From this page you can:
Home |
วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต / สมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย . Vol.29 No.2 (May-Aug) 2015Published date : 12/08/2015 |
Available articles
Add the result to your basketการดูแลตนเองของพยาบาลตามหลักศาสนาอิสลาม / ศรีสุดา วนาลีสิน in วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, Vol.29 No.2 (May-Aug) 2015 ([12/08/2015])
[article]
Title : การดูแลตนเองของพยาบาลตามหลักศาสนาอิสลาม Material Type: printed text Authors: ศรีสุดา วนาลีสิน, Author ; ไผโรส มามะ, Author Publication Date: 2015 Article on page: น.1-11 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต > Vol.29 No.2 (May-Aug) 2015 [12/08/2015] . - น.1-11Abstract: วัตถุประสงค์เพื่อทบทวนวรรณกรรมเรื่องการดูแลตนเองของพยาบาลตามหลักศาสนาอิสลาม รวมทั้งอธิบายกรอบแนวคิดการดูแลตนเองที่ผสมผสานหลักศาสนาอิสลาม บทความนี้ได้ทบทวนและวิเคราะห์การดูแลตนเองของพยาบาล 3 กรอบแนวคิด เพื่อเลือกแนวคิดที่สอดคคล้องกับหลักศาสนาอิสลามและบูรณาการหลักศาสนาอิสลามเข้ากับการดูแลตนเอง พบว่า การดูแลตนเองตามกรอบแนวคิดของวอล์คเกอร์ เซคคริส และเพนเดอร์, 1987 ครอบคลุมการดูแลตนเองของพยาบาลทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตอิสลามตามการดูแลตนเอง 6 ด้านคือ 1 การดูแลตนเองเพื่อให้เป็นมุลสิมที่สมบรูณ์ 2 การตระหนักในหน้าที่ที่ต้องดูแลสุขภาพ 3 การออกกำลังกายที่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม 4 การรับประทานอาหารที่ฮาลาลและต็อยยิบ 5 การมีความผูกผันกับอัลลอฮในแบบที่พระองค์เห็นชอบ และ 6 การจัดการกับความเครียดตามหลักศาสนาอิสลาม จากการทบทวนวรรณกรรมดังกล่าวสามารถนำไปเป็นแนวทางสำหรับพยาบาลมุสลิมในการดูแลตนเอง สอน และเป็นแบบอย่างให้กับผู้รับบริการมุสลิม ที่ต้องดูแลตนเองให้สอดคล้องกับหลักศาสนาอิสลามเพื่อให้มีสุขภาพดีต่อไป Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=25102 [article] การดูแลตนเองของพยาบาลตามหลักศาสนาอิสลาม [printed text] / ศรีสุดา วนาลีสิน, Author ; ไผโรส มามะ, Author . - 2015 . - น.1-11.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต > Vol.29 No.2 (May-Aug) 2015 [12/08/2015] . - น.1-11Abstract: วัตถุประสงค์เพื่อทบทวนวรรณกรรมเรื่องการดูแลตนเองของพยาบาลตามหลักศาสนาอิสลาม รวมทั้งอธิบายกรอบแนวคิดการดูแลตนเองที่ผสมผสานหลักศาสนาอิสลาม บทความนี้ได้ทบทวนและวิเคราะห์การดูแลตนเองของพยาบาล 3 กรอบแนวคิด เพื่อเลือกแนวคิดที่สอดคคล้องกับหลักศาสนาอิสลามและบูรณาการหลักศาสนาอิสลามเข้ากับการดูแลตนเอง พบว่า การดูแลตนเองตามกรอบแนวคิดของวอล์คเกอร์ เซคคริส และเพนเดอร์, 1987 ครอบคลุมการดูแลตนเองของพยาบาลทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตอิสลามตามการดูแลตนเอง 6 ด้านคือ 1 การดูแลตนเองเพื่อให้เป็นมุลสิมที่สมบรูณ์ 2 การตระหนักในหน้าที่ที่ต้องดูแลสุขภาพ 3 การออกกำลังกายที่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม 4 การรับประทานอาหารที่ฮาลาลและต็อยยิบ 5 การมีความผูกผันกับอัลลอฮในแบบที่พระองค์เห็นชอบ และ 6 การจัดการกับความเครียดตามหลักศาสนาอิสลาม จากการทบทวนวรรณกรรมดังกล่าวสามารถนำไปเป็นแนวทางสำหรับพยาบาลมุสลิมในการดูแลตนเอง สอน และเป็นแบบอย่างให้กับผู้รับบริการมุสลิม ที่ต้องดูแลตนเองให้สอดคล้องกับหลักศาสนาอิสลามเพื่อให้มีสุขภาพดีต่อไป Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=25102 ผลของกลุ่มบำบัดแบบหวนรำลึกความหลังที่เป็นสุข / วาสนา เหล่าคงธรรม in วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, Vol.29 No.2 (May-Aug) 2015 ([12/08/2015])
[article]
Title : ผลของกลุ่มบำบัดแบบหวนรำลึกความหลังที่เป็นสุข : ต่ออาการซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทยที่เป็นโรคซึมเศร้า Original title : The effects of group ha[[y reminiscence therapy on depressive symptoms in Thai older people with major depressive disorder Material Type: printed text Authors: วาสนา เหล่าคงธรรม, Author ; สุปราณี พิมพ์ตรา, Author ; ธรณินทร์ กองสุข, Author ; สมพร รุ่งเรืองกลกิจ, Author Publication Date: 2015 Article on page: น.12-27 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต > Vol.29 No.2 (May-Aug) 2015 [12/08/2015] . - น.12-27Abstract: วัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธผลของกลุ่มบำบัดแบบหวนรำลึกความหลังที่เป็นสุข [HRT] ต่ออาการซึมเศร้าและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุไทยที่เป็นโรคซึมเศร้าโดยเปรียบเทียบกับกลุ่มลำดับประคับประคอง [ST] วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยยแบบทดลองกลุ่มตัวอย่างเป็นคนไทยยอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่เป็นโรคซึมเศร้ามีอาการเล็กน้อยถึงปานกลางจำนวน 30 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมที่บำบัดด้วย ST กลุ่มละ 15 คน บำบัด 6 ครั้ง วัดผลก่อนและหลังการบำบัดครั้งสุดท้ายด้วยแบบประเมินอาการซึมเศร้า 9 คำถาม และ HRSD-17 แบบวัดคุณภาพชีวิตด้วย [EQ-5D-5L)และแบบประเมินสภาวะสุขภาพ [VAS] และวิเคราะห์ข้อมูลด้วย Chi-Square และ t-test ผลการศึกษา 1. ผู้สูงอายุในกลุ่มทดลอง HRT มีค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะซึมเศร้าที่ลดลงมากกว่ากลุ่ม ST อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2 ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมของค่าเฉลี่ย HRSD-17 ที่ลดลง ค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิตที่เพิ่มขึ้น 3 ทั้งสองกลุ่มมีอัตรคาการหายจากอาการซึมเศร้าร้อยละ 80 มีค่า RR เท่ากับ 95% CI=.70-14.43 สรุป HRT มีผลลดอาการซึมเศร้าของผู้สูงอายุไทยได้มากกว่า ST อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแค่การเพิ่มคุณภาพชีวิตและภาวะสุขภาพโดยรวมไม่แตกต่างจากกลุ่ม ST
Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=25103 [article] ผลของกลุ่มบำบัดแบบหวนรำลึกความหลังที่เป็นสุข = The effects of group ha[[y reminiscence therapy on depressive symptoms in Thai older people with major depressive disorder : ต่ออาการซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทยที่เป็นโรคซึมเศร้า [printed text] / วาสนา เหล่าคงธรรม, Author ; สุปราณี พิมพ์ตรา, Author ; ธรณินทร์ กองสุข, Author ; สมพร รุ่งเรืองกลกิจ, Author . - 2015 . - น.12-27.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต > Vol.29 No.2 (May-Aug) 2015 [12/08/2015] . - น.12-27Abstract: วัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธผลของกลุ่มบำบัดแบบหวนรำลึกความหลังที่เป็นสุข [HRT] ต่ออาการซึมเศร้าและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุไทยที่เป็นโรคซึมเศร้าโดยเปรียบเทียบกับกลุ่มลำดับประคับประคอง [ST] วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยยแบบทดลองกลุ่มตัวอย่างเป็นคนไทยยอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่เป็นโรคซึมเศร้ามีอาการเล็กน้อยถึงปานกลางจำนวน 30 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมที่บำบัดด้วย ST กลุ่มละ 15 คน บำบัด 6 ครั้ง วัดผลก่อนและหลังการบำบัดครั้งสุดท้ายด้วยแบบประเมินอาการซึมเศร้า 9 คำถาม และ HRSD-17 แบบวัดคุณภาพชีวิตด้วย [EQ-5D-5L)และแบบประเมินสภาวะสุขภาพ [VAS] และวิเคราะห์ข้อมูลด้วย Chi-Square และ t-test ผลการศึกษา 1. ผู้สูงอายุในกลุ่มทดลอง HRT มีค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะซึมเศร้าที่ลดลงมากกว่ากลุ่ม ST อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2 ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมของค่าเฉลี่ย HRSD-17 ที่ลดลง ค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิตที่เพิ่มขึ้น 3 ทั้งสองกลุ่มมีอัตรคาการหายจากอาการซึมเศร้าร้อยละ 80 มีค่า RR เท่ากับ 95% CI=.70-14.43 สรุป HRT มีผลลดอาการซึมเศร้าของผู้สูงอายุไทยได้มากกว่า ST อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแค่การเพิ่มคุณภาพชีวิตและภาวะสุขภาพโดยรวมไม่แตกต่างจากกลุ่ม ST
Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=25103 การศึกษาผลของกิจกรรมที่มีต่อการฟื้นฟูสภาพจิตใจของเด็กและครอบครัวที่ได้รับ / อัญชลี วัดทอง in วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, Vol.29 No.2 (May-Aug) 2015 ([12/08/2015])
[article]
Title : การศึกษาผลของกิจกรรมที่มีต่อการฟื้นฟูสภาพจิตใจของเด็กและครอบครัวที่ได้รับ : ผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วม Original title : A Study of activities' effect on mental rehabilitation of children and families who have been affected by floods Material Type: printed text Authors: อัญชลี วัดทอง, Author Publication Date: 2015 Article on page: น.28-45 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต > Vol.29 No.2 (May-Aug) 2015 [12/08/2015] . - น.28-45Abstract: เพื่อศึกษาผลของกิจกรรมต่อการฟื้นฟูสภาพจิตใจของเด็กและครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วม 1. การวิจัยเป็นการสำรวจผลกระทบด้านจิตใจต่อเด็กและครอบครัว 2. การวางแผนและดำเนินกิจกรรม 3. ประเมินผล กลุ่มตัวอย่างจำนวน 422 คน ประกอบด้วยพ่อแม่ ผู้ปกครอง เด็กและวัยรุ่นและแกนนำในองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบประเมินพัฒนาการเด็ก แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ แบบคัดกรองเด็กกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับผลกระทบด้านจิตใจ แบบประเมินระดับคความเครียดของพ่อแม่ ผู้ปกครอง และแนวคำถามการสนทนกากลุ่มวิเคราะห์ข้อมูลโดยใชเ้สถิติเชิงพรรณนาโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Pair-test Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=25104 [article] การศึกษาผลของกิจกรรมที่มีต่อการฟื้นฟูสภาพจิตใจของเด็กและครอบครัวที่ได้รับ = A Study of activities' effect on mental rehabilitation of children and families who have been affected by floods : ผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วม [printed text] / อัญชลี วัดทอง, Author . - 2015 . - น.28-45.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต > Vol.29 No.2 (May-Aug) 2015 [12/08/2015] . - น.28-45Abstract: เพื่อศึกษาผลของกิจกรรมต่อการฟื้นฟูสภาพจิตใจของเด็กและครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วม 1. การวิจัยเป็นการสำรวจผลกระทบด้านจิตใจต่อเด็กและครอบครัว 2. การวางแผนและดำเนินกิจกรรม 3. ประเมินผล กลุ่มตัวอย่างจำนวน 422 คน ประกอบด้วยพ่อแม่ ผู้ปกครอง เด็กและวัยรุ่นและแกนนำในองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบประเมินพัฒนาการเด็ก แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ แบบคัดกรองเด็กกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับผลกระทบด้านจิตใจ แบบประเมินระดับคความเครียดของพ่อแม่ ผู้ปกครอง และแนวคำถามการสนทนกากลุ่มวิเคราะห์ข้อมูลโดยใชเ้สถิติเชิงพรรณนาโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Pair-test Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=25104 ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น / กานดา นาควาวี in วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, Vol.29 No.2 (May-Aug) 2015 ([12/08/2015])
[article]
Title : ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น Original title : Effect of the resilience enhancing program in junior high school students Material Type: printed text Authors: กานดา นาควาวี, Author ; พัชรินทร์ นินทจันทร์, Author ; โสภิณ แสงอ่อน, Author Publication Date: 2015 Article on page: น.46-63 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต > Vol.29 No.2 (May-Aug) 2015 [12/08/2015] . - น.46-63Abstract: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตนักเรัียนมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนระดับชั้นมัยธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่ศึกษาในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2557 ของโรงเรีบน 2 โรงเรียน จังหวัดอ่างทอง โรงเรียนละ 29 คน เป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม โปรแกรมที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1. โปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตที่พัฒนาโดยพัชรินทร์ นินทจันทร์ และคณะ 2. แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 3. แบบประเมินความแข็งแกร่งในชีวิตซึ่งพัฒนาโดยพัชรินทร์ นินทจันทร์ และคณะ วิเคราะหฺ์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยของความแข็งแกร่งในชีวิตของนักเรียนหลังการเข้าร่วมโปรแกรม สูงกว่าก่อนเข้าร่วมมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<.05 และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของความแข็งแกร่งในชีวิตนักเรียนระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมหลังการเข้าร่วมโปรแกรม พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของความแข็งแกร่งในชีวิตสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<.05 ผลจากการวิจัยสามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมให้นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นมีความแข็งแกร่งในชีวิตเพื่อเตรียมพร้อมในการเผชิญเหตุการณ์วิกฤตต่าง ๆ ในชีวิตต่อไปRecord link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=25105 [article] ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น = Effect of the resilience enhancing program in junior high school students [printed text] / กานดา นาควาวี, Author ; พัชรินทร์ นินทจันทร์, Author ; โสภิณ แสงอ่อน, Author . - 2015 . - น.46-63.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต > Vol.29 No.2 (May-Aug) 2015 [12/08/2015] . - น.46-63Abstract: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตนักเรัียนมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนระดับชั้นมัยธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่ศึกษาในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2557 ของโรงเรีบน 2 โรงเรียน จังหวัดอ่างทอง โรงเรียนละ 29 คน เป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม โปรแกรมที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1. โปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตที่พัฒนาโดยพัชรินทร์ นินทจันทร์ และคณะ 2. แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 3. แบบประเมินความแข็งแกร่งในชีวิตซึ่งพัฒนาโดยพัชรินทร์ นินทจันทร์ และคณะ วิเคราะหฺ์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยของความแข็งแกร่งในชีวิตของนักเรียนหลังการเข้าร่วมโปรแกรม สูงกว่าก่อนเข้าร่วมมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<.05 และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของความแข็งแกร่งในชีวิตนักเรียนระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมหลังการเข้าร่วมโปรแกรม พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของความแข็งแกร่งในชีวิตสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<.05 ผลจากการวิจัยสามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมให้นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นมีความแข็งแกร่งในชีวิตเพื่อเตรียมพร้อมในการเผชิญเหตุการณ์วิกฤตต่าง ๆ ในชีวิตต่อไปRecord link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=25105 ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัวแก่ผู้ดูแลกับการ / สมกมล อรรคทิมากูล in วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, Vol.29 No.2 (May-Aug) 2015 ([12/08/2015])
[article]
Title : ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัวแก่ผู้ดูแลกับการ : ลดภาระการดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังที่บ้าน Original title : The effects of family counseling program on burden of schizophrenic patients caregivers Material Type: printed text Authors: สมกมล อรรคทิมากูล, Author ; อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย, Author Publication Date: 2015 Article on page: น.64-76 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต > Vol.29 No.2 (May-Aug) 2015 [12/08/2015] . - น.64-76Abstract: การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัวและเปรียเทียบภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษากับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครอบครัวของผู้ป่วยจิตเภทที่พาผู้ป่วยจิตเภทมารับการรักษาคลินิกจิตเวชแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลประจำจังหวัด ซึ่งเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัวและเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท เครื่องมือทั้งหมดได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านสุขภาพจิตและจิตเวช จำนวน 5 ท่าน วิเคราะห์ค่าความเที่ยงของแบบวัดภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบารคเท่ากับ .96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีื ผลการศึกาาที่สำคัญสรุปได้ 1. ภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทหลังได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัวต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกาาครอบครัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<.05 2. ภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัวต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติิอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<.05 Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=25106 [article] ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัวแก่ผู้ดูแลกับการ = The effects of family counseling program on burden of schizophrenic patients caregivers : ลดภาระการดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังที่บ้าน [printed text] / สมกมล อรรคทิมากูล, Author ; อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย, Author . - 2015 . - น.64-76.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต > Vol.29 No.2 (May-Aug) 2015 [12/08/2015] . - น.64-76Abstract: การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัวและเปรียเทียบภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษากับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครอบครัวของผู้ป่วยจิตเภทที่พาผู้ป่วยจิตเภทมารับการรักษาคลินิกจิตเวชแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลประจำจังหวัด ซึ่งเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัวและเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท เครื่องมือทั้งหมดได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านสุขภาพจิตและจิตเวช จำนวน 5 ท่าน วิเคราะห์ค่าความเที่ยงของแบบวัดภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบารคเท่ากับ .96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีื ผลการศึกาาที่สำคัญสรุปได้ 1. ภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทหลังได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัวต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกาาครอบครัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<.05 2. ภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัวต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติิอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<.05 Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=25106 ผลของโปรแกรมการฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเองต่อการบริโภค in วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, Vol.29 No.2 (May-Aug) 2015 ([12/08/2015])
[article]
Title : ผลของโปรแกรมการฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเองต่อการบริโภค Material Type: printed text Publication Date: 2015 Article on page: น.77-88 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต > Vol.29 No.2 (May-Aug) 2015 [12/08/2015] . - น.77-88Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบาสองกลุ่มวัดก่อน และหลังการทดลองเพื่อเปรียบเทียบ 1 การบริโภคแอลกอฮอล์ของผู้เสพติดแอลกอฮอล์ชายก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเอง 2 การบริโภคแอลกอฮอล์ของผู้เสพติดแอลกอฮอล์ชายระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเองกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เสพติดแอลกอฮอล์ชายจำนวน 60 ราย ที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในระยะบำบัดด้วยยาซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์และไม่ประสงค์เข้ารับการรักษาในระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี จังหวัดปทุมธานี ได้รับการจับคู่ด้วยจำนวนครั้งของการเข้ารับการบำบัดรักษาและสุ่มเข้ากลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 3 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรรมการฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเอง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1. โปรแกรมการฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเอง 2 แบบประเมินการบริโภคแอลกอฮอลฺ์ 3 แบบสอบถามเจตคติในการควบคุมพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ 4. แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน เครื่ืองมือชุดที่ 3 มีค่าความเที่ยงอัลฟาครอนบารคเท่ากับ .92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ และใช้สถิติที ผลการศึกษา 1. การบริโภคแอลกอฮอล์ของผู้เสพติดแอลกอฮอล์ชายหลังได้รับโปรแกรมการฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเองต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. การบริโภคแอลกอฮอล์ของผู้เสพติดแอลกอฮอล์ชายกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=25107 [article] ผลของโปรแกรมการฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเองต่อการบริโภค [printed text] . - 2015 . - น.77-88.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต > Vol.29 No.2 (May-Aug) 2015 [12/08/2015] . - น.77-88Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบาสองกลุ่มวัดก่อน และหลังการทดลองเพื่อเปรียบเทียบ 1 การบริโภคแอลกอฮอล์ของผู้เสพติดแอลกอฮอล์ชายก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเอง 2 การบริโภคแอลกอฮอล์ของผู้เสพติดแอลกอฮอล์ชายระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเองกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เสพติดแอลกอฮอล์ชายจำนวน 60 ราย ที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในระยะบำบัดด้วยยาซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์และไม่ประสงค์เข้ารับการรักษาในระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี จังหวัดปทุมธานี ได้รับการจับคู่ด้วยจำนวนครั้งของการเข้ารับการบำบัดรักษาและสุ่มเข้ากลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 3 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรรมการฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเอง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1. โปรแกรมการฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเอง 2 แบบประเมินการบริโภคแอลกอฮอลฺ์ 3 แบบสอบถามเจตคติในการควบคุมพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ 4. แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน เครื่ืองมือชุดที่ 3 มีค่าความเที่ยงอัลฟาครอนบารคเท่ากับ .92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ และใช้สถิติที ผลการศึกษา 1. การบริโภคแอลกอฮอล์ของผู้เสพติดแอลกอฮอล์ชายหลังได้รับโปรแกรมการฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเองต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. การบริโภคแอลกอฮอล์ของผู้เสพติดแอลกอฮอล์ชายกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=25107 ปัจจัยทำนายการแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยจิตเภท / ทัตชญา สมประดิษฐ in วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, Vol.29 No.2 (May-Aug) 2015 ([12/08/2015])
[article]
Title : ปัจจัยทำนายการแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยจิตเภท Original title : Predicting factors of expressed emotion in family caregivers of schizophrenic patients Material Type: printed text Authors: ทัตชญา สมประดิษฐ, Author ; รัชนีกร เกิดโชค, Author Publication Date: 2015 Article on page: น.89-102 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต > Vol.29 No.2 (May-Aug) 2015 [12/08/2015] . - น.89-102Abstract: วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยจิตเภท 2. เพื่อศึกษาปัจจัยคัดสรรในครอบครัวของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลในครอบครัวที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลในสังกัดกรมสุขภาพจิต จำนวน 180 คน เครื่องมือที่ใช้ในการการวิจัย คือ แบบวัดความรุนแรงของอาการทางจิต การทำหน้าที่ทางสังคมของผู้ป่วย ภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแล ภาระการดูแลเชิงปรนัย ภาระการดูแลเชิงอัตนัย การเผชิญความเครียดแบบมุ่งแก้ปัญหาความสามารถในการดูแลผู้ป่วยจิตเภท ความทุกข์ทรมานของผู้ดูแลแบบวัดการแสดงออกทางอารมณ์ด้านลบ และการแสดงออกทางอารณม์ด้านบวก วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษา 1. การแสดงออกทางอารมณ์ด้านลบและด้านบวกของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยจิตเภทอยู่ในระดับเหมาะสม 2. ภาระการดูแลเชิงอัตนัย การเผชิญความเครียดแบบมุ่งแก้ปัญหาความทุกข์ทรมานของผู้ดูแล และภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแล สามารถร่วมกันทำนายการแสดงออกทางอารมณ์ด้านลงได้ร้อยละ 36.2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<.05 3. ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยจิตเภท และการรับรู้ความรุนแรงของอาาการทางจิต สามารถร่วมกันทำนายการแสดงออกทางอารมณ์ด้านบวกได้ร้อยละ 29.1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<.05 Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=25108 [article] ปัจจัยทำนายการแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยจิตเภท = Predicting factors of expressed emotion in family caregivers of schizophrenic patients [printed text] / ทัตชญา สมประดิษฐ, Author ; รัชนีกร เกิดโชค, Author . - 2015 . - น.89-102.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต > Vol.29 No.2 (May-Aug) 2015 [12/08/2015] . - น.89-102Abstract: วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยจิตเภท 2. เพื่อศึกษาปัจจัยคัดสรรในครอบครัวของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลในครอบครัวที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลในสังกัดกรมสุขภาพจิต จำนวน 180 คน เครื่องมือที่ใช้ในการการวิจัย คือ แบบวัดความรุนแรงของอาการทางจิต การทำหน้าที่ทางสังคมของผู้ป่วย ภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแล ภาระการดูแลเชิงปรนัย ภาระการดูแลเชิงอัตนัย การเผชิญความเครียดแบบมุ่งแก้ปัญหาความสามารถในการดูแลผู้ป่วยจิตเภท ความทุกข์ทรมานของผู้ดูแลแบบวัดการแสดงออกทางอารมณ์ด้านลบ และการแสดงออกทางอารณม์ด้านบวก วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษา 1. การแสดงออกทางอารมณ์ด้านลบและด้านบวกของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยจิตเภทอยู่ในระดับเหมาะสม 2. ภาระการดูแลเชิงอัตนัย การเผชิญความเครียดแบบมุ่งแก้ปัญหาความทุกข์ทรมานของผู้ดูแล และภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแล สามารถร่วมกันทำนายการแสดงออกทางอารมณ์ด้านลงได้ร้อยละ 36.2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<.05 3. ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยจิตเภท และการรับรู้ความรุนแรงของอาาการทางจิต สามารถร่วมกันทำนายการแสดงออกทางอารมณ์ด้านบวกได้ร้อยละ 29.1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<.05 Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=25108 ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อความสามารถในการเผชิญปัญหาของผู้พยายามฆ่าตัวตาย / วราภรณ์ ประทียธีรานันต์ in วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, Vol.29 No.2 (May-Aug) 2015 ([12/08/2015])
[article]
Title : ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อความสามารถในการเผชิญปัญหาของผู้พยายามฆ่าตัวตาย : The effects of empowerment program on coping ability of suicidal attempters Material Type: printed text Authors: วราภรณ์ ประทียธีรานันต์, Author ; อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย, Author Publication Date: 2015 Article on page: น.103-115 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต > Vol.29 No.2 (May-Aug) 2015 [12/08/2015] . - น.103-115Abstract: การวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเผชิญปัญหาของผู้พยายามฆ่าตัวตายของกลุ่มทดลองก่อนและหลังการได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ และเพื่อเปรียบเทียบความสามรถในการเผชิญปัญหาของผู้พยายามฆ่าตัวตายของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมภายหลังจากเข้าร่วมโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้พยายามฆ่าตัวตายที่นอนพักรักษาตัวในหอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรีซึ่งได้จากการคัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์คุณสมบัติ คือ เป็นเพศชาย หรือเพศหญิงอายุระหว่าง 15-40 ปี และมีคะแนนความสามารถในการเผชิญปัญหาระดับแก้ไข 0.04 หรือไม่ดี 0.5-1.4 จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ และแบบประเมินความสามารถในการเผชิญปัญหาเครื่องมือทั้งหมดได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านจิตเวช จำนวน 5 ท่าน วิเคราะห์ค่าความเที่ยงตรงของแบบประเมินความสามารถในการเผชิญปัญหาได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ.83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยเชิงสถิติเชิงพรรณนาและทดสอบค่าที ผลการศึกษาสรุปได้ คือ ค่าเฉลี่ยความสามารถในการเผชิญปัญหาของผู้พยายามฆ่าตัวตายของกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการเสริมพลังอำนาจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<.001 ค่าเฉลี่ยความสามารถในการเผชิญปัญหาของผู้พยายามฆ่าตัวตายที่ได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจสูงกว่าผู้พยายามฆ่าตัวตายที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p.001 Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=25109 [article] ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อความสามารถในการเผชิญปัญหาของผู้พยายามฆ่าตัวตาย : The effects of empowerment program on coping ability of suicidal attempters [printed text] / วราภรณ์ ประทียธีรานันต์, Author ; อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย, Author . - 2015 . - น.103-115.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต > Vol.29 No.2 (May-Aug) 2015 [12/08/2015] . - น.103-115Abstract: การวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเผชิญปัญหาของผู้พยายามฆ่าตัวตายของกลุ่มทดลองก่อนและหลังการได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ และเพื่อเปรียบเทียบความสามรถในการเผชิญปัญหาของผู้พยายามฆ่าตัวตายของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมภายหลังจากเข้าร่วมโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้พยายามฆ่าตัวตายที่นอนพักรักษาตัวในหอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรีซึ่งได้จากการคัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์คุณสมบัติ คือ เป็นเพศชาย หรือเพศหญิงอายุระหว่าง 15-40 ปี และมีคะแนนความสามารถในการเผชิญปัญหาระดับแก้ไข 0.04 หรือไม่ดี 0.5-1.4 จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ และแบบประเมินความสามารถในการเผชิญปัญหาเครื่องมือทั้งหมดได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านจิตเวช จำนวน 5 ท่าน วิเคราะห์ค่าความเที่ยงตรงของแบบประเมินความสามารถในการเผชิญปัญหาได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ.83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยเชิงสถิติเชิงพรรณนาและทดสอบค่าที ผลการศึกษาสรุปได้ คือ ค่าเฉลี่ยความสามารถในการเผชิญปัญหาของผู้พยายามฆ่าตัวตายของกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการเสริมพลังอำนาจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<.001 ค่าเฉลี่ยความสามารถในการเผชิญปัญหาของผู้พยายามฆ่าตัวตายที่ได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจสูงกว่าผู้พยายามฆ่าตัวตายที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p.001 Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=25109 ผลของโปรแกรมการจัดการกับอารมณ์ต่อภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นตอนต้นที่มีปัญหาพฤติกรรม / ใบเรียม เงางาม in วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, Vol.29 No.2 (May-Aug) 2015 ([12/08/2015])
[article]
Title : ผลของโปรแกรมการจัดการกับอารมณ์ต่อภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นตอนต้นที่มีปัญหาพฤติกรรม Original title : The effect of the emotions management program on depression in early adolescents with behavioral problems Material Type: printed text Authors: ใบเรียม เงางาม, Author ; เพ็ญพักตร์ อุทิศ, Author Publication Date: 2015 Article on page: น.116-127 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต > Vol.29 No.2 (May-Aug) 2015 [12/08/2015] . - น.116-127Abstract: เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดสองครั้งก่อนและหลังการทดลอง เพื่อ 1.เปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นตอนต้นที่มีปัญหาพฤติกรรมก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการจัดการอารมณ์ 2 เปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นตอนต้นที่มีีปัญหาพฤติกรรมระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการกับอารมณ์กับกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ วัยรุ่นตอนต้นที่มีปัญหาพฤติกรรมจากโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดสิงห์บุรี และมีคณสมบัติตามเกณฑ์จำนวน 40 คน ทำการจับคู่แล้วสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการกับอารมณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วยการดำเนินกลุ่ม 8 ครั้ง เพื่อพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การผ่อนคลายการปรับความคิดและพฤติกรรมทักษะทางสังคม ทักษะการสื่อสาร ทักษะการแก้ปัญหาและการเจรจาต่อรอง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1. โปรแกรมการจัดการกับอารมณ์ 2 แบบวัดภาวะซึมเศร้าในเด็ก และ 3. แบบประเมินปัญหาพฤติกรรม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน โดยเครื่องมือสองชุดหลัง มีค่าความเที่ยงตรงสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากัน .88 และ .85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบที ผลการวิจัย พบว่า 1. ภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นตอนต้นที่มีปัญหาพฤติกรรม หลังได้รับโปรแกรมการจัดการกับอารมณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นตอนต้นที่มีปัญหาพฤติกรรม กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการกับอารมณ์ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=25110 [article] ผลของโปรแกรมการจัดการกับอารมณ์ต่อภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นตอนต้นที่มีปัญหาพฤติกรรม = The effect of the emotions management program on depression in early adolescents with behavioral problems [printed text] / ใบเรียม เงางาม, Author ; เพ็ญพักตร์ อุทิศ, Author . - 2015 . - น.116-127.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต > Vol.29 No.2 (May-Aug) 2015 [12/08/2015] . - น.116-127Abstract: เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดสองครั้งก่อนและหลังการทดลอง เพื่อ 1.เปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นตอนต้นที่มีปัญหาพฤติกรรมก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการจัดการอารมณ์ 2 เปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นตอนต้นที่มีีปัญหาพฤติกรรมระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการกับอารมณ์กับกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ วัยรุ่นตอนต้นที่มีปัญหาพฤติกรรมจากโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดสิงห์บุรี และมีคณสมบัติตามเกณฑ์จำนวน 40 คน ทำการจับคู่แล้วสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการกับอารมณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วยการดำเนินกลุ่ม 8 ครั้ง เพื่อพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การผ่อนคลายการปรับความคิดและพฤติกรรมทักษะทางสังคม ทักษะการสื่อสาร ทักษะการแก้ปัญหาและการเจรจาต่อรอง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1. โปรแกรมการจัดการกับอารมณ์ 2 แบบวัดภาวะซึมเศร้าในเด็ก และ 3. แบบประเมินปัญหาพฤติกรรม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน โดยเครื่องมือสองชุดหลัง มีค่าความเที่ยงตรงสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากัน .88 และ .85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบที ผลการวิจัย พบว่า 1. ภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นตอนต้นที่มีปัญหาพฤติกรรม หลังได้รับโปรแกรมการจัดการกับอารมณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นตอนต้นที่มีปัญหาพฤติกรรม กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการกับอารมณ์ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=25110 ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย / นวลจิรา จันระลักษณะ in วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, Vol.29 No.2 (May-Aug) 2015 ([12/08/2015])
[article]
Title : ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย Original title : Factors predicting depression in secondary school students Material Type: printed text Authors: นวลจิรา จันระลักษณะ, Author ; ทัศนา ทวีคูณ, Author ; โสภิณ แสงอ่อน, Author Publication Date: 2015 Article on page: น.128-143 Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต > Vol.29 No.2 (May-Aug) 2015 [12/08/2015] . - น.128-143Abstract: เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย การวิจัยนี้่เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดหนึ่งในภาคกลาง จำนวนทั้งหมด 327 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินภาวะซึมเศร้า แบบประเมินการเห็นคุณค่าในตนเอง แบบประเมินความผูกผันในครอบครัว และแบบประเมินความผูกพันใกล้ชิดกับเพื่อน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และสถิติการถดถอยแบบพหุคูณแบบเชิงชั้น ผลการวิจัย พบว่า ผลการเรียน การเห็นคุณค่าในตนเอง ความผูกพันใกล้ชิดกับเพื่อนสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของภาวะซึมเศร้าในกลุ่มตัวอย่างได้ ร้อยละ 61 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<.05 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าในนักเรียนมัยธยมศึกษาตอนปลายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การเห็นคุณค่าในตนเอง ความผูกพันในครอบครัว และความผูกพันใกล้ชิดกับเพื่อน โดยการเห็นคุณค่าในตนเองเป็นปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าได้ดีที่สุด บทสรุป นักเรียนชั้นมัธยมตอนปลายที่มีการเห็นคุณค่าในตนเองสูงมีความผูกพันในครอบครัวและความผูกพันในครอบครัวและความผูกพันใกล้ชิดกับเพื่อนมากจะมีภาวะซึมเศร้าต่ำ ผลจากการวิจัยนี้ให้ข้อมูลที่สำคัญสำหรับพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิตเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาโปรแกรมเพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมุ่งเน้นส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเอง ความผูกพันในครอบครัวและความผูกพันใกล้ชิดกับเพื่อน Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=25111 [article] ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย = Factors predicting depression in secondary school students [printed text] / นวลจิรา จันระลักษณะ, Author ; ทัศนา ทวีคูณ, Author ; โสภิณ แสงอ่อน, Author . - 2015 . - น.128-143.
Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha)
in วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต > Vol.29 No.2 (May-Aug) 2015 [12/08/2015] . - น.128-143Abstract: เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย การวิจัยนี้่เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดหนึ่งในภาคกลาง จำนวนทั้งหมด 327 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินภาวะซึมเศร้า แบบประเมินการเห็นคุณค่าในตนเอง แบบประเมินความผูกผันในครอบครัว และแบบประเมินความผูกพันใกล้ชิดกับเพื่อน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และสถิติการถดถอยแบบพหุคูณแบบเชิงชั้น ผลการวิจัย พบว่า ผลการเรียน การเห็นคุณค่าในตนเอง ความผูกพันใกล้ชิดกับเพื่อนสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของภาวะซึมเศร้าในกลุ่มตัวอย่างได้ ร้อยละ 61 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<.05 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าในนักเรียนมัยธยมศึกษาตอนปลายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การเห็นคุณค่าในตนเอง ความผูกพันในครอบครัว และความผูกพันใกล้ชิดกับเพื่อน โดยการเห็นคุณค่าในตนเองเป็นปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าได้ดีที่สุด บทสรุป นักเรียนชั้นมัธยมตอนปลายที่มีการเห็นคุณค่าในตนเองสูงมีความผูกพันในครอบครัวและความผูกพันในครอบครัวและความผูกพันใกล้ชิดกับเพื่อนมากจะมีภาวะซึมเศร้าต่ำ ผลจากการวิจัยนี้ให้ข้อมูลที่สำคัญสำหรับพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิตเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาโปรแกรมเพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมุ่งเน้นส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเอง ความผูกพันในครอบครัวและความผูกพันใกล้ชิดกับเพื่อน Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=25111