From this page you can:
Home |
Descriptors
Add the result to your basket Make a suggestion Refine your search Apply to external sources
SIU Thesis. ผลกระทบของสื่อสังคมออนไลน์ต่อการรับรู้ของลูกค้า: กรณีศึกษา บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) / อัจฉรา ฉัตรเฉลิมพล / กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร - 2018
Collection Title: SIU Thesis Title : ผลกระทบของสื่อสังคมออนไลน์ต่อการรับรู้ของลูกค้า: กรณีศึกษา บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) Original title : The Impact of Social Media on Customers’ Perception: A Case Study of PTT Public Company Limited Material Type: printed text Authors: อัจฉรา ฉัตรเฉลิมพล, Author ; วุฒิพงศ์ พงศ์สุวรรณ, Associated Name ; เฟื่องฟ้า อัมพรสถิร, Associated Name Publisher: กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร Publication Date: 2018 Pagination: xiv, 275 น. Layout: ตาราง, ภาพประกอบ Size: 30 ซม. Price: 500.00 บาท General note: SIU THE-T: SOLA-PhD-MIC-2018-01
Thesis. [PhD.[Arts in Media Information and Communication]]. Shinawatra University, 2018.Languages : Thai (tha) Descriptors: [LCSH]บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)
[LCSH]สื่อสังคมออนไลน์
[LCSH]เครือข่ายสังคมแบบออนไลน์Keywords: บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ “ปตท.”,
ผลกระทบ,
การรับรู้,
สื่อสังคมออนไลน์Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของสื่อสังคมออนไลน์ต่อการรับรู้ของลูกค้า ในด้านภาพลักษณ์องค์กร และในด้านธุรกิจการค้า ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) โดยในด้านภาพลักษณ์องค์กร ศึกษาจากความสัมพันธ์ของการเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์ด้านการบริหาร และด้านกิจกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นนามธรรม ส่วนในด้านธุรกิจการค้า ศึกษาจากความสัมพันธ์ของการเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ ซึ่งเป็นรูปธรรม จำแนกหัวข้อได้ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาผลกระทบของสื่อสังคมออนไลน์ด้านบริหารและด้านกิจกรรมต่างๆ ต่อการรับรู้ในด้านภาพลักษณ์องค์กรของ ปตท. 2. เพื่อศึกษาผลกระทบของสื่อสังคมออนไลน์ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ ต่อการรับรู้ในด้านธุรกิจการค้าของ ปตท. 3. เพื่อศึกษาผลกระทบด้านลักษณะประชากรศาสตร์ ต่อการรับรู้ในด้านภาพลักษณ์องค์กร และในด้านธุรกิจการค้าของ ปตท. 4. เพื่อศึกษาผลกระทบด้านเครื่องมือสื่อสังคมออนไลน์ ต่อการรับรู้ในด้านภาพลักษณ์องค์กร และในด้านธุรกิจการค้าของ ปตท. และ 5. เพื่อค้นหาแบบจำลอง (Model) ในการบริหารจัดการสื่อสังคมออนไลน์ของ ปตท. และผลกระทบจากภายนอก ปตท. ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ลูกค้า ปตท. ที่มีอายุ 18 ขึ้นไป และมีบัญชีผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ จำนวน 400 คน เพื่อตอบแบบสอบถาม (Questionnaire) และลูกค้าอีกจำนวน 12 คน ที่รู้จักและมีการใช้สื่อสังคมออนไลน์มากกว่า 7 ชนิด อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอเป็นระยะเวลามากกว่า 5 ปี เพื่อตอบคำถามสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) วิธีการสุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบโควตา (Quota Sampling) และการสุ่มตัวอย่างแบบตามความสะดวก (Convenience Sampling) เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ 1. แบบสอบถาม (Questionnaire) และ 2. การวิเคราะห์ข่าวในสื่อสังคมออนไลน์ทั่วไปที่เกี่ยวกับ ปตท. ในเชิงปริมาณ ส่วนเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ 1. การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และ 2. การวิเคราะห์ข่าวในสื่อสังคมออนไลน์ทั่วไปที่เกี่ยวกับ ปตท. ในเชิงคุณภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าความถี่ (Frequency) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation หรือ S.D.) ค่าสถิติอนุมาน (Inferential Statistic) ค่าสถิติ Pearson’s Correlation ค่า t-test ค่า One-way ANOVA (f-test) เทคนิคการสะสมสรุป (Cumulative Summarization Technique) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการวิเคราะห์ตัวแปรเพื่อทดสอบสมมติฐาน
ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 9-30 ปี สถานภาพสมรส การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพรับราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ รายได้เฉลี่ยน้อยกว่า 20,000 บาท/เดือน ใช้สินค้าน้ำมันมากที่สุด ใช้สื่อทั่วไป คือ โทรทัศน์มากที่สุด ใช้สื่อสังคมออนไลน์ทั่วไป ประเภท LINE มากที่สุด และใช้สื่อสังคมออนไลน์ของ ปตท. ประเภท LINE “PTT Group” มากที่สุด ผ่านช่องทางโทรศัพท์มือถือมากที่สุด ที่ความถี่ 2-3 ชั่วโมง/สัปดาห์ ค่าใช้จ่าย 301-500 บาท/เดือน โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ของ ปตท. เพื่อรับข้อมูลข่าวสาร และมีความเชื่อถือในระดับมาก เคยได้รับข้อมูลข่าวสารของ ปตท. จากช่องทางอื่น แต่มีความเชื่อถือในระดับปานกลาง มีความเชื่อถือในภาพลักษณ์องค์กรที่ดีของ ปตท. ในระดับมาก มีการรับรู้ด้านบริหารของ ปตท. ในระดับมาก ด้านผลิตภัณฑ์และบริการในระดับมาก และด้านกิจกรรมต่างๆ ในระดับปานกลาง มีการรับรู้ผลกระทบของสื่อสังคมออนไลน์ต่อการสื่อสารของ ปตท. ด้านบวกและด้านลบในระดับปานกลาง
ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1. การเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์ด้านบริหารและด้านกิจกรรมต่างๆ มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับการรับรู้ในด้านภาพลักษณ์องค์กรของ ปตท. ในระดับสูง (r = .702) และ (r = .611) ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (เป็นไปตามสมมติฐาน) 2. การเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับการรับรู้ในด้านธุรกิจการค้าของ ปตท. ในระดับสูง (r = .681) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (เป็นไปตามสมมติฐาน) 3. ลักษณะประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกัน ไม่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ในด้านภาพลักษณ์องค์กรและในด้านธุรกิจการค้าของ ปตท. ที่แตกต่างกัน (ไม่เป็นไปตามสมมติฐาน) ยกเว้น “ด้านอาชีพ” ที่เป็นไปตามสมมติฐาน เฉพาะด้านภาพลักษณ์องค์กร 4. เครื่องมือสื่อสังคมออนไลน์ที่แตกต่างกัน ไม่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ในด้านภาพลักษณ์องค์กรและในด้านธุรกิจการค้าของ ปตท. ที่แตกต่างกัน (ไม่เป็นไปตามสมมติฐาน)
ผลการวิเคราะห์ข่าวในสื่อสังคมออนไลน์ทั่วไปที่เกี่ยวกับ ปตท. ในเชิงปริมาณ พบว่า ในระยะเวลา 6 เดือน มีประเด็นข่าวจำนวน 5,968 ประเด็น เป็นประเด็นทั่วไป ประเด็นบวก และ ประเด็นลบ ในสัดส่วน 26.44% : 59.22% : 14.34% ตามลำดับ
ผลการวิจัยเชิงคุณภาพทั้งจากการสัมภาษณ์เชิงลึก และจากการวิเคราะห์ข่าวในสื่อสังคมออนไลน์ทั่วไปที่เกี่ยวกับ ปตท. พบว่า ส่วนใหญ่มีทัศนคติต่อ ปตท. ในเชิงบวกมากกว่าเชิงลบ
สรุป จากผลการวิจัยโดยรวมของเครื่องมือทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ (1) ผลการวิจัยเชิงปริมาณจากแบบสอบถาม (2) ผลการวิจัยเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึก และ (3) ผลการวิเคราะห์ข่าวจากสื่อสังคมออนไลน์ทั่วไปที่เกี่ยวกับ ปตท. ทั้งแบบเชิงปริมาณและแบบเชิงคุณภาพ พบว่า ภาพรวมของสื่อสังคมออนไลน์ ปตท. มีความสัมพันธ์และมีผลกระทบต่อการรับรู้ของลูกค้า ปตท. ในเชิงบวกมากกว่าเชิงลบ ส่วนผลการค้นหาแบบจำลอง (Model) ได้แก่ “3 F and 4 Steps Circle” หรือ กลยุทธ์ในการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพ และกระบวนการเพิ่มข่าวบวกและลดข่าวลบ ถือเป็นการค้นพบทางวิชาการเพื่อเพิ่มพูนความรู้ (Body of Knowledge) ซึ่งสามารถนำไปใช้กับองค์กรอื่นได้Curricular : BALA/GE/MTEIL/PhDT Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27843 SIU Thesis. ผลกระทบของสื่อสังคมออนไลน์ต่อการรับรู้ของลูกค้า: กรณีศึกษา บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) = The Impact of Social Media on Customers’ Perception: A Case Study of PTT Public Company Limited [printed text] / อัจฉรา ฉัตรเฉลิมพล, Author ; วุฒิพงศ์ พงศ์สุวรรณ, Associated Name ; เฟื่องฟ้า อัมพรสถิร, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2018 . - xiv, 275 น. : ตาราง, ภาพประกอบ ; 30 ซม.
500.00 บาท
SIU THE-T: SOLA-PhD-MIC-2018-01
Thesis. [PhD.[Arts in Media Information and Communication]]. Shinawatra University, 2018.
Languages : Thai (tha)
Descriptors: [LCSH]บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)
[LCSH]สื่อสังคมออนไลน์
[LCSH]เครือข่ายสังคมแบบออนไลน์Keywords: บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ “ปตท.”,
ผลกระทบ,
การรับรู้,
สื่อสังคมออนไลน์Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของสื่อสังคมออนไลน์ต่อการรับรู้ของลูกค้า ในด้านภาพลักษณ์องค์กร และในด้านธุรกิจการค้า ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) โดยในด้านภาพลักษณ์องค์กร ศึกษาจากความสัมพันธ์ของการเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์ด้านการบริหาร และด้านกิจกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นนามธรรม ส่วนในด้านธุรกิจการค้า ศึกษาจากความสัมพันธ์ของการเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ ซึ่งเป็นรูปธรรม จำแนกหัวข้อได้ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาผลกระทบของสื่อสังคมออนไลน์ด้านบริหารและด้านกิจกรรมต่างๆ ต่อการรับรู้ในด้านภาพลักษณ์องค์กรของ ปตท. 2. เพื่อศึกษาผลกระทบของสื่อสังคมออนไลน์ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ ต่อการรับรู้ในด้านธุรกิจการค้าของ ปตท. 3. เพื่อศึกษาผลกระทบด้านลักษณะประชากรศาสตร์ ต่อการรับรู้ในด้านภาพลักษณ์องค์กร และในด้านธุรกิจการค้าของ ปตท. 4. เพื่อศึกษาผลกระทบด้านเครื่องมือสื่อสังคมออนไลน์ ต่อการรับรู้ในด้านภาพลักษณ์องค์กร และในด้านธุรกิจการค้าของ ปตท. และ 5. เพื่อค้นหาแบบจำลอง (Model) ในการบริหารจัดการสื่อสังคมออนไลน์ของ ปตท. และผลกระทบจากภายนอก ปตท. ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ลูกค้า ปตท. ที่มีอายุ 18 ขึ้นไป และมีบัญชีผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ จำนวน 400 คน เพื่อตอบแบบสอบถาม (Questionnaire) และลูกค้าอีกจำนวน 12 คน ที่รู้จักและมีการใช้สื่อสังคมออนไลน์มากกว่า 7 ชนิด อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอเป็นระยะเวลามากกว่า 5 ปี เพื่อตอบคำถามสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) วิธีการสุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบโควตา (Quota Sampling) และการสุ่มตัวอย่างแบบตามความสะดวก (Convenience Sampling) เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ 1. แบบสอบถาม (Questionnaire) และ 2. การวิเคราะห์ข่าวในสื่อสังคมออนไลน์ทั่วไปที่เกี่ยวกับ ปตท. ในเชิงปริมาณ ส่วนเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ 1. การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และ 2. การวิเคราะห์ข่าวในสื่อสังคมออนไลน์ทั่วไปที่เกี่ยวกับ ปตท. ในเชิงคุณภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าความถี่ (Frequency) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation หรือ S.D.) ค่าสถิติอนุมาน (Inferential Statistic) ค่าสถิติ Pearson’s Correlation ค่า t-test ค่า One-way ANOVA (f-test) เทคนิคการสะสมสรุป (Cumulative Summarization Technique) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการวิเคราะห์ตัวแปรเพื่อทดสอบสมมติฐาน
ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 9-30 ปี สถานภาพสมรส การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพรับราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ รายได้เฉลี่ยน้อยกว่า 20,000 บาท/เดือน ใช้สินค้าน้ำมันมากที่สุด ใช้สื่อทั่วไป คือ โทรทัศน์มากที่สุด ใช้สื่อสังคมออนไลน์ทั่วไป ประเภท LINE มากที่สุด และใช้สื่อสังคมออนไลน์ของ ปตท. ประเภท LINE “PTT Group” มากที่สุด ผ่านช่องทางโทรศัพท์มือถือมากที่สุด ที่ความถี่ 2-3 ชั่วโมง/สัปดาห์ ค่าใช้จ่าย 301-500 บาท/เดือน โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ของ ปตท. เพื่อรับข้อมูลข่าวสาร และมีความเชื่อถือในระดับมาก เคยได้รับข้อมูลข่าวสารของ ปตท. จากช่องทางอื่น แต่มีความเชื่อถือในระดับปานกลาง มีความเชื่อถือในภาพลักษณ์องค์กรที่ดีของ ปตท. ในระดับมาก มีการรับรู้ด้านบริหารของ ปตท. ในระดับมาก ด้านผลิตภัณฑ์และบริการในระดับมาก และด้านกิจกรรมต่างๆ ในระดับปานกลาง มีการรับรู้ผลกระทบของสื่อสังคมออนไลน์ต่อการสื่อสารของ ปตท. ด้านบวกและด้านลบในระดับปานกลาง
ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1. การเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์ด้านบริหารและด้านกิจกรรมต่างๆ มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับการรับรู้ในด้านภาพลักษณ์องค์กรของ ปตท. ในระดับสูง (r = .702) และ (r = .611) ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (เป็นไปตามสมมติฐาน) 2. การเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับการรับรู้ในด้านธุรกิจการค้าของ ปตท. ในระดับสูง (r = .681) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (เป็นไปตามสมมติฐาน) 3. ลักษณะประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกัน ไม่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ในด้านภาพลักษณ์องค์กรและในด้านธุรกิจการค้าของ ปตท. ที่แตกต่างกัน (ไม่เป็นไปตามสมมติฐาน) ยกเว้น “ด้านอาชีพ” ที่เป็นไปตามสมมติฐาน เฉพาะด้านภาพลักษณ์องค์กร 4. เครื่องมือสื่อสังคมออนไลน์ที่แตกต่างกัน ไม่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ในด้านภาพลักษณ์องค์กรและในด้านธุรกิจการค้าของ ปตท. ที่แตกต่างกัน (ไม่เป็นไปตามสมมติฐาน)
ผลการวิเคราะห์ข่าวในสื่อสังคมออนไลน์ทั่วไปที่เกี่ยวกับ ปตท. ในเชิงปริมาณ พบว่า ในระยะเวลา 6 เดือน มีประเด็นข่าวจำนวน 5,968 ประเด็น เป็นประเด็นทั่วไป ประเด็นบวก และ ประเด็นลบ ในสัดส่วน 26.44% : 59.22% : 14.34% ตามลำดับ
ผลการวิจัยเชิงคุณภาพทั้งจากการสัมภาษณ์เชิงลึก และจากการวิเคราะห์ข่าวในสื่อสังคมออนไลน์ทั่วไปที่เกี่ยวกับ ปตท. พบว่า ส่วนใหญ่มีทัศนคติต่อ ปตท. ในเชิงบวกมากกว่าเชิงลบ
สรุป จากผลการวิจัยโดยรวมของเครื่องมือทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ (1) ผลการวิจัยเชิงปริมาณจากแบบสอบถาม (2) ผลการวิจัยเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึก และ (3) ผลการวิเคราะห์ข่าวจากสื่อสังคมออนไลน์ทั่วไปที่เกี่ยวกับ ปตท. ทั้งแบบเชิงปริมาณและแบบเชิงคุณภาพ พบว่า ภาพรวมของสื่อสังคมออนไลน์ ปตท. มีความสัมพันธ์และมีผลกระทบต่อการรับรู้ของลูกค้า ปตท. ในเชิงบวกมากกว่าเชิงลบ ส่วนผลการค้นหาแบบจำลอง (Model) ได้แก่ “3 F and 4 Steps Circle” หรือ กลยุทธ์ในการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพ และกระบวนการเพิ่มข่าวบวกและลดข่าวลบ ถือเป็นการค้นพบทางวิชาการเพื่อเพิ่มพูนความรู้ (Body of Knowledge) ซึ่งสามารถนำไปใช้กับองค์กรอื่นได้Curricular : BALA/GE/MTEIL/PhDT Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27843 Hold
Place a hold on this item
Copies
Barcode Call number Media type Location Section Status 32002000598282 SIU THE-T: SOLA-PhD-MIC-2018-01 c.1 SIU Thesis and Dissertation Graduate Library Thesis Corner Available 32002000598258 SIU THE-T: SOLA-PhD-MIC-2018-01 c.2 SIU Thesis and Dissertation Graduate Library Thesis Corner Available พลเมืองฉลาดรู้เท่าทันดิจิทัล / อุษา บิ้กกิ้นส์ / กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ - 2566
Title : พลเมืองฉลาดรู้เท่าทันดิจิทัล Material Type: printed text Authors: อุษา บิ้กกิ้นส์, Author Publisher: กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ Publication Date: 2566 Pagination: 198 น. Layout: ตาราง, ภาพประกอบ Size: 26 ซม. ISBN (or other code): 978-6-16-482112-5 Price: 430.00 บาท General note: เมื่อสื่อดิจิทัลมีอิทธิพลอย่างมากในชีวิตประจำวัน ทั้งในแง่บวกและแง่ลบ ในบางครั้งอาจเป็นภัยต่อคนในสังคม เช่น การกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ การแพร่กระจายข่าวลวง ข่าวปลอม และข้อมูลเท็จเพื่อให้เกิดความวุ่นวายในสังคม ดังนั้น คนในสังคมทุกกลุ่มวัย จึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงในโลกดิจิทัลอย่างรู้เท่าทัน หากไม่เท่าทันสื่อก็จะเป็นผู้ที่เสียเปรียบ หรือตกเป็น "เหยื่อ" ได้ การสร้างภูมิคุ้มกัน เป็นวัคซีนที่ช่วยป้องกันภัยที่จะเกิดขึ้นจากสื่อดิจิทัล และกลายเป็นประเด็นเร่งด่วนที่ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อมุ่งพัฒนา "คน" ให้ฉลาดรู้เท่าทันดิจิทัล
หนังสือ "พลเมืองฉลาดรู้เท่าทันดิจิทัล" เป็นการนำเสนอทั้งหลักการและวิธีการสร้างเครื่องมือต่างๆ เพื่อพัฒนาคนให้เป็นพลเมืองที่มีความฉลาดทางดิจิทัล มีทักษะรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทัล สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในโลกดิจิทัล ป้องกันตนเองจากสื่อดิจิทัล และรู้วิธีการดำเนินชีวิตในฐานะพลเมืองดิจิทัล สามารถแสดงความสัมพันธ์ต่อผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ไม่เบียดเบียนผู้อื่น รู้จักรักษามารยาท กฎกติกาในโลกดิจิทัล หนังสือเล่มนี้จึงเหมาะสำหรับนักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ อาจารย์ ผู้ปกครอง บุคคลทั่วไปที่สนใจในการสร้างภูมิคุ้มกันดิจิทัลให้กับตนเองและคนใกล้ชิดLanguages : Thai (tha) Descriptors: [LCSH]การรู้สารสนเทศ
[LCSH]การรู้เท่าทันสื่อ
[LCSH]การรู้เท่าทันสื่ออินเทอร์เน็ต
[LCSH]สื่อสังคมออนไลน์Keywords: สื่อ, ดิจิทัล, การรู้เท่าทัน, พลเมือง Class number: P96 .M4 Contents note: บทที่ 1 พลเมืองดิจิทัล --
- แนวคิดพลเมืองดิจิทัล --
- คุณลักษณะสำคัญของพลเมืองดิจิทัล --
- ทักษะพลเมืองดิจิทัล --
- พัฒนาทักษะพลเมืองดิจิทัล --
บทที่ 2 ความฉลาดทางดิจิทัล --
- แนวคิดความฉลาดทางดิจิทัล --
- ทักษะความฉลาดทางดิจิทัล --
- พัฒนาทักษะความฉลาดทางดิจิทัล --
บทที่ 3 การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล --
- แนวคิดการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัล --
- ทักษะการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัล --
- พัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัล --
บทที่ 4 ความเป็นพลเมืองฉลาดรู้เท่าทันดิจิทัล --
- พลเมืองดิจิทัลแบบไทย --
- ความฉลาดทางดิจิทัลแบบไทย --
- การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัลแบบไทย --
- พลเมืองฉลาดรู้เท่าทันดิจิทัล --Curricular : GE Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=28715 พลเมืองฉลาดรู้เท่าทันดิจิทัล [printed text] / อุษา บิ้กกิ้นส์, Author . - สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ : กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2566 . - 198 น. : ตาราง, ภาพประกอบ ; 26 ซม.
ISBN : 978-6-16-482112-5 : 430.00 บาท
เมื่อสื่อดิจิทัลมีอิทธิพลอย่างมากในชีวิตประจำวัน ทั้งในแง่บวกและแง่ลบ ในบางครั้งอาจเป็นภัยต่อคนในสังคม เช่น การกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ การแพร่กระจายข่าวลวง ข่าวปลอม และข้อมูลเท็จเพื่อให้เกิดความวุ่นวายในสังคม ดังนั้น คนในสังคมทุกกลุ่มวัย จึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงในโลกดิจิทัลอย่างรู้เท่าทัน หากไม่เท่าทันสื่อก็จะเป็นผู้ที่เสียเปรียบ หรือตกเป็น "เหยื่อ" ได้ การสร้างภูมิคุ้มกัน เป็นวัคซีนที่ช่วยป้องกันภัยที่จะเกิดขึ้นจากสื่อดิจิทัล และกลายเป็นประเด็นเร่งด่วนที่ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อมุ่งพัฒนา "คน" ให้ฉลาดรู้เท่าทันดิจิทัล
หนังสือ "พลเมืองฉลาดรู้เท่าทันดิจิทัล" เป็นการนำเสนอทั้งหลักการและวิธีการสร้างเครื่องมือต่างๆ เพื่อพัฒนาคนให้เป็นพลเมืองที่มีความฉลาดทางดิจิทัล มีทักษะรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทัล สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในโลกดิจิทัล ป้องกันตนเองจากสื่อดิจิทัล และรู้วิธีการดำเนินชีวิตในฐานะพลเมืองดิจิทัล สามารถแสดงความสัมพันธ์ต่อผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ไม่เบียดเบียนผู้อื่น รู้จักรักษามารยาท กฎกติกาในโลกดิจิทัล หนังสือเล่มนี้จึงเหมาะสำหรับนักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ อาจารย์ ผู้ปกครอง บุคคลทั่วไปที่สนใจในการสร้างภูมิคุ้มกันดิจิทัลให้กับตนเองและคนใกล้ชิด
Languages : Thai (tha)
Descriptors: [LCSH]การรู้สารสนเทศ
[LCSH]การรู้เท่าทันสื่อ
[LCSH]การรู้เท่าทันสื่ออินเทอร์เน็ต
[LCSH]สื่อสังคมออนไลน์Keywords: สื่อ, ดิจิทัล, การรู้เท่าทัน, พลเมือง Class number: P96 .M4 Contents note: บทที่ 1 พลเมืองดิจิทัล --
- แนวคิดพลเมืองดิจิทัล --
- คุณลักษณะสำคัญของพลเมืองดิจิทัล --
- ทักษะพลเมืองดิจิทัล --
- พัฒนาทักษะพลเมืองดิจิทัล --
บทที่ 2 ความฉลาดทางดิจิทัล --
- แนวคิดความฉลาดทางดิจิทัล --
- ทักษะความฉลาดทางดิจิทัล --
- พัฒนาทักษะความฉลาดทางดิจิทัล --
บทที่ 3 การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล --
- แนวคิดการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัล --
- ทักษะการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัล --
- พัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัล --
บทที่ 4 ความเป็นพลเมืองฉลาดรู้เท่าทันดิจิทัล --
- พลเมืองดิจิทัลแบบไทย --
- ความฉลาดทางดิจิทัลแบบไทย --
- การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัลแบบไทย --
- พลเมืองฉลาดรู้เท่าทันดิจิทัล --Curricular : GE Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=28715 Hold
Place a hold on this item
Copies
Barcode Call number Media type Location Section Status 32002000607553 P96 .M4 อ48พ 2566 Book Main Library Nursing Shelf Due for return by 07/29/2024