Collection Title: | SIU THE-T | Title : | ยุทธศาสตร์การพัฒนาความร่วมมือการป้องกันอาชญากรรม พื้นที่รับผิดชอบกองบัญชาการตำรวจนครบาล | Original title : | Strategic Cooperation Development of Crime Prevention In Responsible area of Metropolitan Police Bureau | Material Type: | printed text | Authors: | ธีรยุทธ์ จงศิริ, Author ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name ; ไชยวัฒน์ ค้ำชู, Associated Name | Publisher: | ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยชินวัตร | Publication Date: | 2020 | Pagination: | x, 182 น. | Layout: | ตาราง, ภาพประกอบ | Size: | 30 ซม. | Price: | 500.00 บาท | General note: | SIU THE-T: IPAG-DPA-2020-16
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2020 | Languages : | Thai (tha) | Descriptors: | [LCSH]การบังคับใช้กฎหมาย [LCSH]การป้องกันอาชญากรรม [LCSH]การพัฒนา -- ยุทธศาสตร์
| Keywords: | การป้องกันอาชญากรรม, ยุทธศาสตร์การพัฒนา, การบังคับใช้กฎหมาย | Abstract: | งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมที่ส่งผลต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาความร่วมมือการป้องกันอาชญากรรม ในพื้นที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล 2) เพื่อศึกษาระดับเกี่ยวกับปัจจัยการป้องกันปัญหาอาชญากรรมที่ส่งผลต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาความร่วมมือการป้องกันอาชญากรรม ในพื้นที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล 3) เพื่อศึกษาระดับของการบริหารจัดการเพื่อการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม ที่ส่งผลต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาความร่วมมือการป้องกันอาชญากรรม ในพื้นที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล ผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี
(Mixed Methods Research) คือ 1) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 30 คน จากกองบังคับการตำรวจนครบาล 1-9 และกองบังคับการจราจร โดยการวิเคราะห์เนื้อหา 2) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจากกองบังคับการตำรวจนครบาล 1-9 และกองบังคับการจราจร จำนวน 400 คน โดยการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณเส้นตรง
ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า ด้านสังคม คือปัญหายาเสพติดที่รุนแรง จากจำนวนครั้งของการจับกุม และปริมาณยาเสพติดที่จับได้ในแต่ละครั้งมีมากขึ้น ด้านการบังคับใช้กฎหมาย จากหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ตำรวจ อัยการ ศาล ราชทัณฑ์จะต้องมีการบูรณการให้การบังคับใช้กฎหมาย เป็นไปด้วยความแน่นอน รวดเร็ว เสมอภาคและงานวิจัยในเชิงปริมาณพบว่า ปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม คือ ด้านสังคม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.31,S.D. = 0.46)
ปัจจัยการป้องกันปัญหาอาชญากรรม คือ ด้านการพัฒนาการศึกษามีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
(x̄ = 4.15,S.D. = 0.57) การบริหารจัดการเพื่อการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม คือ ด้านการสื่อสาร มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.30,S.D. = 0.57) และยุทธศาสตร์การพัฒนาความร่วมมือ การป้องกันอาชญากรรม คือ การสร้างความไว้วางใจกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.24,S.D. = 0.85)
ข้อเสนอแนะ ควรมีการศึกษาถึงศึกษารูปแบบของผู้นำและทีมงานของสำนักงานตำรวจ ที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน | Curricular : | MPA/DPA | Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=28272 |
SIU THE-T. ยุทธศาสตร์การพัฒนาความร่วมมือการป้องกันอาชญากรรม พื้นที่รับผิดชอบกองบัญชาการตำรวจนครบาล = Strategic Cooperation Development of Crime Prevention In Responsible area of Metropolitan Police Bureau [printed text] / ธีรยุทธ์ จงศิริ, Author ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name ; ไชยวัฒน์ ค้ำชู, Associated Name . - ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2020 . - x, 182 น. : ตาราง, ภาพประกอบ ; 30 ซม. 500.00 บาท SIU THE-T: IPAG-DPA-2020-16
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2020 Languages : Thai ( tha) Descriptors: | [LCSH]การบังคับใช้กฎหมาย [LCSH]การป้องกันอาชญากรรม [LCSH]การพัฒนา -- ยุทธศาสตร์
| Keywords: | การป้องกันอาชญากรรม, ยุทธศาสตร์การพัฒนา, การบังคับใช้กฎหมาย | Abstract: | งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมที่ส่งผลต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาความร่วมมือการป้องกันอาชญากรรม ในพื้นที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล 2) เพื่อศึกษาระดับเกี่ยวกับปัจจัยการป้องกันปัญหาอาชญากรรมที่ส่งผลต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาความร่วมมือการป้องกันอาชญากรรม ในพื้นที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล 3) เพื่อศึกษาระดับของการบริหารจัดการเพื่อการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม ที่ส่งผลต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาความร่วมมือการป้องกันอาชญากรรม ในพื้นที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล ผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี
(Mixed Methods Research) คือ 1) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 30 คน จากกองบังคับการตำรวจนครบาล 1-9 และกองบังคับการจราจร โดยการวิเคราะห์เนื้อหา 2) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจากกองบังคับการตำรวจนครบาล 1-9 และกองบังคับการจราจร จำนวน 400 คน โดยการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณเส้นตรง
ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า ด้านสังคม คือปัญหายาเสพติดที่รุนแรง จากจำนวนครั้งของการจับกุม และปริมาณยาเสพติดที่จับได้ในแต่ละครั้งมีมากขึ้น ด้านการบังคับใช้กฎหมาย จากหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ตำรวจ อัยการ ศาล ราชทัณฑ์จะต้องมีการบูรณการให้การบังคับใช้กฎหมาย เป็นไปด้วยความแน่นอน รวดเร็ว เสมอภาคและงานวิจัยในเชิงปริมาณพบว่า ปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม คือ ด้านสังคม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.31,S.D. = 0.46)
ปัจจัยการป้องกันปัญหาอาชญากรรม คือ ด้านการพัฒนาการศึกษามีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
(x̄ = 4.15,S.D. = 0.57) การบริหารจัดการเพื่อการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม คือ ด้านการสื่อสาร มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.30,S.D. = 0.57) และยุทธศาสตร์การพัฒนาความร่วมมือ การป้องกันอาชญากรรม คือ การสร้างความไว้วางใจกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.24,S.D. = 0.85)
ข้อเสนอแนะ ควรมีการศึกษาถึงศึกษารูปแบบของผู้นำและทีมงานของสำนักงานตำรวจ ที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน | Curricular : | MPA/DPA | Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=28272 |
|