SIU IS-T. ปัจจัยเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรภาครัฐ : กรณีศึกษาสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง = Reinforcing Motivation Factors in Performance of Government Official: A Case Study of Public Debt Management Office, Ministry of Finance [printed text] /
พีรัฐติ วิทยประพัฒน์, Author ;
เพชรรัตน์ โล้วิชากรติกุล, Associated Name ;
อุษณีย์ เสวกวัชรี, Associated Name . -
[S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2017 . - viii, 60 น. : ภาพประกอบ, ตาราง ; 30 ซม.
500.00
SIU IS-T: SOM-MBA-2017-01
Independent Study. [MS[MBA]]--Shinawatra University, 2017.
Languages : Thai (
tha)
Descriptors: | [LCSH]กระทรวงการคลัง -- บุคลากร -- สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ [LCSH]แรงจูงใจในการทำงาน
|
Keywords: | แรงจูงใจ,
บุคลากรองค์กรภาครัฐ |
Abstract: | การวิจัยเรื่องปัจจัยเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรภาครัฐ : กรณีศึกษาสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร 2) เพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรโดยรวม และรายด้าน ได้แก่ ด้านความสำเร็จในการปฏิบัติงาน ด้านการยอมรับนับถือ ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ ด้านความรับผิดชอบ และด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ บุคลากรของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ในปี พ.ศ. 2559 จำนวน 250 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 154 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร 5 ด้าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มใช้การทดสอบที (t - Test) ส่วนการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยจากกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 2 กลุ่มใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One - Way ANOVA)
โดยผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลากรเพศชายและหญิงมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานโดยรวมและในแต่ละด้านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) บุคลากรที่มีอายุแตกต่างกันมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานโดยรวมแตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) บุคลากรที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกันมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานโดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการยอมรับนับถือ และด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) บุคลากรที่มีรายได้แตกต่างกันมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานโดยรวมและในแต่ละด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) บุคลากรที่มีประเภทตำแหน่งแตกต่างกันมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานโดยรวมแตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ และด้านความรับผิดชอบไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6) บุคลากรที่มีประสบการณ์ทำงานแตกต่างกันมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานโดยรวมแตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงานไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
|
Curricular : | BBA/MBA |
Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26624 |