From this page you can:
Home |
ประสบการณ์การมีอาการอ่อนล้า กลวิธีการจัดการกับอาการการสนับสนุนจากครอบครัว / พรพิมล วดีศิริศักดิ์ in วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, Vol.27 No.3 (Sep-Dec) 2015/2558 ([06/27/2016])
[article]
[article] ประสบการณ์การมีอาการอ่อนล้า กลวิธีการจัดการกับอาการการสนับสนุนจากครอบครัว : และคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต [printed text] / พรพิมล วดีศิริศักดิ์, Author ; วิไลวรรณ ทองเจริญ, Author ; จันทนา รณฤทธิวิชัย, Author . - 2016 . - p.26-37. เพื่อ..ศึกษาประสยการณืการมีอาการอ่อนล้า กลวิธีการจัดการรกับอาการ การสนับสนุนจากครอบครัวและคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุโรคไดเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต ใช้การวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต จำนวน 126 ราย เครื่องมือที่ใช้ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล, แบบประเมินประสบการณ์การมีอาการอ่อนล้า, แบบประเมินกลวิธีการจัดการกับอาการอ่อนล้า, แบบประเมินการสนับสนุนจากครอบครัว, แบบประเมินคุณภาพชีวิต มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าครอนบาคของแบบสอบถามที่ 2,4, 5 เท่ากับ .87 .97 และ .85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสหสัมพันธฺเพียร์สัน ผลการวิจัย ประสบการณ์การมีอาการอ่อนล้าโดยรวมของผู้สูงอายุในระดับปานกลาง กลวิธีการจัดการกับอาการอ่อนล้าที่ผู้ป่วยปฏิบัติมากที่สุด ได้แก่ การนอนกลับ ซึ่งมีประสิทธิภาพในระดับปานกลาง การสนับสนุนจากครอบครัวโดยรวมอยู่ในระดับมาก คุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับดี ประสบการณ์การมีอาการอ่อนล้าด้านพฤติกรรม หรือความรุนแรง และด้านความหมายเชิงอารมณ์ มีความสัมพันธ์เชิงลบกับคุณภาพชีวิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 ตามลำดับ การสนับสนุนจากครอบครัวโดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพชีวิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 สรุป สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการวางแผนการพยาบาล เพื่อป้องกันและจัดการกับอาการอ่อนล้าตามบริบทของผู้ป่วย เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป Languages : Thai (tha) Original Language : Thai (tha) |