Collection Title: | SIU THE-T | Title : | ความพึงพอใจในการบริหารจัดการการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระยอง | Original title : | People’s Satisfaction with Public Service Administration of Local Governments in Rayong Province | Material Type: | printed text | Authors: | สุรชัย ปิตุเตชะ, Author ; พิภพ วชังเงิน, Associated Name ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name | Publisher: | กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร | Publication Date: | 2019 | Pagination: | viii, 161 น. | Layout: | ตาราง, ภาพประกอบ | Size: | 30 ซม. | Price: | 500.00 บาท | General note: | SIU THE-T: IPAG-DPA-2019-04
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2019 | Languages : | Thai (tha) | Descriptors: | [LCSH]การบริการ -- ความพึงพอใจ [LCSH]การบริหารจัดการ [LCSH]องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น -- การบริหาร
| Keywords: | องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น,
การบริหารจัดการการให้บริการ,
ความพึงพอใจในการให้บริการ | Abstract: | การวิจัยนี้มีความมุ่งหมาย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) เพื่อศึกษาปัญหาและสาเหตุของปัญหาการบริหารจัดการการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางและวิธีการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของประชาชนในการบริหารจัดการการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการคัดเลือกเทศบาลในจังหวัดระยอง 3 แห่ง แบบกำหนดพื้นที่ศึกษาเป็นตัวแทนในการศึกษา (purposive sampling) เพื่อสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (key informants) รวม 39 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลกระทำโดยใช้แบบสอบถามเชิงลึกกึ่งโครงสร้าง (semi-structured in-depth interview) ในการศึกษาข้อมูลที่เป็นปัจจัยเชิงลึก เพื่อสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นผู้รู้หรือผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (key informants) โดยการนัดหมายเข้าสัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูล รวมทั้งจัดสัมมนากลุ่มย่อย (focus group) นำข้อมูลมาวิเคราะห์ ตีความและสรุป
ผลการวิจัย พบว่า การจัดเก็บภาษียังไม่สามารถจัดเก็บได้ครอบคลุมทั่วถึงเนื่องจากฐานข้อมูลผู้เสียภาษีไม่เป็นปัจจุบัน เพราะบุคลากรมีจำกัด ประชาชนไม่พึงพอใจในความเสมอภาค มีความรู้สึกว่าไม่เป็นธรรม จึงไม่เต็มใจที่จะเสียภาษี เพราะการประเมินภาษีไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เป็นเรื่องของดุลพินิจเฉพาะบุคคล ผู้บริหารท้องถิ่นที่ได้รับตำแหน่งจากการลงคะแนนของชาวบ้าน กังวลกับการเสียคะแนนนิยม
การออกใบอนุญาตก่อสร้างล่าช้า ผู้ใช้บริการไม่พึงพอใจในความเสมอภาค มีความรู้สึกว่าเจ้าหน้าที่ปฏิบัติไม่เป็นไปในมาตรฐานเดียวกัน ไม่มีประสิทธิภาพ เพราะขาดบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ ขาดอุปกรณ์เครื่องมือที่ทันสมัย
การให้บริการด้านงานทะเบียนราษฎร์และบัตรประจำตัวประชาชน ผู้ใช้บริการไม่พึงพอใจในความต่อเนื่องของการให้บริการ เพราะให้บริการได้จำกัด เนื่องจากต้องเชื่อมต่อฐานข้อมูลกับศูนย์ข้อมูลของกรมการปกครองซึ่งกระทำได้เฉพาะในเวลาราชการ
จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะ เทศบาลควรจัดหาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถพร้อมเครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัย เหมาะสมและเพียงพอกับการให้บริการแต่ละภารกิจ และจะต้องให้บริการเป็นมาตรฐานเดียวกัน มีความเสมอภาค เป็นธรรมและโปร่งใส เพิ่มประสิทธิภาพและความเข้มแข็งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำบริการสาธารณะสนองตอบความต้องการของประชาชน | Curricular : | GE | Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27942 |
SIU THE-T. ความพึงพอใจในการบริหารจัดการการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระยอง = People’s Satisfaction with Public Service Administration of Local Governments in Rayong Province [printed text] / สุรชัย ปิตุเตชะ, Author ; พิภพ วชังเงิน, Associated Name ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2019 . - viii, 161 น. : ตาราง, ภาพประกอบ ; 30 ซม. 500.00 บาท SIU THE-T: IPAG-DPA-2019-04
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2019 Languages : Thai ( tha) Descriptors: | [LCSH]การบริการ -- ความพึงพอใจ [LCSH]การบริหารจัดการ [LCSH]องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น -- การบริหาร
| Keywords: | องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น,
การบริหารจัดการการให้บริการ,
ความพึงพอใจในการให้บริการ | Abstract: | การวิจัยนี้มีความมุ่งหมาย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) เพื่อศึกษาปัญหาและสาเหตุของปัญหาการบริหารจัดการการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางและวิธีการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของประชาชนในการบริหารจัดการการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการคัดเลือกเทศบาลในจังหวัดระยอง 3 แห่ง แบบกำหนดพื้นที่ศึกษาเป็นตัวแทนในการศึกษา (purposive sampling) เพื่อสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (key informants) รวม 39 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลกระทำโดยใช้แบบสอบถามเชิงลึกกึ่งโครงสร้าง (semi-structured in-depth interview) ในการศึกษาข้อมูลที่เป็นปัจจัยเชิงลึก เพื่อสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นผู้รู้หรือผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (key informants) โดยการนัดหมายเข้าสัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูล รวมทั้งจัดสัมมนากลุ่มย่อย (focus group) นำข้อมูลมาวิเคราะห์ ตีความและสรุป
ผลการวิจัย พบว่า การจัดเก็บภาษียังไม่สามารถจัดเก็บได้ครอบคลุมทั่วถึงเนื่องจากฐานข้อมูลผู้เสียภาษีไม่เป็นปัจจุบัน เพราะบุคลากรมีจำกัด ประชาชนไม่พึงพอใจในความเสมอภาค มีความรู้สึกว่าไม่เป็นธรรม จึงไม่เต็มใจที่จะเสียภาษี เพราะการประเมินภาษีไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เป็นเรื่องของดุลพินิจเฉพาะบุคคล ผู้บริหารท้องถิ่นที่ได้รับตำแหน่งจากการลงคะแนนของชาวบ้าน กังวลกับการเสียคะแนนนิยม
การออกใบอนุญาตก่อสร้างล่าช้า ผู้ใช้บริการไม่พึงพอใจในความเสมอภาค มีความรู้สึกว่าเจ้าหน้าที่ปฏิบัติไม่เป็นไปในมาตรฐานเดียวกัน ไม่มีประสิทธิภาพ เพราะขาดบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ ขาดอุปกรณ์เครื่องมือที่ทันสมัย
การให้บริการด้านงานทะเบียนราษฎร์และบัตรประจำตัวประชาชน ผู้ใช้บริการไม่พึงพอใจในความต่อเนื่องของการให้บริการ เพราะให้บริการได้จำกัด เนื่องจากต้องเชื่อมต่อฐานข้อมูลกับศูนย์ข้อมูลของกรมการปกครองซึ่งกระทำได้เฉพาะในเวลาราชการ
จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะ เทศบาลควรจัดหาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถพร้อมเครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัย เหมาะสมและเพียงพอกับการให้บริการแต่ละภารกิจ และจะต้องให้บริการเป็นมาตรฐานเดียวกัน มีความเสมอภาค เป็นธรรมและโปร่งใส เพิ่มประสิทธิภาพและความเข้มแข็งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำบริการสาธารณะสนองตอบความต้องการของประชาชน | Curricular : | GE | Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27942 |
|