017 . - p.94-114.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารสภาการพยาบาล > Vol 32. No. 1 (Jan-Mar) 2017/60 [07/25/2017] . - p.94-114Keywords: แนวทางการพัฒนา. สถานพยาบาลแดนหญิง. ผู้ต้องขังหญิง. เรือนจำ. Abstract: วัตถุประสงค์การวิจัย : เพื่อประเมินสถานพยาบาลแดนหญิง วิเคราะห์ปัญหาหรืออุปสรรคในการพัฒนาคุณภาพการจัดบริการด้านสุขภาพ และวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาสถานพยาบาลแดนหญิง
การออกแบบวิจัย : การวิจัยเชิงบรรยาย
การดำเนินการวิจัย : เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบประเมินสถานพยาบาลแดนหญิง และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ การสังเกต และการตรวจสอบเอกสาร ตั้งแต่เดือนสิงหาคมพ.ศ. 2558 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2559 ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย 1) ผู้บริหาร พยาบาล และเจ้าหน้าที่ รวมจำนวน 44 คน 2) ผู้ต้องขังหญิงจำนวน 121 คน และ 3) กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการประชาพิจารณ์แนวทางการพัฒนาสถานพยาบาลแดนหญิงจำนวน 43 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติบรรยายและข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย : สถานพยาบาลแดนหญิง 7 ใน 14 แห่ง ผ่านเกณฑ์การประเมินตามมาตรฐานสถานพยาบาลแดนหญิง ผลการวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาสถานพยาบาลพบประเด็นดังนี้ 1) มาตรฐานการบริหารจัดการสถานพยาบาลแดนหญิงในส่วนของบริบท คือ 1.1) นโยบายและงบประมาณการดูแลสุขภาพ และส่วนปัจจัยนำเข้า คือ 1.2) อัตรากำลังบุคลากร 1.3) การพัฒนาศักยภาพบุคลากร 1.4) ระบบการทำงานร่วมกัน 1.5) ความพร้อมของสถานพยาบาลและ 1.6) การสร้างเครือข่ายภายนอก 2) มาตรฐานการจัดบริการด้านสุขภาพในแดนหญิง คือ 2.1) การสำรวจและวิเคราะห์ปัญหาด้านสุขภาพ 2.2) การจัดบริการด้านสุขภาพครบทุกมิติ 2.3) การจัดทำและดำเนินการตามแนวปฏิบัติ 2.4) การพัฒนาระบบการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลด้านสุขภาพ 3) มาตรฐานผลลัพธ์จากการจัดบริการด้านสุขภาพในแดนหญิง คือ 3.1) ความพึงพอใจในบริการสุขภาพ 3.2) ความรู้ความเข้าใจในภาวะสุขภาพ 3.3)อุบัติการณ์โรคติดต่อรายใหม่ลดลง และ 3.4) ผู้ต้องขังหญิงกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองโรค
ข้อเสนอแนะ : แนวทางการพัฒนาสถานพยาบาลแดนหญิงที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้พัฒนาคุณภาพการจัดบริการด้านสุขภาพได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยบุคลากรและหน่วยงานระดับต่างๆ ของกรมราชทัณฑ์มีส่วนร่วมรับผิดชอบดำเนินการภายใต้ความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายLink for e-copy: http://www.tci-thaijo.org/index.php/TJONC Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26985