Title : | บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสื่อประสมเพื่อส่งเสริมการตรวจเต้านม ด้วยตนเองในนักศึกษาสายอาชีพ |
Original title : | Computer-Mediated Multimedia Breast Self-Examination Programme for Vocational Students |
Material Type: | printed text |
Authors: | ปวณา ยนพันธ์, Author ; จุฬารักษ์ กวีวิวิธชัย, Author ; นรีมาลย์ นีละไพจิตร, Author |
Publication Date: | 2017 |
Article on page: | 91-103 |
Languages : | Thai (tha) Original Language : Thai (tha) |
in วารสารสภาการพยาบาล > Vol.31 No.4 (Oct-Dec) 2016/59 [07/25/2017] . - 91-103Keywords: | โรคมะเร็งเต้านม. การตรวจเต้านมด้วยตนเอง.บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสื่อประสม. |
Abstract: | บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อพัฒนา และศึกษาผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสื่อประสมต่อความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านม การตรวจเต้านมด้วยตนเอง การรับรู้ควำมสามารถของตนเอง กำรรับรู้ประโยชน์และการรับรู้อุปสรรคในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ทักษะปฏิบัติการตรวจเต้ำนมด้วยตนเอง
การออกแบบวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลองแบบ 2 กลุ่มวัดก่อนและหลังกำรทดลอง
วิธีดำเนินการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 ระยะคือ 1) ผลิตสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์
ช่วยสอนโดยใช้แนวคิดทฤษฎีกำรส่งเสริมสุขภำพของเพนเดอร์และทฤษฎีการเรียนรู้โดยมัลติมีเดียของเมเยอร์ 2) ทดสอบผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มตัวอย่ำง เป็นนักศึกษาหญิงที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้าจำนวน 54 คน จำกวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 27 คน กลุ่มทดลองใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสื่อประสม กลุ่มเปรียบเทียบใช้วิธีบรรยาย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป
แบบทดสอบความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมและกำรตรวจเต้านมด้วยตนเอง แบบสอบถามการรับรู้
ความสามารถของตนเอง แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์และอุปสรรคในการตรวจเต้านมด้วยตนเองแบบประเมินทักษะปฏิบัติการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และแบบประเมินความคิดเห็นต่อคุณภาพ
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และ Mann-Whitney Test
ผลการวิจัย: พบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสื่อประสมมีคุณภาพอยู่ในระดับดีถึงดีมาก
ทุกด้าน ความคิดเห็นของกลุ่มทดลองต่อคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนอยู่ในระดับมาก หลังการทดลอง พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความแตกต่างของคะแนนหลังทดลองมากกว่าก่อนการทดลองในเรื่องความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมและมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่ำงมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)ส่วนค่าเฉลี่ยความแตกต่างของคะแนน ความสามารถในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง การรับรู้ประโยชน์และการรับรู้อุปสรรค และทักษะการตรวจเต้านมระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบไม่แตกต่างกัน
ข้อเสนอแนะ: บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสื่อประสมเพื่อการตรวจเต้านมด้วยตนเอง
มีประโยชน์ในการเสริมทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองได้ ใกล้เคียงกับกำรสอนโดยวิธีบรรยำย
สำมำรถนำมาใช้ช่วยสอน หรือร่วมกับการสอนวิธีอื่น ๆ ได้ |
Curricular : | BNS |
Link for e-copy: | http://www.tci-thaijo.org/index.php/TJONC |
Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=27052 |