From this page you can:
Home |
Descriptors
Add the result to your basket Make a suggestion Refine your search Apply to external sources
SIU IS-T. การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการบริหารงานของ องค์การบริหารส่วนตำบลมาบยางพร อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง / ณรงค์ศักดิ์ ม่วงแก้ว / กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร - 2014
Collection Title: SIU IS-T Title : การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการบริหารงานของ องค์การบริหารส่วนตำบลมาบยางพร อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง Original title : Participation of Community Leaders in Yang Porn Sub-District Local Administrative Organization’s Management, Pluakdaeng District, Rayong Province Material Type: printed text Authors: ณรงค์ศักดิ์ ม่วงแก้ว, Author ; วรเดช จันทรศร, Associated Name ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name Publisher: กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร Publication Date: 2014 Pagination: vi, 59 น. Layout: ตาราง Size: 30 ซม. Price: 500.00 General note: SIU IS-T: IPAG-MPA-2014-33
[MPA.[รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]] -- มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2014.Languages : Thai (tha) Descriptors: [LCSH]ชุมชน -- การมีส่วนร่วม
[LCSH]ผู้นำชุมชน -- ระยอง -- มาบยางพร
[LCSH]องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น -- การบริหารKeywords: การมีส่วนร่วม,
การบริหารงาน,
ท้องถิ่น,
ผู้นำชุมชนAbstract: การค้นคว้าอิสระงานนี้จึงต้องศึกษาการมีส่วนร่วม โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล และปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลมาบยางพรใช้แบบสัมภาษณ์โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผู้นำชุมชนในพื้นที่ตำบลมาบยางพร อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง จำนวน 5 คน
ผลการศึกษาวิจัย พบว่า ผู้นำชุมชนให้ความสำคัญอย่างมากกับการมีส่วนร่วมในการบริหารงานอันจะเกิดประโยชน์สูงสุดกับการพัฒนาท้องถิ่น เช่น การจัดประชุมประชาคมหมู่บ้าน การเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ส่วนปัจจัยที่มีผลกระทบ พบว่า การเอาใจใส่จริงจัง การประสานงาน การให้คำปรึกษา การวางตัวเป็นแบบอย่างที่ดี ทุกเรื่องส่งผลทำให้เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลในการพัฒนาท้องถิ่น ส่วนปัญหาอุปสรรค พบว่า ปัญหาเกิดจากการแจ้งข้อมูลข่าวสารให้ทราบช้า ทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมการทำงานของ องค์การบริหารส่วนตำบล ความร่วมมือของการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนของหมู่บ้านบางครั้งมีความล่าช้าขาดการปรึกษาหารือโดยความพร้อมเพียงกัน ข้อเสนอแนะผู้บริหารควรให้ความสำคัญกับผู้นำชุมชนมากกว่านี้เพื่อเกิดความร่วมมือในการทำงานพัฒนาท้องถิ่นCurricular : MPA Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26652 SIU IS-T. การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการบริหารงานของ องค์การบริหารส่วนตำบลมาบยางพร อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง = Participation of Community Leaders in Yang Porn Sub-District Local Administrative Organization’s Management, Pluakdaeng District, Rayong Province [printed text] / ณรงค์ศักดิ์ ม่วงแก้ว, Author ; วรเดช จันทรศร, Associated Name ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2014 . - vi, 59 น. : ตาราง ; 30 ซม.
500.00
SIU IS-T: IPAG-MPA-2014-33
[MPA.[รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]] -- มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2014.
Languages : Thai (tha)
Descriptors: [LCSH]ชุมชน -- การมีส่วนร่วม
[LCSH]ผู้นำชุมชน -- ระยอง -- มาบยางพร
[LCSH]องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น -- การบริหารKeywords: การมีส่วนร่วม,
การบริหารงาน,
ท้องถิ่น,
ผู้นำชุมชนAbstract: การค้นคว้าอิสระงานนี้จึงต้องศึกษาการมีส่วนร่วม โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล และปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลมาบยางพรใช้แบบสัมภาษณ์โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผู้นำชุมชนในพื้นที่ตำบลมาบยางพร อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง จำนวน 5 คน
ผลการศึกษาวิจัย พบว่า ผู้นำชุมชนให้ความสำคัญอย่างมากกับการมีส่วนร่วมในการบริหารงานอันจะเกิดประโยชน์สูงสุดกับการพัฒนาท้องถิ่น เช่น การจัดประชุมประชาคมหมู่บ้าน การเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ส่วนปัจจัยที่มีผลกระทบ พบว่า การเอาใจใส่จริงจัง การประสานงาน การให้คำปรึกษา การวางตัวเป็นแบบอย่างที่ดี ทุกเรื่องส่งผลทำให้เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลในการพัฒนาท้องถิ่น ส่วนปัญหาอุปสรรค พบว่า ปัญหาเกิดจากการแจ้งข้อมูลข่าวสารให้ทราบช้า ทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมการทำงานของ องค์การบริหารส่วนตำบล ความร่วมมือของการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนของหมู่บ้านบางครั้งมีความล่าช้าขาดการปรึกษาหารือโดยความพร้อมเพียงกัน ข้อเสนอแนะผู้บริหารควรให้ความสำคัญกับผู้นำชุมชนมากกว่านี้เพื่อเกิดความร่วมมือในการทำงานพัฒนาท้องถิ่นCurricular : MPA Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26652 Hold
Place a hold on this item
Copies
Barcode Call number Media type Location Section Status 32002000592996 SIU IS-T: IPAG-MPA-2014-33 c.2 SIU Independent Study Graduate Library Thesis Corner Available 32002000592970 SIU IS-T: IPAG-MPA-2014-33 c.1 SIU Independent Study Main Library Thesis Corner Available SIU THE-T. ความพึงพอใจในการบริหารจัดการการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระยอง / สุรชัย ปิตุเตชะ / กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร - 2019
Collection Title: SIU THE-T Title : ความพึงพอใจในการบริหารจัดการการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระยอง Original title : People’s Satisfaction with Public Service Administration of Local Governments in Rayong Province Material Type: printed text Authors: สุรชัย ปิตุเตชะ, Author ; พิภพ วชังเงิน, Associated Name ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name Publisher: กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร Publication Date: 2019 Pagination: viii, 161 น. Layout: ตาราง, ภาพประกอบ Size: 30 ซม. Price: 500.00 บาท General note: SIU THE-T: IPAG-DPA-2019-04
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2019Languages : Thai (tha) Descriptors: [LCSH]การบริการ -- ความพึงพอใจ
[LCSH]การบริหารจัดการ
[LCSH]องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น -- การบริหารKeywords: องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น,
การบริหารจัดการการให้บริการ,
ความพึงพอใจในการให้บริการAbstract: การวิจัยนี้มีความมุ่งหมาย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) เพื่อศึกษาปัญหาและสาเหตุของปัญหาการบริหารจัดการการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางและวิธีการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของประชาชนในการบริหารจัดการการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการคัดเลือกเทศบาลในจังหวัดระยอง 3 แห่ง แบบกำหนดพื้นที่ศึกษาเป็นตัวแทนในการศึกษา (purposive sampling) เพื่อสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (key informants) รวม 39 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลกระทำโดยใช้แบบสอบถามเชิงลึกกึ่งโครงสร้าง (semi-structured in-depth interview) ในการศึกษาข้อมูลที่เป็นปัจจัยเชิงลึก เพื่อสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นผู้รู้หรือผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (key informants) โดยการนัดหมายเข้าสัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูล รวมทั้งจัดสัมมนากลุ่มย่อย (focus group) นำข้อมูลมาวิเคราะห์ ตีความและสรุป
ผลการวิจัย พบว่า การจัดเก็บภาษียังไม่สามารถจัดเก็บได้ครอบคลุมทั่วถึงเนื่องจากฐานข้อมูลผู้เสียภาษีไม่เป็นปัจจุบัน เพราะบุคลากรมีจำกัด ประชาชนไม่พึงพอใจในความเสมอภาค มีความรู้สึกว่าไม่เป็นธรรม จึงไม่เต็มใจที่จะเสียภาษี เพราะการประเมินภาษีไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เป็นเรื่องของดุลพินิจเฉพาะบุคคล ผู้บริหารท้องถิ่นที่ได้รับตำแหน่งจากการลงคะแนนของชาวบ้าน กังวลกับการเสียคะแนนนิยม
การออกใบอนุญาตก่อสร้างล่าช้า ผู้ใช้บริการไม่พึงพอใจในความเสมอภาค มีความรู้สึกว่าเจ้าหน้าที่ปฏิบัติไม่เป็นไปในมาตรฐานเดียวกัน ไม่มีประสิทธิภาพ เพราะขาดบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ ขาดอุปกรณ์เครื่องมือที่ทันสมัย
การให้บริการด้านงานทะเบียนราษฎร์และบัตรประจำตัวประชาชน ผู้ใช้บริการไม่พึงพอใจในความต่อเนื่องของการให้บริการ เพราะให้บริการได้จำกัด เนื่องจากต้องเชื่อมต่อฐานข้อมูลกับศูนย์ข้อมูลของกรมการปกครองซึ่งกระทำได้เฉพาะในเวลาราชการ
จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะ เทศบาลควรจัดหาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถพร้อมเครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัย เหมาะสมและเพียงพอกับการให้บริการแต่ละภารกิจ และจะต้องให้บริการเป็นมาตรฐานเดียวกัน มีความเสมอภาค เป็นธรรมและโปร่งใส เพิ่มประสิทธิภาพและความเข้มแข็งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำบริการสาธารณะสนองตอบความต้องการของประชาชนCurricular : GE Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27942 SIU THE-T. ความพึงพอใจในการบริหารจัดการการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระยอง = People’s Satisfaction with Public Service Administration of Local Governments in Rayong Province [printed text] / สุรชัย ปิตุเตชะ, Author ; พิภพ วชังเงิน, Associated Name ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2019 . - viii, 161 น. : ตาราง, ภาพประกอบ ; 30 ซม.
500.00 บาท
SIU THE-T: IPAG-DPA-2019-04
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2019
Languages : Thai (tha)
Descriptors: [LCSH]การบริการ -- ความพึงพอใจ
[LCSH]การบริหารจัดการ
[LCSH]องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น -- การบริหารKeywords: องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น,
การบริหารจัดการการให้บริการ,
ความพึงพอใจในการให้บริการAbstract: การวิจัยนี้มีความมุ่งหมาย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) เพื่อศึกษาปัญหาและสาเหตุของปัญหาการบริหารจัดการการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางและวิธีการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของประชาชนในการบริหารจัดการการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการคัดเลือกเทศบาลในจังหวัดระยอง 3 แห่ง แบบกำหนดพื้นที่ศึกษาเป็นตัวแทนในการศึกษา (purposive sampling) เพื่อสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (key informants) รวม 39 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลกระทำโดยใช้แบบสอบถามเชิงลึกกึ่งโครงสร้าง (semi-structured in-depth interview) ในการศึกษาข้อมูลที่เป็นปัจจัยเชิงลึก เพื่อสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นผู้รู้หรือผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (key informants) โดยการนัดหมายเข้าสัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูล รวมทั้งจัดสัมมนากลุ่มย่อย (focus group) นำข้อมูลมาวิเคราะห์ ตีความและสรุป
ผลการวิจัย พบว่า การจัดเก็บภาษียังไม่สามารถจัดเก็บได้ครอบคลุมทั่วถึงเนื่องจากฐานข้อมูลผู้เสียภาษีไม่เป็นปัจจุบัน เพราะบุคลากรมีจำกัด ประชาชนไม่พึงพอใจในความเสมอภาค มีความรู้สึกว่าไม่เป็นธรรม จึงไม่เต็มใจที่จะเสียภาษี เพราะการประเมินภาษีไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เป็นเรื่องของดุลพินิจเฉพาะบุคคล ผู้บริหารท้องถิ่นที่ได้รับตำแหน่งจากการลงคะแนนของชาวบ้าน กังวลกับการเสียคะแนนนิยม
การออกใบอนุญาตก่อสร้างล่าช้า ผู้ใช้บริการไม่พึงพอใจในความเสมอภาค มีความรู้สึกว่าเจ้าหน้าที่ปฏิบัติไม่เป็นไปในมาตรฐานเดียวกัน ไม่มีประสิทธิภาพ เพราะขาดบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ ขาดอุปกรณ์เครื่องมือที่ทันสมัย
การให้บริการด้านงานทะเบียนราษฎร์และบัตรประจำตัวประชาชน ผู้ใช้บริการไม่พึงพอใจในความต่อเนื่องของการให้บริการ เพราะให้บริการได้จำกัด เนื่องจากต้องเชื่อมต่อฐานข้อมูลกับศูนย์ข้อมูลของกรมการปกครองซึ่งกระทำได้เฉพาะในเวลาราชการ
จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะ เทศบาลควรจัดหาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถพร้อมเครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัย เหมาะสมและเพียงพอกับการให้บริการแต่ละภารกิจ และจะต้องให้บริการเป็นมาตรฐานเดียวกัน มีความเสมอภาค เป็นธรรมและโปร่งใส เพิ่มประสิทธิภาพและความเข้มแข็งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำบริการสาธารณะสนองตอบความต้องการของประชาชนCurricular : GE Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27942 Hold
Place a hold on this item
Copies
Barcode Call number Media type Location Section Status 32002000607996 SIU THE-T: IPAG-DPA-2019-04 c.1 SIU Thesis and Dissertation Main Library Thesis Corner Available 32002000607993 SIU THE-T: IPAG-DPA-2019-04 c.2 SIU Thesis and Dissertation Main Library Thesis Corner Available SIU THE-T. ปัจจัยที่อธิบายธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในภาคตะวันออกของประเทศไทย / ธนบดี ฐานะชาลา / กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร - 2016
Collection Title: SIU THE-T Title : ปัจจัยที่อธิบายธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในภาคตะวันออกของประเทศไทย Original title : Factors Explaining Good Governance among Administrators of the Local Administration Organization in the Eastern Region of Thailand Material Type: printed text Authors: ธนบดี ฐานะชาลา, Author ; วรเดช จันทรศร, Associated Name ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name Publisher: กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร Publication Date: 2016 Pagination: xi, 263 p. Layout: ภาพประกอบ, ตาราง Size: 30 ซม. Price: 500.00 General note: SIU THE-T: IPAG-DPA-2016-11
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2016Languages : Thai (tha) Descriptors: [LCSH]ธรรมรัฐ -- ไทย (ภาคตะวันออก)
[LCSH]องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น -- การบริหารKeywords: ธรรมาภิบาล
ปัจจัยที่อธิบายธรรมาภิบาล
รัฐประศาสนศาสตร์Abstract: การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกของประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่อธิบายธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกของประเทศไทย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัย เชิงปริมาณและเสริมด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการ/พนักงาน จำนวน 345 คน และผู้นำชุมชน จำนวน 14 คน ใน 7 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดจันทบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดตราด จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดสระแก้ว เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยผ่านการตรวจสอบความแม่นตรงจากผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าเท่ากับ 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .988 (α coefficient = .988) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าการถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลระดับธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกของประเทศไทย พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อันดับหนึ่ง คือ ด้านหลักความรับผิดชอบ รองลงมา คือ ด้านหลักความมีส่วนร่วม หลักนิติธรรม หลักความคุ้มค่า หลักคุณธรรม และหลักความโปร่งใส ตามลำดับ
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลระดับปัจจัยที่อธิบายธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกของประเทศไทย พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก อันดับหนึ่ง คือ ด้านภาวะผู้นำ รองลงมา คือ ด้านการสื่อสารระหว่างรัฐกับประชาชน ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน และกลไกในการตรวจสอบถ่วงดุล ตามลำดับ
3. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่อธิบายธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยใช้สถิติการถดถอยเชิงพหุคูณ (multiple regression) ผลการ
วิเคราะห์ พบว่า ปัจจัยที่อธิบายธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 ตัวแปร เรียงลำดับความสำคัญจากมากไปน้อย คือ ภาวะผู้นำ (X1),การมีส่วนร่วมของประชาชน (X2), กลไกในการตรวจสอบถ่วงดุล (X3) และ การสื่อสารระหว่างรัฐกับประชาชน (X4) มีผลต่อภาพรวมธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ 41.00% ที่ระดับนัยสำคัญ .05
ข้อค้นพบนี้ นำไปสู่แนวทางในการพัฒนาธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบของการพัฒนาเชิงบูรณาการ ซึ่งหมายถึง การยกระดับธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะต้องดำเนินการทั้งในด้านการพัฒนาผู้นำ การจัดระบบและกระบวนการให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ รวมตลอดถึงการพัฒนากลไกลในการตรวจสอบและถ่วงดุล ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้น และมีการสื่อสารที่หลากหลายระหว่างรัฐกับประชาชนอย่างต่อเนื่อง ในทางทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์ จึงสรุปได้จากข้อค้นพบนี้ว่า ไม่มีทฤษฎีเดียวในการพัฒนา ธรรมาภิบาล การพัฒนาธรรมาภิบาลจึงต้องอาศัยทฤษฎีที่เป็นสหวิทยาการและมี การบูรณาการCurricular : GE/MBA/PhDM Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26609 SIU THE-T. ปัจจัยที่อธิบายธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในภาคตะวันออกของประเทศไทย = Factors Explaining Good Governance among Administrators of the Local Administration Organization in the Eastern Region of Thailand [printed text] / ธนบดี ฐานะชาลา, Author ; วรเดช จันทรศร, Associated Name ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2016 . - xi, 263 p. : ภาพประกอบ, ตาราง ; 30 ซม.
500.00
SIU THE-T: IPAG-DPA-2016-11
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2016
Languages : Thai (tha)
Descriptors: [LCSH]ธรรมรัฐ -- ไทย (ภาคตะวันออก)
[LCSH]องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น -- การบริหารKeywords: ธรรมาภิบาล
ปัจจัยที่อธิบายธรรมาภิบาล
รัฐประศาสนศาสตร์Abstract: การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกของประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่อธิบายธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกของประเทศไทย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัย เชิงปริมาณและเสริมด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการ/พนักงาน จำนวน 345 คน และผู้นำชุมชน จำนวน 14 คน ใน 7 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดจันทบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดตราด จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดสระแก้ว เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยผ่านการตรวจสอบความแม่นตรงจากผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าเท่ากับ 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .988 (α coefficient = .988) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าการถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลระดับธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกของประเทศไทย พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อันดับหนึ่ง คือ ด้านหลักความรับผิดชอบ รองลงมา คือ ด้านหลักความมีส่วนร่วม หลักนิติธรรม หลักความคุ้มค่า หลักคุณธรรม และหลักความโปร่งใส ตามลำดับ
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลระดับปัจจัยที่อธิบายธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกของประเทศไทย พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก อันดับหนึ่ง คือ ด้านภาวะผู้นำ รองลงมา คือ ด้านการสื่อสารระหว่างรัฐกับประชาชน ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน และกลไกในการตรวจสอบถ่วงดุล ตามลำดับ
3. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่อธิบายธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยใช้สถิติการถดถอยเชิงพหุคูณ (multiple regression) ผลการ
วิเคราะห์ พบว่า ปัจจัยที่อธิบายธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 ตัวแปร เรียงลำดับความสำคัญจากมากไปน้อย คือ ภาวะผู้นำ (X1),การมีส่วนร่วมของประชาชน (X2), กลไกในการตรวจสอบถ่วงดุล (X3) และ การสื่อสารระหว่างรัฐกับประชาชน (X4) มีผลต่อภาพรวมธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ 41.00% ที่ระดับนัยสำคัญ .05
ข้อค้นพบนี้ นำไปสู่แนวทางในการพัฒนาธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบของการพัฒนาเชิงบูรณาการ ซึ่งหมายถึง การยกระดับธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะต้องดำเนินการทั้งในด้านการพัฒนาผู้นำ การจัดระบบและกระบวนการให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ รวมตลอดถึงการพัฒนากลไกลในการตรวจสอบและถ่วงดุล ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้น และมีการสื่อสารที่หลากหลายระหว่างรัฐกับประชาชนอย่างต่อเนื่อง ในทางทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์ จึงสรุปได้จากข้อค้นพบนี้ว่า ไม่มีทฤษฎีเดียวในการพัฒนา ธรรมาภิบาล การพัฒนาธรรมาภิบาลจึงต้องอาศัยทฤษฎีที่เป็นสหวิทยาการและมี การบูรณาการCurricular : GE/MBA/PhDM Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26609 Hold
Place a hold on this item
Copies
Barcode Call number Media type Location Section Status 32002000592566 SIU THE-T: IPAG-DPA-2016-11 c.1 SIU Thesis and Dissertation Graduate Library Thesis Corner Available