Title : | ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อการรับรู้ความสามารถตนเอง ความคาดหวังในผลลัพธ์ และพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการดื้มแอลกอฮออล์ของนักเรียนชั้นมัธยมปลาย อำเภอบ่อทองจังหวัดชลบุรี |
Original title : | Effects of self-efficacy enhancement on perceived self -efficacy outcome expectancy and alcohol drinking refusal late secondary school students in bothong district Chonburi province |
Material Type: | printed text |
Authors: | อโนทัย ฟุุ้งขจร, Author ; ยุวดี รอดจากภัย, Author |
Publication Date: | 2017 |
Article on page: | p.41-54 |
Languages : | Thai (tha) Original Language : Thai (tha) |
in วารสารพยาบาลสาธารณสุข > Vol.30 No.30 (Sep-Dec) 2016/2559 [02/08/2017] . - p.41-54Keywords: | โปรแกรมสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตน.การรับรู้ความสามารถตนเอง.ความคาดหวังในผลลัพธ์.การหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์.นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. |
Abstract: | เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง คนที่ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก จะทำให้มีนเมา หมดสติและอาจตายได้ นักเรียนและวัยรุ่นมีการดื้มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประมาณ 20 % และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น การวิจัยนี้จึงต้องการศึกษาผลของโปรแกรมสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อการรับรู้ความสามารถตนเอง ความคาดหวังในผลลัพธ์ และพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนมัธยม กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 60 คน จากโรงเรียนแห่งหนึ่งในอำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี สุ่มด้วยการจับสลากมา 2 ห้อง และสุ่มเข้ากลุ่มด้วยการจับสลากให้เป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้อง มีนักเรียน 30 คน ในเต่ละกลุ่ม เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามส่งให้ตอบในห้องเรียนก่อนการทดลอง และหลังการทดลอง ซึ่งส่วนที่วัดการรับรู้ความสามารถตนเอง ความคาดหวังในผลลัพธ์และพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีความเที่ยงแบบอัลฟ่า 0.94 0.89 และ 0.85 ตามลำดับ นักเรียนกลุ่มทดลองให้โปรแกรมสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตน 6 สัปดาห์ ๆ ละ 50 นาที ดำเนินกิจกรรมโดยผู้วิจัยและู้ช่วยสอน สำหรับนักเรียนกลุ่มเปรีบเทียบเรียนตามปกติ ข้อมูลวิเคราะห์ต้วยร้อยละ คะแนนเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t-test และ independent t-test ผลการวิจัย พบว่า
หลักงการทดลอง นักเรียนกลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถตนเอง ความคาดหวังในผลลัพธ์ และพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มมากขึ้นมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.001 และหลังการทดลอง นักเรีนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมากกว่านักเรียนกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.001 แสดงว่าโปรแกรมสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนที่สร้างขึ้นให้ผลดีม่ส่วนทำให้นักเรียนที่ได้รับโปรแกรมมีพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ดีขึ้น ดังนั้นจึงควรสนับสนุนให้อาจารย์นำโปรแกรมนี้ไปใช้สอนนักเรียนในระดัยมัธยมศึกษาตอนปลายต่อไป |
Curricular : | BNS |
Link for e-copy: | http://phpn.ph.mahidol.ac.th/Journal/index.html |
Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26522 |