Collection Title: | SIU RS-T | Title : | นโยบายจัดการพลังงาน การรับซื้อไฟฟ้าจากระบบพลังงานแสงอาทิตย์ จากชาวนาโดยภาครัฐ | Original title : | Energy Policy: Buying Solar Electricity from Farmers by the Public Sector | Material Type: | printed text | Authors: | ชัยพันธุ์ ไวยพันธุ์, Author ; ปิยพร ณ นคร, Associated Name ; ดำรง ขุมมงคล, Associated Name | Publisher: | กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร | Publication Date: | 2017 | Pagination: | viii, 50 น. | Layout: | ภาพประกอบ, ตาราง | Size: | 30 ซม. | Price: | 500.00 | General note: | SIU RS-T: SOMT-MSMT-2017-06
RS-T. [MSMT.[Management Technology]] -- Shinawatra University, 2017. | Languages : | Thai (tha) | Descriptors: | [LCSH]พลังงาน -- การจัดการ [LCSH]พลังงานแสงอาทิตย์
| Keywords: | ระบบโซล่าเซลล์ | Abstract: | แนวทางนโยบายโครงการนำร่อง สร้างเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืนแก่ชาวนา ด้วยนโยบายรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (10 กิโลวัตต์ 100 ครัวเรือน) เนื่องจากปัญหาชาวนาด้านความเป็นอยู่และรายได้จากการประกอบอาชีพ เป็นหนึ่งในปัญหาที่สะสมมานานในประเทศไทย ไม่ว่าในเรื่องปัญหาหนี้สินนอกระบบของผู้ประกอบอาชีพชาวนา ปัญหานโยบายที่เข้ามาช่วยสนับสนุนชาวนา เช่นโครงการรับจำนำข้าว ปัญหาการที่ชาวนากู้เงินจากธนาคารภาครัฐมาเพื่อซื้อวัตถุดิบในการปลูกข้าวแต่เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ราคาขายกลับไม่เพียงพอที่จะปลดหนี้ งานวิจัยนี้ จึงมุ่งเน้นเพื่อเสนอโครงการนำร่อง เป็นแนวทางในการสร้างรายได้อย่างยั่งยืนควบคู่กับการทำนา โดยเน้นแก้ไขและหาแนวทางที่สร้างรายได้ที่ยั่งยืนและช่วยลดภาระหนี้สินในครัวเรือนแก่ชาวนา
โดยผลการศึกษาพบว่าโครงการนำร่องนโยบายการรับซื้อไฟฟ้า ที่ผลิตด้วยระบบพลังงานแสงอาทิตย์แก่ชาวนา 100 ครอบครัว ๆ ละ 10 กิโลวัตต์ (เงินลงทุน 450,000 บาทต่อ 1 ครอบครัว) สามารถสร้างรายได้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการอย่างน้อยปีละ 82,200 บาท หรือเฉลี่ยเดือนละ 6,850 บาท (คำนวณกรณีตัวอย่างจากนโยบายการรับซื้อไฟฟ้าบนหลังคา FIT ปี 2558) โดยติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ (Solar Cell) บนหลังคาบ้านหรือบริเวณบ้านที่ใช้เลี้ยงสัตว์ โดยเฉลี่ยใช้พื้นที่ประมาณ 70 ตารางเมตร โดยทางรัฐช่วยสนับสนุนเงิน 50% และอีก 50% ในรูปเงินกู้ให้ผู้เข้าร่วมโครงการผ่านทาง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โดยการผ่อนชำระคืนเงินกู้กับทางธนาคารจะสามารถคืนในอัตราส่วนร้อยละ 50% ของรายได้จากการขายไฟฟ้าและอีก 50% ของรายได้ให้เป็นของชาวนาจนครบปีจำนวนเงินที่กู้ยืม โดยนโยบายที่ใช้รับซื้อไฟฟ้าเป็นแบบ Feed-in-Tariff (FIT) ซึ่งอัตราจะอยู่ในรูปแบบอัตรารับซื้อไฟฟ้าคงที่ตลอดอายุโครงการ 25 ปี โดยงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงข้อเสนอแนะนโยบายที่สร้างรายได้อย่างถาวรเพื่อให้เกิดระบบเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืนและสามารถนำมาขยายต่อให้เกิดเป็นโครงการระดับประเทศต่อไปได้ ด้วยงบประมาณที่สามารถทำได้และก่อให้เกิดประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่ายทั้งผู้ประกอบอาชีพชาวนาและภาครัฐ
| Curricular : | BSMT/MSMT | Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27193 |
SIU RS-T. นโยบายจัดการพลังงาน การรับซื้อไฟฟ้าจากระบบพลังงานแสงอาทิตย์ จากชาวนาโดยภาครัฐ = Energy Policy: Buying Solar Electricity from Farmers by the Public Sector [printed text] / ชัยพันธุ์ ไวยพันธุ์, Author ; ปิยพร ณ นคร, Associated Name ; ดำรง ขุมมงคล, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2017 . - viii, 50 น. : ภาพประกอบ, ตาราง ; 30 ซม. 500.00 SIU RS-T: SOMT-MSMT-2017-06
RS-T. [MSMT.[Management Technology]] -- Shinawatra University, 2017. Languages : Thai ( tha) Descriptors: | [LCSH]พลังงาน -- การจัดการ [LCSH]พลังงานแสงอาทิตย์
| Keywords: | ระบบโซล่าเซลล์ | Abstract: | แนวทางนโยบายโครงการนำร่อง สร้างเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืนแก่ชาวนา ด้วยนโยบายรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (10 กิโลวัตต์ 100 ครัวเรือน) เนื่องจากปัญหาชาวนาด้านความเป็นอยู่และรายได้จากการประกอบอาชีพ เป็นหนึ่งในปัญหาที่สะสมมานานในประเทศไทย ไม่ว่าในเรื่องปัญหาหนี้สินนอกระบบของผู้ประกอบอาชีพชาวนา ปัญหานโยบายที่เข้ามาช่วยสนับสนุนชาวนา เช่นโครงการรับจำนำข้าว ปัญหาการที่ชาวนากู้เงินจากธนาคารภาครัฐมาเพื่อซื้อวัตถุดิบในการปลูกข้าวแต่เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ราคาขายกลับไม่เพียงพอที่จะปลดหนี้ งานวิจัยนี้ จึงมุ่งเน้นเพื่อเสนอโครงการนำร่อง เป็นแนวทางในการสร้างรายได้อย่างยั่งยืนควบคู่กับการทำนา โดยเน้นแก้ไขและหาแนวทางที่สร้างรายได้ที่ยั่งยืนและช่วยลดภาระหนี้สินในครัวเรือนแก่ชาวนา
โดยผลการศึกษาพบว่าโครงการนำร่องนโยบายการรับซื้อไฟฟ้า ที่ผลิตด้วยระบบพลังงานแสงอาทิตย์แก่ชาวนา 100 ครอบครัว ๆ ละ 10 กิโลวัตต์ (เงินลงทุน 450,000 บาทต่อ 1 ครอบครัว) สามารถสร้างรายได้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการอย่างน้อยปีละ 82,200 บาท หรือเฉลี่ยเดือนละ 6,850 บาท (คำนวณกรณีตัวอย่างจากนโยบายการรับซื้อไฟฟ้าบนหลังคา FIT ปี 2558) โดยติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ (Solar Cell) บนหลังคาบ้านหรือบริเวณบ้านที่ใช้เลี้ยงสัตว์ โดยเฉลี่ยใช้พื้นที่ประมาณ 70 ตารางเมตร โดยทางรัฐช่วยสนับสนุนเงิน 50% และอีก 50% ในรูปเงินกู้ให้ผู้เข้าร่วมโครงการผ่านทาง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โดยการผ่อนชำระคืนเงินกู้กับทางธนาคารจะสามารถคืนในอัตราส่วนร้อยละ 50% ของรายได้จากการขายไฟฟ้าและอีก 50% ของรายได้ให้เป็นของชาวนาจนครบปีจำนวนเงินที่กู้ยืม โดยนโยบายที่ใช้รับซื้อไฟฟ้าเป็นแบบ Feed-in-Tariff (FIT) ซึ่งอัตราจะอยู่ในรูปแบบอัตรารับซื้อไฟฟ้าคงที่ตลอดอายุโครงการ 25 ปี โดยงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงข้อเสนอแนะนโยบายที่สร้างรายได้อย่างถาวรเพื่อให้เกิดระบบเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืนและสามารถนำมาขยายต่อให้เกิดเป็นโครงการระดับประเทศต่อไปได้ ด้วยงบประมาณที่สามารถทำได้และก่อให้เกิดประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่ายทั้งผู้ประกอบอาชีพชาวนาและภาครัฐ
| Curricular : | BSMT/MSMT | Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27193 |
|