Collection Title: | SIU THE-T | Title : | หลักธรรมาภิบาลและปัจจัยการบริหารงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของสภาคณาจารย์และข้าราชการมหาวิทยาลัยราชภัฏ | Original title : | Good Governance Principle and Administrative Factors Affecting Performance Efficiencies of Faculty Senates in Rajabhat Universities | Material Type: | printed text | Authors: | เทวฤทธิ์ วิญญา, Author ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name ; ไชยวัฒน์ ค้ำชู, Associated Name | Publisher: | กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร | Publication Date: | 2021 | Pagination: | x, 141 น. | Layout: | ตาราง, ภาพประกอบ | Size: | 30 ซม. | Price: | 500.00 บาท | General note: | SIU THE-T: IPAG-DPA-2021-01
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2021 | Languages : | Thai (tha) | Descriptors: | [LCSH]การบริหาร [LCSH]ธรรมาภิบาล [LCSH]มหาวิทยาลัยราชภัฏ -- ข้าราชการ -- การทำงาน
| Keywords: | ธรรมาภิบาล, ปัจจัยการบริหาร, ประสิทธิภาพ | Abstract: | การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ถึงการนำเอาหลักธรรมาภิบาลของสภาคณาจารย์และข้าราชการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมาใช้ในการปฏิบัติงาน 2) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ถึงปัจจัยการบริหารงานของสภาคณาจารย์และข้าราชการมหาวิทยาลัยราชภัฏ 3) เพื่อศึกษาถึงระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของสภาคณาจารย์และข้าราชการมหาวิทยาลัยราชภัฏ 4) เพื่อศึกษาระดับของหลักธรรมาภิบาลและปัจจัยการบริหารงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของสภาคณาจารย์และข้าราชการมหาวิทยาลัยราชภัฏ 5) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับหลักธรรมาภิบาลและปัจจัยการบริหารงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของสภาคณาจารย์และข้าราชการมหาวิทยาลัยราชภัฏ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Reseach) โดยมีทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Reseach) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Reseach) เพื่อนำเอาข้อมูลทั้ง 2 แบบมาสังเคราะห์ตามวัตถุประสงค์การวิจัย โดยการวิจัยเชิงปริมาณผู้วิจัยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคือสภาคณาจารย์และข้าราชการมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 20 แห่ง จำนวน 118 คน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธี Focus group จากคณะกรรมการสภาคณาจารย์และข้าราชการมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือ 8 จำนวน 40 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic men) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และใช้สถิติ Regression ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลการบรรยายเชิงพรรณนา และมีการอภิปรายผลการวิจัย
ผลการวิจัยสรุปได้ดังต่อไปนี้
1) ระดับการรับรู้ถึงการนำเอาหลักธรรมาภิบาลของสภาคณาจารย์และข้าราชการมหาวิทยาลัยราชภัฏมาใช้ในการปฏิบัติงาน พบว่าความคิดเห็นของสมาชิกสภาคณาจารย์และข้าราชการต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสภาคณาจารย์และข้าราชการที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของสภาคณาจารย์และข้าราชการมหาวิทยาลัยราชภัฏ อยู่ในระดับดีมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.28 (S.D = 0.70) 2) ระดับการรับรู้ถึงปัจจัยการบริหารงานของสภาคณาจารย์และข้าราชการมหาวิทยาลัยราชภัฏ พบว่าความคิดเห็นความคิดเห็นของสมาชิกสภาคณาจารย์และข้าราชการมหาวิทยาลัยราชภัฏเกี่ยวกับปัจจัยด้านโครงสร้างของสภาคณาจารย์และข้าราชการกับการบริหารงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ย 4.20 (S.D = 0.73) 3) ระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของสภาคณาจารย์และข้าราชการมหาวิทยาลัยราชภัฏ พบว่าความคิดเห็นของสมาชิกสภาคณาจารย์ฯ ที่มีต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของสภาคณาจารย์และข้าราชการมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.31 (S.D = 0.71) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่ามากที่สุดคือ การนำเสนอเชิงนโยบายและแผนพัฒนามหาวิทยาลัยด้านต่าง ๆ ต่อมหาวิทยาลัย มีค่าเฉลี่ย 4.68 (S.D = 0.67) 4) ระดับของหลักธรรมาภิบาลและปัจจัยการบริหารงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของสภาคณาจารย์และข้าราชการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารทั้ง 5 ปัจจัยกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของสภาคณาจารย์และข้าราชการมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อยที่สุด โดยพบว่ามีเพียงหลักธรรมาภิบาล มีความสัมพันธ์ในระดับน้อยที่สุดในทิศทางบวก (Pxy = .152) ส่วนอีก 4 ปัจจัยจะมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในปฏิบัติงานของสภาคณาจารย์และข้าราชการในระดับน้อยที่สุดทิศทางลบ 5) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับหลักธรรมาภิบาลและปัจจัยการบริหารงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของสภาคณาจารย์และข้าราชการมหาวิทยาลัยราชภัฏพบว่า ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของสภาคณาจารย์และข้าราชการมหาวิทยาลัยราชภัฏ ปัญหาในการบริหารของสภาคณาจารย์และข้าราชการมหาวิทยาลัยราชภัฏ ขาดการสนับสนุนทางด้านงบประมาณจากมหาวิทยาลัย สภาคณาจารย์ไม่ได้แสดงบทบาทต่อมหาวิทยาลัยอย่างเต็มที่ บุคลากรในสภาคณาจารย์ฯ มีภาระความรับผิดในการสอนและการบริหารสภาทำให้ไม่ปฏิบัติที่ได้มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร | Curricular : | GE/MPA/DPA | Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=28402 |
SIU THE-T. หลักธรรมาภิบาลและปัจจัยการบริหารงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของสภาคณาจารย์และข้าราชการมหาวิทยาลัยราชภัฏ = Good Governance Principle and Administrative Factors Affecting Performance Efficiencies of Faculty Senates in Rajabhat Universities [printed text] / เทวฤทธิ์ วิญญา, Author ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name ; ไชยวัฒน์ ค้ำชู, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2021 . - x, 141 น. : ตาราง, ภาพประกอบ ; 30 ซม. 500.00 บาท SIU THE-T: IPAG-DPA-2021-01
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2021 Languages : Thai ( tha) Descriptors: | [LCSH]การบริหาร [LCSH]ธรรมาภิบาล [LCSH]มหาวิทยาลัยราชภัฏ -- ข้าราชการ -- การทำงาน
| Keywords: | ธรรมาภิบาล, ปัจจัยการบริหาร, ประสิทธิภาพ | Abstract: | การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ถึงการนำเอาหลักธรรมาภิบาลของสภาคณาจารย์และข้าราชการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมาใช้ในการปฏิบัติงาน 2) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ถึงปัจจัยการบริหารงานของสภาคณาจารย์และข้าราชการมหาวิทยาลัยราชภัฏ 3) เพื่อศึกษาถึงระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของสภาคณาจารย์และข้าราชการมหาวิทยาลัยราชภัฏ 4) เพื่อศึกษาระดับของหลักธรรมาภิบาลและปัจจัยการบริหารงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของสภาคณาจารย์และข้าราชการมหาวิทยาลัยราชภัฏ 5) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับหลักธรรมาภิบาลและปัจจัยการบริหารงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของสภาคณาจารย์และข้าราชการมหาวิทยาลัยราชภัฏ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Reseach) โดยมีทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Reseach) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Reseach) เพื่อนำเอาข้อมูลทั้ง 2 แบบมาสังเคราะห์ตามวัตถุประสงค์การวิจัย โดยการวิจัยเชิงปริมาณผู้วิจัยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคือสภาคณาจารย์และข้าราชการมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 20 แห่ง จำนวน 118 คน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธี Focus group จากคณะกรรมการสภาคณาจารย์และข้าราชการมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือ 8 จำนวน 40 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic men) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และใช้สถิติ Regression ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลการบรรยายเชิงพรรณนา และมีการอภิปรายผลการวิจัย
ผลการวิจัยสรุปได้ดังต่อไปนี้
1) ระดับการรับรู้ถึงการนำเอาหลักธรรมาภิบาลของสภาคณาจารย์และข้าราชการมหาวิทยาลัยราชภัฏมาใช้ในการปฏิบัติงาน พบว่าความคิดเห็นของสมาชิกสภาคณาจารย์และข้าราชการต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสภาคณาจารย์และข้าราชการที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของสภาคณาจารย์และข้าราชการมหาวิทยาลัยราชภัฏ อยู่ในระดับดีมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.28 (S.D = 0.70) 2) ระดับการรับรู้ถึงปัจจัยการบริหารงานของสภาคณาจารย์และข้าราชการมหาวิทยาลัยราชภัฏ พบว่าความคิดเห็นความคิดเห็นของสมาชิกสภาคณาจารย์และข้าราชการมหาวิทยาลัยราชภัฏเกี่ยวกับปัจจัยด้านโครงสร้างของสภาคณาจารย์และข้าราชการกับการบริหารงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ย 4.20 (S.D = 0.73) 3) ระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของสภาคณาจารย์และข้าราชการมหาวิทยาลัยราชภัฏ พบว่าความคิดเห็นของสมาชิกสภาคณาจารย์ฯ ที่มีต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของสภาคณาจารย์และข้าราชการมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.31 (S.D = 0.71) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่ามากที่สุดคือ การนำเสนอเชิงนโยบายและแผนพัฒนามหาวิทยาลัยด้านต่าง ๆ ต่อมหาวิทยาลัย มีค่าเฉลี่ย 4.68 (S.D = 0.67) 4) ระดับของหลักธรรมาภิบาลและปัจจัยการบริหารงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของสภาคณาจารย์และข้าราชการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารทั้ง 5 ปัจจัยกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของสภาคณาจารย์และข้าราชการมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อยที่สุด โดยพบว่ามีเพียงหลักธรรมาภิบาล มีความสัมพันธ์ในระดับน้อยที่สุดในทิศทางบวก (Pxy = .152) ส่วนอีก 4 ปัจจัยจะมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในปฏิบัติงานของสภาคณาจารย์และข้าราชการในระดับน้อยที่สุดทิศทางลบ 5) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับหลักธรรมาภิบาลและปัจจัยการบริหารงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของสภาคณาจารย์และข้าราชการมหาวิทยาลัยราชภัฏพบว่า ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของสภาคณาจารย์และข้าราชการมหาวิทยาลัยราชภัฏ ปัญหาในการบริหารของสภาคณาจารย์และข้าราชการมหาวิทยาลัยราชภัฏ ขาดการสนับสนุนทางด้านงบประมาณจากมหาวิทยาลัย สภาคณาจารย์ไม่ได้แสดงบทบาทต่อมหาวิทยาลัยอย่างเต็มที่ บุคลากรในสภาคณาจารย์ฯ มีภาระความรับผิดในการสอนและการบริหารสภาทำให้ไม่ปฏิบัติที่ได้มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร | Curricular : | GE/MPA/DPA | Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=28402 |
|