Collection Title: | SIU THE-T | Title : | ความสามารถในการแข่งขันสู่องค์กรแห่งความยั่งยืนของผู้ประกอบการศูนย์บริการรถยนต์ในประเทศไทย | Original title : | Competitive Competency for Sustainable Organization of Automotive Services Entrepreneurs in Thailand | Material Type: | printed text | Authors: | พัชรพงษ์ แพงไพรี, Author ; นริศ เพ็ญโภไคย, Associated Name ; เฟื่องฟ้า อัมพรสถิร, Associated Name | Publisher: | ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยชินวัตร | Publication Date: | 2020 | Pagination: | xi, 229 น. | Layout: | ตาราง, ภาพประกอบ | Size: | 30 ซม. | Price: | 500.00 บาท | General note: | SIU THE-T: SOM-DBA-2020-12
Thesis. [DฺBA [บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต บธ.ด.]] -- มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2563 | Languages : | Thai (tha) | Descriptors: | [LCSH]ความสามารถในการแข่งขัน [LCSH]ผู้ประกอบการ [LCSH]ศูนย์บริการรถยนต์ -- ไทย
| Keywords: | ความสามารถในการแข่งขัน, องค์กรแห่งความยั่งยืน, ผู้ประกอบการ | Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของปัจจัยคุณภาพการให้บริการ ทักษะผู้ประกอบการ ประสิทธิภาพการทำงาน นวัตกรรมการบริการ ความสามารถในการแข่งขันสู่องค์กรแห่งความยั่งยืน 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีอิทธิพลระหว่างกัน ของปัจจัยคุณภาพการให้บริการ ทักษะผู้ประกอบการ ประสิทธิภาพการทำงาน นวัตกรรมการบริการ ความสามารถในการแข่งขันสู่องค์กรแห่งความยั่งยืน.3) เพื่อศึกษารูปแบบโมเดลของปัจจัยความสามารถในการแข่งขันสู่องค์กรแห่งความยั่งยืน โดยมีการดำเนินวิจัยทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ซึ่งเชิงปริมาณเป็นการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ปฏิบัติงานระดับหัวหน้างานของศูนย์บริการรถยนต์ในประเทศไทย จำนวน 480 คน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ประกอบด้วย คำถามทั่วไป และคำถามที่เกี่ยวกับตัวแปรต้น โดยเป็นแบบมาตราส่วนประมาณ ผ่านการทดสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา และความเชื่อมั่น แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ สำหรับเชิงคุณภาพ ใช้การสำรวจเชิงลึก เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการศูนย์บริการรถยนต์ จำนวน 9 ท่าน เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันสู่องค์กรแห่งความยั่งยืนของผู้ประกอบการศูนย์บริการรถยนต์ในประเทศไทย
ผลการวิจัยพบว่า โมเดลสมการโครงสร้างปัจจัยสาเหตุที่ส่งอิทธิพลต่อความสามารถในการแข่งขันสู่องค์กรแห่งความยั่งยืนของผู้ประกอบการศูนย์บริการรถยนต์ในประเทศไทย มีค่าดัชนีความสอดคล้องของโมเดลที่กลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยสามารถพิจารณาได้ค่า 2= 247.36, df = 215, 2/df = 1.151, P-value = 0.064, RMSEA = 0.018, GFI = 0.962, AGFI = 0.938 และ ผลการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างด้านอิทธิพลเส้นทางที่ส่งผลต่ออิทธิพลทางตรง ประสิทธิภาพการทำงาน คุณภาพการบริการ และทักษะผู้ประกอบ และ สามารถส่งอิทธิพลทางตรงต่อนวัตกรรมการบริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางของอิทธิพลทางตรง เท่ากับ 0.581** 0.186** และ 0.184** ตามลำดับ และประสิทธิภาพการทำงาน คุณภาพการบริการ ทักษะผู้ประกอบ สามารถส่งอิทธิพลทางอ้อมผ่านนวัตกรรมการบริการไปยัง ความสามารถในการแข่งขันสู่องค์กรแห่งความยั่งยืน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยมีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางของอิทธิพลทางอ้อม เท่ากับ 0.158** 0.051* และ 0.050* ตามลำดับ และประสิทธิภาพการทำงาน คุณภาพการบริการ นวัตกรรมการบริการ และทักษะผู้ประกอบการ สามารถส่งอิทธิพลทางตรงต่อความสามารถในการแข่งขันสู่องค์กรแห่งความยั่งยืน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยมีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางของอิทธิพลทางตรง เท่ากับ 0.357** 0.285** 0.271** และ 0.093* ตามลำดับ สำหรับแนวทางการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันสู่องค์กรแห่งความยั่งยืน ผู้ประกอบให้แนวทางการพัฒนาว่า จะต้องมีการให้ความสำคัญในเรื่อง คุณภาพการบริการ ความกระตือรือร้นของพน การมีทักษะด้านการวางแผน และการกำหนดเป้าหมาย การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ความสามารถทางด้านการตลาด ผู้ประกอบการจะต้องมีความอดทน พยายาม มุ่งมั่น ให้องค์กรประสบผลสำเร็จ และให้ความสำคัญในเรื่องการประเมินผลงานของพนักงานที่มีต่อการปรับเปลี่ยนตำแหน่งงานในตำแหน่งที่สูงขึ้น การสร้างแรงจูงใจในการทำงานเพื่อให้พนักงานมีความเต็มใจในการให้บริการกับลูกค้า มีการฝึกอบรมทักษะให้พนักงานอย่างต่อเนื่องในเรื่องการใช้เทคโนโลยี และการนำเทคโนโลยีมาใช้กับวิธีการบริการที่มีอยู่เดิมให้สะดวก และเหมาะสมมากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพในการให้บริการ โดยสรุป ผู้ประกอบการเห็นว่าทุกตัวแปรมีความสำคัญต่อความสามารถในการแข่งขันสู่องค์กรแห่งความยั่งยืนของผู้ประกอบการศูนย์บริการรถยนต์ในประเทศไทย | Curricular : | BBA/GE/MBA/PhDM | Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=28567 |
SIU THE-T. ความสามารถในการแข่งขันสู่องค์กรแห่งความยั่งยืนของผู้ประกอบการศูนย์บริการรถยนต์ในประเทศไทย = Competitive Competency for Sustainable Organization of Automotive Services Entrepreneurs in Thailand [printed text] / พัชรพงษ์ แพงไพรี, Author ; นริศ เพ็ญโภไคย, Associated Name ; เฟื่องฟ้า อัมพรสถิร, Associated Name . - [S.l.] : ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2020 . - xi, 229 น. : ตาราง, ภาพประกอบ ; 30 ซม. 500.00 บาท SIU THE-T: SOM-DBA-2020-12
Thesis. [DฺBA [บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต บธ.ด.]] -- มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2563 Languages : Thai ( tha) Descriptors: | [LCSH]ความสามารถในการแข่งขัน [LCSH]ผู้ประกอบการ [LCSH]ศูนย์บริการรถยนต์ -- ไทย
| Keywords: | ความสามารถในการแข่งขัน, องค์กรแห่งความยั่งยืน, ผู้ประกอบการ | Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของปัจจัยคุณภาพการให้บริการ ทักษะผู้ประกอบการ ประสิทธิภาพการทำงาน นวัตกรรมการบริการ ความสามารถในการแข่งขันสู่องค์กรแห่งความยั่งยืน 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีอิทธิพลระหว่างกัน ของปัจจัยคุณภาพการให้บริการ ทักษะผู้ประกอบการ ประสิทธิภาพการทำงาน นวัตกรรมการบริการ ความสามารถในการแข่งขันสู่องค์กรแห่งความยั่งยืน.3) เพื่อศึกษารูปแบบโมเดลของปัจจัยความสามารถในการแข่งขันสู่องค์กรแห่งความยั่งยืน โดยมีการดำเนินวิจัยทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ซึ่งเชิงปริมาณเป็นการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ปฏิบัติงานระดับหัวหน้างานของศูนย์บริการรถยนต์ในประเทศไทย จำนวน 480 คน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ประกอบด้วย คำถามทั่วไป และคำถามที่เกี่ยวกับตัวแปรต้น โดยเป็นแบบมาตราส่วนประมาณ ผ่านการทดสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา และความเชื่อมั่น แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ สำหรับเชิงคุณภาพ ใช้การสำรวจเชิงลึก เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการศูนย์บริการรถยนต์ จำนวน 9 ท่าน เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันสู่องค์กรแห่งความยั่งยืนของผู้ประกอบการศูนย์บริการรถยนต์ในประเทศไทย
ผลการวิจัยพบว่า โมเดลสมการโครงสร้างปัจจัยสาเหตุที่ส่งอิทธิพลต่อความสามารถในการแข่งขันสู่องค์กรแห่งความยั่งยืนของผู้ประกอบการศูนย์บริการรถยนต์ในประเทศไทย มีค่าดัชนีความสอดคล้องของโมเดลที่กลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยสามารถพิจารณาได้ค่า 2= 247.36, df = 215, 2/df = 1.151, P-value = 0.064, RMSEA = 0.018, GFI = 0.962, AGFI = 0.938 และ ผลการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างด้านอิทธิพลเส้นทางที่ส่งผลต่ออิทธิพลทางตรง ประสิทธิภาพการทำงาน คุณภาพการบริการ และทักษะผู้ประกอบ และ สามารถส่งอิทธิพลทางตรงต่อนวัตกรรมการบริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางของอิทธิพลทางตรง เท่ากับ 0.581** 0.186** และ 0.184** ตามลำดับ และประสิทธิภาพการทำงาน คุณภาพการบริการ ทักษะผู้ประกอบ สามารถส่งอิทธิพลทางอ้อมผ่านนวัตกรรมการบริการไปยัง ความสามารถในการแข่งขันสู่องค์กรแห่งความยั่งยืน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยมีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางของอิทธิพลทางอ้อม เท่ากับ 0.158** 0.051* และ 0.050* ตามลำดับ และประสิทธิภาพการทำงาน คุณภาพการบริการ นวัตกรรมการบริการ และทักษะผู้ประกอบการ สามารถส่งอิทธิพลทางตรงต่อความสามารถในการแข่งขันสู่องค์กรแห่งความยั่งยืน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยมีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางของอิทธิพลทางตรง เท่ากับ 0.357** 0.285** 0.271** และ 0.093* ตามลำดับ สำหรับแนวทางการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันสู่องค์กรแห่งความยั่งยืน ผู้ประกอบให้แนวทางการพัฒนาว่า จะต้องมีการให้ความสำคัญในเรื่อง คุณภาพการบริการ ความกระตือรือร้นของพน การมีทักษะด้านการวางแผน และการกำหนดเป้าหมาย การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ความสามารถทางด้านการตลาด ผู้ประกอบการจะต้องมีความอดทน พยายาม มุ่งมั่น ให้องค์กรประสบผลสำเร็จ และให้ความสำคัญในเรื่องการประเมินผลงานของพนักงานที่มีต่อการปรับเปลี่ยนตำแหน่งงานในตำแหน่งที่สูงขึ้น การสร้างแรงจูงใจในการทำงานเพื่อให้พนักงานมีความเต็มใจในการให้บริการกับลูกค้า มีการฝึกอบรมทักษะให้พนักงานอย่างต่อเนื่องในเรื่องการใช้เทคโนโลยี และการนำเทคโนโลยีมาใช้กับวิธีการบริการที่มีอยู่เดิมให้สะดวก และเหมาะสมมากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพในการให้บริการ โดยสรุป ผู้ประกอบการเห็นว่าทุกตัวแปรมีความสำคัญต่อความสามารถในการแข่งขันสู่องค์กรแห่งความยั่งยืนของผู้ประกอบการศูนย์บริการรถยนต์ในประเทศไทย | Curricular : | BBA/GE/MBA/PhDM | Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=28567 |
|