Title : | การรับรู้ภาระจากอาการ ภาระค่าใช้จ่ายกับคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยไตเรื้อรัง : ระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม |
Original title : | Perception of symptom burden financial burden and quality of life in patients with stage renal disease undergoing hemodialysis |
Material Type: | printed text |
Authors: | จุฑามาศ เทียนสอาด, Author ; สุชิรา ชัยวิบูลย์ธรรม, Author ; นพวรรณ พินิจขจรเดช, Author |
Publication Date: | 2017 |
Article on page: | p.60-77 |
Languages : | Thai (tha) Original Language : Thai (tha) |
in รามาธิบดีพยาบาลสาร > Vol.23 No.1 (Jan-Apr) 2017/60 [07/24/2017] . - p.60-77Keywords: | ภาระค่าใช้จ่าย.คุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง.ผู้ป่วยระยะสุดท้าย.การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. |
Abstract: | การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับรู้ภาระจากอาการ ภาระค่าใช้จ่าย และ
คุณภาพชีวิตในผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาระจากอาการกับคุณภาพชีวิต และการรับรู้ภาระค่าใช้จ่ายกับคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
กลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายจำนวน 101 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเลือกตามความสะดวกที่เข้ารับการรักษาที่หน่วยไตเทียม โรงพยาบาลรามาธิบดีและโรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง สิงหาคม 2558
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกอาการ แบบสอบถามภาระค่าใช้จ่าย และแบบสอบถามคุณภาพชีวิต EQ-5D และ SF-36 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติ Pearson’s Product-Moment Correlation
ผลการวิจัย
พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคุณภาพชีวิตปานกลาง มีการรับรู้ว่าค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมเป็นภาระค่าใช้จ่ายในระดับปานกลาง และพบว่าการรับรู้ภาระค่าใช้จ่ายมีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิต EQ-5D (VAS) ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนอาการที่พบบ่อยที่สุด คือ ผิวแห้ง อาการที่รุนแรงมากที่สุด คือ ปวดหลอดนำเลือด โดยพบว่า ภาระจากอาการมีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิต SF-36 ระดับสูงในมิติด้านร่างกายและคุณภาพชีวิตโดยรวม และระดับปานกลางในมิติด้านจิตใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการประเมินผู้ป่วยทั้งในด้านภาระจากอาการและภาระค่าใช้จ่ายซึ่งมีความสำคัญและจำเป็นในการนำมาวางแผนการช่วยเหลือ และบรรเทาภาระจากอาการของผู้ป่วยและจัดหาแห่ล่งประโยชน์ ที่เป็นทั้งบทบาทอิสระของพยาบาลที่สามารถจัดการได้โดยตรงและบทบาทร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยที่จะส่งเสริมให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป |
Link for e-copy: | http://med.mahidol.ac.th/nursing/journal/rama_journal_19 |
Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26994 |