Collection Title: | SIU THE-T | Title : | ปัจจัยที่อธิบายธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในภาคตะวันออกของประเทศไทย | Original title : | Factors Explaining Good Governance among Administrators of the Local Administration Organization in the Eastern Region of Thailand | Material Type: | printed text | Authors: | ธนบดี ฐานะชาลา, Author ; วรเดช จันทรศร, Associated Name ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name | Publisher: | กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร | Publication Date: | 2016 | Pagination: | xi, 263 p. | Layout: | ภาพประกอบ, ตาราง | Size: | 30 ซม. | Price: | 500.00 | General note: | SIU THE-T: IPAG-DPA-2016-11
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2016 | Languages : | Thai (tha) | Descriptors: | [LCSH]ธรรมรัฐ -- ไทย (ภาคตะวันออก) [LCSH]องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น -- การบริหาร
| Keywords: | ธรรมาภิบาล
ปัจจัยที่อธิบายธรรมาภิบาล
รัฐประศาสนศาสตร์ | Abstract: | การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกของประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่อธิบายธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกของประเทศไทย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัย เชิงปริมาณและเสริมด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการ/พนักงาน จำนวน 345 คน และผู้นำชุมชน จำนวน 14 คน ใน 7 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดจันทบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดตราด จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดสระแก้ว เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยผ่านการตรวจสอบความแม่นตรงจากผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าเท่ากับ 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .988 (α coefficient = .988) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าการถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลระดับธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกของประเทศไทย พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อันดับหนึ่ง คือ ด้านหลักความรับผิดชอบ รองลงมา คือ ด้านหลักความมีส่วนร่วม หลักนิติธรรม หลักความคุ้มค่า หลักคุณธรรม และหลักความโปร่งใส ตามลำดับ
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลระดับปัจจัยที่อธิบายธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกของประเทศไทย พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก อันดับหนึ่ง คือ ด้านภาวะผู้นำ รองลงมา คือ ด้านการสื่อสารระหว่างรัฐกับประชาชน ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน และกลไกในการตรวจสอบถ่วงดุล ตามลำดับ
3. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่อธิบายธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยใช้สถิติการถดถอยเชิงพหุคูณ (multiple regression) ผลการ
วิเคราะห์ พบว่า ปัจจัยที่อธิบายธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 ตัวแปร เรียงลำดับความสำคัญจากมากไปน้อย คือ ภาวะผู้นำ (X1),การมีส่วนร่วมของประชาชน (X2), กลไกในการตรวจสอบถ่วงดุล (X3) และ การสื่อสารระหว่างรัฐกับประชาชน (X4) มีผลต่อภาพรวมธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ 41.00% ที่ระดับนัยสำคัญ .05
ข้อค้นพบนี้ นำไปสู่แนวทางในการพัฒนาธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบของการพัฒนาเชิงบูรณาการ ซึ่งหมายถึง การยกระดับธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะต้องดำเนินการทั้งในด้านการพัฒนาผู้นำ การจัดระบบและกระบวนการให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ รวมตลอดถึงการพัฒนากลไกลในการตรวจสอบและถ่วงดุล ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้น และมีการสื่อสารที่หลากหลายระหว่างรัฐกับประชาชนอย่างต่อเนื่อง ในทางทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์ จึงสรุปได้จากข้อค้นพบนี้ว่า ไม่มีทฤษฎีเดียวในการพัฒนา ธรรมาภิบาล การพัฒนาธรรมาภิบาลจึงต้องอาศัยทฤษฎีที่เป็นสหวิทยาการและมี การบูรณาการ | Curricular : | GE/MBA/PhDM | Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26609 |
SIU THE-T. ปัจจัยที่อธิบายธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในภาคตะวันออกของประเทศไทย = Factors Explaining Good Governance among Administrators of the Local Administration Organization in the Eastern Region of Thailand [printed text] / ธนบดี ฐานะชาลา, Author ; วรเดช จันทรศร, Associated Name ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2016 . - xi, 263 p. : ภาพประกอบ, ตาราง ; 30 ซม. 500.00 SIU THE-T: IPAG-DPA-2016-11
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2016 Languages : Thai ( tha) Descriptors: | [LCSH]ธรรมรัฐ -- ไทย (ภาคตะวันออก) [LCSH]องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น -- การบริหาร
| Keywords: | ธรรมาภิบาล
ปัจจัยที่อธิบายธรรมาภิบาล
รัฐประศาสนศาสตร์ | Abstract: | การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกของประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่อธิบายธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกของประเทศไทย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัย เชิงปริมาณและเสริมด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการ/พนักงาน จำนวน 345 คน และผู้นำชุมชน จำนวน 14 คน ใน 7 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดจันทบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดตราด จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดสระแก้ว เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยผ่านการตรวจสอบความแม่นตรงจากผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าเท่ากับ 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .988 (α coefficient = .988) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าการถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลระดับธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกของประเทศไทย พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อันดับหนึ่ง คือ ด้านหลักความรับผิดชอบ รองลงมา คือ ด้านหลักความมีส่วนร่วม หลักนิติธรรม หลักความคุ้มค่า หลักคุณธรรม และหลักความโปร่งใส ตามลำดับ
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลระดับปัจจัยที่อธิบายธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกของประเทศไทย พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก อันดับหนึ่ง คือ ด้านภาวะผู้นำ รองลงมา คือ ด้านการสื่อสารระหว่างรัฐกับประชาชน ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน และกลไกในการตรวจสอบถ่วงดุล ตามลำดับ
3. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่อธิบายธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยใช้สถิติการถดถอยเชิงพหุคูณ (multiple regression) ผลการ
วิเคราะห์ พบว่า ปัจจัยที่อธิบายธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 ตัวแปร เรียงลำดับความสำคัญจากมากไปน้อย คือ ภาวะผู้นำ (X1),การมีส่วนร่วมของประชาชน (X2), กลไกในการตรวจสอบถ่วงดุล (X3) และ การสื่อสารระหว่างรัฐกับประชาชน (X4) มีผลต่อภาพรวมธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ 41.00% ที่ระดับนัยสำคัญ .05
ข้อค้นพบนี้ นำไปสู่แนวทางในการพัฒนาธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบของการพัฒนาเชิงบูรณาการ ซึ่งหมายถึง การยกระดับธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะต้องดำเนินการทั้งในด้านการพัฒนาผู้นำ การจัดระบบและกระบวนการให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ รวมตลอดถึงการพัฒนากลไกลในการตรวจสอบและถ่วงดุล ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้น และมีการสื่อสารที่หลากหลายระหว่างรัฐกับประชาชนอย่างต่อเนื่อง ในทางทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์ จึงสรุปได้จากข้อค้นพบนี้ว่า ไม่มีทฤษฎีเดียวในการพัฒนา ธรรมาภิบาล การพัฒนาธรรมาภิบาลจึงต้องอาศัยทฤษฎีที่เป็นสหวิทยาการและมี การบูรณาการ | Curricular : | GE/MBA/PhDM | Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26609 |
|