Collection Title: | SIU THE-T | Title : | ศรัทธาในหลักธรรมคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชนยุคโลกาภิวัตน์ | Original title : | Faith of Dhamma in Buddhism of the Buddhists in the era of globalization | Material Type: | printed text | Authors: | พระสุพิทักข์ โตเพ็ง, Author ; พิภพ วชังเงิน, Associated Name ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name | Publisher: | กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร | Publication Date: | 2019 | Pagination: | ix, 265 น. | Layout: | ตาราง, ภาพประกอบ | Size: | 30 ซม. | Price: | 500.00 บาท | General note: | SIU THE-T: IPAG-DPA-2019-01
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2019 | Languages : | Thai (tha) | Descriptors: | [LCSH]พุทธศาสนา -- คำสอน [LCSH]พุทธศาสนิกชน [LCSH]โลกาภิวัตน์
| Keywords: | ศรัทธา,
ความเชื่อ,
หลักธรรม/คำสอน,
พุทธศาสนา,
พุทธศาสนิกชน,
ยุคโลกาภิวัตน์ | Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาศรัทธาความเชื่อในหลักธรรมคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชนยุคโลกาภิวัตน์ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อศรัทธาความเชื่อในหลักธรรมคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชนยุคโลกาภิวัตน์ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาหรือยกระดับศรัทธาความเชื่อในหลักธรรมคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชนยุคโลกาภิวัตน์ให้ยั่งยืนสืบทอดต่อไป ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม ใช้สถิติบรรยาย (Description Statistics) คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์การถดถอยแบบเชิงพหุคูณ (Multiple - Regression Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. พุทธศาสนานิกชนยังคงมีศรัทธาในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่อง มีความเข้าใจในเรื่องศรัทธาและปัญญา, อริยสัจ4, การมุ่งเน้นเรื่องการพ้นทุกข์และให้รู้จักทุกข์และวิธีดับทุกข์ ให้พ้นจากความไม่รุ้จริงในธรรมชาติอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์
2. ศรัทธาความเชื่อในหลักธรรมคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนาในยุคโลกาภิวัตน์ พบว่า ปัจจัยด้านหลักธรรมคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนา ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมและปัจจัยด้านการสื่อสารมวลชน มีผลกระทบต่อศรัทธาความเชื่อในหลักธรรมคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนาในยุคโลกาภิวัตน์ โดยองค์ประกอบทุกองค์ประกอบมีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถอธิบายความผันแปรของศรัทธาในหลักธรรมคำสั่งสอนในทางพรพุทธศาสนาได้ ร้อยละ 62.20
3. องค์ความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์ด้านแนวทางการพัฒนาศรัทธา หรือยกระดับศรัทธาในหลักธรรมคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชนยุคโลกาภิวัตน์ให้ยั่งยืน ที่จะต้องมีและนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมท่ามกลางสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางสังคม มีองค์ประกอบสำคัญที่เป็นแนวทางในการพัฒนา ดังต่อไปนี้
3.1 การสืบทอดพระพุทธศาสนาเป็นพันธกิจของพระสงฆ์ ซึ่งประกอบด้วยพระสงฆ์ที่ทำหน้าที่เจ้าอาวาส และพระสงฆ์ในวัด พระสงฆ์ที่ทำหน้าที่เจ้าอาวาส มีความจำเป็นในการพัฒนาตนเองในเรื่องภาวะผู้นำ บริหารกิจการวัดโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม เปิดโอกาสให้พระในวัด พุทธศาสนิกชนรอบวัดและ/หรือบุคคลอื่น ๆ ที่มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมในการบริหารกิจการของวัด
3.2 วัด เป็นศาสนสถานที่พุทธบริษัทประกอบกิจกรรมทางศาสนา ต้องมีการปรับบทบาทรับใช้สังคมมากขึ้น ด้วยการดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณะ ปรับความสัมพันธ์ระหว่างคณะสงฆ์และประชาชนให้กระชับแน่นยิ่งขึ้น ใช้ความเป็นกัลยาณมิตร วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ เปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชนทุกคนเข้าร่วมอย่างเท่าเทียม รวมทั้ง “เปิดวัด” ให้ชุมชนเข้าร่วมรับผิดชอบการดำเนินการกิจการของสงฆ์มากขึ้น
3.3 องค์กรสงฆ์ เป็นองค์กรบริหาร ปกครองสงฆ์ ต้องกำหนดนโยบายในการรื้อฟื้นให้พุทธศาสนิกชนหันมาสนใจและเข้าใจว่าพระพุทธศาสนา พระสงฆ์และพุทธศาสนิกชน มีหน้าที่เดียวกันในการสร้างศรัทธาในหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่ต่อไปอย่างยั่งยืน
| Curricular : | GE | Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27939 |
SIU THE-T. ศรัทธาในหลักธรรมคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชนยุคโลกาภิวัตน์ = Faith of Dhamma in Buddhism of the Buddhists in the era of globalization [printed text] / พระสุพิทักข์ โตเพ็ง, Author ; พิภพ วชังเงิน, Associated Name ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2019 . - ix, 265 น. : ตาราง, ภาพประกอบ ; 30 ซม. 500.00 บาท SIU THE-T: IPAG-DPA-2019-01
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2019 Languages : Thai ( tha) Descriptors: | [LCSH]พุทธศาสนา -- คำสอน [LCSH]พุทธศาสนิกชน [LCSH]โลกาภิวัตน์
| Keywords: | ศรัทธา,
ความเชื่อ,
หลักธรรม/คำสอน,
พุทธศาสนา,
พุทธศาสนิกชน,
ยุคโลกาภิวัตน์ | Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาศรัทธาความเชื่อในหลักธรรมคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชนยุคโลกาภิวัตน์ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อศรัทธาความเชื่อในหลักธรรมคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชนยุคโลกาภิวัตน์ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาหรือยกระดับศรัทธาความเชื่อในหลักธรรมคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชนยุคโลกาภิวัตน์ให้ยั่งยืนสืบทอดต่อไป ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม ใช้สถิติบรรยาย (Description Statistics) คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์การถดถอยแบบเชิงพหุคูณ (Multiple - Regression Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. พุทธศาสนานิกชนยังคงมีศรัทธาในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่อง มีความเข้าใจในเรื่องศรัทธาและปัญญา, อริยสัจ4, การมุ่งเน้นเรื่องการพ้นทุกข์และให้รู้จักทุกข์และวิธีดับทุกข์ ให้พ้นจากความไม่รุ้จริงในธรรมชาติอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์
2. ศรัทธาความเชื่อในหลักธรรมคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนาในยุคโลกาภิวัตน์ พบว่า ปัจจัยด้านหลักธรรมคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนา ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมและปัจจัยด้านการสื่อสารมวลชน มีผลกระทบต่อศรัทธาความเชื่อในหลักธรรมคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนาในยุคโลกาภิวัตน์ โดยองค์ประกอบทุกองค์ประกอบมีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถอธิบายความผันแปรของศรัทธาในหลักธรรมคำสั่งสอนในทางพรพุทธศาสนาได้ ร้อยละ 62.20
3. องค์ความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์ด้านแนวทางการพัฒนาศรัทธา หรือยกระดับศรัทธาในหลักธรรมคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชนยุคโลกาภิวัตน์ให้ยั่งยืน ที่จะต้องมีและนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมท่ามกลางสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางสังคม มีองค์ประกอบสำคัญที่เป็นแนวทางในการพัฒนา ดังต่อไปนี้
3.1 การสืบทอดพระพุทธศาสนาเป็นพันธกิจของพระสงฆ์ ซึ่งประกอบด้วยพระสงฆ์ที่ทำหน้าที่เจ้าอาวาส และพระสงฆ์ในวัด พระสงฆ์ที่ทำหน้าที่เจ้าอาวาส มีความจำเป็นในการพัฒนาตนเองในเรื่องภาวะผู้นำ บริหารกิจการวัดโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม เปิดโอกาสให้พระในวัด พุทธศาสนิกชนรอบวัดและ/หรือบุคคลอื่น ๆ ที่มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมในการบริหารกิจการของวัด
3.2 วัด เป็นศาสนสถานที่พุทธบริษัทประกอบกิจกรรมทางศาสนา ต้องมีการปรับบทบาทรับใช้สังคมมากขึ้น ด้วยการดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณะ ปรับความสัมพันธ์ระหว่างคณะสงฆ์และประชาชนให้กระชับแน่นยิ่งขึ้น ใช้ความเป็นกัลยาณมิตร วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ เปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชนทุกคนเข้าร่วมอย่างเท่าเทียม รวมทั้ง “เปิดวัด” ให้ชุมชนเข้าร่วมรับผิดชอบการดำเนินการกิจการของสงฆ์มากขึ้น
3.3 องค์กรสงฆ์ เป็นองค์กรบริหาร ปกครองสงฆ์ ต้องกำหนดนโยบายในการรื้อฟื้นให้พุทธศาสนิกชนหันมาสนใจและเข้าใจว่าพระพุทธศาสนา พระสงฆ์และพุทธศาสนิกชน มีหน้าที่เดียวกันในการสร้างศรัทธาในหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่ต่อไปอย่างยั่งยืน
| Curricular : | GE | Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27939 |
|