Title : | ผลของการใช้โปรแกรมการจัดการตนเองต่อการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการควบคุมการหายใจลำบาก : และความทนทานในการออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง |
Original title : | Effect of a self management program on perceived self efficacy to control Dyspnea and exercise tolerance in patients with chronic obstructive pulmonary disease |
Material Type: | printed text |
Authors: | ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, Author ; ละเอียด จารุสมบัติ, Author |
Publication Date: | 2016 |
Article on page: | p.352-367 |
Languages : | Thai (tha) Original Language : Thai (tha) |
in รามาธิบดีพยาบาลสาร > Vol.21 No.3 (Sep-Dec) 2015 [03/07/2016] . - p.352-367Keywords: | โปรแกรมการจัดการตนเองการรับรู้สมรรถนะของตนเองการควบคุมอาการหายใจลำบากความทนทานในการออกกำลังกายผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง |
Abstract: | เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการจัดการตนเองต่อการรับรู่สมรรถนะของตนเองในการควบคุมอาการหายใจลำบาก และความทนทานในการออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยใช้กรอบแนวความคิดการสนับสนุนการจัดการตนเองของวากเนอร์และคณะ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุุรกรรม โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิแห่งหนึ่งด้วยอาการหายใจลำบาก จำนวน 70 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 35 ราย และกลุ่มทดลอง 35 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเอง 8 สัปดาห์ ประกอบด้วย การให้ความรู้และฝึกทักษะพื้นฐานในการจัดการตนเอง และการสนับสนุนให้ผู้ป่วยได้ทำกิจกรรมการจัดการตนเองโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ร่วมกับการสนับสนุนให้ครอบครัวมีส่วนร่วมและติดตามเยี่ยมประเมินผล ในสัปดาห์ที่ 4 และ 8 เครื่องมือที่ใช่้ ประกอบด้วย แแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการควบคุมอาการหายใจลำบาก และประเมินความทนทานในการออกกำลังกาย โดยการทดสอบระยะทางที่เดินได้ใน 6 วินาที วิเคราะห์ข้อมูบโดยใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ 1 ปัจจัย ร่วมกับการเปรียบเทียบระหวา่างกลุ่ม พบว่า กลุ่มตัวอย่าวงร้อยละ 99.30 เป(็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 68.64 ปี SD = 8.99 กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีอายุเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน ภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการควบคุมอาการหายในจลำบาก แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และกลุ่มทดลองมีความทนทานในการออกกำลังกายไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม การศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะ คือ การจัดการคนเองในผู้ป่วยปอดดุดกั้นเรื้อรัง จะประสบผลสำเร็จได้ ผู้ป่วยต้องเข้ามามามีส่วนร่วมในการวางแผนกิจกรรม โดยทางครอบครัวต้องเป็นผู้สนับสนุน พยาบาสลเป็นผู็ส่งเสริมสมรรถนะในการปฏิบัิตกิจกรรม และเป็นหุ้นส่วนในการจัดการตนเองของผู้ป่วย |
Link for e-copy: | http://med.mahidol.ac.th/nursing/journal/rama_journal_19 |
Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=25410 |