Title : | ปััจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะด้านการวิจัยของพยาบาลสาธารณสุขในเขตภาคกลาง |
Original title : | Factor influencing research competency among public health in central region Thailand |
Material Type: | printed text |
Authors: | นฤมล เอื้อมณีกุล, Author ; สุรินธร กลัมพากร, Author ; วันเพ็ญ แก้วปาน, Author |
Publication Date: | 2017 |
Article on page: | p.1-15 |
Languages : | Thai (tha) Original Language : Thai (tha) |
in วารสารพยาบาลสาธารณสุข > Vol.30 No.30 (Sep-Dec) 2016/2559 [02/08/2017] . - p.1-15Keywords: | สมรรถนะด้านการวิจัย.ทฤษฎีสองปัจจัยของเฮอร์ซเบริ์ก.พยาบาลสาธารณสุข. |
Abstract: | การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณาแบบหาความสัมพันธ์ วัตถุุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะด้านการวิจัยของพยาบาลสาธารณสุขในเขตภาคกลาง กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิในเขตภาคกลาง และมีประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 1 ปี จำนวน 362 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามด้วยตนเอง ตรวจสอบความแม่นตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.67-1.00 วิเคราะห์ความเที่ยงของแบบสอบถามโดยรวม มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบราคเท่ากับ 0.871 ปัจจัยส่วนบุคคลด้านความรู้เกี่ยวกับการวิจัยได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.767 ปัจจัยจูงใจเท่ากับ 0.872 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (stepwise regression analysis)
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุการทำงานเฉลี่ย 15.25 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาประกาศนียบัตรการพยาบาลเฉพาะทางเวชปฏิบัติทั่วไป ร้อยละ 63.46 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่เคยมีประสบการณ์ในการทำวิจัย และไม่เคยมีประสบการณ์ในการนำเสนองานวิจัยร้อยละ 61.6 และ 91.16 ตามลำดับ ทั้งนี้ยังพบว่า ส่วนใหญ่ไม่มีความสนใจที่จะทำวิจัยถึงร้อยละ 79.01 อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างประเมินว่า มีสมรรถนะด้านการวิจัยอยู่ในระดับกลาง ค่าเฉลี่ย คือ 54.94 SD เท่ากัย 9.38 มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ผลงานวิจัยสูงที่สุด ค่าเฉลี่ย คือ 3.05 SD เท่ากับ 0.65 และสมรรถนะด้านความสามารถในการทำวิจัยต้ำสุด คือ ค่าเฉลี่ย 2.68 SD เท่ากับ 0.45 โดยปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับสมรรถนะด้านการวิจัยของพยาบาลสาธารณสุขในเขตภาคกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า ความรู้เกี่ยวกับการวิจัน ความรับผิดชอบ ประสบการณ์ในการนำเสนอผลงานวิจัย ความสนใจที่จะทำงานวิจัย และงบประมาณสนับสนุนการทำวิจัยกับค่าตอบแทนจากการทำวิจัย สามารถร่วมพยากรณ์สมรรถนะดเานการวิจัยของพยาบาลความสุขได้ร้อยละ 55.3
ผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะในการเสริมสร้างสมรรถนะด้านการวิจัยของพยาบาลสาธารณสุขให้ดีขึ้น โดยผู้บริหาร หรือผู้บังคับบัญชาหน่วยงานควรกำหนดเป็นแผนงาน หรือนโยบายให้บุคลากรได้รับความรู้เกี่ยวกับการวิจัย และส่งเสริมให้ทำผลงานวิจัยในหน่วยงนอย่างต่อเนื่อง ให้การสนับสนุนจัดสรรงบประมาณ หรือจัดหาทุนวิจัย รวมทั้งมีค่าตอบแทนจากการทำวิจัยให้แก่พยาบาลสาธารณสุข เพื่อช่วยเพิ้มพูนสมรรถนะด้านการวิจัยให้แก่พยาบาลสาธารณสุข |
Curricular : | BNS |
Link for e-copy: | http://phpn.ph.mahidol.ac.th/Journal/index.html |
Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=26519 |